อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อิสลามกับการเป่ารักษา


               การเป่ารักษา (อัรฺรุกยะฮฺ) หมายถึงการขอความคุ้มครอง การกล่าวดุอาอฺเพื่อขอให้หายป่วยทั้งนี้อนุญาตให้อ่านอัลกุรอาน , การกล่าวนามของพระองค์อัลลอฮฺ หรือการกล่าวสิ่งที่รู้ถึงความหมาย หากกล่าวนอกเหนือจากสิ่งดังกล่าวถือว่าหะรอม โดยเฉพาะคำกล่าวดุอาอฺที่ไม่รู้ความหมาย ถือเป็นที่ต้องห้ามเช่นกัน เพราะการกล่าวสิ่งที่ไม่รู้ความหมายนั้นเกรงว่าจะมีสิ่งที่เป็นชิริกมาปะปน (เอานุลมะอฺบูด เล่ม 5 หน้า 264)

เงื่อนไขคำอ่านในการเป่ารักษานั้น ต้องรู้ความหมายอย่งชัดเจน

"บรรดานักวิชาการได้เห้นพ้องต้องกันว่า อนุญาตใหมีการเป่ารักษา หากว่ามีเงื่อนไข 3 ประการดังต่อไปนี้
1.คำอ่านในการเป่ารักษาจะต้องนำมาจากอัล-กุรอาน (และที่มีปรากฏในแบบอย่างของท่านนบี) หรือกล่าวนามต่างๆ และคุณลักษณะของพระองค์

2.คำอ่านในการเป่ารักษานั้น จะต้องเป้นภาษาอาหรับ หรือจากภาษาอื่นจากอาหรับ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเข้าใจความหมายภาษานั้นๆ อย่างชัดเจน

3. ต้อวเชื่อมั่นว่า การเป่ารักษามิใช่เพื่อให้หายจากการป่วยไข้ แต่จะต้องเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่า ผู้ที่ทำให้หายป่วย คือ พระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น" (หนังสือ "ฟัตหุล บารีย์" เล่ม 10 หน้า 195)

นอกจากนี้การบำบัดรักษาต้องไม่ขัดกับหลักการศาสนา เช่น การตั้งภาคี การใช้เวทมนตร์คาถา อาสัยการช่วยเหลือจากสิ่งอื่น หรือพึ่งของมึนเมา เช่นสุรา ยาดองเหล้า สิ่งเสพติดทั้งหลาย
   
พระองค์อัลลอฮิ ศุบอานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


وَلَا تَدْعُ مِن دُونِ اللَّهِ مَا لَا يَنفَعُكَ وَلَا يَضُرُّكَ فَإِن فَعَلْتَ فَإِنَّكَ إِذًا مِّنَ الظَّالِمِينَ ( 106 ) 


"และเจ้าอย่าได้วิงวอนสิ่งใดนอกจากพระองค์อัีลลอฮฺที่ไม่ให้คุณให้โทษแก่เจ้า ดงนั้นหากกระทำสิ่งดังกล่าว แน่นอนเจ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของบรรดาผู้อธรรม" (อัลกุรอาน สุเราะฮ์ยูนุต 10: 106)

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าว

    إن الله جعل لكل داء دواء فتداووا، ولا تداووا بحرام 

     แท้จริงอัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทุกโรคนั้น มียารักษา ดังนั้น จงเยียวยารักษาเถิด และจงอย่าเยียวยารักษาด้วยสิ่งต้องห้าม(หะรอม)" (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด)

อิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

  أن امرأة سوداء أتت النبي صلى الله عليه وسلم فقالت : إني امرأة   أصرع , وإني أتكشف فادع الله لي , فقال : إن شئت صبرت ولك الجنة، وإن شئت دعوت الله أن يعافيك , فقالت : أصبر 

     มีหญิงผิวดำคนหนึ่ง ได้มาหาท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “ แท้จริงดิฉันเป็นโรคลมบ้าหมู และแท้จริงอวัยวะสงวนของดิฉันถูกเปิด(เมื่อล้มลง)  ดังนั้นได้โปรดขอดุอาต่ออัลลอฮให้แก่ดิฉันด้วย 

     แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ถ้าเธอต้องการ ให้เธออดทน และเธอก็จะได้รับสวรรค์ และถ้าเธอต้องการ ข้าพเจ้าจะขอดุอาต่ออัลลอฮให้เธอหาย แล้วนางกล่าวว่า “ดิฉันจะอดทน” -   (บันทึกหะดิษโดย บุคอรีและมุสลิม)

อิสลามอนุญาตให้บำบัดรักษาด้วยการเป่า โดยวิธีการเป่ารักษาที่อิสลามอนุมัติให้กระทำ และมีแบบฉบับมาจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

รายงานจากท่านเอาฟฺ บุตรของมาลิก อัลอัชญะอีย์ กล่าวว่า
"ปรากฏว่าพวกเราทำการเป่ารักษาในสมัยญาฮีลียะฮฺ ดังนั้น พวกเราจึงกล่าวแก่ท่านรสูล ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการเป่ารักษา ท่านรสูลกล่าวตอบว่า พวกท่านจงอธิบายวิธีการเป่ารักษาของพวกท่านให้ฉันฟัง หากการเป่ารักษาไม่เกี่ยวกับชิริกแล้วไซร้ ถือว่าไม่เป็นไร" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3880)

การเป่ารักษาเพื่อขอความคุ้มครอง

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า
"เมื่อท่านนบีมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ต้องการจะล้มตัวนอนบนเตียงนอนของท่านทุกๆคืน ท่านนบีจะนำมือมาประสานกัน จากนั้นก็เป่าลงบนฝ่ามือทั้งสอง แล้วอ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ , สูเราะฮฺ อัล-ฟะลัก และสูเราะฮฺอัน-นาส หลังจากนั้น ท่านบีก็ใช้มือทั้งสองลูบไปตามร่างกายเท่าที่มือทั้งสองจะสามารถลูบได้ โดยเริ่มตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า และถัดลงมาตามร่างกาย ท่านนบีกระทำเช่นนั้น 3 ครั้ง" (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ เล่ม 9 หน้า 62)

การรักษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า
"ปรากฏว่า เมื่อท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ป่วยไข้ ท่านนบีจะอ่านสูเราะฮฺ-นาส และสูเราะฮฺอัล-ฟะลัก ด้วยตัวของท่านเอง จากนั้นท่านนบีก็เป่า ครั้นเมื่ออาการเริ่มหนักขึ้น ฉันจึงอ่านสูเราะฮิ (ทั้งสอง) ให้แก่ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  จากนั้นฉันจึงจับมือของท่านลูบตามร่างกายของท่านโดยหวังความจำเริญจากมือของท่านนบี" (บันทึกหะดิษเศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 14 หน้า 182 อบูดาวูด หะดิษที่ 3896 , อิบนุ มาญะฮฺ หะดิษที่ 3529)
การเป่ารักษาเมื่อถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย

รายงานจากท่านญาบิรฺ บุตรของอับดุลลอฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"แมงป่องได้ต่อยชายผู้หนึ่งในหมู่พวกเรา ขณะที่พวกเราได้นั่งร่วมกับท่านรสูลุลลอฮฺ ชายผู้หนึ่งเอ่ยถามท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านรสูลของอัลลอฮฺ ฉันจะเป่ารักษาเขา ท่านรสูลกล่าวตอบว่า บุคคลใดก็ตามในหมู่พวกท่านที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่พี่น้องของท่าน เขาก็กระทำเถิด" (เศะเฮียะฮฺมุสลิม เล่ม 14 หน้า 186)

รายงานจากท่านญาบิรฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
"ท่านนบีมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามในเรื่องของการเป่ารักษา ดังนั้น กลุ่มของอัมรฺ บุตรของหัซมินได้มาหาท่านรสูลุลลอฮฺพลางกล่าวถามว่า "โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ ณ ที่พวกเรานั้นมีการเป่ารักษา พวกเราเป่ารักษา ท่านรสูลกล่าวถามว่า พวกท่านจงอธิบายสิ่งนั้นให้ฉันฟัง ท่านรสูลกล่าวต่อว่า ไม่เป็นไร หากบุคคลหนึ่งที่มีความสามารถในหมู่พวกท่านทำประโยชน์ให้แก่พี่น้องของเขา ดังนั้นก็จงกระทำเถิด" (เศะเฮียะฮฺมุสลิม เล่ม 14 หน้า 187)

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า
"ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อนุญาตให้เป่ารักษาเนื่องจากการฉกของงู และการต่อยของแมงป่อง" (บันทึกหะดิษโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 3517)
การเป่ารักษาโรคอื่นๆ
รายงานจากท่านอิมรอน บุตรของหะศัยน์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
"ไม่มีการเป่ารักษา ยกเว้นสำหรับบุคคลที่ถูกสายตาอิจฉา และถูกพิษของสัตว์ร้าย" (บันทึกหะดิษโดยอิบนุ มาญะฮฺ หะดิษที่ 3517)

รายงานจากท่านอนัส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อนุญาตให้แก่ครอบครัวหนึ่งจากชาวอันศอรฺ ให้พวกเขาเป่ารักษาเนื่องจากถูกพิษของสัตว์ร้ายและโรคปวดหู" (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษที่ 5719)
รายงานจากท่านอนัส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"แท้จริง ท่านนบีมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อนุญาตให้เป่ารักษาเนื่องจากถูกพิษของสัตว์ร้าย บุคคลที่ถูกสายตาอิจฉา และโรคเม็ดพุพองตามร่างกาย" (บันทึกโดยอินุมาญะฮฺ หะดิษที่ 3516)

การรักษาด้วยด้วยอัลกุรอานสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ

 จากท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"เศาะหาบะฮฺของรสูลุลลอฮฺ กลุ่มหนึ่งได้ออกเดินทางผ่านมายังกลุ่มชนหนึ่งจากกลุ่มชนของอาหรับ บรรดาเศาะหาบะฮฺ จึงขออนุญาตพวกเขาเพื่อพักอาศัย แต่พวกเขาไม่อนุญาต ทว่ากลุ่มชนนั้นได้ถามบรรดาเศาะหาบะฮฺว่า ในหมู่พวกท่านมีผู้เป่ารักษาหรือไม่ เพราะหัวหน้าของพวกเราถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย เศาะหะบะฮฺท่านหนึ่งกล่าวตอบว่า มี แล้วผู้เป่ารักษาจึงมาหาหัวหน้าของพวกเขา ผู้เป่ารักษาก็ทำการเป่าด้วยการอ่านสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ จากนั้นหัวหน้าของพวกเขาก็หายจากอาการเจ็บปวดนั้น ด้วยการณ์ดังกล่าว ผู้ที่เป่ารักษาจึงได้รับแกะฝูงหนึ่ง (เป็นค่าตอบแทน) ผู้เป่ารักษาจึงได้ปฏิเสธที่จะรับสิ่งนั้น พลางกล่าวขึ้นว่า จนกว่าฉันจะนำเรื่องดังกล่าวเล่าให้แก่ท่านรสูลุลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฟังเสียก่อน เขาจึงมาหาท่านรสูล และเล่าเรื่องราวดังกล่าวให้ท่านฟังแล้วเขาก้กล่าวขึ้นว่า โอ้ท่านของอัลลอฮฺ ฉันขอสาบานต่อพระองคือัลลอฮิ แันมิได้เป่ารักษาสิ่งใดนอกจากสูเราะฮิอัล-ฟาติหะฮฺในอัล-กุรอานเท่านั้น เมื่อท่านนบีได้ฟังเช่นนั้น ท่านนบีถึงกับยิ่มออกพลางกล่าวว่า"สิ่งใดที่ทำให้ท่านทราบว่า สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺใช้ในการเป่ารักษา จากนั้นท่านนบีจึงกล่าวขึ้นว่า พวกท่านจงรับค่าตอบแทนนั้นจากพวกเขาเถิด และพวกท่านจงแบ่งส่วนของพวกท่านให้แก่ฉันด้วย" (เศะเฮียะฮฺมุสลิม เล่ม 14 หน้า 189)

การรักษาด้วยการขอดุอาอฺ

รายงานจากท่านอุษมาน บุตรของอบุล อาศ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
 เขาได้มาหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เขากล่าวว่า ฎความเจ็บปวดได้ประสบแก่ฉันซึ่งเกือบจะทำให้ฉันต้องเสียชีวิต ท่านรสูลจึงกล่าวว่า ท่านจงสัมผัสบริเวณที่เจ็บปวดด้วยมือขวาของท่าน 7 ครั้ง ในแต่ละครั้งให้กล่าวดุอาอฺว่า 
"อะอูซุบิิืซซะติลลาฮิ วะกุดเราะติฮี มินชัรฺริมา อะญีดุ" 
ความหมาย "ฉันขอความคุ้มครองด้วยความสูงเกียรติของอัลลอฮฺ และความเดชานุภาพของพระองค์ ให้พ้นจากความชั่วในสิ่งที่ฉันกำลังประสบอยู่" 
ท่านอุามานเล่าว่า "ฉันกระทำการดังกล่าว เช่นนั้นพระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้ความเจ็บปวดนั้นหายไปด้วยการณ์ดังกล่าว ฉันยังคงกำชับให้บุคคลในครอบครัวของฉัน และบุคคลอื่นกระทำสิ่งดังกล่าว" (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3885)
สำหรับการเป่าหรือขอดุอาอฺด้วยตนเองนั้นดีที่สุด ส่วนกรณีที่บุคคลอื่นเป่ารักษาให้นั้นถือว่าเป็นที่อนุญาต แต่ไม่อนุญาตให้ยึดการเป่ารักษาเป็นอาชีพ เพราะท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหะบะฮฺบางคนก็รับค่าตอบแทนจากการเป่ารักษา แต่ไม่มีเศาะหะบะฮฺแม้แต่คนเดียวที่ยึดการเป่ารักษาเป็นอาชีพ จึงถือว่าการยึดการเป่ารักษาเป็นสิ่งที่อุตริกรรมในศาสนา
และไม่อนุญาตให้ปฏิเสธการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน

รายงานจากอะนัส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า 
วันหนึ่งท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินผ่านกลุ่มชนหนึ่ง กำลังผสมเกสร (อิทผลัมป ท่านนบีจึงกล่าวขึ้นว่า หากพวกท่านไม่ทำเช่นนั้น ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลดีเหมือนเดิม (พวกเขาจึงปฏิบัติตามท่านรสูล) ต่อมา ต้นไม้นั้นได้ออกผมในลักษณะที่มีผลเน่าเสีย ครั้นพอท่านนบีเดินผ่านมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกล่าวถามพวกเขาว่าอิทผลัมของพวกท่านเป็นอย่างไรบ้าง พวกเขาตอบว่า สิ่งที่ท่านได้แนะนำไว้มีสภาพเช่นนั้น ท่านรสูลจึงกล่าวว่า "พวกท่านย่อมรู้ดียิ่งในกิจการที่เกี่ยวกับโลกดุนยาของพวกท่าน" (เศาะเฮียมุสลิม เล่มที่ 14 หน้า 117-118)
จากหะดิษสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโลกดุนยาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เทคโนโลยี ฯลฯ จะต้องได้รับการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา อย่างการรักษาโรคต่างๆ จำต้องอาศัยตัวยาที่ได้รับการทดลองปรับปรุงแก้ไข ภายใต้การตรวจสอบอย่างละเอียดถ่ถ้วนจนสามารถใช้บำบัดโรคนั้นๆได้ ดังนั้นมุสลิมที่ประสบความเจ็บป่วยด้วยดรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จำเป็นจะต้องรักษาโรคนั้นตามกระบวนการของแพทย์ และปฏิบัติตามที่แพทย์ได้แนะนำไว้ ดังท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
       لكل داء دواء، فإذا أصيب دواء الداء برأ بإذن الله تعالى   

     "โรคทุกโรคนั้นย่อมมียารักษา เมื่อยานั้นตรงกับโรค เขาจะหายจากโรคด้วยการอนุมัติของอัลลอฮ ซุบฮาน่าฮูว่าตะอาลา" (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม จากท่านญาบีร)

 والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น