เมื่อเราได้ตรวจสอบพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.2542 จำกัดคำว่า “เมียหลวง” ว่า
“เมียที่ยกย่องว่าเป็นใหญ่”
และให้คำจำกัดความของ “เมียน้อย” ว่า
“หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวง หรือไม่ได้จดทะเบียน”
เมื่ออิสลามนั้น ไม่ถือว่าภรรยาคนแรกนั้น
เป็นเมียหลวง ไม่ถือเป็นการยกย่องที่เป็นใหญ่กว่าภรรยาคนที่ 2 คนที่ 3 หรือคนที่ 4
แต่อย่างใด และภรรยาคนที่ 2 คนที่ 3 หรือคนที่
4 ก็ไม่ถือเป็นภรรยาน้อย ไม่ถือเป็นภรรยาเก็บ
การจดทะเบียนไม่มีผลใดๆในทางบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาถือเป็นภรรยาที่เปิดเผย
และเท่าเทียมกับภรรยาคนแรกทุกประการ
การเป็นเมียน้อย ที่หมายถึงเมียลับ
ต้องเอาไปหลบซ่อนๆ การกระทำเช่นนี้ ไม่ใช่ตามหลักบทบัญญัติอิสลาม
แต่ถือว่าเป็นการซินา
หลักการที่จะมีภรรยา คนที่ 2 คนที่ 3 หรือคนที่ 4
ก็ต้องกระทำตามหลักศาสนา อย่างที่กระทำกับภรรยาคนที่ 1
นั้นคือ ต้องมีการสู่ขอ ดำเนินการแต่งงานนิกะฮฺถูกต้องตามหลักอิสลาม
ภรรยาคนที่ 2 คนที่ 3
หรือคนที่ 4
จึงต้องได้รับสิทธิจากสามีอย่างเท่าเทียมกับภรรยาคนแรก ลูกที่เกิดมาจากภรรยาทุกคน
ก็คือลูกของสามี มีการใช้นามสกุลพ่อ มีการอบรมสั่งสอน ส่งลูกเล่าเรียน รวมถึงค่าเลี้ยงดู(นะฟาเกาะฮ์)
การแบ่งเวรในแต่ละวัน การออกงานสู่สังคม การใช้ชีวิตอย่างสามีภรรยา
สามีต้องแบ่งให้เท่าเทียมกัน และความพอใจ ส่วนความความรัก อาจจะรักคนนี้มาก
คนนี้น้อยบ้าง บางที่มันอาจอาจห้ามกันไม่ได้
ท่านนบีกล่าวว่า
“ทำเท่าที่ฉันสามารถทำได้ อื่นจากนี้แล้วฉันเกินความสามารถ”
แต่สิ่งเป็นสิทธิและหน้าที่สามีต้องไม่บกพร่อง
และเมื่อเราตรวจสอบระบบเมียหลวงเมียน้อยตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ ก่อนใช้บรรพ 5 ปรากฏว่าภรรยาน้อยจะได้รับมรดกน้อยกว่าภรรยาหลวง แต่ตามบทบัญญัติอิสลาม ภรรยา คนที่ 2 คนที่ 3 หรือคนที่ 4 ก็ได้มรดกของสามีเท่ากันทั้งหมดเหมือนภรรยาคนที่หนึ่งทุกประการ และเมื่อได้มีการบัญญัติใช้บรรพที่ 5 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ ระบบภรรยาหลวง ภรรยาน้อยก็ถูกยกเลิก และให้มีภรรยาได้เพียงคนเดียว มันก็ยิ่งหนักกว่าเดิมเสียอีก เพราะต้องแอบหลบๆซ้อนๆ ภรรยาคนที่ 2 หรือคนที่ 3 ฯลฯ โดยไม่สามารถเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฏหมายได้ เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาเหล่านั้นก็ไม่มีสิทธิใดๆในทรัพย์มรดกของสามีผู้ตายเลย หากมีลูก ลูกคนนั้นก็ไม่ใช่ลูกโดยชอบด้วยกฏหมายของผู้ตาย แต่กฏหมายถือว่าบุตรคนนั้นเป็นผู้สืบสันดาน หากผู้ตายได้รับรองความเป็นบุตรแล้ว เช่น ได้ให้ใช้นามสกุล อุปการะเลี้ยงดู ส่งศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น บุตรคนนั้นก็มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภรรยาน้อย ที่ไม่มีสิทธิ์ในทรัพมรดกของสามีผู้ตาย ก็จะจูงมือลูกมาเพื่ออ้างสิทธิ์รับมรดกของลูกจากทรัพย์มรดกของผู้ตายทันที ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในอิสลามอย่างแน่นอน
และแน่นอนที่สุดเงื่อนไขสำคัญที่อิสลามอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เกิน
1 คน แต่ไม่เกิน 4 คน
คือความยุติธรรมต่อภรรยาทั้งหมด หากไม่แล้ว ภรรยาคนที่ 2 คนที่
3 หรือคนที่ 4
จะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด ระบบภรรยาน้อยนั้นไม่ต้องพูดถึง
เพราะศาสนาไม่อนุญาตอยู่แล้ว
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบอานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
وَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تُقْسِطُوا فِي الْيَتَامَىٰ فَانكِحُوا مَا طَابَ لَكُم مِّنَ النِّسَاءِ مَثْنَىٰ وَثُلَاثَ وَرُبَاعَ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تَعْدِلُوا فَوَاحِدَةً أَوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ ذَٰلِكَ أَدْنَىٰ أَلَّا تَعُولُوا ( 3 )
"และหากพวกเจ้าเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมในบรรดาเด็กกำพร้าได้ ก็จงแต่งงานกับผู้ที่ดีแก่พวกเจ้า ในหมู่สตรี สองคน หรือสามคน หรือสี่คน แต่ถ้าพวกเจ้าเกรงว่าพวกเจ้าจะให้ความยุติธรรมไม่ได้ ก็จงมีแต่หญิงเดียว หรือไม่ก็หญิงที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครองอยู่ นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ยิ่งกว่าในการที่พวกเจ้าจะไม่ลำเอียง" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺนิสาอ์ 4:3)
หลักความเท่าเทียมกันที่สามีต้องปฏิบัติต่อภรรยาทุกคน สามีก็ต้องปฏิบัติตามศาสนาอย่างเคร่งคลัด แต่เนื่องจากปัจจุบันสตรีมุสลิม ไม่พอใจในหลักการข้อนี้
ก็อันเนื่องมาจากสตรีมุสลิมบางคนทั้งชีวตินั้น
ไม่เคยเห็นผู้ชายคนไหนปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามหลักการเลย
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ญะซากัลลาฮุคอยรอนจร้า....
ตอบลบ