อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยกับกำไร



เรื่องดอกเบี้ย( الرِّبَا )นี้ มุสลิมในบ้านเรากำลังเพชิญกับมันอยู่ เพราะพวกเขาไม่คำนึงถึงคำสั่งห้ามของศาสนา ไม่ว่าเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ จนมีการเอารัดเปรียบกัน และย่ำยีคำสั่งห้ามของศาสนา ที่ปรากฏให้เห็นก็คือ เจ้าหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นมุสลิม(ลูกอิมามในหมู่บ้าน เป็นผู้ปล่อยเงินกู้และผ่อนทอง(ผ่อนกันหลอกๆ)) ได้ให้ลูกหนี้ที่เป็นมุสลิม กู้เงินร้อยละ 20 ต่อ 15 วัน  ซึ่งลูกหนี้ผู้นี้ได้อ้างเหตุผลว่าตนมีความเดือดร้อนที่จะใช้เงิน โดยกู้เงินมา หมื่นหนึ่ง ต้องใช้ดอกเบี้ย 2,000 บาทต่อ 15 วัน หรือ 4,000 บาทต่อเดือน หากหาเงินมาชำระดอกเบี้ยไม่ทัน ก็นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างนั้นไปทบรวมกับเงินต้น แล้วนำมาคิดดอกเบี้ยของเงินทั้งหมด และหากไม่นำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาชำระเสียทีเดียว ก็ไม่สามารถนำเงินที่เหลือจากที่ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วมาชำระเงินต้นได้ ขณะนี้แค่เวลา 5 เดือนนับแต่วันทำการกู้เงิน ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมา 6,000 บาทที่ต้องชำระภายใน 15 วัน เพราะผู้กู้หาเงินมาชำระดอกเบี้ยไม่ทัน แน่นอนผู้กู้อันเป็นลูกหนี้ก็ต้องมีความเดือนอย่างมาก แต่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้มีความสุขสบาย ไม่ต้องดิ้นรนขวนขวายก็มีเงินจากดอกเบี้ยเพิ่มพูนทวีคูณ นั้นเป็นการเอารัดเอาเปรียบความเห็นแก่ตัวกัน แม้ในสังคมมุสลิมเอง 

อิสลามจึงมีบทบัญญัติห้ามมันโดยเด็ดขาด ผู้ใดที่กินดอกเบี้ยเขาผู้นั้นจะไม่มีความจำเริญ

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لَا يَقُومُونَ إِلَّا كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمْ قَالُوا إِنَّمَا الْبَيْعُ مِثْلُ الرِّبَا وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَن جَاءَهُ مَوْعِظَةٌ مِّن رَّبِّهِ فَانتَهَىٰ فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللَّهِ وَمَنْ عَادَ فَأُولَٰئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ ( 275 ) 

"บรรดาผู้กินดอกเบี้ยนั้น พวกเขาจะไม่ทรงตัว นอกจากจะเป็นเช่นเดียวกับผู้ที่ชัยฏอนทำร้ายเขาทรงตัว พวกเขากล่าวว่า ที่จริงการค้าขายนั้นก็เหมือนการเอาดอกเบี้ยนั้นเอง และอัลลอฮ์นั้นทรงอนุมัติการขาย และทรงห้ามการเอาดอกเบี้ย ดังนั้นผู้ใดที่การตักเตือนจากพระเจ้าของเขาได้มายังเขา แล้วเขาก็เลิก สิ่งที่ล่วงแล้วมาก็เป็นสิทธิของเขา และเรื่องของเขานั้นย่อมกลับไปสู่อัลลอฮ์ และผู้มดกลับ(กระทำ) อีก ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรกโดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล"

يَمْحَقُ اللَّهُ الرِّبَا وَيُرْبِي الصَّدَقَاتِ وَاللَّهُ لَا يُحِبُّ كُلَّ كَفَّارٍ أَثِيمٍ ( 276 ) 

"อัลลอฮ์จะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญ และจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณ ผู้กระทำบาปทุกคน"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ 2:275-276)

ต่อไปนี้จะเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยกับกำไร

1.คนทำการค้าจะคิดผลกำไรถึงแม้ว่าจะสูงอย่างไรคิดครั้งเดียวแล้วเป็นอันจบ แต่เจ้าหนี้เงินกู้นั้นจะคิดดอกเบี้ยทบต้นและยิ่งยาวนานออกไปดอกเบี้ยยิ่งสูง

2.การตกลงเรื่องกำไรระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายจะเป็นอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ซื้อจะซื้อสิ่งของที่เขาต้องการและผู้ขายก็จะได้กำไรสำหรับเวลา แรงงาน และสมองที่เขาใช้ไปในการจัดหาสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แต่สำหรับดอกเบี้ย ลูกหนี้จะไม่สามารถที่จะต่อรองกับเจ้าหนี้ได้อย่างเสมอภาคเพราะเขาอยู่ในฐานะที่เป็นรอง สำหรับผู้ปล่อยเงินกู้ เขาจะรับจำนวนดอกเบี้ยตายตัวที่เขาถือว่าเป็นกำไรของเขา ถ้าหากลูกหนี้ใช้จ่ายเงินที่กู้ยืมไปเพื่อสนองความจำเป็นส่วนบุคคล ปัจจัยแห่งเวลาก็ไม่ก่อให้เกิดกำไรแต่อย่างใด

3.การทำการค้าจะสิ้นสุดลงทันที่ที่สินค้าและราคาของมันเปลี่ยนมือ หลังจากนี้แล้วผู้ซื้อไม่ต้องคืนสิ่งใดให้แก่ผู้ขาย ในเรื่องเช่า เช่น บ้าน รถ มิใด้ถูกใช้จนหมด และต้องคืนหลังจากครบกำหนดเวลาเช่าแล้ว แต่ในเรื่องดอกเบี้ย การกู้ยืม ลูกหนี้จะต้องใช้จ่ายมันไปก่อน แล้วหลังจากนั้นก็ทำให้มันมีผลผลิตออกมา และคืนมันให้แก่เจาหนี้พร้อมดอกเบี้ย ลูกหนี้ต้องเสี่ยงสองชั้น คือ เขาจะต้องใช้เงินต้นให้มีผลกำไร และจะต้องทำดอกเบี้ยให้แก่มันด้วย

4.คนที่ทำการค้า จะแสวงหากำไรโดยใช้เวลา แรงงาน และสติปัญญา แต่เจ้าหนี้เงินกู้จะกลายเป็นหุ้นส่วนที่ได้เปรียบกว่าในการทำมาหากินของลูกหนี้ โดยไม่ต้องเสี่ยง หรือลงแรง เพราะว่าเขาเอาเงินที่เกินความต้องการของเขามาลงทุน เขาจะเป็นหุ้นส่วน ก็แต่เพียงตรงที่เขามีสิทธิ์ที่จะได้ดอกเบี้ยที่ถูกประกันไว้โดยไม่คำนึงว่าจะมีกำไรเท่าไร หรือไม่ต้องคำนึงว่าจะมีการขาดทุนเท่าไร

และแน่นอน การค้าจะช่วยก่อสร้างสังคม แต่ดอกเบียจะนำสังคมไปสู่การถูกทำลาย เรื่องศิลธรรม ดอกเบี้ยจะก่อให้เกิดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว จิตใจแข็งกระด่าง มีการบูชาเงิน อย่างที่เห็นๆกันอยู่ในสังคมปัจจุบัน แม้ในสังคมมุสลิมที่ฝ่าผืนคำสั่งห้าม ดั่งตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น