อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

สะลัฟ



สะลัฟ คำนี้แปลว่า เก่าก่อน เป็นคำที่รู้จักกันในวงการวิชาการว่า หมายถึงคนรุ่นแรก
นับตั้งแต่สาวกของท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ลงมาจนถึงศตวรรษที่ 3 ของฮิจญ์เราะฮฺ
ศักราช แนวโน้มของคนรุ่นนี้มีอยู่ว่า เรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับอัลลอฮฺและรอซูลโดยตรงนั้น
ต้องยึดตัวบทเป็นที่มา ซึ่งได้แก่กุรอานและหะดีษ
การรู้จักอัลลอฮฺ(มะอฺรีฟะฮฺ) มีหลักฐานจากกุรอานดังนี้
" จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ใครให้ปัจจัยยังชีพแก่ท่านทั้งหลาย จากฟ้าและดินหรือใครกันที่ควบคุม
หูและตา และใครที่ให้สิ่งเป็นออกมาจากสิ่งตาย และเอาสิ่งตายออกมาจากสิ่งเป็น และใคร
จัดแจงกิจทั้งปวง พวกเหล่านั้นจะกล่าวว่า อัลลอฮฺ" (ซูเราะฮฺ ยูนุส ที่31)
" พวกเขาเหล่านั้นไม่ดูฟ้าเบื้องบนหรือว่า เราสร้างมันอย่างไร ประดับมันอย่างไร และมีแนว
(สำหรับโคจร) และแผ่นดิน เราก็ได้ขยายออกและให้มีภูเขาต่างๆ เราได้ให้สิ่งเพาะปลูกงอกงาม
ให้เมล็ดที่เก็บเกี่ยว และต้นอินทผลัมที่สูงชลูด " (ซูเราะฮฺ ก็อฟ ที่ 6ถึง10)

เรื่องเอกภาพแห่งพระเจ้า(วะฮฺดานียะฮฺ) กุรอานระบุว่า
" หากว่าในฟ้าและดินมีพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮฺแล้ว ทั้งสองมันจะเสีย" (อัล อัมบิยาอฺ ที่22)
" อัลลอฮฺไม่ยึดถือบุตร(ไม่มีลูก) ไม่มีเจ้าร่วมกับอัลลอฮฺ มิฉนั้นแต่ละองค์จะสร้างอะไรตามประสงค์
และแต่ละองค์ก็จะให้เหนือกว่าองค์อื่น " (มุอฺมินูน ที่92)
ในเรื่องสัจจะรอซูล(ศิดกุรรอซูล) มีหลักฐานในกุรอานว่า
" ประกาศเถิด(มุฮัมมัด) ว่าหากมนุษย์และญินจะร่วมกันเพื่อนำมาซึ่งสิ่งที่เหมือนกุรอานนี้
พวกนั้นก็ไม่อาจนำมาได้ แม้ว่าจะช่วยกันก็ตาม " (อัล อิสรออฺ ที่88)
" ท่านทั้งหลายจงนำมาซูเราะฮฺหนึ่งเหมือนนี้ " (อัล บะเกาะเราะฮฺ ที่23)
ส่วนเรื่องวันสุดท้าย(เยามฺอาคิรฺ) กุรอานระบุหลักฐานว่า
" มนุษย์พูดว่า ใครจะให้กระดูกผุพังฟื้นขึ้นมาอีก จงกล่าวเถิดว่า ผู้สร้างมัน
ครั้งแรกนั่นแหละให้ฟื้นขึ้นมาได้ " (ยาซีน ที่88ถึง89)
" มนุษย์คิดหรือว่า เขาจะถูกทอดทิ้ง เขาเป็นหยดหนึ่งจากอสุจิมิใช่หรือ ต่อมากลายเป็นก้อน
เลือดแล้วพระองค์ทรงสร้างและทำให้สมบูรณ์ทรงบันดาลเป็นคู่คือ ชายและหญิง
ดังกล่าวยังไม่ใช่ผู้สามารถให้คนตายไปฟื้นขึ้นหรือ " (อัล กิยามะฮฺ ที่36ถึง40)
หลักศรัทธาที่เกี่ยวกับอัลลอฮฺ รอซูล วันสุดท้าย และอื่นๆ ฝ่ายสะลัฟยึดมั่นว่า ต้องได้มาจาก
กุรอานในรูปของตรรกวิทยา ไม่ต้องไปสร้างรูปกานณ์อย่างพวกมุตะกัลลิมีน ซึ่งจะก่อความ
สับสนแก่ผู้อื่น หลักฐานที่มาจากกุรอานและหะดีษ เข้าใจได้ง่ายๆสามารถสร้างความศรัทธา
แก่จิตใจของคนเรา ได้เป็นอย่างดี (ดูใน "อิลญามมุลอะวาม"หน้า27ถึง30)
ส่วนคุณลักษณะ พระนามของอัลลอฮฺ ตลอดจนสภาพของพระองค์ที่ปรากฎอยู่ในภาวะ
คลุมเคลือ(อัล มุตะชาบิฮฺ) นั้น ก็ต้องคงความหมายเดิมไว้ โดยไม่ผันความหมายให้กลายเป็นอื่น
เช่น
" อัลลอฮฺเท่านั้น ไม่มีเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ " จงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮฺทรงเอกะ
" พระองค์ทรงรู้ " ทรงรอบคอบ " พระองค์ทรงได้ยิน " ทรงเห็น " ทรงสามารถ " พระองค์ทรงให้อภัย
" ทรงเมตตา " ทรงสร้างฟ้าและแผ่นดินใน 6 วัน ต่อมาทรงอยู่บนบัลลังก์ " พวกเหล่านั้น
ทำสิ่งที่ทำให้อัลลอฮฺทรงกริ้ว " อัลลอฮฺทรงพอพระทัย พวกเหล่านั้นพอใจในพระองค์
" มือของพระองค์ อยู่เหนือมือเขาทั้งหลาย ฯลฯ
ลักษณะต่างๆนี้ พวกสะลัฟยืนยันความหมายเดิม คืออัลลอฮฺทรงมีสิ่งต่างๆ ที่ทรงรู้ ทรงได้ยิน ฯลฯ
แต่อวัยวะนั้นๆ ไม่เหมือนสิ่งใด(ลัยสะกะมิษฮีชัยอุน) ท่านผู้อ่านคงสังเกตเห็นว่า แนวทางของสะลัฟนี้
ไม่ได้เรียนอุศูลุดดีนแบบลักษณะ 20 ซึ่ง เริ่มแต่ วุญูด กิดัม บะกอ มุคอละฟะฮฺ ฯลฯ
อย่างไรก็ดี แนวทางแห่งความศรัทธาแบบสะลัฟดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ไม่เป็นที่นิยมของคนรุ่นหลัง
หรือที่เรียกกันว่าเคาะลัฟ โดยเหตุผลที่ว่า แนวทางดังกล่าวอาจทำให้มองเห็นอัลลอฮฺเหมือนมนุษย์
(มัคลูก) เพราะมีมือ มีหน้า มีตา ฯลฯ แม้จะเอาอายะฮฺ (ลัยษะกะมิษฮีชัยอุน)มากำกับไว้ก็ตาม
ก็ยังไม่แน่ว่าจะจูงใจให้ทุกคนสลัดความคิดที่ว่า อัลลอฮฺจะทรงเหมือนสิ่งนั้นสิ่งนี้ออกไปได้ แต่ก็ยังความ
สงสัยให้เกิดขึ้น เช่นว่า ในกุรอานระบุว่า อัลลอฮฺทรงมีมือ แต่ไม่เหมือนมือมนุษย์หรือมืออื่นๆ
ก็ยังทำให้สงสัยอีกว่า มืออันนั้นจะเป็นอย่างไร
ด้วยเหตุผลดังกล่าว นักวิชาการด้านอุศูลในยุคหลัง จึงได้มาพิจารณาความหมายขึ้นใหม่ให้เหมาะสม
และพบว่า หลักภาษานั้นมีความหมายหลายๆนัยที่จะนำมาใช้กับคำต่างๆที่ปรากฎอยู่ในกุรอานและ
บทหะดีษได้เป็นอย่างดี เช่นคำที่ว่า "มือของอัลลอฮฺอยู่เหนือมือพวกเขาทั้งหลาย" ซึ่งเป็นความหมาย
ตามตัวอักษร ก็อาจสามารถใช้อีกความหมายหนึ่งได้นั่นคือ "อำนาจของอัลลอฮฺเหนืออำนาจพวกเขา"
พวกที่ใช้หลักการนี้เรียกว่า "เคาะลัฟ" กลุ่มนี้นักวิชาการให้คำนิยามว่า เป็นกลุ่มที่ใช้ความคิดในเรื่อง
อุศูลฯ ในระยะหลังจาก 300 ปี แห่งฮิจญ์เราะฮฺศักราชเรื่อยมา แต่เนื่องจากกลุ่มเคาะลัฟนี้มีความคิด
ในข้อปลีกย่อยไม่ตรงกัน จึงมีการแยกกลุ่มออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน ที่มีชื่อเสียงเด่นในวงการวิชานี้
ก็คือ "อัชอฺะรี"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น