อุลามาอฺนักปราชญ์ได้แจกแจงถึงการตักลีด(การรับความเห็นผู้อื่นโดยไม่รู้หลักฐาน) สามารถเกิดขึ้นจากภาวการณ์ 2 ประการ ดังนี้
1.การตักลีดจะเกิดขึ้นได้ภายใต้การที่บุคคลผู้หนึ่งเป็นมุก็อลลิด(ผู้ตาม)อาม
หมายถึงเป็นบุคคลธรรมดาสามัญที่ไม่มีความสามารถในการเรียบเรียงแสวงหาและตีความแม่บททางศาสนาสู่การถักทอขึ้น
เป็นข้อตัดสินในทางชารีอะฮฺ
โดยพื้นฐานแล้วบุคคลจำพวกนี้นั้นเป็นที่บังคับแก่พวกเขาด้วยซ้ำในการตักลีดตามผู้รู้ดังใจความของอัลกุรอานที่ระบุว่า
“จงถามผู้รู้หากพวกเจ้าไม่รู้”(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลนะห์ลฺ 16:43)
2.การตักลีดของมุจตะฮิด หมายถึง
ในบางครั้งมุจตะฮิด อาจประสบพบเจอปัญหาใหม่ๆ อย่างกระทันหันและบ่อยครั้งที่ปัญหาเร่งด่วนเช่นนี้
เป็นที่ยากลำบากสำหรับมุจตะฮิดที่จะทำการฟัตวาได้ทันท่วงทีนอกเสียจากต้องให้เวลาแก่เขาในการค้นคว้าเพื่อการตกวา
ดังนั้นในภาวการณ์เร่งด่วนเช่นนี้
มุจญ์ตะฮิดอาจจะทำการตักลีดต่อผู้รู้ที่ตนมอบความไว้วางใจในประเด็นที่ตนเองยังไม่อาจหาคำตอบได้
การตักลีดนั้นในการยอมรับในการวินิจฉัยของบรรดาอุลามาอ์เป็นประเด็นๆไป
โดยพิจารณาว่าประเด็นดังกล่าวนั้น
การวินิจฉัยมีความถูกต้องกับหลักฐานและเหตุผลหรือไม่
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น