อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

การตะชับบุฮฺ( تَشَبَّهَ)เลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธา




การตะชับบุฮฺผู้ปฏิเสธศรัทธา หมายถึง การเลียนแบบพวกเขาในเรื่องธรรมเนียมประเพณี และเรื่องศาสนาที่พวกเขาอุตริขึ้น ทั้งในเรื่องหลักความเชื่อและหลักปฏิบัติ

หุกุ่มของการรตะชับบุฮฺผู้ปฏิเสธศรัทธา คือ หะรอม ตามหลักฐานเศาะเฮียะฮฺมารับรอง ทั้งจากอัลกุรอานและหะดิษของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม

ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่สั่งห้ามการตะชับบุฮฺผู้ปฏิเสธศรัทธา

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَقُولُوا رَاعِنَا وَقُولُوا انظُرْنَا وَاسْمَعُوا وَلِلْكَافِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٌ ( 104 ) 
"โอ้ ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าพูดว่ารออินา และจงพูดว่า อุนซุรนา และจงฟัง และสำหรับผู้ปฏิเสธการศรัทธานั้น คืดการลงโทษอันเจ็บแสบ"

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ 2:104)

รออินา และ อุนซุรนา ทั้งสองคำนี้มีความหมายเดียวกัน คือ สนใจเราด้วย แต่คำว่า รออินา มีความหมายในทางลบ หมายถึง ความโง่เขล่าอย่างที่สุด พวกยิวใช้คำว่า รออินา ในการเรียกท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม และเจตนาของพวกเขา ก็คือ เพื่อดูถูกท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ดังนั้น พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา จึงสั่งห้ามมุสลิมไม่ให้เลียนแบบพวกยิวในการใช้คำนี้ และถูกสั่งใช่ให้ใช้คำอื่นที่มีความหมายเดียวกันแทน คือคำว่า อุนซุรนา(ตัฟสีร อิบนุ สะอฺดีย์ หน้าที่ 43)

อัล-หาฟิซ อิบนุ กะษีร ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ อธิบายอายะนี้ว่า
อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงห้ามปวงบ่าวผู้ศรัทธาต่อพระองค์จากการเลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทาในคำพูดและการกระทำของพวกเขา(ตัฟสีร อิบนุ กะษีร 1/373)

และส่วนหนึ่งจากหลักฐานหะดิษที่สั่งห้าม ตะชับบุฮฺ ผู้ปฏิเสธศรัทธา คือ

รายงานจากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ
 “ผู้ใดที่เลียนแบบกลุ่มชนใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา” (บันทึกโดย อบู ดาวูด 3512, อัล-อัลบานีย์ให้หุก่มว่า หะสัน เศาะฮีหฺ ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3401)


บรรดาอุละมาอ์มีความเห็นแตกต่างกันว่า มุสลิมที่เลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น จะถือเป็นกาฟิรด้วยหรือไม่ อุละมาอฺบางส่วนกล่าวว่าเป็นกาฟิร และบางท่านกล่าวว่า เขาไม่ใช่เป็นกาฟิร เว้นแต่เขามีเจตนาที่จะเลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธา พร้อมกับชอบและเชิดชูศาสนาของเขา

คนๆหนึ่งไม่อาจจะถูกตัดสินว่าได้ทำการเลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธา เว้นแต่ จนกว่าเขาจะกระทำสิ่งหนึ่งใดเป็นลักษณะเฉพาะในเรื่องธรรมเนียมประเพณี และหลักศาสนาของผู้ปฏิเสธศรัทธา

ดังนั้น หากการปฏิบัติประการใดประการหนึ่งที่ได้กลายเป็นที่แพร่หลายในประเทศมุสลิม และผู้ปฏิเสธก็ได้ทำมันด้วย รวมถึงชาวมุสลิมก็กระทำมันเช่นกัน แม้นว่าต้นกำเนิดของสิ่งปฏิบัติดังกล่าวจะมาจากธรรมเนียมประเพณีของผู้ปฏิเสธศรัทาก็ตาม มุสลิมดังกล่าวก็ไม่อาจกล่าวหาว่าทำการตะชับบุฮฺผู้ปฏิเสธศรัทธาได้ เพราะขณะนั้น เขามิได้กระทำในสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของปฏิเสธศรัทธา เว้นแต่ว่าเขามีเจตนาเพื่อเลียนแบบกาเฟร

อย่าง เสื้อผ้าการแต่งกายบางอย่าง เช่นการสวมใส่บันเฏาะลูน(เครื่องแต่งกายของชาวยุโรป เป็นกางเกงปิดส่วนล้างของร่างกาย เดิมจะรัดรูป) สำหรับชายที่มีชีวิตอยู่ในประเทศที่บันเฏาะลูนได้กลายเป็นธรรมเนียมประเพณีของที่นั้นแล้ว

แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงรวมการปฏิบัติที่เป็นชิอารสัญลักษณะเฉพาะทางศาสนาของพวกเขาแต่อย่างใด เช่นเสื้อผ้าของพวกคริสต์ หรือข้อปฏิบัติที่สั่งห้ามในอิสลาม เช่น ผ้าไหมสำหรับผู้ชาย แม้จะกลายเป็นประเพณีการแต่งกายสำหรับมุสลิม และไม่ได้เป็บลักษณะเฉพาะของคนกาฟิร แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังต้องห้ามในการปฏิบัติสำหรับมุสลิม

والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



1 ความคิดเห็น: