อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเข้ามาของอิสลามในหมู่เกาะมลายู




เขียนจาก Ensiklopedi Umum ภายใต้คำว่า Islam

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)เริ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วยตัวของท่านเองเพียงคนเดียวไปยังสังคมที่แตกแยก และยังผู้คนที่กราบไหว้สิ่งต่างฯ

ภายในเวลาประมาณ 23 ปี ท่านนบีฯได้รับความสำเร็จในการสร้างชาติ(อาหรับ)ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรัฐเดียวกัน ที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6)
ชาติใหม่กับศาสนาใหม่ดำเนินไปด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเป็นเวลา 2 ศตวรรษ
ขึ้นศตวรรษที่ 8 พวกเขาขึ้นไปอยู่บนยอดแห่งความสำเร็จอย่างงดงาม รัฐอิสลามกว้างขวาง จากอ่าวบิสกายา(สเปน)และฝรั่งเศสตอนใต้ ทางทิศตะวันตกจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย) ทางทิศตะวันออก และจากทะเลสาบอารัลและเอเชียกลาง(เขตแดนจีน) ทางทิศเหนือจนถึงต้นแม่น้ำไนล์ ทางทิศใต้ ภาษาอาหรับเป็นภาษากลางและศาสนาอิสลามถูกปลูกฝังอย่างแน่น ยุคนั้นคำว่า อาหรับกับอิสลามจะแยกกันไม่ออก ชาวอาหรับ-อิสลามมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน เคาะลีฟะฮฺในวงศ์อับบาส(อับบาสิยะฮฺ)มีอำนาจเป็นเวลาอันยาวนานที่สุด คือ 5 ศตวรรษ

เมื่อบทบาทของชาวอาหรับเริ่มเสื่อมลง ชาวมุสลิมชนชาติอื่นขึ้นมาแทนที่ ตอนนั้นคำว่าอาหรับกับอิสลามจึงแยกกันได้

ถึงแม้ว่าระยะหลังรัฐมุสลิมประสบกับการแตกแยก แต่ศาสนาอิสลามไม่ได้รับความสะเทือนมากนัก อารยธรรมอิสลามยังก้าวหน้าและภาษาอาหรับกลายเป็นภาษาแห่งวิชาการ เมื่อกองทัพอนารยชนได้บุกรุกระลอกแล้วระลอกเล่า แม้บ้านเมืองบางส่วนจะพังทลายหรือเสียหายอย่างหนัก ขอบเขตหรือชายแดนจะเปลี่ยนแปลง ประชากรจะถูกฆ่าและบาดเจ็บมากมาย แต่ศาสนาอิสลามยังชูธงและก้าวหน้าต่อไป ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 13 ศาสนาอิสลามมาถึงหมู่เกาะมลายู โดยพวกพ่อค้าจากเปอร์เซียและคุชรัต(อินเดีย)ได้นำมาเผยแผ่

มาร์โค โปโล ได้เล่าว่าในการเดินทางจากประเทศจีนกลับไปยังอิตาลีนั้น เขาได้แวะที่สุมาตรา(คศ.1292) ประชากรของเมืองเปอร์ลักในสุมาตราเหนือนับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก เป็นไปได้ว่า เมืองเปอร์ลักก็เช่นเดียวกับสุมาตรา ปาสัย ที่อิบนุ บัฏฏูเฏาะฮฺ ได้มาเยือนในปี 1345 และ 1346

อิบนุ บัฏฏูเฏาะฮฺ เป็นราชทูตของสุลต่านแห่งเดลฮีไปยังเมืองจีน ขากลับจากเมืองจีนเขาได้แวะที่สุมาตรา เวลานั้นผู้ปกครองเมืองมีนามว่า สุลต่านอะหมัด หรือที่รู้จักกันในนาม มะลิกุฏ ฏอฮิรฺ
สุมาตรา ปาสัย เป็นเมืองท่าที่มีพ่อค้ามากมายและมีสัมพันธ์ไมตรีกับเมืองเดลฮีและจีน
สุมาตรา ปาสัย เสื่อมหลังถูกกองทัพเรือมาญาปาฮิตโจมตีในปื1350

แม่ทัพเรือจีนที่นับถือศาสนาอิสลามชื่อ เชงโฮ เคยแวะเยือนแถบนี้ในปี 1405,1408 และ 1412 และมีบันทึกว่า แถบนี้มีอุลละมาอฺจากอาหรับและมาลาบาร์(อินเดีย) จำนวนมาก พวกเขานับถือตามแนวความคิดของอิม่ามชาฟีอี ขากลับจากการเยือนครั้งสุดท้าย เชงโฮ(เชินเฮอ)พร้อมกับสุลต่านอิสกันดัรฺ(สุลต่านสุมาตรา ปาสัย คนสุดท้าย) ที่ต้องการเข้าเฝ้าจักพรรดิแห่งจีน แต่พระองค์ถูกลอบสังหารเสียก่อน สุมาตรา ปาสัยจึงไม่สามารถโงหัวอีกเลย และมาลากาเข้ามามีบทบาทแทน

ปาราเมสวารา ตั้งเมืองมาลากาในปี 1363 ภายใต้ประมุขผู้นี้และราชวงศ์นี้ มาลากาได้กลายเป็นเมืองท่านานาชาติที่สำคัญ ซึ่งมีพลเมืองหนาแน่นและอุดมสมบูรณ์

ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเมืองมาลากานั้น อาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากมาถูกปาฮิต ซึ่งในปี 1377 สามารถยึดหัวเกาะสุมาตราและแหลมมาลายู ได้ประสบความเสื่อมที่ทำให้ มาญาปาฮิตอ่อนกำลัง จนไม่สามารถจะป้องกันฐานะของตนเองที่มีชื่อโด่งดังในแหลมมาลายูได้
ปาราเมสวารา สิ้นชีวิตในปี 1414 และพระโอรสของพระองค์ขึ้นมาแทนที่ มีนามว่า มุฮัมมัด อิสกันดัรฺ ชาฮฺ ซึ่งเป้นสุลต่านมาลากาองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม และต่อมา สุลต่านเมืองปาฮัง เปรัก โยโฮร์ ตรังกานู ก็รับนับถือศาสนาอิสลามตามไปด้วย ขอบเขตการปกครองของเมืองมาลากาภายใต้การปกครองของสุลต่านมุชัฟฟัรฺ ชาฮฺ (1450-1458)และสุลต่านมันศูรฺ ชาฮฺ(1450-1477)ทางทิสใต้กว้างขวางจนถึงสุมาตรากลาง,กัมปาร์,ซียัก,อันครากีรีและโรกัน

นอกจากพ่อค้าจากมาลากาแล้ว พ่อค้ามุสลิมคุชรัตและเปอร์เซีย ก็ได้นำสินค้าไปค้าขายที่เกาะชวา พวกเขาได้แวะตลอดชายฝั่ง และบางรายได้แต่งงานกับชาวท้องถิ่น ทำให้ครอบครัวดังกล่าวเป็นมุสลิมไปด้วย และอิทธิพลของพ่อค้าเหล่านี้ จะมากยิ่งขึ้นไปอีกถ้าได้แต่งงานกับบุตรีเจ้าเมือง หรือบุตรีของคนชั้นนำ เหตุการณ์แรกที่เกอร์ชิก เกี่ยวกับผู้เผยแพร่ศาสนาอิสลาม คือ เมาลานาอิบรอฮีม (คศ.1491) หลุมฝังศพของท่านอยู่ที่ กาปูรา เวตัน หินหลักที่ปักไว้บนที่ฝังศพของท่านเขียนด้วยภาษาอาหรับที่ประณีต นำมาจากแคมเบย์(คุชรัต)

เกอร์ชิก สูบารายา มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ที่ตั้งของเมืองเกอร์ชิก สูบารายาใกล้กับศูนย์การปกครองของรัฐฮินดู “มาณาปาฮิต” ซึ่งกำลังเสื่อมนั้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อิสลามได้รับความสะดวก
ดังนี้แหละคือ การแพร่หลายอย่างรวดเร็วของอิสลาม อันเนื่องมาจากการทำงานของผู้ปกครองและนักเผยกผ่อิสลามที่มีอิทธิพล

นอกเหนือจากเมาลานา มาลิก อิบรอฮีม แล้ว ยังมีนักเผยกผ่ที่ประชาชนกล่าวถึงกระทั่งทุกวันนี้อีกหลายท่าน เช่น สุนันทั้งเก้าคือ
1 1.     เมาลานามาลิก อิรอฮีม
22.     สุนัน อัมเปล(งัมเปล)
 33.     สุนัน โบนัง
44.     สุนัน ดราญัด
5 5.     สุนัน กีรี
66.     สุนัน กูนุงญาดี
77.     สุนัน กาลีญากา
 88.     สุนัน  มูเรีย
 99.     สุนัน กุดุส

ทั้งเก้าท่านนี้ ยังมีชื่อเสียงรวมกันในนามของ “วาลี โชโง”
ระเด่น ฟะตะหฺ(คศ.1518) เจ้าเมืองเดมักคนแรก ก็มีผลงานอย่างใหญ่หลวงในการเผยกผ่อิสลาม รวมทั้งสุลต่านต่อฯมา ที่ปาญัง และมาดารัม
ที่ชวาตะวันตก การเผยแผ่ศาสนาอิสลามอย่างขนานใหญ่ก็คือ ภายใต้การนำของ ฟะลาเดฮัน หรือฟะเลเดฮัน(เพี้ยนมาจาก ฟะดะหิลลาฮฺ) ซึ่งเป็นคนแรกที่ปกครองเมืองบันเดน และภายหลังได้ถอนตัวจากการปกครองมาเป็นวะลีที่จิเรบอน(คศ.1570) ถูกฝังที่เขากูนุงญาดี เป็นที่รู้จักกันในนาม สุนัน กูนุงญาดี

ฮะสะนุดดีน บุตรของฟะเลเดฮัน ซึ่งถือกันว่า เป็นสุลต่านบันเดนองค์แรก(1552-1570)ได้สืบทอดงานของบิดาต่อไป

อาเจะห์ ภายใต้การนำของสุลต่านอิสกันดัรมูดา(คศ.1607-1636) ได้ปกครองทั่วสุมาตราเหนือและแถบชายฝั่งสุมาตราตะวันตก จนมาถึงมีนังกาเบา นอกจากนี้อาเจะห์ยังกผ่อำนาจข้ามช่องแคบมาลากามาถึงเมืองท่าปาฮัง เกดะห์ เปอร์ลัก บาดูชาวาร์ และในสมัยนี้อีกเช่นกัน อุละมาอฺคนสำคัญฯเช่น ชัมสุดดีน ปาสัย,ฮัมซะฮฺ ฟันซูรี,นูรุดดีน อัร-รอนีรี เกิดขึ้น

ที่อินโดนิเซียตะวันออก เช่น มาลูกู ก็เช่นเดียวกับสุมาตราและชวา คือบรรดาพ่อค้าเป็นผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลามไปยังที่นั่น  พวกเขาไปหาเครื่องเทศและสั่งสอนศาสนาอิสลามให้แก่ชาวเกาะ และด้วยอิทธิพลของผู้นำศาสนา(วะลี)แห่งเกรชิก และรอบฯเมืองนั้น ทำให้อิสลามแผ่ขยายไปยังแถบตะวันออกของอินโดนิเซียอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ชนชาติโปรตุเกสไปถึงมาลูกู(คศ.1512) รัฐอิสลามที่เตอร์นาเต ตีโคเรและบาจัน เกิดขึ้นมาแล้ว และผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเรียกว่า “สุลต่าน”

สุลต่านเตอร์นาเตที่มีชื่อเสียงคือ สุลต่านค็อยรุน (คศ.1535-1570) เคยทำสัญญาสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกส (กุมภาพันธ์ 1570) สัญญาดังกล่าวได้ยืนยันโดยฝ่ายสุลต่านยกคัมภีร์อัล-กรุอานและฝ่ายโปรตุเกสยกคัมภีร์ไบเบิลขึ้นมาเป็นสักขีพยาน แต่วันรุ่งขึ้น พวกโปรตุเกสได้ฆ่าสุลต่าน โอรสของสุลต่านที่มีนามว่า นาบุลลอฮฺ (1570-8-1583) ขึ้นครองแทน ขอบเขตการปกครองของสุลต่านองค์นี้ในประมาณปี 1580 จากมินดาเนา(ขณะนี้อยู่ในฟิลิปปินส์) ทางทิศเหนือจรดบีมา(สุมบาวา) ทางทิศใต้ อีเรียน ทางทิศตะวันออกจนถึงซูลาเวชีทางทิศตะวันตก ศุนย์กลางการปกครองของชูลาเวชี อยู่ที่ มักกาซัรฺ ซึ่งเป็นเมืองติดต่อระหว่างมาลูกู-ชวา-มาลากา-อาเจะห์

มักกาซัรฺแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ กัวและตัลโล สุลต่านอะลาอุดดีน(1591-1638) เข้ารับอิสลามในปี 1603 เวลาเดียวกันกับอำนาจของสุลต่านแห่งเดมักรุ่งเรือง ซึ่งได้เผยแพร่อิสลามไปถึงกาลีมันตัน(ประมาณปี 1550) หลังจากมาญาปาฮิตสลาย เดมักมีอำนาจขึ้นมาแทนที่บันญัรมาซิน ในปี 1641 เจ้าเมืองบันญัรมาซิน ยังได้ส่งทูตไปเฝ้าสุลต่านอาฆุงแห่งมาตารัม

ที่กาลีมันตะวันตก มีรัฐอิสลามหลายรัฐที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐที่อยู่นอกเหนือจากเกาะกาลีมันตัน เช่น ซูกาดานา จ่ายเครื่องราชบรรณาการแก่โยโฮร์ ผต้นศตวรรษที่ 17) ประชากรส่วนใหญ่มาจากโยโฮร์ สุลต่านอาฆุงเคยส่งกองทัพเรือไปตีซุกาดานา ในปี 1622 ในการสงครามกับรัฐลันดัก ซูกาดานาได้ขอความช่วยเหลือจากบันเดน(1699)



ที่มา : นิตยสารอัล-ญิฮาด ปีที่ 22 อันดับที่ 199-200(1978)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น