อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องเป็นมะอฺศูม (ผู้ไร้บาป)


โดยอ ปราโมทย์ศรีอุทัย ...
ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่า จุฬาราชมนตรีคือผู้นำของมุสลิมในประเทศไทย ...
แต่ปฏิเสธที่จะถือบวชออกบวชตามจุฬาราชมนตรี เพราะรังเกียจพฤติการณ์ของจุฬาราชมนตรีบางท่านที่มองดูแล้วเข้าข่ายชิริก หรือผิดบทบัญญัติของศาสนาอย่างร้ายแรง ...
เรียกว่าทั้งรักทั้งชัง .. ว่างั้นเถอะ ...
ผมเคยสะเออะคุยเรื่องการบ้านการเมืองกับเพื่อนคนหนึ่ง .. ผมถามเขาว่าชอบนายกรัฐมนตรีคนไหนมากที่สุด ...
เขาตอบว่าชอบนายกทักษิณมากที่สุด ...
ผมถามอีกว่า ..
เขาตอบว่าเกลียดนายกทักษิณมากที่สุด ...
เอ๊ะแปลกแฮะชอบมากก็ทักษิณเกลียดมากก็ทักษิณ ...
? ...
เขาอธิบายว่า นายกทักษิณ ...
แต่ที่เกลียดนายกทักษิณมากที่สุด .. ...
ผมจึงถึงบางอ้อและเชื่อว่า ...
มาพูดเรื่องของเราต่อกันดีกว่า ...
ด้วยเหตุผลที่ว่าจุฬาฯ บางท่านทำชิริก, และในอดีต ทั้งๆที่ในคืนนั้น ...
แต่ผมก็เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้เป็นจุฬาราชมนตรีเช่นเดียวกันว่า บางครั้งก็อาจตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้า - คายไม่ออก ...
ตัวอย่างเช่น ออกประกาศในคืนที่ 29 ให้ประชาชนดูเดือนเสี้ยว ทั้งๆที่ท่านก็รู้ดีว่าตามหลักคำนวณดาราศาสตร์แล้วเดือนเสี้ยวคืนนั้นมันไม่มี ...
เมื่อออกประกาศไปแล้ว ว่า ...
พอผมดูเดือนและแจ้งข่าวเห็นเดือนคุณมึงกลับไม่ยอมรับอ้างว่าคืนนี้เดือนเสี้ยวไม่มี .. ... อะไรวะ "...
ถ้าท่านเป็นจุฬาราชมนตรีเองท่านจะตอบเขาอย่างไรครับ? ...
จริงอยู่ตามปกติผู้นำทุกท่านทุกระดับควรจะมีวุฒิภาวะ, คุณธรรม, จริยธรรมเหนือกว่าชาวบ้านธรรมดา ...
แต่เราก็ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า แต่เป็นปุถุชนเหมือนเรา ...
เมื่อเป็นปุถุชน ...
ในอัล - กุรฺอ่านได้กล่าวถึง "ความผิด" ด้วยการไปกินผลไม้ต้องห้าม .. ในอายะฮ์ที่ 36 ซูเราะฮ์อัล - บะกอเราะฮ์ ...
และในอัล - กุรฺอ่านยังได้กล่าวถึง "ความพลาด" ของท่านนบีย์มุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม .. จนถูกพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ตำหนิในอายะฮ์ที่ 1-10 ซูเราะฮ์عبس ...
ตัวอย่างเหล่านี้จากอัล - กุรฺอ่านแสดงว่ามนุษย์ทุกคน - จะหลีกเลี่ยงจากความ "ผิด - พลาด" หาได้ไม่ ...
ผมชอบใจคำคมของ "อิงอร" นักเขียนคนหนึ่งที่เคยกล่าวไว้ในนิยายเรื่องหนึ่งว่า
"ความผิดพลาดเป็นธรรมดาของมนุษย์ ...
เห็นภาพเลยครับ ...
ดังนั้น "ผู้นำ" จะต้องเป็นมะอฺศูม ...
นอกจากใน "อะกีดะฮ์" อิหม่ามของพวกเขาล้วนเป็นมะอฺศูม .. ซึ่งพวกเรา - ขาวซุนนะฮ์ - ไม่ถือว่า ...
เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้าเราเป็นคนมีเหตุผล, มีความเป็นธรรมอยู่ในหัวใจ ? ...
"ฟาซิก" จนกลายเป็น "จุดอ่อน" (อะฮฺลิซซุนนะฮ์) อยู่จนถึงปัจจุบัน ...
แต่กระนั้น ...
ความจริงผมไม่อยากจะรื้อฟื้นเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาพูดเป็นการสาวไส้ให้กากิน แต่จำเป็นจะต้องนำข้อมูลเพียงบางส่วนมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบเพื่อเป็นหลักฐานว่า ต่อให้พฤติการณ์ส่วนตัวของผู้นำจะแย่ขนาดไหน ก็วายิบสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตาม หากคำสั่งของเขาเป็นคำสั่งใช้ให้กระทำสิ่งที่ "ถูกต้อง" ตามบทบัญญัติ ...

(1) ท่านอัล - วะลีดบินอุกบะฮ์บินอบีย์มุอีฏผู้ซึ่งท่านคอลีฟะฮ์อุษมานบินอัฟฟาน ร.ฎ. ฮ.ศ. 26 หลังจากที่ได้ถอดท่านสะอัดบินอบีย์วักกอฏ ร.ฎ. ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองดังกล่าว ...
มีกล่าวในหนังสือ "شرحالعقيدةالطحاوية" .. หน้า 422 ว่า ...

وكذلكعبداللهبنمسعودرضىاللهعنهوغيرهيصلونخلفالوليدبنعقبةبنأبىمعيط, وكانيشربالخمر ....
"ในทำนองเดียวกันท่านอับดุลลอฮ์อิบนุมัสอูด ร.ฎ. และเศาะหาบะฮ์ท่านอื่น ๆ ก็ยังเคยนมาซตามท่านอัล - วะลีดบินอุกบะฮ์บินอบีย์มุอีฏทั้งๆที่เขาเป็นคนชอบดื่มสุรา (จนครั้งหนึ่งเคยนำนมาซซุบห์ถึง 4 ร็อกอะฮ์ก็มี) ...
(2) ท่านยะซีดบินมุอาวิยะฮ์ (เป็นคอลีฟะฮ์ท่านที่ 2 แห่งวงศ์อุมัยยะฮ์ .. ร.ฎ. ผู้เป็นบิดาในปี ฮ.ศ. 61-64, รวมเวลาอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี 8 เดือน) ...
ท่านอิบนุหะญัรอัล - ฮัยตะมีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 909-974, สิ้นชีวิตที่นครมักกะฮ์, มัยยิตของท่านถูกฝังที่สุสานมะอฺลา) ได้กล่าวในหนังสือ "الصواعقالمحرقة" เล่ม 2 หน้า 630, 632 ว่า ...
واعلمأنأهلالسنةقداختلفوافىتكفيريزيدبنمعاويةوولىعهدهمنبعده, فقالتطائفة: إنهكافر, ........... وقالتطائفة: ليسبكافر ...
"พึงทราบเถิดว่า (ขอย้ำว่าที่ขัดแย้งกันคือชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์, ไม่ใช่พวกชีอะฮ์) ในการหุก่มว่าท่านยะซีดบินมุอาวิยะฮ์เป็นกาฟิรฺหรือไม่? .. ? บางพวกกล่าวว่าท่านยะซีดเป็นกาฟิรฺ ........ และบางพวกกล่าวว่าท่านไม่ใช่กาฟิรฺ "
แล้วท่านอิบนุหะญัรฺก็ได้กล่าวสรุปในหน้าที่ 632 หนังสือเล่มเดียวกันนั้นว่า ...
وعلىالقولبأنهمسلم, فهوفاسق, شرير, سكير, جائر
"และแม้จะยึดถือตามทัศนะที่ว่าท่านยะซีดยังเป็นมุสลิมอยู่ แต่เขาก็คือค​​นเลว, คนชั่ว, คนขี้เมา, คนอธรรม" ...
ถึงขนาดนี้ก็ไม่เคยปรากฏว่าจะมีมุสลิมคนใด ...
(3) ท่านอัล - หัจญาจญ์บินยูซุฟอัษ - ษะเกาะฟีย์ซึ่งเคยปกครองนครมะดีนะฮ์, ต่อมาท่านอับดุลมะลิกบินมัรฺวานคอลีฟะฮ์ท่านที่ 5 แห่งวงศ์อุ มัยยะฮ์ได้โยกท่านออกจากตำแหน่งเดิมไปเป็นผู้ครองเมืองอิรัก, บัศเราะฮ์และกูฟะฮ์ในปี ฮ.ศ. 75 .. ดังข้อมูลจากหนังสือหนังสือ "อัล - บิดายะฮ์วัน - นิฮายะฮ์" เล่มที่ 9 หน้า 11 ...
มีกล่าวในหนังสือ "شرحالعقيدةالطحاوية" หน้า 421 เกี่ยวกับท่านอัล - หัจญาจญ์ว่า ...
((وفىصحيحالبخارى)) أنعبداللهبنعمررضىاللهعنهكانيصلىخلفالحجاجبنيوسفالثقفى, وكذلكأنسبنمالك, وكانالحجاجفاسقاظالما

ท่านอับดุลลอฮ์บินอุมัรฺ ร.ฎ. และเช่นเดียวกันท่านอนัสบินมาลิก ร.ฎ. ได้เคยนมาซหลัง (คือเป็นมะอ์มูมของ) ท่านอัล - หัจญาจญ์บินยูซุฟอัษ - ษะเกาะฟีย์ คนอธรรม "

(4) ท่านอัล - วะลีดบินยะซีดบินอับดุลมะลิก (เป็นคอลีฟะฮ์ท่านที่ 11 แห่งวงศ์อุมัยยะฮ์, ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ในปี ฮ.ศ. 125) ...
ท่านอิบนุกะษีรฺได้กล่าวในหนังสือ "อัล - บิดายะฮ์วัน - นิฮายะฮ์" เล่มที่ 6 หน้า 635 ว่าท่านอัล - วะลีดบินยะซีดผู้นี้เป็นคนฟาซิก (คนเลว ) ...
ท่านอัล - หะซันอัล - บัศรีย์ (เป็นตาบิอีนระดับอาวุโส, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 110) ได้ตอบคำถามของผู้ที่ถามท่านเรื่อง ว่า ..

صلخلفه! وعليهبدعته
"จงนมาซตามเขาไปเถอะ! เรื่องบิดอะฮ์ของเขาเขาจะต้องรับผิดเอาเอง "
(จาก "เศาะเหี๊ยะฮ์บุคอรีย์" บาบที่ 56 กิตาบอัล - อะซานด้วยสายรายงานมุอัล
ลัก, และท่านสะอีดบินมันศูรฺ ...
และท่านรอซู้ลุลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมยังได้เคยกล่าวไว้ว่า ...
((يصلونلكم! فإنأصابوافلكم, وإنأخطؤوافلكموعليهم))
"ให้พวกเขา (ผู้นำ) นำนมาซพวกท่านไปเถอะ! ถ้าหากพวกเขาถูกต้องพวกท่านก็ได้รับผลบุญ (และพวกเขาก็ได้รับผลบุญ) ถ้าหากพวกเขาทำผิดพวกท่านก็ยังได้รับผลบุญ
(บุคอรีย์, หะดีษที่ 694)
จึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่าผู้นำนั้น - ก็คือปุถุชนคนหนึ่ง ...
ขนาดผู้นำบางท่านเป็นคนฟาซิก, คนเลว, คนชั่ว, คนอธรรม, คนขี้เหล้า อิบนุมัสอูด, ท่านอนัสอิบนุมาลิก, ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร ร.ฎ. และเศาะหาบะฮ์ท่านอื่น ๆ ก็ยังคงนมาซตามพวกเขา ...
ขนาดผู้นำทำบิดอะฮ์ท่านอัล - หะซันอัล - บัศรีย์ เพราะบิดอะฮ์ของเขาเขารับผิดชอบไม่ใช่เราต้องไปรับผิดชอบแทนเ​​ขา ...
และต่อให้ผู้นำนมาซผิด ..
แล้ว .. .. ถูกต้องตามซุนนะฮ์ทุกประการ ...
? ...
หมายเหตุ
เพื่อนฝูงบางคนกึ่งถาม - กึ่งปรึกษากับผมว่า ไม่ยอมดูเดือนเสี้ยวเลยอย่างนี้จะใช้ได้หรือไม่? ...
ขออภัยที่ผมจำเป็นต้องตอบว่า ไม่ถือว่าเป็นชาวซุนนะฮ์หรอกครับ ...
คนกลุ่มนี้คงอาศัยความเข้าใจ (เอาเอง) จากคำสั่งของท่านศาสดาศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า ............... صوموالرؤيته: แปลว่า ......... ) แล้วพวกเขาก็คงอธิบายว่า ...
ภาษาอาหรับว่าرؤيتهแปลเป็​​นภาษาไทยว่าเ​​ห็นมัน (เดือนเสี้ยว) .. ซึ่งการ "เห็น" นั้นจะมี 2 ลักษณะคือ ...
1 "เห็น" ด้วยตา ...
2 "เห็น" ด้วยความรู้ (คือการคำนวณดาราศาสตร์) ...
เพราะฉะนั้น "ตา" ก็ได้, ด้วยการ "คำนวณดาราศาสตร์" ก็ได้ ....
โดนเข้าไม้นี้ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไรครับ? ...
สำหรับผมขอเรียนชี้แจงว่า ...
1. ความเข้าใจของเขาที่ว่าคำว่าرؤيةในทางภาษาจะแปลว่าเห็นด้วยตาก็ได้, เห็นด้วยใจ (คือรู้) ก็ได้เป็นเรื่องถูกต้องครับ ...
แต่มิได้หมายความว่าคำว่าرؤيةคำเดียว, ในประโยคเดียวกันดังหะดีษบทนั้นจะเลือกแปลอย่างหนึ่งอย่างใดจาก 2 ความหมายได้ตามใจชอบอย่างที่พวกเขาเข้าใจ ...
เพราะในแง่ภาษาอาหรับ .. رؤيةที่แปลว่าเห็นด้วยตาจะมีลักษณะอย่างหนึ่งและرؤيةที่แปลว่าเห็นด้วยใจหรือรู้จะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกันหรอกครับ
คำว่าرؤيةที่แปลว่าเห็นด้วยตาจะมี "กรรม" เพียงตัวเดียวมารองรับ ...
แต่رؤيةที่แปลว่ารู้ต้องมีกรรม 2 ตัวมารองรับครับ ...
"กรรม" ตามความหมายในวิชาไวยากรณ์หมายถึงสิ่งที่ถูกกระทำ ...
คำว่าเดือนเสี้ยวถือว่าเป็นกรรม .. เพราะเป็นสิ่งที่ "ถูกเห็น" ...
หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือท่านอิบนุมาลิกได้กล่าวอธิบายในหนังสือ "ألفية" ของท่านว่า ...
إنصببفعلالقلبجزأيابتداأعنىرأىخلاعلمتوجدا
ผมจะไม่แปลให้ท่านฟังนะครับ .. เพียง แต่จะบอกให้รู้ว่าความหมายของบทกลอนข้างต้นก็คือرؤيةที่แปลว่ารู้ (ไวยากรณ์อาหรับเรียกว่าفعلالقلب) จะต้องมีกรรม 2 ตัว .. ดังที่ผมบอกไปนั้น ...
ทีนี้เรามาดูหะดีษบทนั้นที่ท่านนบีย์ ...
صوموالرؤيته .............................
ซึ่งมีความหมายว่า ...
คำว่า "เห็นมัน" แปลมาจากคำในหะดีษที่ว่าرؤيتهซึ่งเป็นคำสมาส (إضافة) สามารถแยกแฟ็คเตอร์ออกเป็นرؤيةแปลว่าเห็น, กับهแปลว่ามัน ...
ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าคำว่า "เห็น" (رؤية) ในประโยคนี้มีกรรมเพียงตัวเดียวมารองรับคือคำว่า "มัน" (ه) ...
เพราะฉะนั้นเมื่อرؤيةในประโยคนี้, ในหะดีษบทนี้มีกรรมเพียงตัวเดียวก็จะแปลว่า "เห็นด้วยความรู้" ไม่ได้ครับ ...
แต่จะต้องแปลว่า "เห็นด้วยตา" (إبصار) เท่านั้น ...
2 คือหะดีษที่ว่า ...
الصوميومتصومون, والفطريومتفطرون, والأضحىيومتضحون​​ ...
ท่านอิบนุลก็อยยิมอัลญูซียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 751) ได้กล่าวอธิบายหะดีษบทนี้ในหนังสือ "ตะฮ์ซีบอัส - สุนัน" เล่มที่ 3 หน้า 214 ว่า ...

((قيل: فيهالردعلىمنيقول: إنمنعرفطلوعالقمربتقديرحسابالمنازلجازلهأنيصومويفطر ........ وقيل: إنالشاهدالواحدإذارأىالهلالولميحكم​​القاضىبشهادتهأنهلايكونهذالهصوما, كمالميكنللناس)) ...
"กล่าวกันว่าในหะดีษบทนี้เป็นหลักฐาน" หักล้าง "ผู้ที่กล่าวว่า ........... และยังกล่าวกันอีกว่า เขาก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด ...
"มะอฺศูม" (ผู้ไร้บาป) ก็คือ ...
และประเด็นเรื่องการ "วายิบ" ...
แต่อยู่ที่คำสั่งของผู้นำว่าถูกหรือผิดเท่านั้นครับ ...
อย่างผม .. สมมุตินะครับ, (แต่เรื่องจริงมันไม่มีดังที่สมมุติ แต่นั่นเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่หลักการ) ผมก็ขอเรียนท่านตรงๆ, สั้น ๆ ว่า ...
ถ้าท่านสั่งให้ผมทำสิ่งถูกผมตาม, แต่ถ้าท่านสั่งให้ผมทำสิ่งผิดผมไม่ตาม ...
ชัดเจนดีไหมครับ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น