อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การผ่อนผันให้ไม่ต้องถือศิลดแต่ให้จ่ายฟิตยะฮ์สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร


มุสลิมบ้านเรา ส่วนใหญ่จะยึดติดทัศนะทางฟิกฮฺตามมัซฮับชาฟีอีย์อย่างผูกขาด โดยไม่พิจารณาทัศนะอื่นที่อาจถูกต้องหรือใกล้เคียงสุนนะฮฺมากกว่า ด้วยเหตุนี้มุสลิมบ้านเราจึงไม่ยอมรับการปฏิบัติทางฟิกฮฺที่ไม่ตรงกับทัศนะของมัซฮับอื่นๆ และจะมองว่าการปฏิบัติในเรื่องเดียวกันที่ไม่ตรงกับตน เป็นการปฏิบัติที่ผิด และไม่ใช่พวกเดียวกับตน

ทั้งที่การปฏิบัติทางฟิกฮฺที่แตกต่างกันบ้างบางเรื่องมันเป็นทัศนะ และเป็นเรื่องเปลี่ยงย่อย ที่มีการวินิจฉัยชี้ขาดทางด้านศาสนาภาคปฏิบัติของนักปราชญ์แต่ละท่านจากหลักฐานที่เป็นรายละเอียด ซึ่งอาจตรงกันหรือต่างกันบ้างในส่วนรายละเอียด แต่นักปราชญ์เหล่านั้นก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่มีความแย้งกันในความเห็นต่างในส่วนปลีกย่อยนั้นต่อย่างใด แต่มุสลิมบ้านเราซึ่งเป็นบรรพชนยุคหลัง กลับนำประเด็นเหล่านั้นมาเป็นประเด็น และแบ่งพรรคแบ่งพวก และไม่ยอมรับการปฏิบัติศาสนากิจที่มันผิดแผกไปจากบรรพบุรุษของตน เหมือนดั่งว่าสิ่งที่ตนยึดถือและปฏิบัติมานั้นมันไม่มีความผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย

สำหรับประเด็นปรีกย่อยภาคปฏิบัติอีกเรื่องหนึ่งที่นักปราชญ์มีความเห็นแย้งแตกต่างออกไปหลายทัศนะนั้นคือ ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ที่ศาสนาผ่อนผันให้ไม่ต้องถือศิลอดที่เป็นวาญิบในช่วงเดือนรอมาฎอน หากขณะนั้นหญิงคนนั้นกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร  แต่นักปราชญ์มีความเห็นแย้งกันในกรณีหากหญิงผู้นั้นพ้นจากเหตุแห่งการผ่อนผันนั้นแล้ว จะต้องถือศิลอดชดเชย หรือเสียฟิดยะฮฺ หรือไม่ ซึ่งมีทัศะต่างกันดังนี้

ทัศนะแรก ซึ่งถือเป็นทัศนะที่เกิดความสะดวกที่สุดสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร คือทัศนะที่ว่า "จำเป็นต้องจ่ายฟิตยะฮเท่านั้น ไม่ต้องถือศิลอดชดใช้" ซึ่งทัศนะนี้เป็นทัศนะของเหล่าศอหาบะฮ์ ได้แก่ ทัศนะของท่านอิบนุอับบาสและท่านอิบนุอุมัร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์)

ท่านสะอีด บุตรของญุบัยร์เล่าว่า ท่านอิบนุอับบาสอ่านอัลกุรอาน
"และบรรดาผู้ถือ(ศิลอด) โดยลำบากยิ่ง การชดใช้คือการให้อาหารแก่คนขัดสนหนึ่งคน) เขากล่าวว่า เป็นข้อผ่อนผันสำหรับชายชรา สตรีชรา โดยทั้งสองไม่สามารถถือศิลอดได้ ให้ทั้งสองละศิลอดแล้วจ่ายอาหารแทนแก่คนยากจนทุกๆวัน ส่วนสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร หากนางกลัวว่า (ท่านอบูดาวูดกล่าวว่า หมายถึง กลัวมีอันตรายต่อเด็กในครรภ์) เช่นนั้นให้นางละศิลอด แต่ให้จ่ายอาหาร (แก่คนยากจน) แทน" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2320)

ท่านนาฟิอฺเล่าเกี่ยวกับท่านอิบนุอุมัรฺว่า
"แท้จริงสตรีมีครรภ์นางหนึ่งถามเขา เขาตอบว่า เธอจงละศิลอด และเธอจงให้อาหารทุกๆ วันแก่คนยากจน โดยเธอไม่ต้อง(ถือศิลอด)ชดใช้แต่ประการใด"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยอัดดารุฏนีย์ หะดิษเลขที่ 2413)

ทัศนะที่สอง คือทัศนะที่ว่า "จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้เท่านั้น ไม่ต้องจ่ายฟิตยะฮ" ได้แก่ทัศนะของนักวิชาการมัซฮับหะนะฟี

ทัศนะที่สาม  คือทัศนะที่ว่า "จำเป็นต้องถือชดใช้และจ่ายฟิตยะฮพร้อมกัน ได้แก่ทัศนะของนักวิชาการมัซฮับชาฟิอี และหัมบะลีย์

ทัศนะที่สี่  คือทัศนะที่ว่า "ไม่จำเป็นต้องถือศิลอดชดใช้ และไม่จำเป็นต้องจจ่ายฟิดยะฮฺ" ได้แก่ทัศนะของอิบนุหัซมิน

ความเห็นของแต่ละทัศนะเกี่ยวกับหญิงตั้้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรจะต้องถือศิลอดชดใช้และต้องจ่ายฟิตยะฮฺหรือไม่? ได้มีความเห็นต่างออกไปตามการวินิจฉัยของนักปราชญ์ยุคต้น ซึ่งนักปราชญ์แต่ละท่านต่างให้เกียรติในความเห็นของนักปราชญ์ที่มีความเห็นไม่ตรงกับตน โดยไม่มีความขัดแย้งหรือเกิดความบาดหมางซึ่งกันแและกัน แต่กระนั้นก็ตามพวกเขาไม่เคยชี้แนะให้ผู้ใดที่ตามทัศนะของตน มีการผูกขาดทัศนะนั้น ไม่ว่าบางเรื่องหรือทั้งหมดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนากิจก็ตาม แต่ท่านเหล่านั้นกลับชี้แนะให้ละทิ้งทัศนะของตนเสียหากมีความขัดแย้งกับกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ ซึ่งความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้แม้พวกเขาจะมีความเป็นนักปราชญ์ก็ตาม

สำหรับมุสลิมบ้านเรา ส่วนใหญ่ยึดติดกับมัซฮับชาฟิอีย์เป็นส่วนใหญ่ การปฏิบัติสำหรับหญิงตั้้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรเมื่อขาดบวชในช่วงดังกล่าว ก็จำต้องถือศิลอดชดใช้และต้องจ่ายฟิตยะฮฺนั้นด้วย จึงปรากฏให้เห็นว่า พวกเธอยอมถือศิลอดในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อไม่ต้องถือศิลอดชดเชยและต้องจ่ายฟิตยะฮฺในคราวเดียวกัน ซึ่งพวกเธอก็ถือศิลอดได้ตามปกติ ไม่เกิดความลำบากสำหรับพวกเธอ แต่นั้นมันสำหรับพวกเธอ ในท้องของพวกเธอยังมีชีวิตอีกชีวิตหนึ่งซึ่งต้องพึงพาจากสารอาหารที่พวกเธอได้บริโภคเข้าไป เพื่อใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก หากพวกเธออดอาหารในขณะถือศิลอดและติดต่อกันหลายวัน ก็ไม่มีสารอาหารที่จะมาล่อเลี้ยงชีวิตน้อยๆในท้องของพวกเธอ  จึงขาดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาการร่างกายของทารกให้เป็นปกติได้ ซึ่งทำให้ทารกที่เกิดมาไม่แข็งแรงสมบูรณ์เหมือนเด็กทารกทั่วไป นี้คือผลกระทบที่ได้รับตามมาสำหรับลูกรักของพวกเธอ

สำหรับทัศนะที่ให้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรจำเป็นต้องถือศิลอดชดใช้และจ่ายฟิตยะฮพร้อมกันนั้น โดยให้เหตุผลว่าในตัวของหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรนั้นตัวของเธอนั้นมีความสามารถที่จะถือศีลอด แต่การละศีลอดของเธอเพื่อลูกของเธอ นั้นหมายความว่าผู้ที่สามารถจะถือศีลอดได้ แต่ไม่ถือ ดั้งเช่นคนทั่วไป ซึ่งเขาไม่ได้เจ็บป่วยหรืออยู่ในขณะเดินทาง ได้ละทิ้งการถือศิลอด ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้นอกจากจะต้องถือศีลอดใช้แล้ว เขาจะต้องให้อาหารแก่คนมิสกีนอีกด้วย ทั้งนี้เป็นการชดเชย ซึ่งตรงข้ามกับทัศนะที่ว่า "ไม่จำเป็นต้องถือศิลอดชดใช้ และไม่จำเป็นต้องจจ่ายฟิดยะฮฺ" แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่มีหลักฐานให้นางชดใช้หรือจ่ายฟิตยะฮฺ

ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ว่าหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรในสภาพทั่วไปของเธอจะเหมือนคนทั่วๆไปที่ไม่ใช่คนป่วย คนชรา หรือคนเดินทาง แต่ลูกในครรภ์ของเธอ ต้องพึ่งพาอาศัยเธอ ในการพัฒนาการร่างกายและสมอง ถ้าหากผู้เป็นแม่ไม่มีการบริโภคอาหารเข้าสู่ร่างกาย ก็ไม่มีสารอาหารที่จะไปบำรุงและเสริมสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ได้ ลูกในครรภ์จึงขาดเธอผู้เป็นแม่เสียมิได้ ไม่ต่างอะไรกับคนป่วย คนชราภาพ หรือคนเดินทางที่เกิดความยากลำบากหากได้ทำการถือศิลอด ต่างกันเพียงผู้ที่ได้รับผลกระทบคือลูกของเธอ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยเธอ เธอจึงจำเป็นที่จะได้รับการผ่อนผันเช่นคนป่วย คนชราภาพ หรือคนเดินทาง เช่นเดียวกัน
ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ แท้จริงอัลลอฮได้อนุญาตให้แก่ผู้ที่เดินทาง ในการละหมาดย่อ และอีกทั้งผ่อนผันการถือศิลอดให้แก่หญิงที่ตั้งครรค์ และหญิงที่ให้นมบุตร"((บันทึกโดย อัตติรมีซีย์ หะดิษที่ 719 และอันนาซาอีย์) ท่านอัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษที่ดี และบางเล่ม(หมายถึงหนังสือหะดีษ) อัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษที่ดี และถูกต้อง และท่านอิบนู คุซัยมะห์ให้เป็นหะดีษที่ถูกต้อง)

และเมื่อหญิงตั้งครรภ์ได้คลอดบุตรแล้วก็จำต้องให้นมบุตรติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี และภายหลังจากนั้นเธออาจมีการตั้งครรภ์บุตรคนใหม่อีก ซึ่งเธออาจไม่มีโอกาสในการถือศิลอดชดใช้ การให้เธอจ่ายฟิตยะฮฺจึงเกิดความสะดวกสำหรับเธอมากสุด และทำให้การปฏิบัติศาสนาที่ง่ายสำหรับเธอ และเป็นข้อปฏิบัติที่ได้รับการยืนยันจากเหล่าศอหาบะฮฺซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองจากท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้จ่ายเฉพาะฟิตยะฮฺสำหรับพวกเธอ

และท่านอิบนุ กะษีร (ร่อหิมาฮุลลอฮฺ) ได้อธิบายอายะฮฺอัลกุรอานซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ  อายะที่ 184 ในตัฟซีร ของท่านที่ว่า

وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ

"และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) "

มันเป็นเรื่องเฉพาะชายสูงอายุ และหญิงสูงอายุ ซึ่งสามารถจะถือศิลอดได้ด้วยยากลำบาก ก็ให้ทั้งสองจ่ายอาหารใหคนขัดสนแทนทุกๆวัน (ท่านอ้างคำพูดอิบนุ อับบาส) (ฟัตฮุลบารีย์ 8/218)

และที่เกี่ยวพันกับเรื่องนี้ด้วยก็คือ หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมลูก เมื่อทั้งสองกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อตัวเอง และลูกของนาง ก็ให้เสียฟิตยะฮฺได้โดยที่นางทั้งสองไม่ต้องถือศิลอด (ตัฟซีรฺ อิบนิ กะซีรฺ เล่ม 1)


والله أعلم بالصواب





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น