อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การปฏิบัติสิ่งที่มีบัญญัติไว้แล้ว และเมื่อผู้อื่นเอาเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่คิดเรื่องบิดอะฮที่ดี


(سنة
 ) ความหมายของคำว่า ซุนนะหฺ
คำว่าซุนนะหฺ ในหลักภาษา แปลว่า แนวทาง ถึงแม้ทางนั้นเป็นทางที่ดีหรือเลว
سُنَّةَ مَن قَدْ أَرْسَلْنَا قَبْلَكَ مِن رُّسُلِنَا وَلَا تَجِدُ لِسُنَّتِنَا تَحْوِيلًا ( 77 )
“นี่คือแนวทางของผู้ที่เราได้ส่งเขามาก่อนเจ้าจากบรรดาร่อซูลของเรา และเจ้าจะไม่พบการเปลี่ยนแปลงในแนวทางของเราแต่ประการใด”
(อิสรออฺ / ๗๗)
..และในฮาดิษของท่านนบีที่ว่า
«مَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً حَسَنَةً، فَلَهُ أَجْرُهَا، وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا بَعْدَهُ، مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْءٌ، وَمَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً سَيِّئَةً، كَانَ عَلَيْهِ وِزْرُهَا وَوِزْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا مِنْ بَعْدِهِ، مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَيْءٌ»
" ผู้ใด ที่ได้ริเริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม ซึ่งแนวทาง(แบบฉบับ)ที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสียชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ริเริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม ซึ่งแนวทาง(แบบอย่าง)ที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา"
(รายงานโดย มุสลิม /1017)
__________________________________________________
หะดิษนี้ ไม่ใช่หลักฐาน ที่แสดงบอกว่า เมื่อคิดแบบอย่างที่ตนเห็นว่าดี แล้วผู้อื่นเอาเยี่ยงอย่าง หรือ ปฏิบัติตาม แล้วได้บุญ แต่หะดิษนี้ ต้นเรื่องของ มัน คือ การปฏิบัติสิ่งที่มีบัญญัติไว้แล้ว และเมื่อผู้อื่นเอาเป็นตัวอย่าง แล้วนำไปปฏิบัติด้วย ไม่ใช่คิดเรื่องบิดอะฮ ที่ดี ตามความเข้าใจของท่านครู ท่านครูแปลว่า (ผู้ใดที่ได้ริเริ่มกระทำ(รูปแบบหนึ่ง)ขึ้นมา” ) เพื่อให้เข้าใจว่า เราคิดแบบอย่างขึ้นเอง ซึ่งจริงไม่ใช่เช่นนั้น มาดู ที่ผมเคยอธิบายไว้ ในเว็บอัสสุนนะฮดังนี้
วิจารณ์
หะดิษนี้ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮฺที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง การฟื้นฟูสุนนะฮฺและการเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ที่ศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะ
ที่มาของคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮฺ
ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง
และที่จริงความหมายของคำว่า “من سن “ ในหะดิษคือ من أحيا ซึ่งแปลว่า “ ฟื้นฟูขึ้นใหม่” คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้วแต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ
เมื่อมีผู้มาฟื้นฟูขึ้น แล้วมีผู้ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติไว้แล้ว โปรดดูต้นเหตุ(สะบับ)ของหะดิษนี้ ซึ่งปรากฏในหนังสืออธิบายหะดิษมุสลิม
ของอันนะวาวีย์ ดังนี้
มีคนยากจนจำนวนหนึ่งมาหาท่านร่อซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยเครื่งแต่งกายขาดกะรุ่งกะริ่ง เมื่อท่านร่อซูลุ้ลลอฮ
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นดังนั้น ใบหน้าของท่านซีดเผือด ท่านจึงเข้าไปในบ้านและออกมาสั่งให้ท่านบิลาลอะซาน แล้วท่านจึงทำการละหมาด
เสร็จแล้วท่านจึงขึ้นอ่านคุฏบะฮ โดยอ่านอายะฮดังต่อไปนี้
{ يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ} إلى آخر الآية {إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيباً
"สูเจ้าทั้งหลายจงสำรวมตนต่ออัลลอฮ พระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ผู้ทรงสร้างพวกเจ้าจากชีวิตหนึ่ง....จนถึงท้ายของอายะฮที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ
ทรงเฝ้าดูแลพวกเจ้า” และท่านรซูลได้อ่านโองการต่อไปนี้
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنظُرْ نَفْسٌ مَّا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ
[59.18] "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และทุกชีวิตจงพิจารณาดูว่า อะไรบ้างที่ตนได้เตรียมไว้สำหรับวันพรุ่งนี้ (วันกิยามะฮ์)
และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ"
ทันใดนั้นก็มี เศาะหาบะฮบางคนก็บริจาคเหรียญทอง - เหรียญเงิน บางคนบริจาคเสื้อผ้า – ข้าสาลี-อินทผาลัม ต่อมามีชาวอันศอรฺคนหนึ่ง นำห่อ
สิ่งของมาให้ มือของเขาเกือบถือไม่หมด คนอื่นๆต่างก็หลั่งไหลกันมาบริจาค (ผู้รายงานหะดิษบอกว่า) จนกระทั้งฉันเห็นอาหารและเสื้อผ้า กองใหญ่
สองกอง และฉันเห็นสีหน้าของท่านร่อซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ้มแย้ม แจ่มใสด้วยความดีใจ ท่านจึงกล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ، ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء .
"ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาจะได้รับการตอบแทนของเขา และการตอบแทนของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดหย่อน
ไปจากการตอบแทนของพวกเขาแม้แต่น้อย และผู้ผู้ใดทำแบบอย่างที่ชั่วในอิสลาม เขาจะแบกภาระความผิดของเขา และความผิดของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น
หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดย่อนไปจากความผิดของพวกเขาแม้แต่น้อย
- รายงานโดยมุสลิม จากญะรีร บุตร อับดุลลอฮ
นี้คือ เป้าหมายของหะดิษนี้ และอีกประการหนึ่งคือ คำว่า في الاسلام (ในอิสลาม) นี้ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในคำสอนอิสลามไม่ใช่นอก
อิสลามไม่ใช่บิดอะฮ เพราะบิดอะฮ คือ สิ่งที่คิดขึ้นใหม่ ผมใช้คำว่า ”บิดอะฮ” โดยไม่แยกว่า “ บิดอะฮฺหะสะนะ และบิดอะเฎาะลาละฮ “ ก็เนื่องจาก
ทุกบิดอะฮในเรื่องของศาสนา นั้น เฎาะลาละฮ(หลงผิด)
ท่านมุหัมหมัด ฆอซาลี กล่าวไว้ในหนังสือ ลัยสะมีนัลอิสลาม หน้า 96 ว่า
والحديث من رواية مسلم وهو لا يفيد بتاتا أن الاختراع في الدين جائز
“ และหะดิษ ที่รายงานโดยมุสลิม(มันสันนะ...) ไม่ได้หมายความว่า อนุญาตให้คิดอุตริสิ่งใดขึ้นมาในศาสนาเลย”
เชคศอลิหิอัลฟูซาน ได้โต้ตอบพวกที่เอาหะดิษนี้มาอ้างทำบิดอะฮ ว่า
أما قوله صلى الله عليه وسلم : "من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛ فهذا لا يدل على ما يقوله هؤلاء؛ لأن الرسول لم يقل من ابتدع بدعة حسنة، وإنما قال: "من سن سنة حسنة"، والسنة غير البدعة، السنة هي ما كان موافقًا للكتاب والسنة، موافقًا للدليل، هذا هو السنة؛ فمن عمل بالسنة التي دل عليها الكتاب والسنة؛ يكون له أجرها وأجر من عمل بها إلى يوم القيامة؛ يعني: من أحيا هذه السنة وعلمها للناس وبينها للناس وعملوا بها اقتداءً به؛ فإنه يكون له من الأجر مثل أجورهم،
สำหรับคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
"من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛
หะดิษนี้ไม่ได้แสดงบอก ตามสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นพูดกัน เพราะท่านร่อซูล ไม่ได้กล่าวว่า “ من ابتدع بدعة حسن”(ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี)
แต่ตรงกันข้าม ท่านกล่าวว่า "من سن سنة حسنة" (ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดี) และอัสสุนนะฮนั้น ไม่ใช่ บิดอะฮ อัสสุนนะฮคือสิ่งที่สอดคล้องกับ
อัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน) และอัสสุนนะฮ สอดคล้องกับหลักฐาน นี่คือ อัสสุนนะฮ
ดังนั้นผู้ใด ปฏิบัติตามสุนนะฮ ที่อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ แสดงบอกเอาไว้ เขาก็จะได้รับผลตอบแทน ของตนและของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น จนถึง
วันกิยามะฮ หมายถึง ผู้ใดฟื้นฟูสุนนะฮ และเขาปฏิบัติมัน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่มนุษย์ และ อธิบายมันแก่มนุษย์ แล้วพวกเขาปฏิบัติตามนั้น ดังนั้น
เขาจะได้ผลการตอบแทน เท่ากับผลการตอบแทนที่พวกเขา(ผู้ปฏิบัติตามเขา)ได้รับ
المنتقى من فتاوى فضيلة الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان، 1/173، رقم الفتوى في مصدرها: 96

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น