อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่ผู้ถือศิลอดสามารถกระทำได้



บรรดาบ่าวผู้มีความเข้าใจในอัลกุรอานและสุนนะฮฺนั้นย่อมไม่มีความเคลือบ
แคลงสงสัยว่า แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงประสงค์ให้บ่าวของพระองค์นั้นประสบกับความสะดว
กง่ายดาย (ในการกระทำสิ่งต่างๆ) ดังนั้นพระองค์จึงทรงอนุมัติบางสิ่ง
สำหรับผู้ถือศีลอดสามารถกระทำได้

การถือศีลอดมีผลที่ใช้ได้สำหรับผู้ที่ตื่นขึ้นมาในขณะที่เขายังมีมลทินจากการ
ร่วมหลับนอนกับสามีหรือภรรยาของ
เขา

ท่านหญิงอาอิชะฮฺและอุมมฺ ซะละมะฮฺรายงานว่า “เวลาละหมาดฟัจรฺ (สูโบรฺ) ได้เริ่มขึ้น ในขณะที่ศาสนทูตของอัลลอฮฺยัง
มีมลทินจากการร่วมหลับนอนกับ
ภรรยาของท่าน (ในคืนก่อนหน้านี้) หากแต่ท่านก็จะการฆุซุล (อาบน้ำยกหะดัษ) หลังจากนั้นและทำการถือศีลอด” (บุคอรียฺ)

การทำความสะอาดปากด้วยมิสวาก
ศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า “หากฉันไม่เกรงว่าฉันจะสร้างความ
ลำบากต่ออุมมะฮฺของฉัน ฉันจะสั่งให้พวกเขาใช้มิสวาก (การแปรงฟัน) ทุกๆ ครั้งที่เขาทำวูฎูอฺ (อาบน้ำละหมาด) (มุสลิม)

จากหะดีษบทนี้ ศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม มิได้แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างผู้ที่ถือศีลอดและผู้ที่มิได้ถือศีลอด ดังนั้นคำกล่าวของท่านจึงเป็นคำสั่งใช้ทั่วไป และสามารถใช้ได้กับผู้ที่ถือศีลอด
ด้วยเช่นกัน ไม่มีการจำกัดช่วงเวลาว่าควรกระทำ
เมื่อใดหรือว่าจะทำก่อน หรือหลังซะวาล (เวลาตะวันคล้อยจากตำแหน่งตรง
ศีรษะ) ก็ได้

การทำความสะอาดปากและจมูก
ศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมเคยทำความสะอาดปากและ
จมูกขณะที่ท่านกำลังถือศีลอด อย่างไรก็ตามท่านได้สั่งห้ามบรรดา
ผู้ถือศีลอดมิให้กระทำสองอย่างนี้บ่อยมากไปขณะที่ถือศีลอด ดังที่ท่านได้กล่าวว่า “จงสูดน้ำเข้าจมูกให้มาก เว้นแต่ท่านจะถือศีลอด”
(อบู ดาวูด และติรฺมิซียฺ)

การจูบและหยอกล้อภรรยา (สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการ
ควบคุมอารมณ์)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า “ศาสนทูตศ็อลลัลฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยหอม (ภรรยาของท่าน) ขณะที่ท่านกำลังถือศีลอดและท่านเคยหยอกล้อพวกนางขณะถือศีลอด หากแต่ท่านเป็นผู้ที่สามารถควบคุม
อารมณ์ได้ดีที่สุด”
(บุคอรียฺ และมุสลิม)

อัมรฺ อิบนุลอ๊าซ กล่าวว่า “พวกเราอยู่กับศาสนทูตศ็อลลัลฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ขณะที่มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาหา
ท่านและถามท่านว่า “โอ้ ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ฉันสามารถหอมภรรยาของฉันขณะถือศีลอดได้หรือไม่” ท่านตอบว่า “ไม่ได้” จากนั้นมีชายชราคนหนึ่งเข้ามาหาท่านและถามท่านว่า “ฉันสามารถหอมภรรยาขณะถือศีลอดได้หรือไม่” ท่านตอบว่า “ได้สิ” จากนั้นพวกเราจึงเริ่มมองหน้ากัน
ศาสนทูต ศ็อลลัลฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ชายชรานั้นสามารถควบคุมอารมณ์ได้”(อะหมัด)

การตรวจเลือดและการฉีดวัคซีน (ที่นอกเหนือจากวัคซีนที่ใช้เพื่อบำรุง
ร่างกาย)
การตรวจเลือดและการฉีดวัคซีนดัง
กล่าวนี้ไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้การ
ถือศีลอดเป็นโมฆะ
อัล ฮิญะมะฮฺ (การกรอกเลือดจากหัวหรือส่วนหนึ่ง
ส่วนใดของร่างกายซึ่งเป็นวิธี รักษาทางการแพทย์ของอิสลาม) การปฏิบัติดังกล่าวเคยเป็นสาเหตุที่ทำ
ให้การถือ ศีลอดเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตามกฏดังกล่าวได้ถูกยกเลิก
ในภายหลัง

ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า “ท่านศาสนทูตเคยทำการฮิญะมะฮ
ฺขณะที่ท่านถือศีลอด”
(อัลบุคอรียฺ)

การชิมรสชาติอาหาร โดยไม่ให้กลืนอาหารลงคอ
ท่านอิบนุ อับบาส กล่าวว่า “ไม่ถือว่าเป็นความผิดในการชิมรสชาติน้ำส้มสายชูหรือสิ่งอื่นใดขณะที่บุคคลหนึ่งกำลังถือศีลอด ตราบใดที่เขาไม่ได้กลืนสิ่งนั้นลงคอ” (อิบนุ อบี ชัยบะฮฺ และบัยฮะกียฺ)

การราดน้ำเย็นลงศรีษะหรือการอาบน้ำฆุซุล
ศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมเคยราดน้ำลงศรีษะของท่าน
ขณะที่ท่านกำลังถือศีลอดด้วยเพราะ ความกระหายและความร้อน
(อบู ดาวูด และอะหมัด)

การทาตาด้วยกอฮัลหรือใช้ยาหยอดตา แม้ว่ารสชาติของมันจะลงคอ
อิม่าม อัลบุคอรียฺกล่าวไว้ในบันทึกศอเฮียฮ
ฺของท่านว่า “ท่านอนัส ท่านอัลฮะซันและท่านอิบเราะฮีมเห็นว่าการที่ผู้ถือศีลอดจะใช้กอฮัลทาตานั้น
ไม่ถือว่าเป็นความผิด”






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น