อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผู้หญิงในฐานะลูกสาว


โดย เชค ยูซุฟ อัล-เกาะเราะฏอวียฺ
หุสนา แปลและเรียบเรียง
............................................

ก่อนการมาของอิสลาม ชาวอาหรับจะรู้สึกห่อเหี่ยวและหนักใจหากมีลูกสาวเกิดมา เมื่อผู้เป็นพ่อทราบข่าวว่าภรรยาของเขาให้กำเนิดบุตรสาว เขาจะกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระผู้เป็นเจ้า เธอไม่ประเสริฐเหมือนลูกผู้ชาย การป้องกันตัวของเธอ คือการร้องให้และสิ่งที่เธอสนใจ คือการขโมย”

นี่เป็นการบ่งบอกว่าเธอไม่อาจปกป้องพ่อของเธอและครอบครัวของเธอ ยกเว้นด้วยการกรีดร้องและร้องให้ไม่ใช่ด้วยการต่อสู้หรือใช้อาวุธ เธอไม่มีความดีใดๆให้แก่พวกเขาและไม่สามารถปกป้องพวกเขา ยกเว้นเพียงแค่เอาเงินทองของสามีมาแบ่งให้ใช้บ้าง ประเพณีของพวกเขา อนุญาตให้พ่อฝังพวกเธอทั้งเป็นเพียงเพราะความยากจนหรือกลัวว่าจะจนหรือกลัวความเสื่อมเสียที่เธออาจจะนำมาเมื่อเธอโตขึ้น
ด้วยเหตุข้างต้น อัลกุรอานได้กล่าวต่อต้านและบั่นทอน พวกเขา “และเมื่อทารก หญิงที่ถูกฝังทั้งเป็นถูกถาม ด้วยความผิดอันใดเธอจึงถูกฆ่า” อัตตักวีรฺ 8-9

อัลกุรอานยังได้บรรยายสภาพของผู้เป็นพ่อเมื่อมีลูกสาวเกิดมา “และผู้ใดในหมู่พวกเขาได้รับข่าวว่าได้ลูกผู้หญิงใบหน้าของเขากลายเป็นหมองคล้ำและเศร้าสลด” อันนะหฺลฺ 58-59

กฎเกณฑ์ของบรรพบุรุษได้ให้สิทธิแก่พ่อที่จะขายลูกสาว หากเขาต้องการบางฝ่ายอนุญาตให้พ่อส่งมอบลูกสาวแก่ชายอื่นซึ่งเขาอาจฆ่าเธอ หรือครอบครองเธอ ถ้าหากพ่อของเธอได้ฆ่าลูกสาวของฝ่ายนั้น เมื่ออิสลามมาถึง อิสลามได้กำหนด ให้ลูกสาว (เช่นเดียวกับลูกชาย)เป็นของขวัญจากอัลลอฮฺ ซึ่งประทานให้แก่บ่าวของพระองค์ คนใดก็ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ “พระองค์ทรงประทานลูกหญิง แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์...,หรือพระองค์ทรงประทานรวมให้แก่พวกเขา ทั้งลูกชาย และลูกหญิง และพระองค์ทรงทำให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เป็นหมัน แท้จริงพระองค์ ทรงรอบรู้ ผู้ทรงเอกานุภาพ” อัชชูรอ 49-50

อัลกุรอานได้บรรยายเป็นข้อเตือนใจถึงความน่าอัศจรรย์ของลูกสาวบางคนที่มีอิทธิพลและอยู่ในความทรงจำยิ่งกว่าลูกหลานที่เป็นผู้ชายจำนวนมากเสียอีก เรามีตัวอย่างอันล้ำเลิศปรากฏอยู่ในเรื่องราวของพระนางมัรยัม บุตรสาวของอิมรอน ที่อัลลอฮฺทรงเลือกจากผู้หญิงทั้งหลายและทรงทำให้นางเป็นหญิงบริสุทธิ์ มารดาผู้ให้ กำเนิดนางปรารถนาที่จะได้ลูกชายเพื่อจะได้รับใช้อัลลอฮฺและเป็นผู้ทรงคุณธรรม
“...โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะ ผู้เคารพ อิบาดะฮฺต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้น ขอพระองค์ได้โปรดรับ จากข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้” อาละอิมรอน 35

จากนั้นเมื่อนางได้คลอดลูกผู้หญิง(มัรยัม) หล่อนก็กล่าวความว่า “..โอ้พระเจ้าของ ข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ได้คลอดบุตรหญิง และอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ดียิ่งกว่าถึงบุตร ที่นางได้คลอดมา และใช่ว่าเพศชายนั้นจะเหมือนกับเพศหญิงก็หาไม่และได้ทรงตั้ง ชื่อเขาว่า “มัรยัม”และข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ให้ทรงคุ้มครองนางและลูกของนางให้ พ้นจากชัยฏอนที่ถูกขับไล่,แล้วพระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดีและทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วย...” อาละอิมรอน 36-37

อัลกุรอานรณรงค์อย่างไม่ยอมอ่อนข้อต่อผู้ที่โหดร้าย ซึ่งฆ่าเด็กไม่ว่าหญิงหรือชาย อัลลอฮฺตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า “แท้จริงได้ขาดทุนแล้วบรรดาผู้ที่ฆ่าลูกๆของพวกเขา เพราะความโง่เขลาโดยปราศจากความรู้...” อัล-อันอาม140

และพระองค์ตรัสอีกความว่า “และพวกเจ้าจงอย่าฆ่าลูกๆของพวกเจ้า เพราะกลัว ความยากจน เราให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาและแก่พวกเจ้าโดยเฉพาะแท้จริงการฆ่า พวกเขานั้น เป็นความผิดอันใหญ่หลวง” อัลอิสรออฺ 31

นบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า สวนสวรรค์ คือสิ่งตอบแทน แก่พ่อทุกคนที่ปฏิบัติกับลูกสาวด้วยดี อดทนในการเลี้ยงดูพวกเธอ ให้การอบรม เรื่องศีลธรรมและปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวกเธอจนกระทั่ง พวกเธอเติบโต

ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) สัญญาสถานที่ในสวรรค์ให้กับผู้เป็นพ่อ อิหม่ามมุสลิมได้บันทึกฮะดีษที่รายงานมาจาก อนัส ซึ่งกล่าวว่า นบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า “ใครก็ตามที่เลี้ยงดูและปกป้องทาสหญิงสองคน จนกระทั่งนางบรรลุวัย ในวันแห่งการตัดสินเขากับฉันจะอยู่ด้วยกัน” จากนั้นท่านนบี ได้ชูสองนิ้วติดกัน

ในบันทึกของติรมิซียฺกล่าวความว่า “ใครก็ตามที่เลี้ยงดูและปกป้องเด็กหญิงที่เป็นทาสสองคนเขาและฉันจะได้เข้าสวรรค์เหมือนเช่นนี้” จากนั้นท่านเอานิ้วชี้มาติดกัน

อิบนุ อับบาสรายงานว่า ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า “มุสลิม คนหนึ่งที่มีบุตรสาวสองคน และปฏิบัติอย่างดีเมื่อพวกเธออยู่กับเขาหรือเขาอยู่ กับพวกเธอ จะได้รับสวนสวรรค์” (บันทึกโดยบุคอรีย์)

บางสายรายงานกล่าวว่าการตอบแทนดังกล่าวคือการได้เข้าสวรรค์ ซึ่งรวมไปถึงพี่ชายหรือน้องชายที่เลี้ยงดูและปกป้องพี่สาวหรือน้องสาวของเขา(สองหรือมากกว่า)และบางสายรายงานกล่าวว่าการตอบแทนด้วยสวรรค์ดังกล่าวครอบคลุมไปยังใครก็ตามที่ปฏิบัติต่อสตรีด้วยดีแม้จะเป็นคนเดียวก็ตาม
ในรายงานของอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า
“ใครที่มีบุตรสาวสามคนและอดทนในการเลี้ยงดูและในความพอใจและความไม่พอใจ อัลลอฮฺจะให้เขาเข้าสวรรค์เนื่องจากความเมตตาที่เขามีต่อพวกเธอ”

ชายคนหนึ่งถามว่า “แล้วบุตรสาวสองคนเล่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ?”

ท่านนบีตอบว่า “และบุตรสาวสองคนก็เช่นเดียวกัน”

มีผู้ถามอีกว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ แล้วบุตรสาวคนเดียวเล่า?”

ท่าน(นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ตอบว่า บุตรสาวคนเดียวก็เช่นเดียวกัน
(บันทึกโดยอัลฮากิม)

อิบนุอับบาสเล่าว่า “ใครก็ตามที่มีลูกสาวโดยไม่ฝังเธอทั้งเป็น ไม่สบประมาท เธอ และไม่แสดงความลำเอียงรักลูกชายต่อหน้าเธอ อัลลอฮฺจะให้เขาเข้าสวรรค์” (บันทึกโดยอบู ดาวุด,อัล ฮากิม)

บุคอรีย์และมุสลิมได้บันทึกรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺซึ่งเล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) “ใครก็ตามทีประสบความยุ่งยากเนื่องจากการเลี้ยงดูลูกสาวของเขา แต่เขายังปฏิบัติกับพวกเธอด้วยดี อัลลอฮฺจะปกป้องเขาให้พ้นจากไฟนรก” (อัลลุลุ วัล-มัรฺญาน 1688)

จากตัวบทที่เศาะฮีฮฺข้างต้นที่กล่าวเสริมและย้ำข่าวดีว่าการเกิดของลูกสาว มิใช่ภารกิจที่ต้องหวาดกลัวและมิใช่ลางร้ายตรงกันข้ามมันคือ ความประเสริฐ ที่เขาควรจะขอบคุณและเป็นความเมตตาที่เขาควรแสวงหาและเรียกร้องเนื่องจากมันเป็นความประเสริฐที่มาจากพระผู้ทรงเดชานุภาพและเป็นรางวัลที่ควรจะได้รับ

ด้วยวิธีการนี้เองที่อิสลามได้ลบล้างประเพณีดั้งเดิมในการฝังเด็กหญิง ซึ่งปัจจุบันพวกเธออยู่ในตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ในหัวใจของพ่อ จะเห็นได้จากคำพูดของ ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่พูดถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮฺบุตรสาวของท่านว่า “ฟาฏิมะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของฉัน สิ่งที่ทำให้เธอโกรธ ทำให้ฉันโกรธด้ว” (บันทึกโดยบุคอรียฺ)

“ฟาฏิมะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของฉัน สิ่งที่ทำให้ฉันเศร้า ทำให้เธอเศร้า และสิ่งที่ทำให้ฉันพอใจ ทำให้เธอพอใจด้วย” (บันทึกโดยอะฮฺมัด)

“แท้จริงลูกสาวของฉันเป็นส่วนหนึ่งของฉัน ฉันกลัวสิ่งที่ทำให้เธอหวาดกลัวและฉันเจ็บปวดด้วยสิ่งที่ทำให้เธอเจ็บปวด” (บันทึกโดยนักบันทึกทั้งหก)

เรารู้สึกถึงผลกระทบนี้ได้ในงานเขียนของอิสลาม เช่นเดียวกับบทกวีต่อไปนี้
แต่สาวน้อยอ่อนโยนอยู่ในขนอ่อนของเจ้าเหมียว
ผู้ที่ได้เอาการพะเน้าพะนอของพวกเธอไป
บนโลกอันกว้างใหญ่ใบนี้
ฉันคงจะต้องตกอยู่ในความฉกาจ ความฉกาจแห่งความหนักใจ,
แน่แท้ เมื่อบุตรของเราอยู่รอบๆตัวเรา
พวกเขาคือ ผู้ที่เราเฝ้าทะนุถนอม ซึ่งคอยกวาดตาไปทั่วทุกที่
หากสายลมพัดใครคนใดคนหนึ่ง
ฉันคงไม่อาจหลับตาลงได้
เกี่ยวกับการอยู่ในควบคุมของพ่อมันมิได้เป็นการละเมิดขอบเขตของการอบรมศีลธรรม (เช่นเดียวกับพี่ชายของเธอ)ในการที่เขาจะต้องเรียกร้องให้เธอละหมาด เมื่ออายุได้เจ็ดขวบและอนุญาตให้ตีหากมีอายุสิบขวบหากยังไม่ละหมาด รวมทั้งจะต้องแยกที่นอนออกจากพี่ชายหรือน้องชายและสั่งใช้ให้เธอปฏิบัติตามบัญญัติของอิสลามในเรื่องของการแต่งตัวการออกไปข้างนอกและการพูดคุยกับคนอื่น
ส่วนค่าใช้จ่ายดูแลจะตกอยู่เหนือผู้ชายจนกว่าเธอจะแต่งงาน พวกเขาไม่มีสิทธิในการขายหรือทำให้เธอตกเป็นสมบัติของชายอื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆก็ตาม อิสลามได้ยกเลิกการค้าคนที่เป็นอิสระไม่ว่าชายหรือหญิง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ หากอิสระชนได้ซื้อหรือครอบครองลูกสาวซึ่งเป็นทาสของคนอื่น เธอควรจะได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระเมื่อได้เป็นเจ้าของเธอไม่ว่าเขาจะชอบหรือไม่ก็ตาม อันเป็นไปตามบัญญัติแห่งอิสลาม
หากลูกสาวมีเงินเป็นของตัวเอง ผู้เป็นพ่อควรเก็บรักษาไว้ให้เธอไม่อนุญาตให้ผู้เป็นพ่อแต่งงานเธอให้กับชายอื่นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการได้แต่งงานกับลูกสาวของเขา ซึ่งในนิติบัญญัติอิสลามเรียกว่า “การแต่งงานแบบอัชชิฆ็อรฺ” เพราะค่าสินสอดไม่เพียงพอ เนื่องจากการแต่งงานเป็นสิทธิของลูกสาวไม่ใช่ของผู้เป็นพ่อ
นอกจากนั้น พ่อยังไม่มีสิทธิแต่งลูกสาวของเธอกับชายที่เธอรังเกียจและไม่ยินยอม เขาจะต้องทราบความเห็นของเธอเกี่ยวกับชายที่เธอจะแต่งงานด้วยว่า เธอเห็นด้วยหรือไม่ หากเธอเคยแต่งงานมาก่อนเธอจะต้องเปล่งวาจาออกมาอย่างชัดเจน หากเธอยังไม่เคยแต่งงานและมีความเอียงอาย การนิ่งของเธอก็เป็นการเพียงพอแล้วว่าเป็นสัญญาของการตอบรับ หากเธอพูดว่า “ไม่” เขาก็ไม่มีอำนาจใดที่จะบังคับให้เธอแต่งงานกับชายที่เธอไม่ต้องการ

ด้วยเหตุนี้ผู้รู้จึงกล่าวว่า หญิงที่ยังสาวควรจะรู้ว่าการที่เธอเงียบคือ การยินยอม เล่าจากค็อนสาอฺ บินติ ค็อดดัมว่า พ่อของเธอได้จัดให้เธอแต่งงานโดยที่เธอเป็นหม้ายและเธอรังเกียจการแต่งงานครั้งนี้ เมื่อเธอมาหาเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ท่าน(เราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ได้ยกเลิกการแต่งงาน (บันทึกโดย นักรายงานฮะดีษ ยกเว้นมุสลิม)
ฮะดีษเหล่านี้เป็นการบ่งชี้ว่าเป็นหน้าที่ของผู้เป็นพ่อที่จะต้องถามลูกสาวของเขา และจะต้องได้รับการยินยอมจากนาง จากบันทึกของมุสลิมและคนอื่นที่ว่า “จะต้องขอความเห็นจากหญิงสาว” อันหมายถึงเธอจะต้องให้การยินยอมและอนุญาต
จากบุคอรียฺและมุสลิมรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ
“หญิงหม้ายจะยังไม่แต่งงาน จนกว่านางจะกล่าววาจา (ออกความเห็น) และหญิงสาวจะไม่แต่งงาน จนกว่าจะขอการยินยอมจากเธอ”
พวกเขาถามว่า “โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ การยินยอมของเธอเป็นอย่างไร?”
ท่านนบีตอบว่า “คือการที่เธอนิ่งเงียบ” (อัล-ลุอ์ลุอ์ วัล มัรฺญาน 895)
และรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า“ฉันถามเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่าผู้หญิงจะถูกถามในกิจการของเธอด้วยหรือ?”
ท่านตอบว่า “ใช่”
ฉันกล่าวว่า “การเงียบของเธอคือการอนุญาต” (อัล-ลุอ์ลุอ์ วัล มัรฺญาน 895)

รายงานจากท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า หญิงสาวได้มาหาท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) และกล่าวว่าพ่อของนางได้จัดให้นางแต่งงานโดยที่นางไม่ต้องการ ท่านนบีให้นางได้เลือก (บันทึกโดย อะฮฺมัด, อบู ดาวุด)

“พ่อของฉันแต่งงานฉันกับลูกพี่ลูกน้องของเขา เพื่อยก(ฐานะของ)เขาให้ดีขึ้น โดยที่ฉันไม่ตั้งใจ”
ท่านอาอิชะฮฺกล่าวว่า “เธอจงนั่งจนกว่าเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)จะมา” จากนั้นเธอได้เล่าให้ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ท่าน(เราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)กล่าวว่า “เรื่องนี้ตกอยู่ที่นาง”
แล้วนางจึงกล่าวว่า “โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ ฉันยอมรับการกระทำของพ่อแล้ว แต่สิ่งที่ฉันต้องการจะรู้คือ สตรีทั้งหลายต้องกล่าวคำใดในกิจการนี้หรือไม่” (บันทึกโดย อัน นาสาอียฺ )

เป็นที่ชัดแจ้งว่าแบบฉบับจากท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ชี้ให้เห็นว่าการยินยอมจากหญิงสาวและหญิงหม้ายที่เคยแต่งงานมาแล้วเป็นเงื่อนไขของสัญญาการแต่งงาน หากพ่อหรือผู้ปกครองบังคับแต่งงาน โดยมิได้รับการยินยอม สัญญาการแต่งงานจะใช้ไม่ได้และถูกยกเลิก ดังเช่นเรื่องราวของค็อนสาอฺ บินติ ค็อดดัมในฐานะที่เป็นหญิงที่ยังบริสุทธิ์ เธอมีสิทธิในการเลือกหากเธอต้องการ เธอจะให้การยินยอม หากไม่เธอจะต้องปฏิเสธ อันเป็นการยกเลิกสัญญา ดังเรื่องราวก่อนหน้านี้ (ดู นัยลฺ อัล เอาฏ็อรฺ, 6/254-255-6)

นับเป็นผลดีอย่างใหญ่หลวงที่อิสลามได้ให้มารดาได้ปรึกษาบุตรสาวของนางเสียก่อน เพื่อให้การแต่งงานนั้นเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ท่านอุมัรฺกล่าวว่า ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า “จงเอาการยินยอมจากผู้หญิงเกี่ยวกับการแต่งงานของลูกสาวนาง” (บันทึกโดย อะฮฺมัด, อบูดาวุด)

จากใจความนี้ อิมาม อบู สุลัยมาน อัล ค็อฏฏอบียฺ ได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จากการอธิบายฮะดีษนี้ในหนังสือของท่าน มะอาลิม อัสซุนนะฮฺ ซึ่งเรื่องนี้ควรมีอยู่ในสำนึกทางศีลธรรมและความจริงใจของพวกเขา ท่านเขียนว่า การปรึกษาหารือของแม่ในกิจการลูกสาวของนางไม่ใช่เพราะพวกเขาต้องกล่าวในสัญญาการแต่งงาน แต่เนื่องจากลูกสาวจะรู้สึกปลอดอภัยและมีความสนิทสนมกับแม่ ของนาง มันจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ยาวนานและทำให้มีประสิทธิผลมากขึ้นในการนำลูกสาวและสามีของนางได้อยู่ร่วมกัน หากหลักการพื้นฐานของการตกลงผูกมัด วางอยู่บนความพอใจและความต้องการของแม่และลูกสาว ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว คงไม่อาจหลีกเลี่ยงจากผลร้ายที่อาจตามมา (เช่นลูกสาวอาจดื้อดึงต่อสามี) และสาเหตุของความยุ่งยากต่างๆ จะตกไปยังพวกเขา
ยิ่งไปกว่านั้นแม่เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกสาวมากที่สุด พวกเขาต่างรับฟังแต่ละฝ่าย มากกว่าคนอื่น ด้วยเหตุนี้ การปรึกษาหารือของพวกเขาเกี่ยวกับการแต่งงาน ของลูกสาวเป็นสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญอย่างยิ่ง วัลลอฮุอะอฺลัม

ท่านกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้นแล้วอาจจะยังมีเหตุผลอื่นๆ ผู้หญิงอาจจะรู้โดยผ่านความสัมพันธ์ที่พิเศษกับลูกสาวและการได้พูดคุยเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องของนางซึ่งอาจมีสิ่งที่ทำให้สัญญาการแต่งงานเป็นโมฆะ เป็นไปได้ที่เธออาจเจ็บป่วย ที่อาจทำให้เธอไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นภรรยาได้อย่างสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้คำกล่าวของท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) “หญิงสาว จะไม่ได้รับการแต่งงาน ยกเว้นผ่านการยินยอมจากเธอโดยการที่เธอนิ่งเงียบ” เนื่องจากเธออาจจะเอียงอายที่จะเปิดเผยการยินยอมและความปรารถนาที่จะแต่งงาน ดังนั้น การนิ่งเงียบของเธอเป็นการชี้ว่าเธอเป็นอิสระจากข้อบกพร่องที่ขัดขวางการมีเพศสัมพันธ์หรือเหตุผลอื่นที่รู้เฉพาะตัวเธอซึ่งไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานเกิดขึ้น วัลลอฮุอะอฺลัม (ดู มุคตะศ็อรฺ อันซุนนะฮฺ โดยมุนซิรีย์ เรียบเรียงใหม่โดยอิบนุก็อยยิม 3/39 และ ได้รับการตรวจสอบจาก อะฮฺมัด ชะกีรฺ และมุฮัมมัด ฮามิด อัลฟิกียฺ)

เราขอกล่าวเพิ่มเติมในที่นี้ว่า ผู้เป็นแม่ควรจะรู้ความลับของลูกสาวว่าหัวใจของนางผูกอยู่กับใครบางคนอยู่หรือไม่หากชายคนนั้นเสนอการแต่งงานและเห็นว่าเหมาะสม ดังนั้นเขาควรจะเป็นผู้ที่มาก่อน ดังฮะดีษที่กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดดีสำหรับผู้ตกหลุมรักไปกว่าการแต่งงาน” (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ, อัลฮากิม)
พ่อไม่มีสิทธิที่จะจัดการแต่งงานลูกสาวให้กับคนที่นางไม่ชอบ แต่พ่อมีสิทธิที่จะไม่ให้ลูกสาวแต่งงานหากไม่รับการยินยอมจากเขา ดังฮะดีษที่รายงานโดยอบูมูซา “ไม่มีการแต่ง โดยไม่มีผู้ปกครอง(วะลี)” ( บันทึกโดยอบู ดาวุด,อัลติรฺมิซียฺ, อิบนุมาญะฮฺ)

ยังมีสำนวนอื่นปรากฏอยู่ในบันทึกของมุนซิรีย์ ใน มุคตะศ็อรฺ อัซซุนนะฮฺ และ อิบนุก็อยยิม ดู ฮะดีษ (2000)] จากรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮฺ “หญิงใดก็ตาม แต่งงานโดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองของนางการแต่งงานของนางเป็นโมฆะ” โดยถูกกล่าวซ้ำถึงสามครั้ง (บันทึกโดย อบู ดาวูด)
อบู ฮะนีฟะฮฺและสหายของท่านเชื่อว่าผู้หญิงมีสิทธิที่จะแต่งงานโดยตัวนางเอง แม้ว่าจะไม่ได้รับคำยินยอมจากพ่อหรือผู้ปกครอง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ที่จะมาเป็นสามีจะต้องมีความเหมาะสมกับเธอ แต่ท่านมิได้อ้างฮะดีษข้างต้นไว้ในงานเขียนของท่าน แต่พวกเขาเอาทัศนะจากสิ่งที่พบในอัลกุรอานเกี่ยวกับการแต่งงาน “จงอย่าขัดขวางพวกนางในการที่พวกนางจะแต่งงานกับคู่ครองของพวกนาง” อัลบะเกาะเราะฮฺ 232
จะเห็นว่าการแ
ต่งงานเป็นการพาดพิงสิทธิไปยังผู้หญิง อัลลอฮฺทรงห้ามการขัดขวางในการที่ผู้หญิงจะแสวงหาการแต่งงาน เนื่องจากเป็นสิทธิของนาง หากนางมีความสามารถในการจัดการและเป็นสิ่งควรจะยอมรับ อบู ฮะนีฟะฮฺ กำหนดเงื่อนไขว่าการแต่งงานนั้นจะต้องได้สามีที่คู่ควร ถ้าไม่เช่นนั้นผู้ปกครองมีสิทธิที่จะปฏิเสธ ส่วนกรณีที่ผู้หญิงแต่งงานโดยได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองโดยที่เขาไม่อยู่ ในงานแต่งเป็นที่ยอมรับของนักนิติศาสตร์บางส่วน แม้ว่าฟัตวาทั่วไป จะถือว่า การปรากฏตัวของวะลีเป็นเงื่อนไขของการแต่งงานไม่เช่นนั้นการแต่งจะไม่เป็นผล
………………………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น