การเช็ดรองเท้าคุฟทั้งสองแทนการล้างเท้าทั้งสองในการอาบน้ำละหมาด คือการเอามือที่เปียกน้ำผ่านไปบนรองเท้าหุ้มส้นเท้าทั้งสอง รองเท้าคุฟในที่นี้ คือ รองเท้าที่ปกปิดหรือหุ้มส้นเท้าทั้งสอง หรือเกินกว่า ที่ทำจาหนังและที่คล้ายกับหนัง ซึ่งเช็ดเฉพาะภายนอกของรองเท้าทั้งสองไม่ใช่ภายใน สำหรับผู้ไม่ใช่อยู่ในการเดินทาง เวลาที่กำหนด หนึ่งคืนกับหนึ่งวัน ส่วนผู้เดินทาง เวลาที่กำหนด สามวันกับสามคืน
ศาสนาได้ผ่อนปรนให้ทำการเช็ดรองเท้าคุฟฟ์ (คือรองเท้าที่ปกปิดตาตุ่มทั้งสองข้างทำจากหนัง)แทนการล้างเท้าทั้งสองข้างได้ในการอาบน้ำละหมาด ซึ่งอนุญาตให้กระทำได้ทั้งหญิงและชายในทุกกรณี ทั้งในฤดูร้อน ฤดูหนาว ในยามเดินทางหรืออยู่กับบ้าน ในยามที่มีสุขภาพดีหรือเจ็บป่วย
รายงานตจากญะรีร อัลญะละบีย์ เขากล่าวว่า
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَالَ ثُمَّ تَوَضَّأَ وَمَسَحَ عَلَى خُفَّيْهِ
“ฉันได้เห็นท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ปัสสาวะ หลังจากนั้นท่านได้อาบน้ำละหมาดและได้เช็ดคุฟฟ์ทั้งสองข้างของท่าน” รายงานโดยมุสลิม (401)
ท่านชุร็อยห์ บิน ฮานีอฺ ได้รายงานว่า
أَتَيْتُ عَائِشَةَ أَسْأَلُهَا عَنْ الْمَسْحِ عَلَى الْخُفَّيْنِ فَقَالَتْ عَلَيْكَ بِابْنِ أَبِي طَالِبٍ فَسَلْهُ فَإِنَّهُ كَانَ يُسَافِرُ مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَسَأَلْنَاهُ فَقَالَ جَعَلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثَلَاثَةَ أَيَّامٍ وَلَيَالِيَهُنَّ لِلْمُسَافِرِ وَيَوْمًا وَلَيْلَةً لِلْمُقِيمِ
“ฉันได้ไปหาท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา เพื่อถามถึงเรื่องการเช็คคุฟฟ์ ท่านหญิงได้ตอบว่า จงไปหาท่านอะลีเถิด เพราะเขารู้เรื่องนี้ดีกว่าฉัน เขาเคยเดินทางไปกับท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ฉันจึงได้ไปถามเขา และเขาก็ตอบว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กำหนดเวลาให้สามวันสามคืนสำหรับผู้ที่เดินทาง และหนึ่งวันหนึ่งคืนสำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทาง” รายงานโดยมุสลิม (414)
ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากเห็นว่า "คุฟ" หรือรองเท้าที่อนุญาตให้ลูบแทนล้างเท้าคือรองเท้าที่ครอบคลุมเท้าถึงตาตุ่ม ถ้าหากต่ำกว่าตาตุ่มก็ไม่อนุญาต แต่ในทัศนะที่ถูกต้อง ถ้ารองเท้าที่เราสวมคลุมส่วนมากของเท้าของเราก็อนุญาตให้ลูบ และถ้าหากสวมถุงเท้าก็ลูบบนถุงเท้าด้านบนก็ได้ หากผู้ลูบรองเท้าหรือถุงเท้าต้องการถอดรองเท้าหรือถุงเท้านั้นออกหลังจากที่ลูบแล้ว ทัศนะที่ถูกต้องก็อนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำละหมาดแต่อย่างใด ดังกล่าวคือคำฟัตวาที่นำมาจากชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺและ เชคญะมาลุดดีน อัลกอศิมียฺ ซึ่งหลักฐานและเหตุผลต่างๆ มีอยู่อย่างครบถ้วนในหนังสือ "อัลมัสอะลัลเญารอบัยนฺ" ของเชคญะมาลุดดีน อัลกอศิมียฺ ตรวจสอบโดยท่านเชคนาศิรุดดีน อัลอัลบานียฺ
ตามทัศนะของมัซฮับฮะนะฟีย์ จำเป็นในการเช็ด ขนาดประมาณ 3 นิ้ว จากนิ้วเล็กๆของมือ โดยเริ่มจากหลังเท้าเพียงครั้งเดียว
ตามทัศนะของมัซฮับชาฟีอีย์ ถือว่าเพียงพอแล้วเช่นการเช็ดศีรษะ ให้เช็ดที่เป็นฟัรฎู คือด้านบนของรองเท้าคุฟ
ตามทัศนะของมัซฮับมาลิกีย์ จำเป็นเช็ดด้านบนของรองเท้าทั้งหมด และส่งเสริมเช้ดด้านล้างด้วย
ตามทัศนะของมัซฮับฮัมบาลีย์ การเช็ดให้เดส่วนบนของรองเท้าให้มากเป็นทางขึ้นไปโดยการใช้นิ้วมือ และไม่ส่งเสริมให้เช็ดด้านล้างของเท้า
รายงานจากท่านอัลมุฆีเราะฮฺ บุตรของชัวะอฺบะฮฺ เล่าว่า
“แล้วท่าน(นบี)ก็อาบน้ำละหมาดและเช็ดรองเท้าคุฟทั้งสอง โดยท่านได้เอามือขวาของท่านวางลงบนรองเท้าคุฟของท่านทางด้านขวา และเอามือซ้ายของท่านวางลงบนรองเท้าคุฟของท่านทางด้านซ้าย เสร็จแล้วท่านได้เช็ดส่วนบนของรองเท้าคุฟ โดยเช็ดเพียงครั้งเดียวจนกระทั้งเสมือนว่าฉันกำลังดูนิ้วมือของท่านบนรองเท้าคุฟทั้งสอง” (บันทึกหะดิษโดยอัลค็อลลาล)
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า “เงื่อนไขของการเช็ดคุฟฟ์นั้น คือ คุฟฟ์ต้องถูกสวมภายหลังจากมีน้ำละหมาดสมบูรณ์แล้ว , คุฟฟ์ทั้งสองข้างต้องปกปิดทั่วเท้าทั้งสองข้างในบริเวนที่จำเป็นต้องล้างในการอาบน้ำละหมาด , โดยคุฟฟ์ต้องสะอาด , สามารถเดินติดต่อกันไปกลับเป็นเวลาหนึ่งวันกับหนึ่งคืนสำหรับผู้เดินทางเพื่อทำภารกิจของเขา” หนังสือมินฮาจญุฏฏอลิบีน หน้า 7
การเช็ดถุงเท้าทั้งสองแทนการล้างเท้าในการอาบน้ำละหมาด
ท่านอบูมูสาอัลอัชอะรีย์เล่าว่า " أنه مسح على الجوربين "
ความว่า "ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺเช็ดบนถุงเท้าทั้งสอง" (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 159 เป็นหะดีษหะสัน)
รายงานจาก อัลมุฆีเราะฮ์ บิน ชั๊วะบะฮ์ ความว่า
تَوَضَّأَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَسَحَ عَلَى الْجَوْرَبَيْنِ وَالنَّعْلَيْنِ
“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำการอาบน้ำละหมาดและท่านได้ทำการเช็ดถุงเท้าทั้งสองและรองเท้าทั้งสอง” (สุนันอัตติรมีซีย์ (92) ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดิษนี้ ฮะซันซอฮิห์)
คำอธิบายฮะดิษของท่านอัตติรมีซีย์เอง ท่านได้กล่าวว่า
وَهُوَ قَوْلُ غَيْرِ وَاحِدٍ مِنْ أَهْلِ الْعِلْمِ وَبِهِ يَقُولُ سُفْيَانُ الثَّوْرِيُّ وَابْنُ الْمُبَارَكِ وَالشَّافِعِيُّ وَأَحْمَدُ وَإِسْحَقُ قَالُوا يَمْسَحُ عَلَى الْجَوْرَبَيْنِ وَإِنْ لَمْ تَكُنْ نَعْلَيْنِ إِذَا كَانَا ثَخِينَيْنِ
“ฮะดิษนี้ เป็นทัศนะของนักปราชญ์มิใช่คนเดียว ซึ่งเป็นตำกล่าวของ ท่านซุฟยานอัษเษารีย์ , ท่านอิบนุ มุบาร็อก , ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ , ท่านอิมามอะห์มัด , และท่านอิสฮาก ซึ่งพวกเขากล่าวว่า ให้ทำการเช็ดถุงเท้าทั้งสองข้าง เมื่อมันทั้งสองมีความหนา (ทนทาน) และหากมันไม่ใช่เป็นรองเท้าก็ตาม” หมายถึง ถุงเท้าที่มีความหนาคงทนสามารถใช้เดินทางติดต่อกันได้
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ กล่าวว่า “สำหรับสิ่งที่ไม่สามารถใช้เดินทางอย่างติดต่อกันได้ เพราะว่ามันมีความบางนั้น ก็ไม่อนุญาตให้ทำการเช็ดบนมัน โดยไม่มีการขัดแย้งใด ๆ” หนังสืออัลมัจญ์มั๊วะอฺ 1/567
"วิธีการเช็ดบนถุงเท้า โดยเริ่มเช็ดตั้งแต่ปลายถุงเท้าเรื่อยขึ้นมาจนกระทั่งถึงสุดปลายขอบของถุงเท้า โดยให้มือขวาเช็ดถุงเท้าขวา และมือซ้ายเช็ดบนถุงเท้าซ้ายซึ่งกระทำพร้อมๆ กัน (เสมือนการเช็ดใบหูนั้นเอง) โดยเช็ดถุงเท้าเพียงครั้งเดียว"
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น