อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เบื้องหลังของความสำเร็จด้านวิทยาศาสต์ของยุโรป




บริฟฟอลห์ เขาได้เขียนเบื้องหลังผู้ริเริ่มการใช้วิธีการทดลองและความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ในยุโรป ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ “การพัฒนามนุษยชาติ จากหน้า 190 ไว้ว่า

“โรเย่อร์ เบคอนได้ศึกษาภาษาอาหรับและวิทยาศาสตร์อาหรับจากศิษย์ของมุสลิมที่สอนในอ็อกซ์ฟอร์ด โรเย่อร์ เบคอนไม่มีสิทธิได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ใช้วิธีการทดลองเป็นคนแรก เขาเป็นศิษย์นักวิทยาศาสตร์มุสลิมผู้หนึ่ง ที่ถูกส่งกลับไปยังดินแดนครสต์เตียนยุโรปเท่านั้น และเขาจะกล่าวอย่างไม่เบื่อ ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ภาษาอาหรับและวิทยาศาสตร์อาหรับเท่านั้นที่เป็นหนทางไปสู่ความรู้ สำหรับเพื่อนร่วมศาสนาของเขา การเหมาเอาวิธีการทดลองให้เป็นผลงานอารยธรรมยุโรป นับว่าเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างถนัดใจ

 ในสมัยของเบคอน วิธีการทดลองของอาหรับได้แพร่หลายและได้รับการส่งเสริมทั่วไปในยุโรป วิทยาศาสตร์เป็นของขวัญที่มีค่ายิ่งที่ชาวอาหรับฝากไว้แก่โลก  แต่ผลของมันใช้เวลานานจึจะมองเห็น

และเมื่อชนชาติมูร (มุสลิมสเปน) ได้ตกต่ำสู่ความมืดลง ยุโรปซึ่งรับเชื้อไปก็กลายเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวิทยาการ ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่ทำให้ยุโรปมีชีวิตเต็มภาคภูมิขึ้น ยังมีอิทธิพลอีกหลายๆอย่างที่อารยธรรมอิสลามได้ถ่ายทอดให้แก่ยุโรป

ไม่มีความเจริญใดๆของยุโรปที่ปราศจากเค้ารอยของอารยธรรมอิสลาม ที่สำคัญที่สุดก็คือวิทยาศาสตร์ และจิตวิญญาณของการขวนขวายหาความรู้ การวิทยาศาสตร์ของเราเป็นหนี้บุญคุณของอาหรับเป็นอย่างมาก

แต่ก่อนนี้โลกอยู่ในยุคอวิชา ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ของกรีกเองก็รับมาจากที่อื่น ชาวกรีกทำหน้าที่เพียงจัดหมวดวิชาเป็นประเภทๆ และตั้งทษฎีขึ้นจากที่เรียนมา แต่การเสาะแสวงหาความจริงด้วยความเพียร การสะสมข้อเท็จจริง วิธีละเอียดอ่อนในการสังเกตและทดลองเป็นเวลานานเหล่านี้ชาวกรีกยังไม่รู้จัก กระทั้งเมื่ออิทธพลเฮเลนิคได้แผ่ถึงอาเล็กซานเดรีย จึงเริ่มใช้วิธีทดลองขึ้นบ้าง

จิตวิญญาณแห่งการค้นคว้าและทดลองที่เกิดขึ้นในยุโรปนั้น นำมาจากชาวอาหรับ”

⊙ ◎ ☺ ☻► ◄ ▧ ▨ ⊙ ◎ ☺ ☻► ◄ ▧ ▨ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น