อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เขาว่าท่านอิบนุตัยมิยะฮ์เป็นอุละมาอ์วะฮาบีย์


 



เมื่อท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ เสียชีวิตไปแล้วตั้งหลายร้อยปี ก่อนวาฮาบีย์ที่ถูกตั้งฉายาไปทางที่เสียหาย (ทั้งที่เป็นผู้ฟื้นฟูซุนนะฮ์ และต่อต้านบิดอะฮ์และทำลายชิริก) จะเกิดขึ้น  (ท่านสิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 728) จะเป็นอุละมาอ์ของวาฮาบีย์ได้อย่างไรกัน


ถึงแม้จะมีผู้ไม่ชอบและอคติต่อท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ แต่ก็มีอุละมาฮ์มีชื่อเสียงหลายท่านที่ชอบและยกย่องท่าน และตั้งฉายาว่า "ชัยคุลอิสลาม"                                       
  2 ท่านในนั้น คือ ชัยค์ ญะลาลุดดีน อัสสะยูฏีย์(ร.ฮ) ปราชญ์มัซฮับชาฟิอี ซึ่งมี่ชีวิตระว่างปี ฮ.ศ 849-911


ชัยค์ ญะลาลุดดีน อัสสะยูฏีย์ ได้ชมเชยท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ) ไว้ดังนี้
ابن تيمية ، الشيخ ، الإمام ، العلامة ، الحافظ ، الناقد ، الفقيه ، المجتهد ، المفسر البارع ، شيخ الإسلام ، علَم الزهاد ، نادرة العصر ، تقي الدين أبو العباس أحمد المفتي شهاب الدين عبد الحليم بن الإمام المجتهد شيخ الإسلام مجد الدين عبد السلام بن عبد الله بن أبي القاسم الحراني .
อิบนุตัยมียะฮ อัช-ชัยค์ , อัล-อิหม่าม , ,อัลอัลลามะฮ ,อัลหาฟิซ ,อันนากิด(นักวิจารณ์),อัล-มุฟัสสิีรอัลบาเรียะ(นักอรรถาธิบายอัลกุรอ่านที่ยอดเยี่ยม) ,ชัยคุลอิสลาม ,ผู้ทรงความรู้ที่สมถะ ,เป็นผู้ที่หาหายากในยุคสมัย ,ตะกียุดดีน,อะบุลอับบาส อะหมัด อัลมุฟตี ชิฮาบุดดีน อับดุลหะลีม บิน อิหม่ามอัลมุจญตะฮีด ชัยคุลอิสลาม ,มัจญุดดีน อับดุสสลาม บิน อับดิลละฮ บิน อะบิลกอซิม อัลหะรอนีย์     ( ดู เฏาะบะกอ็ตอัลหุฟฟาต ของชัยค์อัสสะยูฏีย์ หน้า 520-521)


อิบนุเราะญับ (ร.ฮ)  เขายกย่องอิบนุตัยมียะฮว่า
أَحْمَد بْن عَبْد الحليم بْن عَبْد السَّلام بْن عَبْد اللَّهِ بْن أَبِي القاسم بْن الخضر بن محمد ابن تيمية الحراني، ثُمَّ الدمشقي، الإِمَام الفقيه، المجتهد المحدِّث، الحافظ المفسر، الأصولي الزاهد، تقي الدين أَبُو الْعَبَّاس، شيخُ الإِسْلام،
อะหมัด บิน อับดิลหะลีม บิน อับดิสสลาม บิน อับดิลละฮ บิน อะบีลกอสิม บิน อัลเคาะฎีร บิน มุหัมหมัด บิน ตัยมียะฮ อัลหะรอรีย์ ต่อมา อัดดะมัชกีย์ อิหม่ามอัลฟะกีฮ อัลมุจญตะฮิด อัลมุหัษดิษ อัลหาฟิซ อัลมุฟัสสิร อัลอุศูลีย์ อัซซาฮิด ตะกียุดดีนอัลอับบาส "ชัยคุลอิสลาม"


ศิษย์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ มีมากมาย หนึ่งในนั้น คือท่านอิบนุ กะษีร  ท่านสังกัดมัซฮับชาฟิอียฺ(โดยไม่อคติกับมัซฮับอื่นเช่นครูของท่าน)   และ ท่านอิบนุ กอยยิม อัล เญาซียะฮ แต่เหตุอันใดผู้ที่ไม่ชื่นชอบท่านอิบนุตัยมียะฮ แต่ท่านกลับอ้างอิงคำพูดของานอิบนุ กอยยิมลูกศิษย์ของท่านอยู่บ่อยครั้ง


อิบนุกะษีร (ร.ฮ)ศิษย์ที่มีชื่อเสียงของอิบนุตัยมียะฮ ได้กล่าวถึงชีวประวัติของอิบนุกอ็ยยิม(ร.ฮ)ซึ่งเป็นศิษย์อิบนุตัยมียะฮเช่นกัน ไว้ในอัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ ตอนหนึ่งว่า
وُلِدَ فِي سِنَةِ إِحْدَى وَتِسْعِينَ وَسِتِّمِائَةٍ ، وَسَمِعَ الْحَدِيثَ ، وَاشْتَغَلَ بِالْعِلْمِ ، فَبَرَعَ فِي عُلُومٍ مُتَعَدِّدَةٍ ، لَا سِيَّمَا عِلْمُ التَّفْسِيرِ ، وَالْحَدِيثِ وَالْأَصْلَيْنِ ، وَلَمَّا عَادَ الشَّيْخُ تَقِيُّ الدِّينِ ابْنُ تَيْمِيَّةَ مِنَ الدِّيَارِ الْمِصْرِيَّةِ فِي سَنَةِ اثْنَتَيْ عَشْرَةَ وَسَبْعِمِائَةٍ لَازَمَهُ إِلَى أَنْ مَاتَ الشَّيْخُ ، فَأَخَذَ عَنْهُ عِلْمًا جَمًّا مَعَ مَا سَلَفَ لَهُ مِنَ الِاشْتِغَالِ ، فَصَارَ فَرِيدًا فِي بَابِهِ فِي فُنُونٍ كَثِيرَةٍ ، مَعَ كَثْرَةِ الطَّلَبِ لَيْلًا وَنَهَارًا ،
เขา(อิบนุกอ็ยยิม)ได้ถูกกำเนิดในปี ฮ.ศ 691 เขาได้ฟังหะดิษและสาละวนอยู่กับวิชาความรู้ แล้วเขามีความเชียวชาญในบรรดาวิชาต่างๆมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิงวิชาตัฟสีร,หะดิษ และวิชาอุศูล(หะดิษและตัฟสีร) และเมื่อชัยค์ตะกียุดดีน อิบนุตัยมียะฮ กลับจากเมืองอียิปต์ ในปี ฮ.ศ 712 เขาได้อุทิศตนอยู่กับเขา(อยู่กับอิบนุตัยมียะฮเพื่อศึกษา) จนกระทั่ง ชัยค์(อิบนุตัยมียะฮ)เสียชีวิต เขาได้เอาความรู้จากอิบนุตัยมียะฮ มากมาย พร้อมกับการสะละวน(การฝักใฝ่เรียนรู้) อยู่กับเขา ที่ผ่านมา จนเขากลายเป็นผู้ที่มีความยอดเยี่ยมในด้านวิชาการในศาสตร์ต่างๆมากมายพร้อมกับศึกษาหาความรู้ทั้งกลางวันและกลางคืน (อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ เล่ม 14 หน้า 237 เหตุการณ์ ปี ฮ.ศ 751)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น