อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เรื่องอิบาดะห์ต้องถามว่ามีหลักฐานรองรับไหม






การอ่านอัลฟาตีหะฮ์ระหว่างยกมือขอดุอาอ์เพื่อเป็นการตะวัซซุลในการรับดุอาอฺ ก็อยู่ในบริบทเดียวกันกับยกมือขอดุอาอ์ อย่าไปกำหนดว่าต้องทำตลอด หรือต้องอ่านแต่ฟาติหะฮ์อย่างเดียว สูเราะฮ์อื่นไม่ได้ เจาะจงว่าต้องมีรูปแบบอย่างนี้เท่านั้น ก็ถือเป็นการกระทำที่ไปกำหนดรูปแบบที่ตายตัวในอิบาดะฮฺขึ้นมาใหม่นั้นเอง   เพราะอิบาดะฮฺใดที่มีรูปแบบเฉพาะตามตัวบทหลักฐาน การกระทำที่ออกนอกรูปแบบเฉพาะนั้นถือเป็นบิดอะฮฺ และอิบาดะฮฺใดที่ไม่มีรูปแบบเฉพาะตายตัวเนื่องจากตัวบทหลักฐานกล่าวไว้อย่างกว้างๆ การกระทำที่ไปกำหนดรูปแบบที่ตายตัวในอิบาดะฮฺประเภทนี้ก็ย่อมถือเป็นบิดอะฮฺ


    ส่วนที่ถามว่ามันขัดแย้งกับอัลกุรอานหรือหะดิษบทใดบ้าง มีการปฏิเสธจากท่านนบีบางไหม เท่ากับหาหลักฐานว่าห้ามไหม หากไปเฉพาะเจาะจงในเรื่องนี้ไว้สถานที่ เวลา หรือพิธีกรรมใดเป็นการเฉพาะแล้ว ก็เป็นการเข้าข่ายอุตริกรรมทางศาสนา หรือบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติที่ท่านนบีห้ามไว้
 ส่วนการที่จะเอาหลักฐานเป็นการเฉพาะว่าห้ามทำเรื่องนี้ไหมนั้น หลักพื้นฐานของโครงสร้างที่มาของวิชาอรรถคดี (อุศูลุ้ลฟิกฮ์) ในประเด็นที่ว่า
الأصل فى العادات الإباحة
“พื้นฐานของกิจทั่วไปคือการอนุมัติ”
الأصل فى العبادات التحريم
“พื้นฐานของอิบาดะห์ทั้งหลายคือการห้าม
กล่าวคือ เรื่องอิบาดะฮ์ พื้นฐานของอิบาดะห์ทั้งหลายคือการห้าม นั้นหมายความว่า เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นการเฉพาะที่กระทำอิบาดะฮฺในเรื่องนั้น ก็เป็นที่ต้องห้ามให้กระทำ จึงต้องถามว่าเรื่องที่จะกระทำขึ้นมาเป็นการเฉพาะนี้มีหลักฐานรองรับไหม ไม่ใช่ถามว่ามีหลักฐานห้ามไหม
แต่การถามว่ามีหลักฐานห้ามไหมต้องไปอาดะฮฺหรือกิจการทางโลก เพราะพื้นฐานของกิจทั่วไปคือการอนุมัติจนกว่าจะมีหลักฐานมาห้าม เช่น ถามว่า การดื่มน้ำกระท่อมผสมสี่คูณร้อยมีหลักฐานห้ามไหม เป็นต้น


ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إنْ كانَ شَيْئًا مِنْ أمْرِ دُنْيَاكُمْ فَشَأْنُكُمْ بِهِ وَإنْ كَانَ مِنْ أُمُوْرِدِيْنِكُمْ فَإِلَيَّ
“หากว่าเรื่องใดก็ตามที่เป็นเกี่ยวกับดุนยาของพวกเจ้า มันเป็นภารกิจของพวกเจ้าในเรื่องนั้น แต่หากเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องศาสนาของพวกเจ้าก็จงกลับมาที่ฉัน” สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 2462 และมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 12086


ท่านอิบนุกะษีรฺ ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ “ตัฟซีรฺ อิบนุกะษีรฺ” เล่มที่ 4 หน้า 276 ว่า
وَبَابُ الْقُرَبَاتِ يُقْتَصَرُ فِيْهِ عَلَى النُّصُوْصِ، وَلاَ يُتَصَرَّفُ فِيْهِ بِأَنْوَاعِ اْلأَقْيِسَةِ وَاْلآرَاءِ
“และในเรื่องของ اَلْقُرَبَاتُ (เรื่องความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์หรือเรื่องผลบุญ) จะต้องถูก “จำกัดตามตัวบท” เท่านั้น จะไปแปรเปลี่ยนมันตามการอนุมานเปรียบเทียบต่างๆหรือแนวคิดต่างๆหาได้ไม่”


ท่าน ดร.ยูซุฟ อัล-ก็อรฺฎอวีย์ ได้อธิบายในหนังสือ “อัล-หะล้าล วัลหะรอม ฟิลอิสลาม” หน้า 25 ว่า ...
كَانَ أَحْمَدُ وَغَيْرُهُ مِنْ فُقَهَاءِ أَهْلِ الْحَدِيْثِ يَقُوْلُوْنَ : إِنَّ اْلأَصْلَ فِى الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيْفُ، فَلاَ يُشْرَعُ مِنْهَا إِلاَّ مَا شَرَعَهُ اللهُ، وَإِلاَّ دَخَلْنَا فِىْ مَعْنىَ قَوْلِهِ تَعَالَى : أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوْا لَهُمْ مِنَ الدِّيْنِ مَالَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللهُ .. (سورة الشورى 21)
وَالْعَادَاتُ اْلأَصْلُ فِيْهَا الْعَفْوُ، فَلاَ يُحْظَرُمِنْهَا إِلاَّ مَا حَرَّمَهُ، وَإِلاَّ دَخَلْنَا فِىْ مَعْنَى قَوْلِهِ : قُلْ أَرَأَيْتُمْ مَا أَنْزَلَ اللهُ لَكُمْ مِنْ رِزْقٍ فَجَعَلْتُمْ مِنْهُ حَرَامًا وَحَلاَلاً .. (سورة يونس 59)
ท่านอิหม่ามอะห์มัดและท่านอื่นๆจากนักวิชาการฟิกฮ์ผู้เชี่ยวชาญหะดีษต่างกล่าวว่า : แท้จริง พื้นฐานของเรื่อง “อิบาดะฮ์” ทั้งมวลก็คือ ให้ระงับ (จากการปฏิบัติ) ดังนั้นจะไม่มีอิบาดะฮ์ใดถูกกำหนดขึ้นมา (เพื่อปฏิบัติ) เว้นแต่ต้องเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงบัญญัติ (คือสั่ง) มันเท่านั้น, มิฉะนั้น (ก็เท่ากับ)เราได้ล่วงล้ำเข้าสู่ความหมายของโองการที่ว่า .. “หรือพวกเขามีบรรดาภาคีที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ในสิ่งซึ่งอัลลอฮ์มิได้ทรงอนุญาต?” (อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัช-ชูรออ์ อายะฮ์ที่ 21)
ส่วนในเรื่อง “อาดะฮ์” (สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์) นั้น พื้นฐานของมันก็คือ การอนุโลม (ให้ปฏิบัติได้) ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดต้องห้าม นอกจากสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา “ทรงห้าม”มันเท่านั้น, มิฉะนั้น (ก็เท่ากับ) เราได้ล่วงล้ำเข้าไปสู่ความหมายของโองการที่ว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า พวกท่านเห็นแล้วมิใช่หรือว่า สิ่งซึ่งอัลลอฮ์ทรงประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่านนั้น พวกท่าน (กลับ) ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วน เป็นที่อนุมัติ ?” (อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ยูนุส อายะฮ์ที่ 59 )


วัลลอฮุอะอฺลัม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น