อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ แบ่งบิดอะฮ์ตามศาสนบัญญัติดีและเลวจริงหรือ





กรณีที่อ้างคำพูดของอีหม่ามชาฟีอีย์ เกี่ยวกับบิดอะฮฺ  ว่าท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ แบ่งบิอะฮ์ตามบทบัญญัติไว้ 2 ประเภท คือ บิดอะฮฺดี(ฮาซานะฮ์) และเลว(ฎอลาลาฮ์) และอนุญาตให้กระทำบิดอะฮ์ดีได้  ตามข้อความดังนี้ "ผมไม่เอาคับของ..ابن التيمية... เพราะเขาอ้างตัวว่าเป็นสาลัฟแต่ไม่ใช่สาลัฟ....ผมเอาของท่าน..امام الشافعي..คับซึ่งท่าน..الرابيع.. กล่าวว่า...قال الشافعي:المحدثات من الامور ضربان أحدها ما أحدث يخالف كتابا او سنة او إجماعا اوأثرا فهو البدعة الضلالة..สิ่งที่เขาอุตริขึ้นมาจากหลากหลายจิกกรรมนั่นแบ่งเป็นสองประเภท..1..อุตริกรรมที่ไม่มีหลักฐานจากกุรอ่าน/หะดีษ/อิญมะอุลามะ/ร่องรอยของซอฮาบะและสาลัฟถือว่าเป็นบิดอะฏอลาละ...٢. ماأحدث من خير لاخلاف فيه لواحد من هذا فهو محدثة غير مذمومة, ...2..สิ่งที่อุตริขึ้นจากความดีซึ่งไม่ขัดแย้งกับกุรอ่าน/หะดีษ/อิญมะอุลามะ/ร่องรอยของซอหาบะและสาลัฟถือว่าเป็นอุตริกรรมหรือกิจกรรมที่ไม่เลว...فالبدعة الحسنة متفق على جوازفعلها..
ฉนั้น..บิดอะที่ดีเป็นที่ย่อมรับว่าอนุญาตให้กระทำได้....
ดูในหนังสือ..الباعث على انكار البدع. لابى شامة.."
                                                                
จึงขอยกคำพูดของอีหม่ามชาฟีอีย์ และคำพูดของอุลามาอ์ท่านอื่นที่ได้อธิบายคำพูดของอีหม่ามชาฟีอีย์ไว้ ดังนี้


    ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 204) ได้กล่าวเอาไว้ว่า ...
اَلْبِدْعَـةُ بِدْعَـتَانِ : بِدْعَـةٌ مَحْمُوْدَةٌ، وَبِدْعَـةٌ مَذْمُوْمَـةٌ، فَمَاوَافَقَ السُّـنَةَ فَهُوَمَحْمُوْدٌ، وَمَاخَالَفَ السُّـنَّةَ فَهُوَ مَذْمُوْمٌ .....
“บิดอะฮ์ (สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ทั้งดีและชั่ว, หากสิ่งใด (ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ก็ถือว่า เป็นสิ่งดี, แต่ถ้าหากขัดแย้งกับซุนนะฮ์ ก็เป็นสิ่งที่ชั่ว (ถูกประนาม)” ...
(บันทึกโดย ท่านอบู นุอัยม์ ในหนังสือ “หิลยะตุ้ล เอาลิยาอ์” เล่มที่ 9 หน้า 113, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุรอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูม วัล-หิกัม” หน้า 291)


และอีกสำนวนหนึ่งที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ...
اَلْمُحْدَثَاتُ مِنَ اْلاُمُوْرِ ضَرْبَانِ، أَحَدُهُمَا مَااُحْدِثَ يُخَالِفُ كِتَابًا اَوْسُـنَّةً اَوْأَثَرًا اَوْ إجْمَاعًا فَهَذِهِ الْبِدْعَـةُ الضَّآلَّـةُ، وَالثَّانِيْ مَااُحْدِثَ مِنَ الْخَيْرِ لاَ خِلاَفَ فِيْهِ لِوَاحِدٍ مِنْ هَـذَا فَهِيَ مُحْدَثَـةٌُ غَيْرُمَذْمُوْمَـةٍ .........
“บรรดาสิ่งต่างๆที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่นั้น จะมีสองประเภท, ประเภทที่หนึ่งคือ สิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาโดยขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน, กับหะดีษ, กับแบบอย่างของเศาะหาบะฮ์ และกับสิ่งที่เป็นมติเอกฉันท์ (ของบรรดาเศาะหาบะฮ์) สิ่งใหม่ที่ถูกกระทำในลักษณะนี้ ถือเป็น บิดอะฮ์ เฎาะลาละฮ์ (การอุตริที่หลงผิด)
ประเภทที่สอง คือสิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาใหม่จากสิ่งดีๆโดยมิได้ขัดแย้งกับสิ่งใดจากสิ่งเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวนี้ ถือเป็นของประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ถูกตำหนิ” ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อล อิลา อัส-สุนัน อัล-กุบรออ์” หมายเลข 253, และในหนังสือ “มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์” เล่มที่ 1 หน้า 469. ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุ รอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูมฯ” หน้า 291)


ซึ่งถ้าเอาตามตัวอักษรที่ระบุ ก็อาจเข้าใจว่ามีบิดอะฮ์หะซะนะฮ์ ในบิดอะฮ์ทางบทบัญญัติ ตามที่เข้าใจ แต่เมื่อได้ทำความเข้าใจและอาศัยการอธิบายของนักวิชาการแล้ว กลายเป็นการอธิบายความหมาย “บิดอะฮ์” ทั้งในแง่ภาษาและในแง่ศาสนา
คำว่า “บิดอะฮ์ดี” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ในแง่ภาษา
ส่วนคำว่า “บิดอะฮ์ชั่ว” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ทั้งในแง่ภาษาและศาสนา


คำพูดอิหม่ามชาฟิอีข้างต้น อิบนุ เราะญับ (ร.ฮ)อธิบายว่า
وَمُرَادُ الشَّافِعِيِّ رَحِمَهُ اللَّهُ مَا ذَكَرْنَاهُ مِنْ قَبْلُ : أَنَّ الْبِدْعَةَ الْمَذْمُومَةَ مَا لَيْسَ لَهَا أَصْلٌ مِنَ الشَّرِيعَةِ يُرْجَعُ إِلَيْهِ ، وَهِيَ الْبِدْعَةُ فِي إِطْلَاقِ الشَّرْعِ ، وَأَمَّا الْبِدْعَةُ الْمَحْمُودَةُ فَمَا وَافَقَ السُّنَّةَ ، يَعْنِي : مَا كَانَ لَهَا أَصْلٌ مِنَ السُّنَّةِ يُرْجَعُ إِلَيْهِ ، وَإِنَّمَا هِيَ بِدْعَةٌ لُغَةً لَا شَرْعًا ، لِمُوَافَقَتِهَا السُّنَّةَ
และจุดมุ่งหมายของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม 2/131


ท่านอิหม่ามชาฟิอี ได้อ้าง คำพูด ท่านอุมัร บิน อัลคอฏฏอบ ที่ว่า
قال عمر في قيام رمضان: "نعمت البدعة هذه
และแท้จริง อุมัร ได้กล่าวในเรื่องการละหมาดตะรอเวียะว่า “" นี่แหละ คือบิดอะฮฺที่ดี
  เป็นการริเริ่มในสิ่งที่ท่านนบี ศอ็ลฯ เคยปฏิบัติมาแล้ว มาดูหลักฐาน
وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْتُ أَبَا حَنِيفَةَ عَنِ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ ؟ فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ وَلَمْ يَتَخَرَّصْهُ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا ، وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إِلَّا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلَّاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ : مِنْهُمْ عُثْمَانُ وَعَلِيٌّ وَابْنُ مَسْعُودٍ وَالْعَبَّاسُ وَابْنُهُ وَطَلْحَةُ وَالزُّبَيْرُ وَمُعَاذٌ وَأُبَيٌّ وَغَيْرُهُمْ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ ، وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمُ
และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ อุษมาน, อาลี ,อิบนุมัสอูด อัลอับบาส และบุตรของเขา ,ฏอ็ลหะฮ ,อัซซุเบร ,มุอาซ ,อุบัย และคนอื่นจากพวกเขา จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว
-ดู อัลอิคติยาร ลิ ตะอลิลอัลมุคตาร ของ ชัยค์ อัลมูศิลีย์ อัลหะนะฟีย์ เล่ม 1 หน้า 95 และ อัลเมาสูอะฮอัลฟิกฮียะฮ เล่ม 27 หน้า 138


ท่านอัชชาฏิบีย์ ได้คัดค้านผู้ที่กล่าวว่ามีบิดอะฮหะสะนะฮ โดย อ้างคำพูดของอุมัร โดยกล่าวว่า
إنما سماها بدعة باعتبار ظاهر الحال من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم ، واتفق أن لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه ، لأنها بدعة في المعنى
ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันเป็นบิดอะฮในด้านของความหมาย ( อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195 )


อัศศอนอานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ว่า
وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة
สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”(บิดอะฮที่ดี)นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด (ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10)


อิหม่ามอัชชาฏิบีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า
إنما سمّاها بدعةً باعتبار ظاهر الحال؛ من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم واتَّفق أنْ لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه، لا أنَّها بدعةً في المعنى، فمن سمّاها بدعةً بهذا الاعتبار؛ فلا مشاحة في الأسامي، وعند ذلك لا يجوز أن يُسْتَدَلَّ بها على جواز الابتداع بالمعنى المتكلم فيه؛ لأنَّه نوع من تحريف الكلم عن مواضعه
ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันไม่ใช่เป็นบิดอะฮในด้าน ความหมาย ดังนั้น ผู้ใด เรียกมันว่า “บิดอะฮ”ด้วยการพิจารณานี้ ก็อย่าให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อ และในขณะดังกล่าว ไม่อนุญาตให้อ้างมัน เป็นหลักฐานว่า อนุญาตให้อุตริบิดอะฮ ด้วยความหมายที่ถูกพูดถึงในมัน เพราะแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของการบิดเบือนคำพูดออกจากที่ของมัน (อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น