อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรณีการนำหะดิษฎออิฟมาปฏิบัติ







การรายงานหะดิษต้องแจ้งสถานภาพของหะดิษนั้น

ในเรื่องของ “การรายงาน” นั้น ท่านมุสลิมและนักวิชาการหะดีษจำนวนมากกล่าวว่าไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษใด  เว้นแต่ถ้าผู้รายงานเป็นผู้มีความรู้เรื่องสถานภาพของหะดีษก็จะต้องแจ้งสถานภาพของมันด้วยเสมอ
(ดูหนังสือ “เศาะเหี๊ยะฮ์มุสลิม” หน้า 8-9, 28,  และหนังสือ “ตะมามุ้ลมินนะฮ์” ของท่านอัล-อัลบานีย์ หน้า 32 เป็นต้น)

ยกตัวอย่างหะดิษฎออิฟที่ต้องแจ้งสถานภาพของความเป้นฎออิฟไว้


حَدَّثَنَا قُتَيْبَةُ وَسُفْيَانُ بْنُ وَكِيعٍ قَالَا حَدَّثَنَا حُمَيْدُ بْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ الرُّؤَاسِيُّ عَنْ الْحَسَنِ بْنِ صَالِحٍ عَنْ هَارُونَ أَبِي مُحَمَّدٍ عَنْ مُقَاتِلِ بْنِ حَيَّانَ عَنْ قَتَادَةَ عَنْ أَنَسٍ قَالَ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنَّ لِكُلِّ شَيْءٍ قَلْبًا وَقَلْبُ الْقُرْآنِ يس وَمَنْ قَرَأَ يس كَتَبَ اللَّهُ لَهُ بِقِرَاءَتِهَا قِرَاءَةَ الْقُرْآنِ عَشْرَ مَرَّاتٍ

أخرجه الترمذي رقم الحديث2812  / كتاب فضائل القرآن  /باب ماجاء في فضل يس

ความหมายหะดีษ
“แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างมีหัวใจ ส่วนหัวใจของอัลกุรอานก็คือสูเราะฮฺยาสีน ผู้ใดอ่านสูเราะฮฺยาสีน อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนผลบุญแก่เขาเท่ากับการอ่านอัลกุรอาน(จบเล่ม)สิบครั้ง”
บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ:2812 กิตาบ:ฟาเฎาะอิลุ้ล กุรอาน เรื่อง: ความประเสริฐของสูเราะฮฺยาสีน
หะดีษนี้เป็นหะดีษฎออีฟเพราะในสายรายงานมี ฮารูน อบูมุหัมมัด   هَارُونَ أَبِي مُحَمَّدٍ  ซึ่งนักวิจารณ์หะดีษระบุว่าเขานั้นมัญฮูล (ไม่เป็นที่รู้จัก )


ท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-บาอิษ อัล-หะษีษ” หน้า 91 ว่า
  وَالَّذِىْ أَرَاهُ أَنَّ بَيَانَ الضَّعْفِ فِى الْحَدِيْثِ الضَّعِيْفِ وَاجِبٌ فِىْ كُلِّ حَالٍ، ِلأَنَّ تَرْكَ الْبَيَانِ يُوَهِّمُ الْمُطَّلِعَ عَلَيَهْ ِأَنَّهُ حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ!،   خُصُوْصًا إِذَا كَانَ النَّاقِلُ لَهُ مِنْ عُلَمَاءِ الْحَدِيْثِ الَّذِيْنَ يُرْجَعُ إِلَي قَوْلِهِمْ فِىْ ذَلِكَ، وَأَنَّهُ لاَ فَرْقَ بَيْنَ اْلأَحْكَامِ وَبَيْنَ فَضَائِلِ اْلأَعْمَالِ وَنَحْوِهَا فِىْ عَدَمِ اْلأَخْذِ بِالرِّوَايَةِ الضَّعِيْفَةِ ....
“สิ่งซึ่งเป็นมุมมองของข้าพเจ้าก็คือ การบอก “ความเฎาะอีฟ” ของหะดีษเฎาะอีฟนั้น เป็นสิ่งวาญิบใน
ทุกๆกรณี (คือไม่ว่าจะเป็นหะดีษเฎาะอีฟเกี่ยวกับเรื่องหะล้าล-หะรอม หรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล)

เพราะการไม่บอกความเฎาะอีฟจะทำให้ผู้ที่พบเห็นหะดีษนั้นอาจเข้าใจผิดว่ามันเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ที่คัดลอกหะดีษนั้นมารายงาน เป็นนักวิชาการหะดีษที่ประชาชนยอมรับคำพูดของเขา  และ แท้จริงไม่มีข้อแบ่งแยกแต่อย่างใดในระหว่างเรื่องหุก่มต่างๆกับเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลหรือเรื่องอื่นๆ  ในแง่ที่ไม่ให้นำเอารายงานที่เฏาะอีฟมาปฏิบัติ”

ทัศนะของท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺในวรรคหลังๆนี้ ตรงกันกับคำกล่าวของท่านหาฟิศ อิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “تَبْيِيْنُ الْعَجَبِ”

แต่ถ้าผู้นำหะดีษมาบอกเล่าต่อผู้อื่น ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจในสถานภาพของหะดีษนั้นว่าจะเศาะเหี๊ยะฮ์หรือเฎาะอีฟ ก็ไม่อนุญาตให้ใช้คำพูดอย่างชัดเจนว่า “ท่านนบีย์ กล่าวว่า ...”  แต่ให้ใช้คำพูดคลุมเครือว่า “ถูกอ้างรายงานมาจากท่านนบีย์ .....” .. หรือ “มีการอ้างรายงานมาจากท่านนบีย์ ....” เป็นต้น
(จากหนังสือ “อุลูมุลหะดีษ” ของท่านอิบนุศ ศอลาห์ หน้า 94)

กฎเกณฑ์ข้อนี้ มักจะถูกละเลยจากนักวิชาการปัจจุบันจำนวนมากที่ชอบนำเอาหะดีษเฎาะอีฟมารายงานหรือบอกต่อเพื่อให้ชาวบ้านรับไปปฏิบัติโดยมิได้แจ้งว่ามันเป็นหะดีษเฎาะอีฟ
ยิ่งไปกว่านั้นผู้รู้บางท่านยังกล่าวอย่างชัดเจนตอนอ้างหะดีษเฎาะอีฟต่อชาวบ้านว่า “ท่านนบีย์กล่าวว่า ........” ซึ่งสำนวนอย่างนี้ถือเป็นเรื่องต้องห้ามดังคำกล่าวของท่านอิบนุศศอลาห์ข้างต้น

ทัศนะของนักวิชาการในการนำหะดิษฎออิฟมาปฏิบัติ

สำหรับกรณีที่นักวิชาการส่วนมากหรือมีมติ(อิจญมาอฺ)ผ่อนปรนให้ให้ปฏิบัติหะดีษเฎาะอีฟได้นั้น

อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
قال العلماء من المحدثين والفقهاء وغيرهم: يجوز ويستحب العمل في الفضائل والترغيب والترهيب بالحديث الضعيف، ما لم يكن موضوعا، وأما الأحكام كالحلال والحرام والبيع والنكاح والطلاق وغير ذلك فلا يعمل فيها إلا بالحديث الصحيح أو الحسن إلا أن يكون في احتياط في شيء من ذلك
บรรดานักวิชาการหะดิษและฟิกฮ และอื่นจากพวกเขากล่าวว่า ?อนุญาตและชอบให้ปฏิบัติ ในเรื่องคุณค่าอะมั้ล ,ตัรฆีบ(ส่งเสริมให้ทำความดี)และตัรฮีบ (เตือนไม่ให้ทำชั่ว) ด้วยหะดิษเฎาะอีฟ ตราบใดที่มันไม่ได้เป็นหะดิษเมาฎัวะ (หะดิษปลอม) และสำหรับเรื่อง กฎข้อบังคับต่างๆ เช่น การอนุมัติ,การห้าม ,การซื้อขาย,การสมรส ,การหย่าร้าง และอื่นจากนั้น จะปฏิบัติด้วยมัน(หะดิษเฏาะอีฟ)ไม่ได้ นอกจากด้วยหะดิษ เศาะเฮียะ หรือหะดิษหะซันเท่านั้น ยกเว้น ในกรณีเผื่อไว้เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ? อัลอัซกัร หน้า 7-8

นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันในเรื่อง “การปฏิบัติ” ตามหะดีษเฎาะอีฟเป็น 3 ทัศนะ (ดังระบุในหนังสือ “กอวาอิด อัต-ตะห์ดีษ”  หน้า 113) ดังนี้
 คือ
ทัศนะที่ 1 หะดีษเฎาะอีฟทุกบท   ไม่ว่าเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล   ห้ามนำมาปฏิบัติโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
นี่คือทัศนะของท่านยะห์ยา บินมะอีน,  ท่านอบูบักรฺ อิบนุลอะรอบีย์,  ท่านอิบนุหัสม์,  และตามรูปการณ์แล้วน่าจะเป็นทัศนะของท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิมด้วย

ทัศนะที่ 2 หะดิษเฎาะอีฟทุกบท   ไม่ว่าเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล  สามารถนำมาปฏิบัติได้โดยปราศจากเงื่อนไข 
ท่านอัส-สะยูฏีย์อ้างว่า นี่คือทัศนะของท่านอบูดาวูดและท่านอิหม่ามอะห์มัด
หมายเหต
โปรดเข้าใจด้วยว่า คำว่า “หะดีษเฎาะอีฟ” ตามทัศนะของท่านอิหม่ามอะห์มัดในที่นี้ นั้นมิใช่หะดีษฎออีฟที่รุนแรงนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ แต่เป็นฎออีฟที่มีส่วนความเป็นศอหี้หฺแฝงอยู่ คือหมายถึง “หะดีษหะซัน”หรือหะดีษที่สวยงามตามคำกล่าวของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ (ซึ่งท่านติรมีซีย์เป็นผู้เรียกท่านแรก) มิใช่หะดีษเฎาะอีฟตามมุมมองของนักวิชาการท่านอื่นๆ เพราะว่าปราชญ์ยุคก่อนไม่ได้จำแนกหะดีษเป็นศอหีหฺ-หะสัน-ฎออีฟ เช่นยุคหลังแต่จะจำแนกหะดีษเป็น 2 ประเภทเท่านั้นคือ ศอหี้หฺกับฎออีฟ อาจเป็นไปได้ว่าหะดีษฎออีฟที่อิหมามอะหฺมัดหมายถึงคือ หะดีษหะสัน ลิฆอยริฮฺ นั้นเอง
นี่คือคำอธิบายของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ในหนังสือ “มินฮาจญ์ อัส-ซุนนะฮ์”  ดังการอ้างอิงในหนังสือ “กอวาอิด อัต-ตะห์ดีษ” ของท่านอัล-กอซิมีย์ หน้า 118

ทัศนะที่ 3  เป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่  ถือว่า อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล, เรื่องบาปบุญ,  เรื่องสนับสนุนให้ทำความดีและสำทับให้หวาดกลัวจากการทำความชั่วได้ โดยมีเงื่อนไข (ดังมีระบุในหนังสือ “กอวาอิด อัต-ตะห์ดีษ” หน้า 116 และหนังสือหะดีษอื่นๆแทบทุกเล่ม) ดังนี้

1. หะดีษนั้นจะต้องไม่เฎาะอีฟมากเกินไป
2. หะดีษนั้น จะต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานแห่งการปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว (หมายถึงมีหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์ในเรื่องนั้นมายืนยันไว้แล้ว) และ
3. จะต้องไม่ยึดมั่นขณะปฏิบัติว่า หะดีษนั้นเป็นหะดีษที่แน่นอนหรือถูกต้อง  แต่ให้ยึดมั่นว่า เป็นการปฏิบัติ “เผื่อๆ” เท่านั้น

นอกจากเงื่อนไข 3 ประการข้างต้นแล้ว ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ยังได้เสนอเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า ...
     أُشْتُهِرَ أَنَّ أَهْلَ الْعِلْمِ يَتَسَاهَلُوْنَ فِىْ إِيْرَادِ اْلأَحَادِيْثِ فِى الْفَضَائِلِ وَإِنْ كَانَ فِيْهَا ضَعْفٌ مَالَمْ تَكُنْ مَوْضُوْعَةً، وَيَنْبَغِىْ مَعَ ذَلِكَ إِشْتِرَاطُ أَنْ يَعْتَقِدَ الْعَامِلُ كَوْنَ ذَلِكَ الْحَدِيْثِ ضَعِيْفًا! وَأَنْ لاَ يُشْهِرَ ذَلِكَ لِئَلاَّ يَعْمَلَ الْمَرْءُ بِحَدِيْثٍ ضَعِيْفٍ فَيُشَرِّعَ مَالَيْسَ بِشَرْعٍ،   أَوْ يَرَاهُ بَعْضُ الْجُهَّالِ فَيَظُنَ أَنَّهُ سُنَّةٌ صَحِيْحَةٌ،   وَقَدْ صَرَّحَ بِمَعْنىَ ذَلِكَ اْلأُسْتَاذُ أَبُوْ مُحَمَّدِ بْنُ عَبْدِالسَّلاَمِ وَغَيْرُهُ،  وَلْيَحْذَرِالْمَرْءُ مِنْ دُخُوْلِهِ تَحْتَ قَوْلِهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ   ....  "مَنْ حَدَّثَ عَنِّىْ بِحَدِيْثٍ يُرَى أَنَّهُ كَذِبٌ فَهُوَ أَحَدُ الْكَاذِبَيْنِ" .. فَكَيْفَ بِمَنْ عَمِلَ بِهِ ؟! وَلاَ فَرْقَ فِىْ الْعَمَلِ بِالْحَدِيْثِ فِى اْلأَحْكَامِ أَوْ فِى الْفَضَائِلِ إِذِالْكُلُّ شَرْعٌ!
“เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า นักวิชาการได้ผ่อนปรนให้บอกเล่าหะดีษในเรื่องของฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลได้ แม้ในมันจะมีความเฎาะอีฟอยู่บ้างก็ตามตราบใดที่มันมิใช่หะดีษเก๊  เกี่ยวกับเรื่องนี้ สมควรมีเงื่อนไขด้วยว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดมั่นว่าหะดีษบทนั้นเป็นหะดีษเฎาะอีฟ และการปฏิบัติดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้แพร่หลายด้วย! ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้บุคคลใดนำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติจนเป็นสาเหตุให้เขา(ได้ชื่อว่า) เป็นผู้ตราบทบัญญัติในสิ่งที่มันมิใช่เป็นบทบัญญัติ หรืออาจจะมีผู้ไม่รู้บางคนมาเห็น(การกระทำของ)เขาแล้วเลยเข้าใจว่ามันคือซุนนะฮ์ที่ถูกต้อง

 แน่นอน ความหมายดังที่กล่าวมานี้ ท่านอุซตาซอบูมุหัมมัด อิบนุอับดิสสลามและนักวิชาการท่านอื่นๆได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว  และบุคคลผู้นั้น(คือผู้ปฏิบัติตามหะดีษเฎาะอีฟ) ก็พึงระวังให้จงหนักจากการล่วงล้ำเข้าสู่ภายใต้คำกล่าวท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า  “ผู้ใดอ้างรายงานจากฉัน ด้วยหะดีษใดที่ถูกมองว่ามันเป็นท็จ เขาก็คือหนึ่งจากสองที่ร่วมกันกล่าวเท็จ” .. (ขนาดผู้อ้างรายงานหะดีษเฎาะอีฟยังต้องระวังขนาดนี้) แล้วผู้ที่ปฏิบัติมันล่ะ จะ(ต้องระวัง)สักขนาดไหน ?
 และไม่มีข้อแตกต่างอันใดในระหว่างการปฏิบัติตามหะดีษในเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล เพราะทั้งหมดคือบทบัญญัติเหมือนกัน”
(โปรดดูหนังสือ  “تَبْيِيْنُ الْعَجَبِ بِمَا وَرَدَ فِىْ فَضْلِ رَجَبَ”  ของท่านอิบนุหะญัรฺหน้า 3-4)

คำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺที่ว่า “ไม่มีข้อแตกต่างอันใดในระหว่างการปฏิบัติตามหะดีษในเรื่องหุก่มต่างๆหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล เพราะทั้งหมดคือบทบัญญัติเหมือนกัน” แสดงว่า “แนวโน้ม” ของท่านอิบนุหะญัรฺในเรื่องนี้ก็คือ ไม่อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหุก่มหรือเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาล

สำหรับนักวิชาการที่มีทัศนะว่า อนุโลมให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺมาลได้  ท่านอิบนุหะญัรฺก็ได้กำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติไว้หลายประการดังกล่าวมาแล้ว


ตัวอย่างหะดิษฎออิฟที่เป็นเรื่องของ "คุณค่าของอมั้ล" 

คุณค่า หมายถึง ผลบุญ
อมั้ล คือ อมั้ลที่มีหะดีษเศาะหี้หฺรองรับอยู่แล้ว

ดังนั้น หะดีษคุณค่าของอมั้ล ก็คือหะดีษที่ระบุถึงผลบุญของอมั้ลหนึ่ง ๆ หรือหะดิษที่กล่าวถึงความประเสริฐ ภาคผลของการกระทำนั้น ที่อมั้ลนั้นมีหะดีษที่เศาะหี้หฺรองรับ

เช่น หะดีษที่ว่า "การละหมาดของผู้ที่แปรงฟันย่อมดีกว่าการละหมาดของผู้ที่ไม่แปรงฟันถึง 70 การละหมาด"

 หะดีษบทนี้เป็นหะดีษที่เฎาะอีฟ (นักหะดีษมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความถูกต้องของหะดีษ)

แต่หะดีษบทนี้อยู่ในข่ายหะดีษ "คุณค่าของอมั้ล"  กล่าวคือ
- เป็นหะดีษที่บ่งบอกถึงความประเสริฐของการแปรงฟันก่อนละหมาด
- ส่วนการแปรงฟันก่อนละหมาดนั้น มีหะดีษที่ถูกต้องรองรับอยู่แล้ว
- ฉะนั้นหะดีษบทนี้ ไม่ได้อุตริการแปรงฟันก่อนการละหมาด แต่บอกผลบุญของการแปรงฟันก่อนละหมาด

นี้คือ ตัวอย่างของหะดีษคุณค่าของอมั้ลหรือฟะฎออิลุลอะอฺมาล


ยกตัวอย่างหะดิษเฎาะอีฟฟะฎออิลุ้ลอะอฺม้าล(ความประเสริฐของอะมั้ลอิบาดะฮ) 


من صلى بين المغرب والعشاء عشرين ركعة، بنى الله له بيتاً في الجنة “
ผู้ใดละหมาดระหว่าง (ละหมาด)มัฆริบ และ อีชา 20 เราะกาอัต อัลลอฮทรงสร้างบ้านให้แก่เขาในสวรรค์ – บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ด้วยสายสืบที่เฎาะอีฟ


هذا الحديث في فضائل الأعمال، والفضل هنا قوله (بنى الله له بيتاً في الجنة) هذا الفضل لا يجوز إيراده لأن أصل العمل وهو صلاة عشرين ركعة بين المغرب والعشاء لم يثبت بدليل صحيح أو حسن، فلا يجوز حينئذ أن يورد حديث ضعيف في فضله

หะดิษนี้ เกี่ยวกับเรื่อง ฟะฎออิลุ้ลอะอฺม้าล = ความประเสริฐของอะมั้ลอิบาดะฮ ( فضائل الأعمال، )
คำว่า ความประเสริฐ ในที่นี้คือ ถ้อยคำที่ว่า อัลลอฮทรงสร้างบ้านให้แก่เขาในสวรรค์ (بنى الله له بيتاً في الجنة )
ความประเสริฐในที่นี้ คือ?(بنى الله له بيتاً في الجنة )ไม่อนุญาตให้รายงาน เพราะต้นเรื่องของ อะมั้ล (สิ่งที่ปฏิบัติ)คือ من صلى بين المغرب والعشاء عشرين ركعة  ผู้ใดละหมาดระหว่าง (ละหมาด)มัฆริบ และ อีชา 20 เราะ) ไม่ปรากฏหลักฐานที่เศาะเฮียะ หรือ หะซัน รับรองไว้ ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้รายงาน หะดิษเฎาะอีฟ ที่ระบุเกี่ยวกับความประเสริฐของมัน

การอ่านตัลกีน เป็นรูปแบบอิบาดะฮ ที่ มีคนบอกว่า เป็นสุนัต การกระทำที่มีหุกุมว่า เป็นสุนัต ต้องมีหะดิษรับรองไว้

หะดิษเศาะเฮียะปลอดภัยที่สุด



สำหรับหะดิษเศาะเฮียะ ปลอดไปที่สุด โดยประการทั้งปวง
ท่านอัลลามะฮ อะหมัด ชากิร กล่าวว่า
لا فرقَ بين الأحكام وبين فضائل الأعمال ونحوها في عدم الأخذ بالرواية الضعيفة ، بل لا حجةَ لأحدٍ إلا بما صحَّ عن رسول الله صلى الله عليه وسلم من حديث صحيحٍ أو حسنٍ
ไม่มีการแบ่งแยก ระหว่างเรื่องหุกุม (ว่าด้วยกฎข้อบังคับของศาสนา) และ ระหว่าง เรื่อง ความประเสริฐ ของบรรดาการงาน(ฟะฏออิลุ้ลอะอฺม้าล) และในทำนองนั้น ในการที่ไม่อนุญาตให้ยึดเอารายงานที่เฏาะอีฟ แต่ตรงกันข้าม ไม่อนุญาตให้บุคคลใด อ้างอิงหลักฐาน นอกจากด้วย สิ่งที่เศาะเฮียะ จากท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหะดิษเศาะเฮียะ หรือ หะดิษหะซัน
(อัลบาอิษุลหะษีษ เล่ม 1 หน้า 278)

การนำหะดิษเฎาะอีฟมาอ้างนั้น หนีไม่พ้น การคาดเดา หรือ เดาสุ่มเอา การปฎิบัติในสิ่งที่ไม่แน่นอน หรือ คาดคะเนเอาเองนั้น ศาสนาห้าม ดังหลักฐานที่ได้ระบุแล้วคือ
وَإِنَّ الظَّنَّ لَا يُغْنِي مِنَ الْحَقِّ شَيْئاً
และแท้จริงการคาดคะเนนั้นจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่ความจริงได้
ท่านนบี ศฮลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“إياكم والظن فإن الظن أكذب الحديث
"พวกท่านพึงระวัง การคาดคะเน แท้จริงการคาดคะเนนั้น เป็นคำพูดที่โกหก" มุตตะฟักอะลัญฮิ
การห้ามปฏิบัติตาม การคาดเดา ไม่ว่า ในเรื่องของอะกีดะฮ(หลักศรัทธา) หรือ หลักการอิบาดาต นั้น ย่อมไม่แตกต่างกัน

والله أعلم بالصواب

โหลดPDF
http://www.upload-thai.com/download.php?id=11b0bbfa9cdf3526a34b49ffd8636f55


2 ความคิดเห็น: