อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การขอดุอาอ์ให้คนต่างศาสนิก(กาเฟร)ที่มีชีวิตอยู่ เสียชีวิตและการละหมาดให้



การขอดุอาอ์ให้คนต่างศาสนิกนั้นมีหุก่มดั่งต่อไปนี้
หุก่มการขอดุอาอ์ให้คนกาเฟร


กรณีที่หนึ่ง คนต่างศาสนิกขณะยังมีชีวิตอยู่
มุสลิมสามารถขอดุอาอ์ให้แก่คนต่างศาสนิกได้ เช่น ขอดุอาอ์ให้เขาเข้ารับอิสลาม, ขอให้เขามีความสุข, ขอให้เขามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หรือแม้กระทั่งขออภัยโทษให้แก่คนต่างศาสนิก ดั่งที่ท่านนบีเคยขอดุอาอ์ให้แก่บุคคลที่ทำร้ายนบีจนเลือดออกที่ศีรษะขณะเดินทางไปเผยแผ่อิสลามที่เมืองฏออิฟว่า

اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِقَوْمِي فَإِنَّهُمْ لاَ يَعْلَمُونَ


"โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่กลุ่มชนของฉันด้วยเถิด อันที่จริงพวกเขาเป็นผู้ไม่รู้" 
(หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)

อนึ่ง กรณีข้างต้นเป็นการขอแบบส่วนตัว ไม่ใช่ขอดุอาอ์ให้แก่คนต่างศาสนิกกันเป็นญะมาอะฮฺ (อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน) หรือขอในหลังละหมาดฟัรฺฎุ หรือหลังละหมาดสุนนะฮฺต่างๆ หรือขอในพิธีกรรมต่างๆ เช่นนี้ไม่อนุญาต เพราะไม่มีแบบอย่างจากสุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัดนั่นเอง

อิสลามไม่มีการละหมาดให้คนกาเฟร

กรณีที่สอง  การขอดุอาอ์ให้แก่คนต่างศาสนิกในสภาพที่พวกเขาเสียชีวิตไปแล้วนั้น
 ประเด็นนี้ไม่อนุญาตให้ขอดุอาอ์ให้แก่พวกเขาโดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นมติเอกฉันท์โดยไม่มีข้อขัดแย้งแต่ประการใดทั้งสิ้น

ดั่งหลักฐานที่ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จะขอดุอาให้มารดาของท่านเมื่อท่านได้ไปเยี่ยมหลุมฝังศพมารดาของท่านซึ่งเสียชีวิตก่อนที่ท่านจะถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี และกรณีที่ท่านนบีขอดุอาอ์อภัยโทษแก่ท่านอบูตอลิบ ผู้เป็นลุงของท่าน

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ได้รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إستأذنت ربي أن أستغفر لأمي فلم يأذن لي وإستأذنته أن أزور قبرها فأذن لي

“ฉันขออนุมัติต่อองค์อภิบาลของฉันที่จะขออภัยโทษให้กับแม่ของฉัน แต่พระองค์ไม่ทรงอนุมัติ แต่เมื่อฉันขออนุมัติต่อพระองค์ที่จะเยี่ยมหลุมศพของแม่ พระองค์ก็ทรงอนุมัติแก่ฉัน”
( ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1621)

ท่านมุซัยยับ อิบนุ ฮัซนิน ได้รายงานว่า

لما حضرت أبا طالب الوفاة جاءه رسول الله صلى الله عليه وسلم فوجد عنده أبا جهل بن هشام وعبد الله بن أبي أمية بن المغيرة قال رسول الله صلى الله عليه وسلم لإبي طالب : يا عم قل لا إله الا الله كلمة أشهد لك بها عند الله فقال أبو جهل وعبد الله بن أبي أمية يا أبا طالب أترغب عن ملة عبد المطلب ؟ فلم يزل رسول الله صلى الله عليه وسلم يعرضها عليه ، ويعودان بتلك المقالة حتى قال أبو طالب ، آخرما كلمهم ، هو على ملة عبد المطلب ، وأبى أن يقول لا اله الا الله فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : أما والله لأستغفرن لك مالم أنه عنك فأنزل الله تعالى فيه – ماكان للنبي والذين آمنوا- الآية


เมื่อครั้งที่อบูตอลิบ เจ็บหนัก ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่า ณ.ที่นั้นมี อบูญะฮล์ บินฮิชาม และ อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบีอุมัยยะห์ อิบนิมุฆีเราะห์ ร่วมอยู่ด้วย ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวกับอบีตอลิบว่า โอ้ลุงเอ๋ย จงกล่าว ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์ ฉันจะได้นำคำนี้ไปยืนยันให้แก่ท่าน ณ.ที่อัลลอฮ์ แต่อบูญะฮล์ และอับดุลลอฮ์ อิบนิอบีอุมัยยะห์ ได้ทักท้วงว่า โอ้อบูตอลิบเอ๋ย ท่านจะผินหลังให้กับศาสนาของอับดุลมุฏตอลิบกระนั้นหรือ ? แต่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็ยังคงเสนอให้อบูตอลิบกล่าวคำปฏิญาณโดยที่ทั้งสองนั้นก็คอยทักท้วงอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคำสุดท้ายของอบูตลิบได้กล่าวเหมือนดั่งที่พวกเขากล่าวกัน นั่นคืออยู่บนศาสนาของอับดุลมุฏตอลิบ และปฏิเสธที่จะกล่าว ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์ ดังนั้นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า ฉันจะขออภัยโทษให้แก่ท่านอย่างแน่นอนตราบใดที่ฉันไม่ถูกห้าม ดังนั้นพระองค์อัลลอฮ์ จึงได้ประทานอายะห์นี้มาว่า “ไม่ใช่หน้าที่ของนบีและบรรดาผู้ศรัทธาในการขออภัยโทษให้แก่บรรดาผุ้ตั้งภาคี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นญาติใกล้ชิดกันก็ตาม” 
(มุตตะฟะกุนอลัยฮิ ตัวบทจากศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1272 ส่วนข้อความของอัลกุรอานนั้น จากซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 113)

หลักฐานข้างต้นนี้เป็นข้อชี้ขาดว่า ไม่อนุญาตในการขออภัยโทษให้แก่คนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เสียชีวิตไปแล้ว และเช่นเดียวกัน สำหรับคนที่ปากของเขายืนยันในการเป็นมุสลิม แต่พฤติกรรมของเขาเป็นผู้ปฏิเสธการศรัทธาก็เป็นที่ต้องห้ามด้วย พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

وَلاَ تُصَلِّ عَلَى أَحَدٍ مِنْهُمْ مَاتَ أَبَداً وَلاَ تَقُمْ عَلَى قَبْرِهِ إنَّهُمْ كَفَرُوا بِاللهِ وَرَسُوْلِهِ وَمَاتُوا وَهُمْ فَاسِقُوْنَ

และเจ้า (มูฮัมหมัด) อย่าได้ละหมาด (ญะนาซะห์) ให้แก่คนใดในหมู่พวกเขาที่ตายเป็นอันขาด และอย่าได้ยืนบนหลุมศพของพวกเขา (เพื่อขอดุอาอ์) แท้จริงพวกเขาปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์ และพวกเขาตายไปในขณะที่พวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน”
 (ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 84)

การละหมาดให้คนกาเฟร(ผู้ปฏิเสธ , คนต่างศาสนิก)
ไม่อนุญาตให้ละหมาดให้คนกาเฟร


สำหรับการละหมาดให้คนต่างศาสนิกนั้นไม่อนุญาตให้กระทำโดยเด็ดขาด เพราะการนละหมาดนั้นเพื่ออัลลอฮฺ และก่อนละหมาดจะต้องมีเนียตว่าจะละหมาดอะไร? ส่วนที่ละหมาดแล้วเนียตเพื่อถวายพระพรนั้น หากถามตามหลักการของอิสลาม ตอบได้เลยว่าไม่มีในอิสลามนั่นเอง
والله أعلم 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น