อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อัล-อะชาอิเราะฮฺ สำนักคิดใช้เหตุผลทางปัญญาก่อนหลักฐาน




วิภาษนิยม
สำนักอัล-อะชาอิเราะฮฺ


อัล-อะชาอิเราะฮฺ (اَلأَشَاعِرَةُ) (Ash'aris) คืออะไร มีประวัติความเป็นมาและมีแนวคิดอย่างไร และมีบทบาทอย่างไรกับมุสลิมบ้านเรา มุสลิมบางท่านอาจคงไม่ทราบเลยว่า อัล-อะชาอิเราะฮฺ คืออะไร? มาเกี่ยวข้องกับมุสลิมบ้านเราได้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ ที่มุสลิมหลายท่านได้สัมผัสมาแล้ว นั้นก็คือ ซิฟาต(คือคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์อัลลอฮ์ตามที่พระองค์ได้ทรงแจ้งไว้)ของอัลลอฮ์ หรือที่มุสลิมบ้านเราเรียกกันว่า ซิฟัตวาญิบ 20 (คุณลักษณะจำเป็นที่อัลลอฮ์ต้องมี) , ซิฟัตญาอิช(คุณลักษณะเป็นไปได้ที่อัลลอฮ์จะมี) และ ซิฟัตมุสตะฮีล(คุณลักษณะเป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮ์จะมี) ซึ่งได้ศึกษามาจากโรงเรียนตาดีกา(Tadika, เป็นคำย่อจากภาษามาเลย์ tama didikkan kanak kanak)หรือฟัรดูอีน หรือสถาบันการศึกษาปอเนาะ(PONDOK) นั้นเอง แต่มุสลิมบางท่านอาจคงไม่รู้ ว่าซิฟัตเล่านี้  เกี่ยวข้องกันประการใดกับ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...!!!

ฟัรดูอีน
เด็กนักเรียนตาดิกา


และเมื่อมุสลิมบ้านเรา สังกัดมัซฮับชาฟีอีเป็นส่วนใหญ่ แล้วทำไมมุสลิมบ้านเราจึงมาเกี่ยวข้องกับ อัล-อะชาอิเราะฮฺ ด้วย ขอกล่าวในที่นี้ว่า กลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ นี้จัดอยู่ในกลุ่มอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺและสังกัดอยู่ในมัซฮับทั้ง 4 ทางด้านนิติศาสตร์(ฟิกฮฺ) แต่สำหรับอากีดะฮ์( عقيدة ){ความเชื่อการศรัทธา} ของกลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ นั้น สังกัดตามมัซฮับของอิหม่ามอบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์  สำหรับท่านอิหม่ามชาฟีอีก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอากีดะฮ์ ของกลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ แต่ประการใด อันเนื่องจากก่อนที่จะเกิดแนวคิด อากีดะฮ์ อย่าง อัล-อะชาอิเราะฮฺ ท่านอิหม่ามชาฟีอีได้กลับไปสู่ความเมตตาต่อพระองค์อัลลอฮ์หลายทศวรรษแล้ว ท่านอิหม่ามชาฟีอีท่านเป็นชาวสลัฟ[กลุ่มชนมุสลิมีนที่อยู่ในช่วง 300 ปี หลังจากที่ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้ว] ท่านเกิดปีที่ 160 ฮิจเราะฮ์ศักราช และท่านเสียชีวิตในปี 204 ฮิจเราะฮ์ศักราช  อะกีดะฮฺของ อิหม่ามอัซ-ซาฟิอียฺ เป็นอะกีดะฮฺตามแนวทางอะหฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺของผู้คนในยุคสลัฟศอลิหฺ รุ่นตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน   สำหรับ ท่านอิหม่ามอบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ผู้ก่อตั้งสำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ ท่านเป็นชาวเคาะลัฟ(กลุ่มชนมุสลิมีนที่อยู่ในช่วงหลัง 300 ปี ) ท่านเกิดปีที่ 260 ฮิจเราะฮ์ศักราช และท่านเสียชีวิตในปี  324  ฮิจเราะฮ์ศักราช  กลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ มีอากีดะฮ์บางเรื่องไม่เหมือนแนวทางอะหฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺของผู้คนในยุคสลัฟศอลิหฺ รุ่นตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน ซึ่งท่านอิหม่ามชาฟีอียึดถืออยู่ อันได้แก่ เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐานอัลกุรอาน และหะดิษ , ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ คือปฏิเสธคุณลักษณะอิคติยาริยะฮฺ , ยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดประการ ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺพวกเขาจะทำการตะอ์วีล (ตีความ) หรือตัฟวีฎ (มอบหมายในความหมายว่าอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรู้) , จำกัดนิยามคำว่า “อัล-อีหม่าน” (การศรัทธา) ว่าหมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น เป็นต้น

นิยาม และผู้ก่อตั้งสำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ 

อัล-อะชาอิเราะฮฺ คือมุสลิมคณะหนึ่งที่พาดพิงไปยังอิหม่ามอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอะรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ซึ่งจะใช้วิธีการยืนยันเรื่องหลักศรัทธาและโต้ตอบฝ่ายที่มีทัศนะขัดแย้งกับตนตามแนวทางของอะฮฺลุลกะลาม (นักวิภาษวิทยา)

ผู้ก่อตั้ง คือ อิหม่ามอบู อัล-หะสัน อะลีย์ บิน อิสมาอีล อัล-อัชอะรีย์ เกิดที่เมืองบัศเราะฮฺ เมื่อปี  ฮ.ศ. 260 ท่านพำนักที่เมืองบัฆดาด (แบกแดด) ประเทศอิรักและเสียชีวิตที่นั่น เมื่อปี ฮ.ศ. 324 ท่านเติบโตอยู่กับพ่อเลี้ยงที่ชื่อว่า อบู อะลีย์ อัล-ญุบบาอีย์ ซึ่งเป็นผู้นำแนวคิด “อัล-มุอฺตะซิละฮฺ” ท่านได้รับแนวคิดของมุอฺตะซิละฮฺจากเขาผู้นี้ จนกระทั่งท่านเป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญและเป็นหนึ่งในแกนนำแนวคิดมุอฺตะซิละฮฺ
และท่านได้ผันตัวเองออกจากแนวคิดมุอฺตะซิละฮฺในเวลาต่อมา อันเนื่องด้วยท่านเริ่มมีความเคลือบแคลงใจในบางปัญหาและมีทัศนะของตนเองในปัญหานั้นๆ  และท่านได้ฝันเห็นท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และท่านนบีได้กล่าวกับท่านว่า"จงยึดแบบอย่าง (ซุนนะฮฺ) ของท่านนบี"  


اَلأَشَاعِرَةُ

นักวิจัยค้นคว้ามีทัศนะแต่งต่างกันถึงสำนักคิดของท่านอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอะรีย์ บางคนกล่าวว่าท่านผันแปรไปสู่สำนักคิดอัล-กุลลาบิยะฮฺ และต่อมาผันแปรสู่แนวทางสะลัฟ ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนหนึ่ง บางคนกล่าวว่าท่านได้ผันแปรสู่สำนักคิดอัล-กุลลาบิยะฮฺและยึดมั่นกับแนวคิดนี้อย่างถาวร และท่านมีทัศนะของตนเองโดยเฉพาะโดยมีแนวคิดก้ำกึ่งระหว่างมุอฺตะซิละฮฺกับแนวคิดของอัล-มุษบิตะฮฺ(กลุ่มแนวคิดที่ยืนยันในคุณลักษณะของอัลลอฮฺ) ซึ่งต่อมากลายเป็นแนวคิดอัล-อัชอะรีย์ นี่เป็นทัศนะของพวกอัล-อะชาอิเราะฮฺเอง
               ส่วนทัศนะที่กล่าวว่าท่านได้ผันแปรสู่แนวทางอัล-กุลลาบิยะฮฺ และต่อมาผันแปรสู่แนวทางของชาวสะลัฟ เป็นการยืนยันของอิหม่ามอบู อัล-หะสันเองในหนังสือ อัล-อิบานะฮฺ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่ท่านแต่งขึ้น โดยในหนังสือดังกล่าวได้ระบุอย่างชัดเจนว่าท่านยึดมั่นตามสำนักคิดของอิหม่ามอะหฺมัด บิน หันบัล

ความแตกต่างระหว่างอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นแรกกับอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลัง

ผู้ที่ศึกษาแนวคิดของอิหม่ามอัล-อัชอะรีย์ จะพบข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างทัศนะอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นแรกกับอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลัง
ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังมิได้เจริญรอยตามแนวทางของอบู อัล-หะสันอย่างแท้จริง หากแต่พวกเขามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในประเด็นปัญหาที่สำคัญ จนมีบางคนกล่าวว่า "หากอบู อัล-หะสันทราบว่าสิ่งที่อัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังอ้างว่าทำตามแนวคิดของท่านนั้น แน่นอนท่านอิหม่ามจะต้องกล่าวตอบว่า “พวกท่านจงบอกแก่พวกเขาด้วยว่าฉันไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับพวกท่าน”



>ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาข้อแตกต่างของทัศนะอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นแรกกับอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลัง ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างแรก ทัศนะเกี่ยวกับศิฟัต เคาะบะริยะฮฺ คือคุณลักษณะของอัลลอฮฺที่ไม่สามารถรู้ได้เองด้วยสติปัญญา แต่สามารถรู้ได้ด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ  เช่น พระพักต์ พระหัตถ์ทั้งสอง หรือ พระเนตร
 อิหม่ามอบู อัล-หะสัน มีทัศนะเกี่ยวกับประเด็นนี้เหมือนกับแนวคิดของอัล-กุลลาบิยะฮฺ คือ ยืนยันว่าคุณลักษณะเหล่านี้เป็นของอัลลอฮฺ อบู อัล-หะสันได้กล่าวยืนยันในหนังสืออัล-อิบานะฮฺ หน้าที่ 22 และหนังสือ ริสาละฮฺ อิลา อะฮฺลิ อัษ-ษัฆฺริ หน้าที่ 225-226

 ในขณะที่อัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังจะทำการ ตะอ์วีล (ตีความ) คุณลักษณะดังกล่าวเป็นอย่างอื่น ดังที่อัล-อีย์ญีย์ได้กล่าวว่า ข้อที่ 5 คุณลักษณะพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ พระองค์ได้ตรัสว่า

ﭽ... ﭗ  ﭘ  ﭙ  ﭚﭛ   ... ﭼ الفتح: ١٠
ความว่า “พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา” (ซูเราะฮฺ อัลฟัตหฺ อายะฮฺที่ 10)

ﭽ ...ﯞ  ﯟ  ﯠ  ﯡ  ﯢ  ﯣ  ﯤﯥ  ... ﭼ ص: ٧٥
ความว่า “สิ่งใดหรือที่มายับยั้งไม่ให้เจ้าสุญูดแก่สิ่งที่ข้าสร้างมาด้วยสองพระหัตถ์ของข้า” (ซูเราะฮฺ ศอด อายะฮฺที่ 75)

อิหม่ามอบู อัล-หะสันได้ยืนยันในคุณลักษณะทั้งสองนี้ ซึ่งเป็นทัศนะของชาวสะลัฟ ในหนังสือบางเล่มของอัล-กอฎีย์ยังยืนยันถึงคุณลักษณะนี้ด้วย

แต่อัล-อะชาอิเราะฮฺส่วนใหญ่เห็นว่าคุณลักษณะดังกล่าวเป็นมะญาซ (คำอุปมา) ที่หมายถึง อานุภาพของพระองค์ โองการที่พระองค์บอกว่าได้สร้างด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์ หมายถึง สร้างด้วยอานุภาพที่สมบูรณ์ของพระองค์ (หนังสืออัลมะวากิฟ หน้าที่ 298)

ตัวอย่างที่ 2 คุณลักษณะอัล-อุลูว์ (การอยู่เบื้องสูง) และ อัล-อิสติวาอ์ (การอยู่เหนือพ้นบัลลังก์) 

อิหม่ามอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอารีย์ ได้ยืนยัน  คุณลักษณะอัล-อุลูว์ และ อัล-อิสติวาอ์ของพระองค์เหนือพ้นบัลลังก์ ตามที่ปรากฏในหนังสืออัล-อิบานะฮฺ (หน้าที่ 105) ว่า หากมีคนถามว่า ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการอิสติวาอ์ของอัลลอฮฺ ก็จงตอบไปว่า พระองค์ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์ตามสภาพที่เหมาะสมกับพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

ﭽ ﮉ  ﮊ  ﮋ  ﮌ    ﭼ طه: ٥                                                                
ความว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์(ซูเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)

และในหนังสือมะกอลาต อัล-อิสลามียีน (หน้าที่ 260) ว่า โดยทั่วไปแล้วทัศนะของอะฮฺลุลหะดีษและสุนนะฮฺ คือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ บรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์ คัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาเราะสูลของพระองค์ ...

และแท้จริงอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า
ﭽ ﮉ  ﮊ  ﮋ  ﮌ    ﭼ طه: ٥
ความว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์(ซูเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)

นอกจากนั้นท่านยังได้โต้ตอบผู้ที่ตีความ อิสติวาอ์ ด้วยคำว่า อำนาจ ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสืออัล-อิบานะฮฺ (หน้าที่ 108) ว่า พวกมุอฺตะซิละฮฺ พวกญะฮฺมิยะฮฺ และพวกหะรูริยะฮฺ กล่าวว่าแท้จริงความหมายของโองการ
ﭽ ﮉ ﮊ  ﮋ  ﮌ  ﭼ
(อัลลอฮฺ)ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงยึดครองเหนือบัลลังก์”

คำว่า “อิสตะวา” หมายถึง “อิสเตาลา” (การยึดครอง), “มิลกฺ” (การครอบครอง) และ ก็อฮรฺ (เอาชนะ) และอัลลอฮฺนั้นมีอยู่ทุกหนแห่ง พวกเขาปฏิเสธการอยู่สูง(อิสติวาอ์) เหนือพ้นบัลลังก์ของอัลลอฮฺ ดังที่บรรดาผู้สัจจริงได้กล่าวไว้ และพวกเขายึดมั่นว่า อิสติวาอ์นั้นคือกุดเราะฮฺ (มีอำนาจเหนือ) ถ้าเป็นอย่างที่พวกเขากล่าวไว้ ก็จะไม่แตกต่างกันเลยระหว่างอะรัช (บัลลังก์) กับพื้นดินทั้งเจ็ดชั้น เพราะอัลลอฮฺทรงมีอำนาจเหนือทุกๆ สิ่ง

               นี่คือทัศนะของอิหม่ามอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอะรีย์ ส่วนอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังมีแนวคิดตรงข้าม ดังที่ อัล-อีย์ญีย์กล่าวในหนังสือ อัล-มะวากิฟ หน้าที่ 297-298

ว่า “คุณลักษณะที่สาม อัล-อิสติวาอ์ ครั้นเมื่ออัลลอฮฺ ตะอาลาได้บอกถึงคุณลักษณะของอัล-อิสติวาอ์ ดังคำตรัสของพระองค์

ﭽ ﮉ  ﮊ  ﮋ  ﮌﭼ
ความว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์” (ซูเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)

นักวิชาการอัล-อะชาอิเราะฮฺมีความเห็นในเรื่องนี้ต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า อิสติวาอ์ หมายถึง อิสตีลาอ์ (การครอบครอง) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของอัล-กุดเราะฮฺ (อานุภาพ) ดังคำกล่าวของนักกวี
قد استوى عمرو على العراق       من غير سيف ودم مهراق
ความว่า “แท้จริงอัมรฺได้ครอบครองแผ่นดินอิรัก โดยปราศจากการสู้รบและการนองเลือด” 


บางคนก็ตีความว่า อิสติวาอ์ในที่นี้หมายถึง อัล-ก็อศดฺ (มุ่งสู่) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะอัล-อิรอดะฮฺ (ความประสงค์) ดังคำตรัสของพระองค์
ﭽ ...ﯴ  ﯵ  ﯶ  ﯷ...ﭼ
ความว่า “แล้วพระองค์ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า” (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 5)
ซึ่งเป็นการตีความที่ห่างไกลมาก”


***จากทั้งสองตัวอย่างทำให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดของอิหม่ามอบู อัล-หะสันเอง กับแนวคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังที่อ้างตนว่าเจริญรอยตามอิหม่าม อัลอัชอะรีย์
สำนักคิดใช้ปัญญานำหลักฐาน

แนวคิดและหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาอิเราะฮฺ และการอภิปราย หลักคำสอน อัล-อะชาอิเราะฮของอัล-อะชาอิเราะฮฺยุคหลัง



ส่วนหนึ่งของหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาอิเราะฮฺยุคหลัง ที่ยึดถือเป็นหลักการของสำนักคิดมีดังต่อไปนี้
เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐาน

เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐาน (จากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ) คือ เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างหลักฐานและเหตุผลทางปัญญา ซึ่งจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกอันหนึ่งอันใดมาก่อน อัล-อะชาอิเราะฮฺได้นำกฎเกณฑ์คลุมเครือเหล่านี้มาเป็นหลักเกณฑ์ จึงต้องนำเหตุผลทางปัญญานำหน้าหลักฐาน และนำสิ่งเหล่านั้นมาตัวกำหนดแทนที่หลักฐาน ด้วยเหตุผลที่ว่า ปัญญานั้นเป็นสิ่งที่ไปใคร่ครวญหลักฐานว่าสมควรเชื่อหรือไม่ หากไปนำหลักฐานมาก่อนแสดงว่าเราไปทำลายการใคร่ครวญของสติปัญญา ซึ่งจะทำให้บทบัญญัติทั่วไปเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้

อภิปลายประเด็น การใช้เหตุผลทางปัญญาก่อนหลักฐาน ตามกฎที่แนวคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ

ข้อโต้ตอบ : อะฮลุสสุนนะฮฺ กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างปัญญาที่สมบูรณ์ชัดเจน กับหลักฐานที่ถูกต้อง ในความเป็นจริงประเด็นดังกล่าวไม่เคยปรากฏขึ้นเลย
สติปัญญาได้เป็นสักขีพยานต่อความเป็นเราะสูลหรือนบีอย่างแท้จริง ดังนั้น อาศัยหลักดังกล่าวจึงจำเป็นต้องยึดความเป็นสักขีพยานของปัญญาในเรื่องนี้ ด้วยการเชื่อในสิ่งที่ท่านเราะสูลนำมาบอกทุกประการ และเชื่อฟังในสิ่งที่ท่านเราะสูลสั่งใช้ให้กระทำ เมื่อท่านเราะสูลบอกว่า อัลลอฮฺทรงดำรงอยู่เหนือพ้นฟากฟ้า ปัญญาก็จำเป็นต้องเชื่อในสิ่งที่ท่านบอกด้วย หากเมื่อใดที่เหตุผลทางปัญญามานำหน้าหลักฐาน ก็เท่ากับว่าเป็นการกล่าวหาต่อการเป็นสักขีพยานของสติปัญญา ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายการเป็นสักขีพยานของสติปัญญาต่อความสัจจริงของท่านเราะสูล และเป็นการทำลายศาสนา


 ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ

 ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ คือปฏิเสธคุณลักษณะอิคติยาริยะฮฺ (สิทธิในการเลือกจะกระทำ) ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺยืนยันด้วยอาตมันพระองค์เอง เช่น คุณลักษณะอิสติวาอ์ (การอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์) อัน-นุซูล (การเสด็จลงมายังฟากฟ้า) อัล-มะญีอ์ (การเสด็จมายังทุ่งมะหฺชัรฺ) อัล-กะลาม (การพูด) อัร-ริฎอ (ความพอพระทัย) และอัล-เฆาะฎ็อบ (ความกริ้ว) พวกเขาปฏิเสธคุณลักษณะเหล่านี้ในฐานะเป็นคุณลักษณะของอัลลอฮฺ โดยอ้างว่าการพาดพิงคุณลักษณะดังกล่าวต่ออัลลอฮฺ เท่ากับเป็นการกล่าวว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนสถานะกับอัลลอฮฺ ซึ่งคุณลักษณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกสร้าง (ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะนำไปพาดพิงต่ออัลลอฮฺ)

อภิปลายประเด็น การปฏิเสธว่าอัลลอฮฺทรงกระทำในสิ่งที่พระองค์ประสงค์

ข้อโต้ตอบ : ประเด็นนี้เป็นหลักการเดิมของอัล-อะชาอิเราะฮฺที่ปฏิเสธว่าอัลลอฮฺทรงมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่โมฆะ แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงมีอำนาจที่สมบูรณ์ พระองค์ทรงกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ได้ทุกกาลเวลา ดังที่มีหลักฐานยืนยันจากอัลกุรอาน อัซ-ซุนนะฮฺ และมติเห็นพ้องของเศาะหาบะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
ﭽ ﮐ  ﮑ  ﮒ  ﮓ  ﮔﮕ  ﮖ ﮗ  ﮘ  ﮙ  ﮚﭼ الرحمن: ٢٩
ความว่า “ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินจะวอนขอต่อพระองค์ ทุกๆ ขณะพระองค์ทรงมีภารกิจ”  (ซูเราะฮฺ อัร-เราะหฺมาน อายะฮฺที่ 29)

ﭽ ...ﭹ   ﭺ  ﭻ  ﭼ  ﭽ  ﭾﭼ الطلاق: ١
ความว่า “บางทีอัลลอฮฺจะทรงปรับปรุงกิจการ (ของเขา) หลังจากนั้น” (ซูเราะฮฺ อัฏ-เฏาะลาก อายะฮฺที่ 1)


ยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดประการ ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺพวกเขาจะทำการตะอ์วีล หรือตัฟวีฎ 


ยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดประการ ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺพวกเขาจะทำการตะอ์วีล (ตีความ) หรือตัฟวีฎ (มอบหมายในความหมายว่าอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรู้) คุณลักษณะที่พวกเขายอมรับคือ อัล-อิลมฺ (ความรอบรู้) อัล-กุดเราะฮฺ (อานุภาพ) อัล-อิรอดะฮฺ (ความประสงค์) อัส-สัมอฺ (การได้ยิน) อัล-บะศ็อรฺ (การมองเห็น) อัล-กะลาม อัน-นัฟสีย์ (คำพูดที่ดำรงอยู่ด้วยอาตมันของอัลลอฮ) ส่วนคุณลักษณะอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้พวกเขาจะตีความ เช่น การตีความคุณลักษณะอัล-เฆาะฎ็อบ (ความกริ้ว) ด้วยความหมายว่า ความประสงค์ที่จะลงโทษ   อัร-ริฎอ (ความพอพระทัย) ด้วยความหมายว่า ความประสงค์ที่จะให้ผลตอบแทน   อิสติวาอ์ของอัลลอฮฺเหนืออะรัช (บัลลังก์) ด้วยความหมายว่า การมีอำนาจและการครอบครอง และยังมีการตีความคุณลักษณะของอัลลอฮฺอื่นๆ อีกมากมาย


อภิปลายประเด็น การจำกัดจำนวนคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียง 7 ประการ
นั้นคือ อัล-หะยาฮฺ (ทรงมีชีวิต) อัล-อิลมฺ (ทรงมีความรู้) อัล-กุดเราะฮฺ (ทรงอานุภาพ) อัล-อิรอดะฮฺ (ทรงพระประสงค์) อัส-สัมอฺ (ทรงได้ยิน) อัล-บะศ็อรฺ (ทรงมองเห็น) และ อัล-กะลาม อัน-นัฟสีย์ (คำพูดที่ดำรงอยู่ด้วยอาตมัน ของอัลลอฮ) ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ นั้นพวกเขาจะตีความเป็นอย่างอื่น

ข้อโต้ตอบ : แนวคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าแปลกและขัดแย้งกันอย่างยิ่ง หากไม่แล้ว ทำไมพวกอัล-อะชาอิเราะฮฺจึงตีความคุณลักษณะ อัร-เราะหฺมะฮฺ (ความเมตตา) แต่ไม่ได้ตีความคุณลักษณะ อัส-สัมอฺ (ทรงได้ยิน) หากพวกเขากล่าวว่า คุณลักษณะ อัร-เราะหฺมะฮฺ (ความเมตตา) นั้น บ่งชี้ถึงความอ่อนโยนของจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับอัลลอฮฺ เพราะจะไปคล้ายคลึงกับคุณลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างมา ถ้าเช่นนั้นคุณลักษณะ อัส-สัมอฺ (ทรงได้ยิน) ก็ไม่สมควรใช้กับอัลลอฮฺเช่นกัน เพราะการยอมรับในคุณลักษณะของอัส-สัมอฺจะไปคล้ายคลึงกับคุณลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างมา หากพวกเขากล่าวว่า พวกเรายืนยันคุณลักษณะ อัส-สัมอฺที่เหมาะสมกับอัลลอฮฺ เราก็ขอตอบว่า ดังนั้น พวกท่านก็จงยืนยันคุณลักษณะอัร-เราะหฺมะฮฺที่เหมาะสมกับอัลลอฮฺดังที่พวกท่านได้ยืนยันคุณลักษณะของอัส-สัมอฺที่เหมาะสมกับพระองค์


จำกัดนิยามคำว่า “อัล-อีหม่าน” หมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น 


จำกัดนิยามคำว่า “อัล-อีหม่าน” (การศรัทธา) ว่าหมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น ดังนั้น ตามทัศนะของพวกเขา เมื่อมนุษย์เกิดศรัทธาและเชื่อมั่นด้วยใจ ถึงแม้ว่ามิได้กล่าวคำปฏิญาณตนด้วยกะลิมะฮฺ ชะฮาดะฮฺตลอดชีวิต และมิได้ปฏิบัติกรรมดีด้วยอวัยวะก็ถือว่าเป็นมุอ์มินผู้ศรัทธาที่รอดพ้นจากการลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ  อัล-อีย์ญีย์ ได้กล่าวถึงนิยามอัล-อีหม่านในหนังสืออัล-มะวากิฟว่า นิยามของอัล-อีหม่าน ด้านวิชาการ ตามทัศนะของสำนักคิดพวกเรา(อัล-อะชาอิเราะฮฺ) และเป็นทัศนะของปราชญ์ (อิหม่าม) ส่วนใหญ่ เช่น ท่านอัล-กอฎีย์และอัล-อุสตาซ นั่นก็คือ อัล-อีหม่าน หมายถึง
التصديق للرسول فيما علم مجيئه به ضرورة،  فتفصيلا فيما علم تفصيلا، وإجمالا فيما علم إجمالا
“การศรัทธาต่อเราะสูลในสิ่งที่ท่านนำมาบอกเล่าในเรื่องที่จำเป็นพื้นฐาน ศรัทธาในรายละเอียดที่สามารถรู้ถึงรายละเอียด และศรัทธาแบบโดยรวมในคำสอนที่รู้แบบรวมๆ” (อัล-มะวากิฟ หน้า 384)

อภิปลายประเด็น การให้คำนิยาม อัล-อีหม่าน (ความศรัทธา) หมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น


ข้อโต้ตอบ : เป็นทัศนะที่ขัดแย้งกับอิจญ์มาอ์(มติเห็นพ้อง) และหลักฐานจากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ ส่วนอิจญ์มาอ์นั้น อิหม่ามอัช-ชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า เป็นอิจญ์มาอ์ของเศาะหาบะฮฺ อัต-ตาบิอีน และผู้คนหลังจากยุคนั้นที่ข้าพเจ้ามีชีวิตทันกับยุคของพวกเขาว่า “อัล-อีหม่าน คือ คำพูด การกระทำ และการตั้งใจ และอัล-อีหม่านจะไม่สมบูรณ์หากขาดไปอย่างหนึ่งอย่างใดจาก 3 ประการดังกล่าว” ดังนั้น ความเชื่อ การทำอะมัลที่ดี และการกล่าวคำปฏิญาณ (ชะฮาดะฮฺ) เป็นหลักการของอีหม่าน และถือว่าอีหม่านไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้องหากปราศจากสิ่งเหล่านั้น หลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานและสุนนะฮฺที่ยืนยันสนับสนุนการอิจญมาอ์ในเรื่องนี้มีมากมายเกินกว่าจะนับให้ครบถ้วนทีเดียว

การตีความในศิฟัตของอัลลอฮฺสำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ เป็นแนวทางที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ไม่เคยปรากฏในยุคชาวสะลัฟ

นับเป็นเรื่องที่น่าฉงนสนเท่ห์ที่สำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺเองยอมรับว่าการตีความในศิฟัต (คุณลักษณะ) ของอัลลอฮฺนั้น เป็นแนวทางที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่เคยปรากฏในยุคชาวสะลัฟ (กัลยาณชนรุ่นแรก) ไม่ว่าจะเป็นยุคของเศาะหาบะฮฺ หรือยุคของอัต-ตาบิอีน โดยพวกเขาได้สร้างวาทกรรมที่โดดเด่นว่า “แนวทางของชาวสะลัฟ (กัลยาณชนรุ่นแรก) เป็นแนวทางที่ปลอดภัยกว่า และแนวทางของชาวเคาะลัฟ (ชนรุ่นหลัง) เป็นแนวทางที่รอบรู้และฉลาดกว่า” กล่าวคือแนวคิดของการตีความในหมู่ชนรุ่นหลังย่อมรู้ดีและฉลาดกว่าแนวคิดของชนชาวสะลัฟที่มอบหมายข้อเท็จจริง  ซึ่งวาทกรรมนี้ส่อให้เห็นเจตนาดูแคลนแนวทางของชาวสะลัฟในความรู้และความเข้าใจของพวกเขาต่อเรื่องคุณลักษณะของอัลลอฮฺ การดูถูกดูแคลนเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นนอกจากด้วยปากของผู้ที่ไม่รู้ฐานะและสถานภาพชาวสะลัฟในความรู้ความเข้าใจในศาสนาอย่างแท้จริง

การอภิปรายคำพูดและหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาริเราะฮฺในประเด็นที่ขัดแย้งกับแนวคิดของชาวสะลัฟ ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ ถึงความปลอดภัยของแนวคิดของชาวสะลัฟจากความขัดแย้งและความสับสน ซึ่งเป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ วิทยปัญญาและความปลอดภัย

والله أعلم بالصواب



ส่วนหนึ่่งได้อ้างอิงมาจาก
 http://www.islamweb.net/media/index.php?page=article&lang=A&id=65287
แปลโดย : อันวา สะอุ

กดดาวน์โหลด PDF ได้ที่นี้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น