อาจารย์อาลี เสือสมิง |
อาจารย์อาลี(สันติ) เสือสมิง ท่านสังกัดอยู่ในมัซฮับชาฟีอีท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับกลุ่ม"ชีอะฮ์ การเปิดเชิกรุกและภัยคุกคามของของลัทธิชีอะฮ์ในบ้านเรา และการรับมือของวะอาบีย์กับภัยคุกคามของลัทธิชีอะฮ์เหล่านั้น ดังนี้
ความหมายและประเภทของกลุ่มชีอะฮ์
อัล-ชีอะฮ์ ตามหลักภาษาหมายถึงบรรดาผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือและปฏิบัติตามบุคคลนั้นๆ และทุกๆ กลุ่มคนที่รวมกันบนเรื่องราวของพวกเขาเรียกว่า “ชีอะฮฺ” (ตะฮฺซีบฺ อัล-ลุเฆาะฮฺ ; อัล-อัซฮะรียฺ 3/61)
ชีอะฮฺของท่านมุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีสุฟยาน (ร.ฎ.) ก็หมายถึงบรรดาผู้ที่เห็นชอบและเข้าร่วมเป็นฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) และให้การสนับสนุนต่อท่าน เป็นต้น
คำว่า ชีอะฮฺ ที่ปรากฏในข้อตกลงอัต-ตะหฺกีมจึงหมายถึง พรรคพวก ผู้ให้การสนับสนุนและฝ่ายที่ร่วมด้วย ซึ่งจะเห็นว่า ฝ่ายของท่านอะลี (ร.ฎ.) ก็เรียกว่า ชีอะฮฺ ฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) ก็เรียกว่าชีอะฮฺ ไม่ได้เจาะจงว่าเฉพาะผู้ที่ให้การสนับสนุนอะลี (ร.ฎ.) เพียงแต่ฝ่ายเดียวที่ถูกเรียกว่า ชีอะฮฺ เพราะคำว่าชีอะฮฺ ตามหลักภาษาก็คือ พรรคพวกที่เข้าร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดนั่นเอง
ต้องแยกประเภทของกลุ่มชีอะฮฺ ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม ชีอะฮฺบางกลุ่มมีหลักการใกล้เคียงกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ เช่น กลุ่มซัยดียะฮฺ ในขณะที่บางกลุ่มเป็นภัยอย่างชัดเจน เช่น ชีอะฮฺบาฏินียะฮฺ เป็นต้น ส่วนชีอะฮฺที่แพร่หลายในบ้านเราขณะนี้ คือ ชีอะฮฺอิมามียะฮฺ อิซฺนาอะชะรียะฮฺ (อิหม่าม 12) หรือ ชีอะฮฺญะอฺฟะรียะฮฺ ชีอะฮฺกลุ่มนี้มีหลักความเชื่ออยู่หลายประเด็นที่แตกต่างจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ
ส่วนประเด็นข้อนิติศาสตร์นั้นบางส่วนก็สอดคล้องกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺในบางมัซฮับ ในขณะที่มีอีกหลายประเด็นที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง อันตรายที่ดูแล้วเป็นภัยร้ายแรงสำหรับอะฮฺลิซซุนนะฮฺของชีอะฮฺกลุ่มนี้ก็คือ ท่าทีที่มีต่อเหล่าซอฮาบะฮฺ ซึ่งพวกชีอะฮฺมักจะกล่าวโจมตีและใส่ไคล้ เช่น ค่อลีฟะฮฺทั้ง 3 ท่าน, ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) และท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เป็นต้น รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมาก เอาเป็นว่า สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็คือ แนวทางของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ถ้าเรามั่นคงในสิ่งนี้แล้วเราก็จะสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด
กลุ่มชีอะฮ์และภัยคุกคามต่อมุสลิมในบ้านเรา
ชีอะฮฺในบ้านเรามีอยู่หลายกลุ่มแต่กลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวและกิจกรรมอย่างชัดเจนในการเผยแพร่ทัศนะความคิดของตนก็คือ กลุ่มที่เรียกว่า อิมามียะฮฺ อิซฺนา อะชะรียะฮฺ (อิหม่าม 12) หรืออีกชื่อหนึ่งก็คืออัลญะอฺฟะรียะฮฺ กลุ่มนี้สังกัดและได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตอิหร่านประจำประเทศไทยโดยมีศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านเป็นองค์กรขับเคลื่อนในด้านการเขียน แปลและผลิตตำราในแนวชีอะฮฺ นิตยสาร “นิสาวาไรตี้” ก็มีบรรณาธิการที่เป็นคนในสังกัดชีอะฮฺกลุ่มนี้
นอกจากนี้ยังมีวารสารสาส์นอิสลาม หรือ นิตยสารเอกภาพ ตลอดจนสำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการผลิตหนังสือในแนวชีอะฮฺ ในเดือนร่อมาฎอนก็จะมีรายการของชีอะฮฺออกอากาศอีกด้วย แต่เดิมนับแต่สมัยโบราณชีอะฮฺมามียะฮฺจะไม่มีปัญหากับชาวซุนนีย์ในประเทศไทย ตราบเมื่อมีการปฏิวัติอิสลามโดยอายะตุลลอฮฺ โคมัยนี่ในอิหร่าน ท่าทีของชีอะฮฺก็เปลี่ยนไปสู่การเผยแพร่และเรียกร้องเป้าหมายซึ่งก็คือ ชาวซุนนีย์สู่แนวทางของชีอะฮฺ ปัญหาจึงเกิดขึ้นอย่างที่รับรู้กันอยู่
การรับมือของวะฮาบีต่อภัยคุกคามของลัทธิชีอะฮ์
ซึ่งนักวิชาการและผู้รู้ในประเทศไทยยุคก่อนมิค่อยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับชีอะฮฺมากนักและยังมองไม่เห็นภัยคุกคามในด้านหลักความเชื่อที่ฝ่ายชีอะฮฺได้กระทำต่อพี่น้องซุนนีย์ แต่กลับไปมองว่าภัยคุกคามอยู่ที่กลุ่มวะฮาบีย์ที่เผยแพร่เข้ามาและเกิดการปะทะกันทางความคิดระหว่างกลุ่มคณะใหม่-คณะเก่าและนำไปสู่ความแตกแยกในระหว่างพี่น้องมุสลิมซุนนีย์ด้วยกัน
เมื่อกาลเวลาผ่านไป การปะทะกันทางความคิดของกลุ่มคณะทั้งสองก็ถึงจุดอิ่มตัวในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีแรงกระเพื่อมอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากและไม่รุนแรงเหมือนก่อน เพราะไป ๆ มา ๆ พลวัตรของกลุ่มวะฮาบีย์ก็ลดลงและไหลย้อนไปเล่นงานกลุ่มของตัวเองจนแตกเป็นค่ายเป็นสถาบันต่าง ๆ อย่างที่รับรู้กัน แต่พลวัตรของกลุ่มชีอะฮฺอิมามียะฮฺยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยแพร่ขยายเข้าสู่วงการของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและนักทำกิจกรรมที่นิยมชมชอบต่ออายะตุลลอฮฺโคมัยนี่และรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน
มุสลิมซุนนีย์หลายคนได้กลายเป็นชีอะฮฺและแข็งขันในการขับเคลื่อนแนวความคิดและความเชื่อของชีอะฮฺเป็นการเปิดเชิงรุกในอีกขั้นหนึ่ง อย่างไรก็ตามกลุ่มที่รับรู้และตระหนักถึงภัยคุกคามต่อรั้วซุนนีย์แห่งสยาม กลุ่มแรกก็คือ นักวิชาการที่ถูกเรียกขานว่าเป็นพวกวะฮาบีย์นั่นเอง ในขณะที่นักวิชาการซุนนีย์แบบเดิม (คณะเก่า) ก็ยังไม่ใส่ใจต่อภัยคุกคามนี้ต่อไป จะมีบ้างก็ในช่วงหลัง ๆ มานี้ที่เริ่มตอบโต้และป้องปกรั้วซุนนีย์แห่งสยามนั้นแต่ก็ยังไม่เข้มข้นและจริงจังเท่ากับกลุ่มนักวิชาการที่ถูกเรียกขานว่า วะฮาบีย์
ความจริงถ้ากลุ่มชีอะฮฺไม่ล้ำเส้นและเปิดเชิงรุกอย่างที่กระทำอยู่ในขณะนี้ มุสลิมซุนนีย์ก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมโดยไม่มีความรู้อันใดเกี่ยวกับชีอะฮฺมากนัก เรียกว่า ต่างคนต่างอยู่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน แต่บัดนี้มันเลยจุดนั้นหรือเรียกว่ามันล้ำเส้นไปแล้ว การปะทะจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายซุนนีย์ในบ้านเราจะเป็นฝ่ายตั้งรับเสียมากกว่า และเผลอ ๆ จะเพลี่ยงพล้ำไปเสียด้วยซ้ำ
กลุ่มที่ถูกเรียกขานว่า วะฮาบีย์ โดยนักวิชาการแกนนำของกลุ่มคือผู้ที่รับมือกับภัยคุกคามดังกล่าวได้ดีที่สุดในขณะนี้ อย่างน้อยพวกเขาก็เป็นผู้จุดประกายและกระตุกให้ผู้คนที่ไม่ค่อยจะรับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ตื่นตัว และเริ่มสนใจว่าอะไรเป็นอะไร นี่คือคุณูปการที่ต้องยอมรับกัน ส่วนอะไรจะเลวร้ายกว่ากันระหว่างกลุ่มทั้งสอง ผมคงตอบไม่ได้ เพราะผมมิใช่ตุลาการที่จะชำระคดีความว่า ใครเลว ใครชั่ว แต่สิ่งที่ผมรับรู้อยู่ทุกขณะจิตก็คือ ผมรักในแนวทางแห่งอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ และผมก็รับไม่ได้กับการล้ำเส้นของกลุ่มชีอะฮฺหรือกลุ่มใด ๆ ก็ตาม
เมื่อมีการล้ำเส้นก็ต้องมีการปัดป้องและรักษาพื้นที่ของเราเอาไว้ตามสิทธิอันชอบธรรม บางทีคนที่เลวที่สุดอาจจะไม่ใช่ใครเลย นอกจากคนที่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายสิทธิของตนโดยไม่คิดจะปกป้องและรักษามันไว้ ทั้ง ๆ ที่สามารถกระทำได้ และอีกคนหนึ่งที่ร้ายไม่แพ้กันก็คือ คนที่ชอบล้ำเส้นและไม่รู้ตำแหน่งที่เหมาะควรของตนว่าควรอยู่ ณ ตรงจุดไหน สองคนนี่แหล่ะที่มักเป็นต้นสายปลายเหตุของความเลวร้ายในทุกกรณี
ตรวจสอบทางเว็บไซต์ของอาจารย์อาลี เสือสมิงได้ คลิก 1 , 2
กลุ่มชีอะฮ์ในประเทศไทย |
ชีอะฮฺของท่านมุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีสุฟยาน (ร.ฎ.) ก็หมายถึงบรรดาผู้ที่เห็นชอบและเข้าร่วมเป็นฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) และให้การสนับสนุนต่อท่าน เป็นต้น
คำว่า ชีอะฮฺ ที่ปรากฏในข้อตกลงอัต-ตะหฺกีมจึงหมายถึง พรรคพวก ผู้ให้การสนับสนุนและฝ่ายที่ร่วมด้วย ซึ่งจะเห็นว่า ฝ่ายของท่านอะลี (ร.ฎ.) ก็เรียกว่า ชีอะฮฺ ฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) ก็เรียกว่าชีอะฮฺ ไม่ได้เจาะจงว่าเฉพาะผู้ที่ให้การสนับสนุนอะลี (ร.ฎ.) เพียงแต่ฝ่ายเดียวที่ถูกเรียกว่า ชีอะฮฺ เพราะคำว่าชีอะฮฺ ตามหลักภาษาก็คือ พรรคพวกที่เข้าร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดนั่นเอง
เป่าหมายอายะตุลลอฮ์ โคมัยนีย์ แห่งอิหร่าน คือชาวซุนนีย์สู่แนวทางชีอะฮ์ |
ต้องแยกประเภทของกลุ่มชีอะฮฺ ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม ชีอะฮฺบางกลุ่มมีหลักการใกล้เคียงกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ เช่น กลุ่มซัยดียะฮฺ ในขณะที่บางกลุ่มเป็นภัยอย่างชัดเจน เช่น ชีอะฮฺบาฏินียะฮฺ เป็นต้น ส่วนชีอะฮฺที่แพร่หลายในบ้านเราขณะนี้ คือ ชีอะฮฺอิมามียะฮฺ อิซฺนาอะชะรียะฮฺ (อิหม่าม 12) หรือ ชีอะฮฺญะอฺฟะรียะฮฺ ชีอะฮฺกลุ่มนี้มีหลักความเชื่ออยู่หลายประเด็นที่แตกต่างจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ
ส่วนประเด็นข้อนิติศาสตร์นั้นบางส่วนก็สอดคล้องกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺในบางมัซฮับ ในขณะที่มีอีกหลายประเด็นที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง อันตรายที่ดูแล้วเป็นภัยร้ายแรงสำหรับอะฮฺลิซซุนนะฮฺของชีอะฮฺกลุ่มนี้ก็คือ ท่าทีที่มีต่อเหล่าซอฮาบะฮฺ ซึ่งพวกชีอะฮฺมักจะกล่าวโจมตีและใส่ไคล้ เช่น ค่อลีฟะฮฺทั้ง 3 ท่าน, ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) และท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เป็นต้น รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมาก เอาเป็นว่า สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็คือ แนวทางของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ถ้าเรามั่นคงในสิ่งนี้แล้วเราก็จะสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด
กลุ่มชีอะฮ์และภัยคุกคามต่อมุสลิมในบ้านเรา
นายซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ผู้นำลัทธิชีอะฮ์อิมามสิบสองประจำประเทศไทย |
ชีอะฮฺในบ้านเรามีอยู่หลายกลุ่มแต่กลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวและกิจกรรมอย่างชัดเจนในการเผยแพร่ทัศนะความคิดของตนก็คือ กลุ่มที่เรียกว่า อิมามียะฮฺ อิซฺนา อะชะรียะฮฺ (อิหม่าม 12) หรืออีกชื่อหนึ่งก็คืออัลญะอฺฟะรียะฮฺ กลุ่มนี้สังกัดและได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตอิหร่านประจำประเทศไทยโดยมีศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านเป็นองค์กรขับเคลื่อนในด้านการเขียน แปลและผลิตตำราในแนวชีอะฮฺ นิตยสาร “นิสาวาไรตี้” ก็มีบรรณาธิการที่เป็นคนในสังกัดชีอะฮฺกลุ่มนี้
นอกจากนี้ยังมีวารสารสาส์นอิสลาม หรือ นิตยสารเอกภาพ ตลอดจนสำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการผลิตหนังสือในแนวชีอะฮฺ ในเดือนร่อมาฎอนก็จะมีรายการของชีอะฮฺออกอากาศอีกด้วย แต่เดิมนับแต่สมัยโบราณชีอะฮฺมามียะฮฺจะไม่มีปัญหากับชาวซุนนีย์ในประเทศไทย ตราบเมื่อมีการปฏิวัติอิสลามโดยอายะตุลลอฮฺ โคมัยนี่ในอิหร่าน ท่าทีของชีอะฮฺก็เปลี่ยนไปสู่การเผยแพร่และเรียกร้องเป้าหมายซึ่งก็คือ ชาวซุนนีย์สู่แนวทางของชีอะฮฺ ปัญหาจึงเกิดขึ้นอย่างที่รับรู้กันอยู่
การรับมือของวะฮาบีต่อภัยคุกคามของลัทธิชีอะฮ์
กลุ่มที่รับรู้และตระหนักถึงภัยคุกคามต่อซุนนีย์ของชีอะฮ์ คือวะฮาบีย์ |
ซึ่งนักวิชาการและผู้รู้ในประเทศไทยยุคก่อนมิค่อยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับชีอะฮฺมากนักและยังมองไม่เห็นภัยคุกคามในด้านหลักความเชื่อที่ฝ่ายชีอะฮฺได้กระทำต่อพี่น้องซุนนีย์ แต่กลับไปมองว่าภัยคุกคามอยู่ที่กลุ่มวะฮาบีย์ที่เผยแพร่เข้ามาและเกิดการปะทะกันทางความคิดระหว่างกลุ่มคณะใหม่-คณะเก่าและนำไปสู่ความแตกแยกในระหว่างพี่น้องมุสลิมซุนนีย์ด้วยกัน
เมื่อกาลเวลาผ่านไป การปะทะกันทางความคิดของกลุ่มคณะทั้งสองก็ถึงจุดอิ่มตัวในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีแรงกระเพื่อมอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากและไม่รุนแรงเหมือนก่อน เพราะไป ๆ มา ๆ พลวัตรของกลุ่มวะฮาบีย์ก็ลดลงและไหลย้อนไปเล่นงานกลุ่มของตัวเองจนแตกเป็นค่ายเป็นสถาบันต่าง ๆ อย่างที่รับรู้กัน แต่พลวัตรของกลุ่มชีอะฮฺอิมามียะฮฺยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยแพร่ขยายเข้าสู่วงการของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและนักทำกิจกรรมที่นิยมชมชอบต่ออายะตุลลอฮฺโคมัยนี่และรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน
มุสลิมซุนนีย์หลายคนได้กลายเป็นชีอะฮฺและแข็งขันในการขับเคลื่อนแนวความคิดและความเชื่อของชีอะฮฺเป็นการเปิดเชิงรุกในอีกขั้นหนึ่ง อย่างไรก็ตามกลุ่มที่รับรู้และตระหนักถึงภัยคุกคามต่อรั้วซุนนีย์แห่งสยาม กลุ่มแรกก็คือ นักวิชาการที่ถูกเรียกขานว่าเป็นพวกวะฮาบีย์นั่นเอง ในขณะที่นักวิชาการซุนนีย์แบบเดิม (คณะเก่า) ก็ยังไม่ใส่ใจต่อภัยคุกคามนี้ต่อไป จะมีบ้างก็ในช่วงหลัง ๆ มานี้ที่เริ่มตอบโต้และป้องปกรั้วซุนนีย์แห่งสยามนั้นแต่ก็ยังไม่เข้มข้นและจริงจังเท่ากับกลุ่มนักวิชาการที่ถูกเรียกขานว่า วะฮาบีย์
ความจริงถ้ากลุ่มชีอะฮฺไม่ล้ำเส้นและเปิดเชิงรุกอย่างที่กระทำอยู่ในขณะนี้ มุสลิมซุนนีย์ก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมโดยไม่มีความรู้อันใดเกี่ยวกับชีอะฮฺมากนัก เรียกว่า ต่างคนต่างอยู่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน แต่บัดนี้มันเลยจุดนั้นหรือเรียกว่ามันล้ำเส้นไปแล้ว การปะทะจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายซุนนีย์ในบ้านเราจะเป็นฝ่ายตั้งรับเสียมากกว่า และเผลอ ๆ จะเพลี่ยงพล้ำไปเสียด้วยซ้ำ
กลุ่มที่ถูกเรียกขานว่า วะฮาบีย์ โดยนักวิชาการแกนนำของกลุ่มคือผู้ที่รับมือกับภัยคุกคามดังกล่าวได้ดีที่สุดในขณะนี้ อย่างน้อยพวกเขาก็เป็นผู้จุดประกายและกระตุกให้ผู้คนที่ไม่ค่อยจะรับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ตื่นตัว และเริ่มสนใจว่าอะไรเป็นอะไร นี่คือคุณูปการที่ต้องยอมรับกัน ส่วนอะไรจะเลวร้ายกว่ากันระหว่างกลุ่มทั้งสอง ผมคงตอบไม่ได้ เพราะผมมิใช่ตุลาการที่จะชำระคดีความว่า ใครเลว ใครชั่ว แต่สิ่งที่ผมรับรู้อยู่ทุกขณะจิตก็คือ ผมรักในแนวทางแห่งอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ และผมก็รับไม่ได้กับการล้ำเส้นของกลุ่มชีอะฮฺหรือกลุ่มใด ๆ ก็ตาม
เมื่อมีการล้ำเส้นก็ต้องมีการปัดป้องและรักษาพื้นที่ของเราเอาไว้ตามสิทธิอันชอบธรรม บางทีคนที่เลวที่สุดอาจจะไม่ใช่ใครเลย นอกจากคนที่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายสิทธิของตนโดยไม่คิดจะปกป้องและรักษามันไว้ ทั้ง ๆ ที่สามารถกระทำได้ และอีกคนหนึ่งที่ร้ายไม่แพ้กันก็คือ คนที่ชอบล้ำเส้นและไม่รู้ตำแหน่งที่เหมาะควรของตนว่าควรอยู่ ณ ตรงจุดไหน สองคนนี่แหล่ะที่มักเป็นต้นสายปลายเหตุของความเลวร้ายในทุกกรณี
ตรวจสอบทางเว็บไซต์ของอาจารย์อาลี เสือสมิงได้ คลิก 1 , 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น