อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เมื่อหลักฐานละหมาดฮาญะฮฺเป็นหะดิษเฎาะอิฟและเมาฎูอฺ


ละหมาดฮาญะฮ์


ละหมาดฮาญะฮฺที่มุสลิมในประเทศไทยมักปฏิบัติกันนั้น ต้องยอมรับว่าละหมดดังกล่าวเป็นที่แผ่หลายมาก และมีผู้คนส่วนใหญ่ปฏิบัติกันมาก แต่ทว่า พี่น้องมุสลิมเหล่านั้นไม่ทราบถึงที่มาของการละหมาดดังกล่าวเลย อันที่จริงแล้วหลักฐานการละหมาดดังกล่าวนั้นมีตัวบทจริง ทว่าหลักฐานเกี่ยวกับละหมาดฮาญะฮฺทั้งหมดล้วนเป็นหะดีษเฎาะอีฟ และหะดีษเมาฎูอฺ (หะดีษเก๊) ทั้งสิ้น


หลักฐานการละหมาดฮาญะฮฺ (หรือฮายัต) ทั้งหมดมี 4 หะดีษ สองหะดีษแรกเป็นหะดีษเมาฎูอฺ (หะดีษเก๊) อีกหะดีษหนึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน (อ่อนมากๆ) และหะดีษสุดท้ายเป็นหะดีษเฎาะอีฟ (อ่อน)

หะดีษเฎาะอีฟ (หะดีษอ่อน) ที่ระบุถึงละหมาดซฮาญะฮฺ ท่านอบูอัรฺดาอ์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

« مَنْ تَوَضَّأَ فَأَسْبَغَ الْوُضُوءَ ثُمَّ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ يُتِمُّهُمَا أَعْطَاهُ اللَّهُ مَا سَأَلَ مُعَجِّلاً أَوْ مُؤَخِّراً »

“บุคคลใดก็ตามที่อาบน้ำละหมาด โดยเป็นการอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ จากนั้นเขาก็ละหมาด (สุนนะฮฺฮาญะฮฺ) สองร็อกอะฮฺซึ่งเป็นการละหมาดอย่างสมบูรณ์เช่นกัน เช่นนี้พระองค์อัลลอฮฺจะทรงประทานในสิ่งที่เขาวิงวอนในสภาพที่รวดเร็ว หรือ ในสภาพที่ล่าช้า” 
หะดีษข้างต้นบันทึกโดยอะหฺมัด ลำดับหะดีษที่ 28260

สถานะหะดีษ ถือว่าเฎาะอีฟ (หะดีษอ่อน) เนื่องจากมีนักรายงานท่านหนึ่งในสายงานของหะดีษข้างต้นไม่เป็นที่รู้จัก (มัจญ์ฮูล) ท่านนั้นก็คือ มัยมูน อบู มุหัมมัด อัลมะรออีย์ อัลมีมีย์
ซึ่งท่านอิบนุมะอีนระบุว่า “ฉันไม่รู้จักเขา” ส่วนท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า “เขาเป็นบุคคลที่ไม่ถูกรู้จัก” และท่านซะฮะบีย์ก็กล่าวว่า “เขาไม่เป็นที่รู้จักเลย”

عَلَيْنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ مَنْ كَانَتْ لَهُ حَاجَةٌ إِلَى اللَّهِ أَوْ إِلَى أَحَدٍ مِنْ خَلْقِهِ فَلْيَتَوَضَّأْ وَلْيُصَلِّ رَكْعَتَيْنِ ثُمَّ لِيَقُلْ لا إِلَهَ إِلا اللَّهُ الْحَلِيمُ الْكَرِيمُ سُبْحَانَ اللَّهِ رَبِّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ مُوجِبَاتِ رَحْمَتِكَ وَعَزَائِمَ مَغْفِرَتِكَ وَالْغَنِيمَةَ مِنْ كُلِّ بِرٍّ وَالسَّلامَةَ مِنْ كُلِّ إِثْمٍ أَسْأَلُكَ أَلا تَدَعَ لِي ذَنْبًا إِلا غَفَرْتَهُ وَلا هَمًّا إِلا فَرَّجْتَهُ وَلا حَاجَةً هِيَ لَكَ رِضًا إِلا قَضَيْتَهَا لِي ثُمَّ يَسْأَلُ اللَّهَ مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ مَا شَاءَ فَإِنَّهُ يُقَدَّرُ " رواه ابن ماجة ( إقامة الصلاة والسنة/1374)

รายงานจาก อับดุลลอฮบุตรอบีเอาฟา อัลอัสละมีว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ออกมาหาเรา แล้วกล่าวว่า  ผู้ใดมีความประสงค์สิ่งใดต่ออัลลอฮฺหรือต่อมนุษย์ก็จงอาบน้ำละหมาดอย่างดีและจงละหมาด สองร่อกาอัต หลังจากนั้นให้กล่าวว่า  คำอ่าน “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ้ล ฮะลีย์มุ้ลกะลีม ซุบฮานัลลอฮิ ร๊อบบิ้ลอัรชิลอะซีม วัลฮัมดุลิลลาฮิ ร๊อบบิลอาละมีน อัชอะลุกะ มูยิบาติ รอหฺมะติกะ วะอะซาอิมะ มัฆฟิร่อติกะ วัลฆ่อนีมะตะ มิงกุ้ลลิบิรเร็น วัสสลามะตะ มิงกุ้ลลิอิสเม็น ลาตะดะหฺนี นัมยัน อิลลาฆ่อฟัรตะฮู วะลาฮัมมัน อิลลาฟัรร็อดตะฮู วะลาฮายะตัน ฮิยะละกะ ริดอ อิลลาก่อดอยตะฮา ยาอัรฮะมัร รอฮิมีน"

ความว่า “ไม่มีพระเจ้าที่เที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงสุขุมผู้ทรงเกียรติยิ่ง มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ ผู้อภิบาลสากลโลก ข้าฯขอต่อพระองค์ได้ทรงโปรดประทานปัจจัยเกื้อหนุน อันจะนำไปสู่ความเมตตาและการอภัยโทษของพระองค์ และขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทานโชคลาภ อันเนื่องจากความดีทั้งปวง และขอให้ปลอดภัยจากบาปทั้งมวล ขอวิงวอนต่อพระองค์ อย่าปล่อยให้ข้าฯมีโทษใดๆ เว้นเสียแต่พระองค์จะทรงโปรดอภัยโทษนั้นๆแก่ข้าฯ และไม่มีทุกข์หม่นหมองใดๆ เว้นแต่พระองค์จะทรงขจัดมันให้พ้นไปจากข้าฯ และไม่มีกิจการงานใดๆที่พระองค์ทรงพอพระทัยเว้นแต่พระองค์จะทรงจัดการให้สำเร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นให้เขาขอต่ออัลลอฮ เกี่ยวกับกิจการดุนยา และ อาคิเราะฮ สิ่งซึ่งเขาประสงค์ แน่นอน พระองค์จะทรงกำหนดให้แก่เขา  - รายงานโดย อิบนิมาญะฮ (ดู อิกอมะตุศเศาะละฮ วัสสุนนะฮ หะดิษหมายเลข 1374)

  قال الترمذي هذا حديث غريب وفي إسناده مقال : فائد بن عبد الرحمن يُضعَّف في الحديث . وقال الألباني : بل هو ضعيف جداً . قال الحاكم : روى عن أبي أوفى أحاديث موضوعة .  مشكاة المصابيح ج1 ص 417

อัตติรมิซีย์ กล่าวว่า นี้คือ หะดิษเฆาะรีบ (หมายถึงบทของมันแปลก)และในสายสืบของมัน ถูกวิจารณ์ คือ ฟาอิด บุตร อับดุรเราะหมาน ถูกกล่าวหาว่า หลักฐานอ่อนในหะดิษ และ อัลบานีย์กล่าวว่า " แต่ทว่า เขา เฏาะอีฟ(หลักฐานอ่อน)เป็นอย่างมาก และอัลหากิมกล่าวว่า "ได้มีบรรดาหะดิษปลอมถูกรายงานจาก อบีเอาฟา - ดู มิชกาตอัลมะศอเบียะ เล่ม 1 หน้า 417

สำหรับเชคสัยยิด สาบิตเป็นผู้ที่เขียนหนังสือ "ฟิกฮุสสุนนะฮฺ" (แปลเป็นไทยโดย สมาคมนักเก่าอาหรับ) ซึ่งท่านไม่ใช่นักหะดีษ ฉะนั้นสิ่งที่ท่านอ้างอิงในหนังสือของท่านย่อมก็มีผิดพลาดเป็นธรรมดา ซึ่งหนังสือฟิกฮุสสุนนะฮฺของท่านนั้น เชคอัลบานีย์ (ซึ่งเป็นนักหะดีษ) ระบุว่ามีหะดีษเฏาะอีฟอยู่ประมาณ 100 กว่าหะดีษ หนึ่งในนั้นก็มีหะดีษละหมาดฮาญะฮฺนั่นเอง

ส่วนเมื่อละหมาดไม่มีหลักฐานจากศาสนา บุคคลใดที่มีตำแหน่งจะปฏิบัติสิ่งที่ไม่มีหลักฐาน ก็ไม่ได้หมายรวมว่า สิ่งนั้นจะถูกต้อง หรือได้รับการยอมรับแต่ประการใด ใครทำอะไรที่สวนทางกับหลักการศาสนา เขาผู้นั้นก็ย่อมรับผิดการกระทำนั้นไป ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์เหนือหลักการศาสนาได้

والله أعلم

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น