อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความประเสร็จของการละหมาดญามะอะฮ์ที่มัสยิด


ละหมาดร่วมกัน
ผู้ชายละหมาดญามะอะฮ์ที่มัสยิดมีผลบุญ 25 หรือ 27 เท่า


จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الجَـمِيعِ تَزِيدُ عَلَى صَلاتِـهِ فِي بَيْتِـهِ وَصَلاتِـهِ فِي سُوقِهِ خَـمْساً وَعِشْرِينَ دَرَجَةً، فَإنَّ أَحَدَكُمْ إذَا تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ وَأَتَى المَسْجِدَ لا يُرِيدُ إلَّا الصَّلاةَ لَـمْ يَـخْطُ خُطْوَةً إلَّا رَفَعَهُ الله بِـهَا دَرَجَةً، وَحَطَّ عَنْـهُ خَطِيئَةً حَتَّى يَدْخُلَ المَسْجِدَ، وَإذَا دَخَلَ المَسْجِدَ كَانَ فِي صَلاةٍ مَا كَانَتْ تَـحْبِسُهُ، وَتُصَلِّي عَلَيْـهِ الملائِكَةُ مَا دَامَ فِي مَـجْلِسِهِ الَّذِي يُصَلِّي فِيْـهِ: اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ اللَّهُـمَّ ارْحَـمْهُ مَا لَـمْ يُـحْدِثْ فِيهِ».

ความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺมีผลบุญเพิ่มทวีคูณเป็นยี่สิบห้าเท่าจากการละหมาดคนเดียวที่บ้านหรือที่ร้าน เมื่อผู้ใดอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ที่สุดและได้เดินไปยังมัสญิด ซึ่งเขาผู้นั้นไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากเพื่อการละหมาด เขาจะไม่ย่างก้าวไปหนึ่งก้าวนอกจากอัลลอฮฺจะยกระดับให้เขาหนึ่งระดับชั้น และจะลบบาปของเขาหนึ่งบาปจนกว่าเขาจะเข้ามัสยิด และเมื่อได้เข้าอยู่มัสยิดเขาจะได้รับความดีเสมือนว่าเขาอยู่ในการละหมาดจนกว่าเขาจะออกจากมัสยิด และมลาอิกะฮฺจะขอพรแก่เขาตราบเท่าที่เขานั่งอยู่ ณ สถานที่ที่เขาทำการละหมาดด้วยการกล่าว
«اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ اللَّهُـمَّ ارْحَـمْهُ مَا لَـمْ يُـحْدِثْ فِيهِ».
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดให้การอภัยโทษแก่เขาผู้นี้ด้วยเถิด โอ้อัลลอฮฺได้โปรดให้ความเมตตาแก่เขาด้วยเถิด ตราบที่เขาไม่มีหะดัษ (เสียน้ำละหมาด) ณ สถานที่ดังกล่าว”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 477 และมุสลิม หะดีษที่ 649)

จากอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุมา ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الجَـمَاعَةِ تَفْضُلُ صَلاةَ الفَذِّ بِسَبْعٍ وَعِشْرِينَ دَرَجَةً».

ความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺ(ร่วมกัน)ประเสริฐกว่าการละหมาดคนเดียวถึง 27เท่า”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 645 และมุสลิม หะดีษที่ 650)

ากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ได้กล่าวว่า
«مَنْ غَدَا إلَى المَسْجِدِ وَرَاحَ أَعَدَّ الله لَـهُ نُزُلَـهُ مِنَ الجَنَّةِ كُلَّمَا غَدَا أَوْ رَاحَ».

ความว่า “ผู้ใดที่ไปมัสยิดและกลับ อัลลอฮฺจะทรงตระเตรียมที่อยู่ในสวนสวรรค์ไว้สำหรับเขา ทุกครั้งที่เขาเดินทางไปกลับจากมัสยิด” 
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 662 และมุสลิม หะดีษที่ 669 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)

จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

«إذَا ثُوِّبَ لِلصَّلاةِ فَلا تَأْتُوهَا وَأَنْتُـمْ تَسْعَونَ، وَأْتُوهَا وَعَلَيْكُمُ السَّكِيْنَةَ، فَمَا أَدْرَكْتُـمْ فَصَلُّوا، وَمَا فَاتَـكُمْ فَأَتِـمُّوا، فَإنَّ أَحَدَكُمْ إذَا كَانَ يَـعْمِدُ إلَى الصَّلاةِ فَهُوَ فِي صَلاةٍ».

ความว่า “เมื่อใดมีการเชิญชวนไปสู่การละหมาด(กล่าวอิกอมะฮฺ) พวกท่านอย่าได้ไปสู่การละหมาดด้วยความเร่งรีบ แต่พวกท่านจงเดินไปด้วยความสงบไม่รีบร้อน หากว่าพวกท่านทันการละหมาด(พร้อมกับอิหม่าม)พวกท่านก็จงละหมาด และสำหรับสิ่งที่ท่านพลาดไป (คือร็อกอะฮฺของการละหมาดยังไม่สมบูรณ์ในขณะที่อิมามละหมาดเสร็จแล้ว) ท่านก็จงเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ แท้ที่จริงแล้ว ผู้ใดมีความตั้งใจที่จะทำการละหมาด(ญะมาอะฮฺ) เขาผู้นั้นเสมือนอยู่ได้ในการทำละหมาด(ญะมาอะฮฺ)แล้ว”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 636 และมุสลิม หะดีษที่ 602)

>>>การละหมาดญะมาอะฮฺของสามีภรรยาที่บ้านนั้นได้ผลบุญในการละหมาดญะมาอะฮฺ แต่ไม่ได้ผลบุญ 27 หรือ 25 เท่า ส่วนที่จะได้ผลบุญ 25 หรือ 27 เท่านั้น คือการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิดพร้อมกับอิมามประจำมัสญิดสำหรับผู้ชาย

ส่วนผู้หญิงการละหมาดฟัรฺฎูที่บ้านของนางประเสริฐกว่าที่มัสญิด

สำหรับการละหมาดญะมาอะฮฺที่อื่นจากมัสญิด ได้ผลบุญการละหมาดญะมาอะฮฺเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น บาลายไม่ใช่มัสญิด แต่เป็นมุศ็อลลา หรือสถานที่เตรียมไว้ละหมาดเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ถูกเนียตให้เป็นมัสญิด เช่นนี้ก็ไม่ได้ผลบุญ 25 หรือ 27 เท่าเหมือนละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด
 والله أعلم

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น