อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำบุญเจ็ดวัน


การอ้างหลักฐานหนึ่งเพื่อบ่งชี้ให้ทำบุญแก่ผู้ตายในช่วง 7 วัน (แต่ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ให้ทำบุญแก่ผู้ตายในช่วง 40 วัน หรือ 100 วัน) โดยอ้างว่าท่านสุฟยาน(เป็นชาวกูฟะฮฺ เกิด ปี ฮ.ศ.97) เล่าว่า ท่านฏอวุส(เป็นชาวเยเมน เสียชีวิต ปี ฮ.ศ.106) กล่าวว่า

: إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام  " แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกลงโทษในกุบูรของพวกเขา ในช่วง 7 วัน และปรากฏว่าบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะให้แจกจ่ายอาหาร(ทำเศาะดาเกาะฮฺ)แทนบรรดาผู้ตายในช่วงเจ็ดวันดังกล่าว"
(จากหนังสือ “ปัญหาขัดแย้งทางสาสนา เล่ม 1 หน้า 26)

ขอชี้แจงตามประเด็นดังนี้

.-ท่านฏอวุส บุตรของกัยสาน อัลยะมานีย์ อบู อับดุรฺเราะหฺมาน อัลหุมัยรีย์ เขาอยู่ในฐานะตาบีอีน(หมายถึงบุคคลที่พบเศาะหาบะฮฺในสภาพที่เป็นมุสลิม และตายในสภาพของผู้นับถือศาสนาอิสลาม)
เป็นบุคคลที่เชื่อถือได้และเข้าใจสาสนาเป็นอย่างดี ทันพบปะกับเศาะหาบะฮ์จำนวนมากร่วม  50  ท่าน เขาทำอัจญ์ประมาณ 40 ครั้ง สิ้นชีวิต ในปี ฮ.ศ.106 ณ เมืองมักกะฮฺ, 
(แต่ปีที่ท่านสิ้นชีวิตยังมีความขัดแย้งกัน ดังนี้
ท่านอิบนุ สะอฺด์ (สะอัด) กล่าวว่า ..  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตเมื่อปี ฮ.ศ. 90 กว่าๆ …
ท่านอิบนุหิบบานกล่าวว่า ..  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.  101
ท่านอิบนุเชาศับ (إبن شوذب) กล่าวว่า .ฉันไปร่วมในพิธีศพของท่านฏอวูสที่มักกะฮ์เมื่อปี ฮ.ศ.  100
ท่านอัมรฺ บิน อะลีย์ และบางคนกล่าวว่า  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.  106
ท่านอัล-ฮัยษัม บิน อะดีย์กล่าวว่า  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตเมื่อเกือบๆ ฮ.ศ. 110
(โปรดดูหนังสือ  “อัล-หาวีย์ ลิล ฟะตาวีย์”  ของท่านอัซ-สะยูฏีย์  เล่มที่ 2  หน้า  317,   และหนังสือ  “ตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ”  ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์  เล่มที่  5  หน้า  9))
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.-หะดิษข้างต้นเป็นหะดิษมักฏูอฺ หะดิษมักฏูอฺหมายถึง “หะดิษที่อ้างถึงตาบิอีย์ หรือตาบิอิตตาบิอีย์(บุคคลที่ท่านตาบิอีย์ แต่ไม่ทันเศาะหาบะฮฺ) และบุคคลอื่นจากเขา (คืออื่นจากตาบิอิตตาบิอีย์) ระบุเป็นคำพูดหรือการกระทำ”(หนังสือ “ตัยสีรฺ มุศเฏาะละหิล หะดิษ” หน้า 133)

ส่วนหุกุมของหะดิษมักฏูฮฺ คือ หะดิษมักฏูอฺไม่อนุญาตให้นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในด้านบทบัญญัติทางศาสนา ถึงแม้ว่าการกล่าวอ้างหะดิษถึงผู้พูดจะถูกต้องก็ตาม เพราะถือว่าเป็นคำพูด หรือการกระทำของมุสลิมคนหนึ่งจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเท่านั้น (หนังสือ “ตัยสีรฺ มุศเฏาะละหิล หะดิษ” หน้า 134)

ท่านอิหม่ามนะวะวีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  “อัล-มัจญมั๊วะอฺ”  เล่มที่  1  หน้า  60   และในหนังสือ  “ชัรฺหุ มุสลิม”  เล่มที่  1  หน้า  31  ว่า …
قَالَ الْغَزَالِىُّ  :  وَأَمَّا قَوْلُ التَّابِعِىِّ  :  كَانُوْا يَفْعَلُوْنَ ..  فَلاَ يَدُلُّ عَلَى فِعْلِ جَمِيْعِ اْلاُمَّةِ،  بَلْعَلَى الْبَعْضِ  فَلاَ حُجَّةَ فِيْهِ ….
“ท่านอัล-ฆอซาลีย์กล่าวว่า   อนึ่ง คำพูดของตาบิอีนที่ว่า   “พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) กระทำกัน (อย่างนั้นๆ)” ..   คำพูดนี้ไม่ได้แสดงว่า เป็นการกระทำของเศาะหาบะฮ์ทั้งหมด  ทว่า,  มันเป็นเพียงการกระทำของเศาะหาบะฮ์บางท่านเท่านั้น  ดังนั้น ในคำพูดดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นหลักฐานใดๆทั้งสิ้น ……..” 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

-หะดิษของท่านฏอวุสยังมีการโต้แย้งอยู่ว่ามีสายสืบที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะท่านสุฟยาน เป็นชาวกุฟะฮฺ เกิดในปี ฮ.ศ.97 ส่วนท่านฏอวุสผู้รายงาน เป็นชาวเยเมน เสียชีวิต ปี ฮ.ศ.106 ตามทัศนะที่มีน้ำหนักและถูกต้องดังคำยืนยันของอัซซะฮะบีและอัลหาฟิซอิบนุหะญัร โอกาสที่สุฟยานจะพบเจอกับฏอวูสนั้นอยู่ในช่วงอายุเพียง 9  ปีเป็นอย่างมากเท่านั้น และท่านฏอวูสผู้รายงานเป็นชาวเยเมน ในขณะที่สุฟยานผู้รับรายงานเป็นชาวกูฟะฮฺ (เมืองหนึ่งในประเทศอีรัก) ซึ่งท่านอบูนุอิม และท่านอื่น ๆ ต่างระบุว่าสุฟยานเริ่มเดินทางออกจากเมืองกูฟะฮฺเมื่อปี ฮ.ศ.150 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ฏอวูสได้เสียชีวิตไปแล้วถึง 40 กว่าปี สายรายงานของท่านซุฟยานนี้  ก็ไม่มีสายรายงานมาสนับสนุนในการยืนยันว่า  ถ้อยคำที่ชี้ถึงการได้ยินหะดิษนี้ของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูส ซึ่งคำอ้างของอิมามสะยูฏีเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น
 ท่านอัซ-สะยูฏีย์  จึงกล่าวยอมรับในหนังสือ  “อัล-หาวีย์ ลิล ฟะตาวีย์”  เล่มที่  2  หน้า  317  ว่า …
أَنَّ أَكْثَرَرِوَايَتِهِ عَنْهُ  بِوَاسِطَةٍ
“ที่จริง  รายงานของท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์จากท่านฏอวูส  ที่มากที่สุดก็คือ จะต้องผ่าน “สื่อกลาง” จากผู้อื่นอีกทีหนึ่ง
จากการบันทึกประวัติท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์ ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 4 หน้า 99,.. และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ในหนังสือ  “ซิยัรฺ อะอฺลามินนุบะลาอ์”  เล่มที่  7  หน้า  175-177  ซึ่งได้ตีแผ่รายนาม “شُيُوْخٌ” คือ  “ครู”  หรือผู้ที่ถ่ายทอดหะดีษให้แก่ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์เป็นจำนวนหลายร้อยคนนั้น   ไม่ปรากฏมีชื่อของท่านฏอวูส บินกัยซานว่าเป็น “ครู” ของท่านซุฟยานรวมอยู่ด้วยเลย
ในทำนองเดียวกัน  ในการบันทึกประวัติของท่านฏอวูส บิน กัยซาน ในหนังสือ  “อัต-ตะฮ์ซีบ”  เล่มที่  5  หน้า  9 . ท่านอิบนุหะญัรฺได้ระบุรายนาม  “تَلاَ مِيْذُ”  หรือศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดหะดีษจากท่านฏอวูส เป็นจำนวนมากมายหลายสิบคน   แต่ในจำนวนบุคคลดังกล่าวนี้  ก็ไม่ปรากฏมีชื่อของท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์ ว่า  เป็นศิษย์ที่ได้รายงานหะดีษมาจากท่านฏอวูสเลยเช่นเดียวกัน
นี่จึงเป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งว่า  ท่านซูฟยาน อัษ-เษารีย์  ไม่เคยได้รับฟังหะดีษบทใดมาจากท่านฏอวูส บิน กัยซานโดยตรง

ในส่วนของท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์  แม้ว่า ท่านจะได้รับความเชื่อถืออย่างสูงส่งขนาดไหนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือ  มี  “บ่อยครั้ง”  ที่ท่านรายงานหะดีษในลักษณะ “มั่วนิ่ม” หรือตัดลีซ, และ  “บางครั้ง”   การ  “ตัดลีซ” ของท่าน ก็ยังเป็นการ  “อำพราง”  นามผู้รายงานหะดีษให้แก่ท่าน ที่เป็นคนที่ขาดความเชื่อถือ โดยการระบุนามผู้ที่เชื่อถือได้แทน    ดังคำกล่าวของท่าน มิซฟิรฺ บิน ฆ็อรฺมิลลาฮ์ ในหนังสือ  “อัต-ตัดลีซ ฟิล หะดีษ”  หน้า  266
“ซึ่งหะดีษเรื่องการที่เศาะหาบะฮ์บริจาคอาหารแทนผู้ตายในเจ็ดวันข้างต้น  ผมมั่นใจว่า  น่าจะจัดอยู่ในกรณีนี้”  คือ ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์อาจได้รับฟังหะดีษนี้จากผู้รายงานคนใดคนหนึ่ง (ซึ่งไม่รู้ว่าจะเชื่อถือได้หรือไม่)  แต่ท่านก็มิได้ระบุนามของบุคคลผู้นั้นในสายรายงาน ทว่า ท่านกลับกล่าวว่า .. قَالَ طَاوُوْسٌ .. คือ “ท่านฏอวูสกล่าวว่า …..”  อันเป็นคำพูดที่คลุมเครือ  เพราะไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่า ท่านฏอวูสกล่าวกับท่านเองหรือกล่าวกับใคร? … ซึ่งการรายงานในลักษณะนี้ ถือว่า เป็นการรายงานในลักษณะตัดลิซหรือแสร้งมั่วนิ่ม  ตามหลักวิชาการ  หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษเฎาะอีฟเพราะสายรายงานขาดตอน ระหว่างท่านฎอวูสกับท่านซุฟยาน  จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานไม่ได้


 !!แต่ฝ่ายที่สนับสนุนให้กินบุญบ้านคนตาย อ้าว่า การเสียชีวิตของท่านฏอวูส  บางรายงานว่าปีเสียชีวิต เป็นปี ฮ.ศ. 106  บ้างก็รายงานว่าเสียชีวิต ปี ฮ.ศ.113  ขึ้นไปจนถึงปีฮ.ศ. 120 ฝ่ายนี้จึงยึดทัศนะปีเสียชีวิต 113 - 120 ของ ฮ.ศ.  เพื่อให้ท่านซุฟยาน อายุ 16 - 23  และถึงแม้ท่านฏอวุสเสียชีวิต ปี ฮ.ศ.97 ซึ่งขณะนั้นท่านสุฟยาน อายุเพียง 9 ขวบก็ตาม เด็ก 9 ขวบ ก็รับหะดิษได้แล้ว แม้เด็กอายุ 5 ขวบก็สามารถได้ยินหะดิษได้  เพราะอายุ 5 ขวบนั้น ถือว่ารู้เดียงสาแล้ว และยืนยันว่า ในการที่จะมีโอกาสพบท่านฏอวูส ท่านซุฟยานกับท่านฏอวูส  มีสิทธิ์ที่จะได้เจอกัน   เพราะไม่มีหลักฐานใดมายืนยันว่าทั้งสองเป็นไปไม่ได้ที่จะได้เจอ  ทั้งสองก็อยู่ในสมัยเดียวกัน แม้เมืองกูฟะฮ์จะห่างกับเมืองเยเมนมากก็ตาม 


>>>แต่ถึงแม้ว่าฝ่ายที่ว่าหะดิษของท่านฏอวุสมรสายสืบที่ถูกต้อง แต่เนื้อหาของหะดิษนั้นขัดกับหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ ดังนี้

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “เมื่อผู้ตาย(มัยยิต) ถูกฝัง มะลักสองท่านมายังเขา ทั้งสองผิวดำ ดวงตาของเขาทั้งสองสีน้ำเงิน ชื่อบุคคลหนึ่งจากทั้งสองคือ มุงกัรฺ อีกท่านหนึ่งชื่อนะกีรฺ ทั้งสองกล่าวแก่ผู้ตายว่า “ท่านจะกล่าวอย่างไรกับชายคนหนึ่ง(ที่ชื่อมุหัมมัด) ผู้ตายกล่าวตอบว่า “เขาคือบ่าวของพระองค์อัลลอฮ์ และเป็นศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพภัคดี นอกจากพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น และขอปฏิญาณตนว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ มะลักทั้งสองกล่าวว่า ฉันรู้แล้วว่าท่านจะต้องกล่าวเช่นนี้ จากนั้นหลุมศพของเขาก็ขยายกว้างถึงเจ็ดสิบศอก และยาวเจ็ดสิบศอก และยังมีรัศมีอยู่ในหลุมศพของเขา แล้วมีเสียงกล่าวแก่ผู้ตายว่า ท่านจงนอนเถิด ผู้ตายตอบว่า ฉันต้องการกลับไปยังครอบครัวของฉันเพื่อที่จะบอกข่าวดีให้แก่พวกท่าน (ว่าอยู่ในกุบูรฺมีความสุขสบาย ไม่ถูกลงโทษ) มะลักทั้งสองกล่าวว่า  ท่านจงนอนหลับเฉกเช่นการนอนหลับ(ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว) ในคืนแรกเถิด ซึ่งจะไม่มีผู้ใดปลุกเขา นอกจากบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งสำหรับครอบครัวของเขา (เป็นการเปรียบเทียบถึงความสุขที่เกิดขึ้นในคืนแรก) จนกระทั้งพระองค์อัลลอฮฺให้เขาฟื้นขึ้นจากที่นอนของเขา(หมายถึงวันกิยามะฮฺ) ส่วนผู้ตายเป็นมุนาฟิก เขาจะกล่าวว่า ฉันได้ยินผู้ศรัทธากล่าวอย่างนั้น แนก็กล่าวเช่นนั้นด้วย (ได้ยินผู้ศรัทธากล่าวว่า มุหัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ ฉันก็กล่าวเช่นนั้นด้วย) ที่จริงแนไม่รู้ มะลักทั้งสองกล่าวว่า ฉันนึกแล้วว่าท่านต้องกล่าวเช่นนี้ จากนั้นจึงมีเสียงกล่าวแก่แผ่นดินว่า เจาจงบีบรัดเขาเถิด และแผ่นดินก็รัดเขาจนกระทั้งซี่โครงประสานกัน และเขายังคงถูกลงโทษเช่นนั้นในกุบูรฺจนกระทั้ง พระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้เขาฟื้นขึ้นจากที่นอนของเขา (หมายถึงวันกิยามะฮฺ)”
(บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดิษเลขที่ 1081) และอิบนุ หิบบาน หะดิษเลขที่ 117)

หะดิษข้างต้นท่านรสูล กล่าวว่า ภายหลังการสอบสวนเสร็จแล้ว หากตอบคำถามของมลาอิกะฮฺได้ กุบูรฺของเขาจะกว้างและยาว 70 ศอก อีกทั้งยังมีรัสมีในกุบูรฺของเขา และคงสภาพนั้นจนกระทั้งวันกิยามะฮฺ และหากผู้ตายไม่สามารถตอบคำถามได้ในกุบูรฺได้ แผ่นดินจะบีบรัดจนซี่โครงประสานกัน และคงสภาพนั้นตราบจนวันกิยามะฮฺ ส่วนท่านฏอวุสกล่าวว่า ผู้ตายจะถูกลงโทษในช่วง 7 วันเท่านั้น ไม่ใช่ถูกลงโทษจนกระทั้งวันกิยามะฮฺ ซึ่งไม่ตรงกับหะดิษที่ท่านรสูลกล่าวเอาไว้

และจากหะดิษข้างต้น ยังกล่าวถึงหลักความเชื่อของมุสลิมที่ว่า วิญญาณของผู้ตายจะไม่สามารถกลับมายังบ้านของเขาโดยเด็ดขาด ดั่งสำนวนหะดิษที่ว่า “แล้วมีเสียงกล่าวแก่ผู้ตายว่า ท่านจงนอนเถิด ผู้ตายตอบว่า ฉันต้องการกลับไปยังครอบครัวของฉันเพื่อที่จะบอกข่าวดีให้แก่พวกท่าน (ว่าอยู่ในกุบูรฺมีความสุขสบาย ไม่ถูกลงโทษ) มะลักทั้งสองกล่าวว่า  ท่านจงนอนหลับเฉกเช่นการนอนหลับ(ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว) ในคืนแรกเถิด”
ส่วนกรณีที่มีมีกล่าวว่าอ้างว่า “ดวงวิญาณของผู้ตาย จะมาเยือนบ้านของเขาในคืนวันศุกร์ มาดูครอบครัวของเขา หากว่าคนในครอบครัวของเขาทำความดี ดวงวิญาญาณก็จะขอดุอาอ์และดีใจ แต่หากครอบครัวของเขาทำชั้ว เขาก็ขอดุอาอ์ให้ร้าย และจะมีความเศร้าโศกเสียใจ เพราะฉะนั้นที่ดีแล้วควรให้อาหารแทนผู้ล่วงลับ(ทำบุญ) หรือทำเศาะดะเกาะฮฺให้ในคืนวันศุกร์ที่บ้านผู้ตาย”
(หนังสือ “ปัยหาขัดแย้งทางศาสนา เล่ม 1 หน้า 24)
จึงเป็นคำกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับหะดิษของท่านรสูลอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งไม่มีข้อมูลแห่งความเป็นจริงเลยแม้แต่น้อย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-ท่านรสูล กล่าวว่า ส่งเสริมให้เพื่อนบ้านหรือญาติใกล้ชิดปรุงอาหารไปให้ครอบครัวของผู้ตาย เพราะพวกเขากำลังเศร้าโศกเสียใจ
จากท่านญะอฺฟัรฺ บุตรของคอลิด จากพ่อของเขา จากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของยะอฺฟัรฺ(เกิดที่ดินแดนหะบะชะฮฺ สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. ที่ 80) เล่าว่า เมื่อข่าวการสิ้นชีวิตของท่านญะอฺฟัรฺรู้ถึงท่านรสูลุลลอฮ์ ท่านรสูล กล่าวว่า “พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะอฺฟัรเถิด เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก (หมายถึงความเศร้าโศกเสียใจ) มาประสบกับพวกเขา”
(บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3130 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย , ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 998 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย , อิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1610 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย , หากิม หะดิษเลขที่ 1377 บทว่าด้วยญะนาวะฮฺ , อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 1754 อบูยะอฺลา หะดิษเลขที่ 6801 อับดุรฺเราะซาก หะดิษเลขที่ 6670 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย บัยหะกีย์ หะดิษเลขที่ 7197 บทว่าด้วยการจัดเตรียมอาหารอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย และดารุ กุฏนีย์ หะดิษเลขที่ 11 บทว่าด้วยญะนาวะฮฺ)

ส่วนท่านฏอวุสกล่าวว่า พวกเขาชอบที่จะให้แจกจ่ายอาหารภายในเจ็ดวัน ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับสุนนะฮฺของท่านรสูลโดยสิ้นเชิง เพราะท่านรสูลมิได้สั่งใช้ให้แจกจ่ายอาหารแก่ผู้คนทั่วไป แต่ให้ทำอาหารไปให้ เฉพาะครอบครัวของผู้ตายเท่านั้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-หะดิษของท่านฏอวุสในประโยคที่ว่า “ปรากฏว่าพวกเขาชอบที่จะให้พวกเขาแจกจ่ายอาหารในช่วงเจ็ดวันดังกล่าว” โดยอธิบายคำว่า “พวกเขา” หมายถึง เศาะหะบะฮฺ

ส่วนหะดิษของท่านญะรีรฺ บุตรของอับดุลลอฮฺ อัลบะญะลีย์ กล่าวว่า

كُنَّا نَعُدُّ اْلإِجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ  وَصُنْعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنَ النِّيَاحَةِ

 “พวกเราถือว่าการรวมตัวกันยังบ้านผู้ตายและทำอาหาร(ที่บ้านของผู้ตายนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮฺ”(นิยาหะฮฺ หมายถึงการแสดงอาการเศร้าโศกเสียใจ เช่นการตีอกชกหัว ฉีกเสื้อผ้า ตีโพยตีพาย ครวญคราง ขีดขวนใบหน้าเสมือนคนขาดสติ ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามในอิสลาม){บันทึกหะดิษโดยอิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1612 บทว่าด้วย ห้ามการร่วมชุมนุมกันที่บ้านของผู้ตาย และทำอาหาร(ที่บ้านผู้ตาย) และท่านอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 6866)

สำนวนที่ว่า “พวกเรา” คือการลงความเห็นของบรรดาเศาะหะบะฮฺ

>>>นี้คือสิ่งที่ขัดแย้งอย่างเห็นได้ชัดระหว่างหะดิษของท่านฏอวุส ซึ่งอยู่ในฐานะตาบิอีน ซึ่งมีการอธิบายว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺชอบให้ทำบุญเลี้ยงเลี้ยงเจ็ดวัน กับหะดิษของท่านญาบิรฺ ซึ่งอยู่ในฐานะเศาะหะบะฮฺกล่าวว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺห้ามรับประทานอาหารบ้านผู้ตาย เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮฺ หรือห้ามกระทำนั้นเอง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ยังสนับสนุนให้เพื่อนบ้านของผู้ตาย หรือญาติใกล้ชิดของผู้ตายทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย
อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า “ฉันชอบให้เพื่อนบ้านของผู้เสียชีวิตหรือผู้เป็นเครือญาติของผู้เสียชีวิตทำอาหารที่ให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้อิ่มในวันและค่ำคืนที่เขาเสียชีวิตลง เพราะแท้จริงสิ่งดังกล่าวเป็นซุนนะฮฺและเป็นการรำลึกที่ประเสริฐ และเป็นการปฏิบัติของเหล่าชนแห่งความดีทั้งก่อนและหลังพวกเรา ทั้งนี้เพราะเมื่อมีข่าวการเสียชีวิตของท่านญะอฺฟัร  มาถึงท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ก็กล่าวว่า : "พวกท่านทั้งหลายจงทำอาหารแก่ครอบครัวของญะอฺฟัรเถิด เพราะแท้จริงได้มีเรื่องราวที่ทำให้พวกเขาต้องยุ่ง (สาละวน) มายังพวกเขา"
(บันทึกโดยอบูดาวูด ในบทอัลญะนาอิซฺ (3132), อัตติรมิซียฺ ใน "อัลญะนาอิซฺ" (998) และอิบนุมาญะฮฺ ใน "อัลญะนาอิซฺ" (1610) (จากตำราเมาซูอะฮฺ อัลอิหม่าม อัชชาฟิอีย์ ; อัลกิตาบอัลอุมฺม์ ; ด๊ารฺกุตัยบะฮฺ เล่มที่ 3 หน้า 416-417 หนังสือตุหฺฟะตุล อะหฺวะซีย์ เล่ม 4 หน้า 38 และหนังสือ มิรฺกอตุลมะฟาตีหฺ เล่ม 4 หน้า 223)
!!!สิ่งที่ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) ระบุว่าเป็นสิ่งที่ท่านชอบให้กระทำเพราะเป็นซุนนะฮฺอันประเสริฐเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่าและส่วนใหญ่ในบ้านเราตามทัศนะท่านอิหม่ามชาฟิอีย์จำต้องช่วยกันรณรงค์ฟื้นฟูซุนนะฮฺข้อนี้ซึ่งจวนเจียนจะจางหายไปจากสังคมบ้านเราอยู่รอมร่อ

และท่านอิหม่ามชาฟีอีและท่านอิหม่ามมาลิก ท่านทั้งสองก็มีทรรศนะ ที่ว่า อิบะดะฮ์เกี่ยวกับร่างกายอย่างเดียว เช่น ละหมาด การถือสิลอด และการอ่านอัลกุรฺอาน ผลบุญของอิบาดะฮ์นี้ไม่ถึงผู้ตาย ต่างกับอิบาดะฮ์อื่นๆ เช่นอิบาดะฮ์ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างเดียว เช่นซะกาตและการทำวอดาเกาะฮ์ หรืออิบาดะฮ์ที่ผสมกันระหว่างร่างกายกับทรัพย์สิน เช่น ฮัจญ์ ผลบุญของอิบาดะฮ์ประเภทนีจะถึงผู้ตาย(ซึ่งมีหลักฐานหะดิษที่เศาะเฮียะฮ์ยืนยันชัดเจน)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-คำว่า  “นำอาหารไปบริจาค”  กับคำว่า  “เลี้ยงอาหารที่บ้าน”  มี  “วิธีการ และหุก่ม”  ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการตาย  แตกต่างกัน,  ซึ่งหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบหรือมองข้ามไปก็ได้

กล่าวคือ วิธีแรก    หมายถึง   “การนำอาหารไปบริจาคให้แก่ผู้รับอันเป็นคนยากจน”   วิธีการอย่างนี้ ไม่มีข้อขัดแย้งกันแต่ประการใดว่า  ทายาทของผู้ตาย  สามารถปฏิบัติแทนผู้ตายได้ เพราะมันคือการเศาะดะเกาะฮ์หรือการบริจาค,    จะเศาะดะเกาะฮ์ด้วยเงิน,  สิ่งของ,  อาหาร หรืออะไรก็ได้ . แทนให้แก่ผู้ตาย,    ทั้งนี้ เพราะมีหลักฐานจากหะดีษที่ถูกต้องซึ่งบันทึกโดยท่านบุคอรีย์   หะดีษที่  1388  และท่านมุสลิม  หะดีษที่  51/1004  มายืนยันไว้

ส่วนวิธีที่สอง คือ  “การเลี้ยงอาหารที่บ้านผู้ตาย”  ประเด็นนี้แหละคือ ปัญหาที่นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับเห็นพ้องกันว่า  เป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ  แต่ขณะเดียวกัน กลับมีผู้รู้บางท่านกำลังพยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านประเภท  “อะวาม”  คือชาวบ้านทั่วๆไป ปฏิบัติกัน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สรุป
>>>การทำบุญ 7 วัน 40 วัน และ  100 วัน ให้แก่ผู้ตายนั้นไม่มีรูปแบบฉบับและไม่พบหลักฐานที่เศาะเอียะฮฺ จากท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ว่าจากคำสอน การกระทำ หรือการยอมรับในเรื่องดังกล่าว
 >>>ไม่พบแบบฉบับของท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ ท่านอุสมาน , ท่านอาลี และบรรดาเศาะหะบะฮฺท่านอื่นๆ
 >>>ไม่พบคำสอนหรือทัศนะบรรดาอิหม่ามในมัซฮับต่างๆ และบรรดานักวิชาการท่านอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้กระทำเช่นนั้น ยกเว้นท่านอิบนุ กุดามะฮฺ ที่มีทัศนะว่า “ถ้ามีความจำเป็นในเรื่องดังกล่าวก้อนุญาต เพราะบางทีผู้มาร่วมงานศพ มาจากต่างหมู่บ้านหรือสถานที่ไกลๆ และค้างคืน ณ ที่พวกเขา พวกเขาไม่มีทางเลี่ยงนอกจากต้องรับรองเขาในบานะแขก”(หนังสือฟิกฮุสสุนะฮฺ เล่ม 1 หน้า 508)
แม้ว่าท่านท่านอิบนุกุดามะฮฺ จะมีทัศนะดังกล่าว แต่ก็มีเงื่อนไขที่จำเป็นและหลีกหลี่ยงไม่ได้จริงๆ  และขณะจะรับประทานอาหารที่บ้านผู้ตาย ต้องไม่มีพิธีกรรมอันประกอบไปด้วยการอ่านและขอดุอาอ์ อย่างที่พบเห็นกันในปัจจุบันแต่อย่างใด

والله أعلم

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น