อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แม้จะเป็นชายมุสลิมตาบอด หากได้ยินเสียงอะซาน ก็จำเป็นต้องไปมัสยิด



รายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะฮ์ ได้กล่าวว่า “ได้มีชายตาบอดคนหนึ่ง(คือท่านอิบนุอุมมิมักตูม) มาหาท่านรสูลุลลอฮ์ แล้วกล่าวว่า “โอ้ ท่านรสูล ความจริงข้าพเจ้าไม่มีคนจูงไปมัสยิด ข้าพเจ้าจะละหมาดที่บ้านได้หรือไม่” ท่านรสูลยอมผ่อนผันให้ให้แก่เขา แต่เมื่อเขาหันกลับไป ท่านได้เรียกเขาไว้แล้วถามว่า “ท่านได้ยินเสียงอาซานไหม?” ชายตาบอดตอบว่า “ได้ยินครับ” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้นท่านจำเป็นต้องไปมัสยิด”
(บันทึกหะดิษโดย มุสลิม และ นาซาอี)
รายงานจากอบีอัด-ดัรดาอ์ จากท่านรสูลุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า “มีคนสามคนอยู่ในหมู่บ้าน หรือทะเลทราย โดยที่พวกเขาไม่ได้ทำละหมาดร่วมกัน นอกจากชัยฏอนมารร้ายจะเข้าครอบงำพวกเขา ดังนั้นท่านจะต้องอยู่รวมกันเป็นญามาอะฮ์ เพราะแท้จริงหมาป่ามันจะกินแกะที่แตกฝูง”
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยอบูดาวูด นาซาอี อะหฺมัด และฮากิม)

>>>การที่รสูลใช้ให้คนตาบอดให้ไปละหมาดญามาอะฮ์ที่มัสยิด ทั้งๆที่เขามีความยากลำบาก ย่อมแสดงว่าการละหมาดญามาอะฮ์ นั้นเป็นฟัรฎูอีน {ข้อบังคับทางศาสนาสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติ หากใครละทิ้ง (โดยไม่มีข้อยกเว้นทางศาสนา) ถือว่ามีความผิด} ตามทัศนะของอัครสาวกบางท่านและอะหฺมัด แต่การร่วมกันไม่ใช่เป็นเงื่อนไขในความ(ใช้ได้)ของละหมาด

ในทัศนะของอิมามมาลิก และอบูฮะนิฟะฮ์ และบางส่วนของนักวิชาการอิมามชาฟีอีถือว่าเป็นสุนัตมุอักกัต {ซุนนะฮ์มุอั๊กกัต คือ ซุนนะฮ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ปฎิบัติเป็นประจำไม่เคยละทิ้ง
นอกจากหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง}โดยอาศัยหลักฐานจากหะดิษ(การละหมาดรวมดีกว่าละหมาดคนเดียว) หลักฐานในทำนองนี้ถือว่าเป็นคำสั่งจริงจัง(ไม่ใช่คำสั่งเด็ดขาด) เท่านั้น

ตามตัวบทที่ชัดเจนของอิมามชาฟีอีกล่าวว่าเป็นฟัรฎูกิฟายะฮ์{ข้อบังคับทางศาสนาสำหรับมุสลิมจะต้องปฏิบัติ แต่ทว่า หากมีมุสลิมคนใดทำแทน หรือมุสลิมบางกลุ่มทำแทนแล้ว มุสลิมคนอื่นๆ ถือว่าพ้นผิดไปด้วย} และเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่อีกด้วยจากเหล่าอัครสาวก"""
والسلام

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น