«وَإِنْ كُنْتُمْ مَرْضَى أَوْ عَلَى سَفَرٍ أَوْ جَاءَ أَحَدٌ مِنْكُمْ مِنَ الْغَائِطِ أَوْ لامَسْتُمُ النِّسَاءَ فَلَمْ تَجِدُوا مَاءً فَتَيَمَّمُوا صَعِيداً طَيِّباً فَامْسَحُوا بِوُجُوهِكُمْ وَأَيْدِيكُمْ مِنْهُ »
ความว่า “และหากพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางหรือคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้ามีการถ่ายทุกข์หรือได้สัมผัสหญิง(ร่วมเพศกับนางผู้เป็นภรรยา)มา แล้วพวกเจ้าไม่พบน้ำก็จงมุ่งหาฝุ่นดินที่สะอาด จงลูบใบหน้าและมือทั้งสองของพวกเจ้าจากฝุ่นดินนั้น” (อัลมาอิดะฮฺ : 6)
อิสลามได้กำหนดให้ผู้ที่มีหะดัษเล็กหรือหะดัษใหญ่ทำการตะยัมมุมได้หากที่ไม่สามารถใช้น้ำได้ ซึ่งบางครั้งอาจหาน้ำใช้ ไม่พบหรืออาจมีหรือหาน้ำใช้พบแต่ถ้าใช้แล้วจะมีอันตรายต่อร่างกาย หรือบางครั้งอาจไม่สามารถที่จะใช้น้ำได้
>>>คุณสมบัติของดิน ที่ใช้ตะยำมุมนั้นมีเงื่อนไขว่าต้องมีฝุ่นที่เมื่อลูบฝุ่นนั้นที่อวัยวะแล้วฝุ่นดินนั้นจะติดอยู่ที่อวัยวะที่ถูกลูบ และดินที่มีฝุ่นนั้นต้องสะอาดไม่เจอปนนะยิส ซึ่งฝุ่นดินนี้หาได้ทั่วไปจากพื้นดินที่สะอาด จะเป็นการนำเอาก้อนดินที่แห้งมาทุบให้แตกละเอียดหรือบดจนกลายเป็นผงก็ได้ หรือฝุ่นดินที่เกาะอยู่ตามผนังหรือก้อนหินก็ได้
<<<สำหรับฝุ่นของดินสอพองนั้น ทำมาจากดินล้วนๆ ผสมกับน้ำเท่านั้น ถึงแม้ว่าดินสอพองจะถูกเผาก็ตาม ฉะนั้นดินสอพองจึงถือว่าเป็นดินด้วยเช่นกัน หากเราเดินทางแล้วรู้ว่าสถานที่แห่งนั้นไม่มีน้ำ เช่นนี้เราสามารถตะยัมมุมกับดินสอพองแทนน้ำได้
^^^ส่วนแป้งทาตัวที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กันแพร่หลายนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้ในการทำตะยำมุม เนื่องจากมีส่วนผสมที่อาจจะทำให้ฝุ่นดินที่ถูกผสมไปไม่ถึงอวัยวะที่จำเป็นต้องลูบในการทำตะยำมุม (เป็นทัศนะของนักวิชาการ)
สำหรับผู้ที่ไม่มีน้ำหรือดินให้ใช้ หรือมีแต่ไม่สามารถที่จะใช้น้ำและดินได้นั้น อนุญาตให้ละหมาดในสภาพที่ไม่ต้องมีวุฎูอ์และไม่ต้องตะยัมมุม โดยไม่จำเป็นต้องละหมาดใหม่อีกครั้ง
والله اعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น