ในกรณีที่แพทย์คนหนึ่งไม่มีความชำนาญ หรือเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาล แต่เขาก็ได้ทำการรักษาคนป่วย แล้วเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยทุพลภาพ เขาจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น และจะต้องชดใช้ตามปริมาณข้อเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะถือว่าการกระทำของเขาเกิดจากความสามารถของเขา
รายงานจากอัมรฺ บุตรของชุอัยบฺ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดดำเนินการทางการแพทย์ โดยที่เขาไม่ทราบเรื่องการแพทย์ดีก่อนหน้านั้น เขาก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหาย” (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด อันนะซะอีย์ และอิบนุมาญะฮฺ)รายงานจากอับดุลอะซีซ บุตรอัมรฺ บุตรอับดิลอะซีซ เล่าว่า ผู้แทนบางคนที่เข้ามาหาบิดาของฉันได้เล่าให้ฉันฟังว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“หมอคนใดที่ทำการรักษากลุ่มชนหนึ่ง โดยที่ด้านการแพทย์ไม่เป็นที่รู้จักกับเขา ก่อนจากนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่คนป่วย เขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น” (บันทึกหะดิษโดยอบุดาวูด)สำหรับกรณีที่นายแพทย์ทำผิดพลาด โดยที่เป็นผู้รอบรู้เป็นอย่างดี บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นว่าจำเป็นแก่เขาจะต้องเสียค่าสินไหม โดยให้เอาจากผู้ปกครองหรือมารดาของเขาตามทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการ แต่นักวิชาการบางท่านให้เอาจากทรัพย์สินของนายแพทย์เอง
والله أعلم بالصواب
ญาซากัลลอฮุค๊อยรอนค่ะ..
ตอบลบ