กรณีที่เราไปขอสตรีท่านหนึ่งแต่งงาน โดยสตรีท่านนั้นไม่ปฏิเสธ แต่ทว่าวะลีย์ของนางปฏิเสธที่จะแต่งงานให้นั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า
การแต่งงานใดที่ไม่มีวะลีย์ การแต่งงานนั้นถือว่าเป็นโมฆะ
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
" لا نكاح إلا بولي "
ความว่า "ไม่ถือว่าเป็นการนิกาหฺ (แต่งงาน) ยกเว้นจะต้องมีวะลีย์ (ผู้ปกครองฝ่ายหญิง) เท่านั้น" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์)
หากวะลีย์ปฏิเสธที่จะแต่งงานให้ วะลีย์ท่านนั้นให้เหตุผลอะไรจึงไม่แต่งงานให้ หากวะลีย์ให้เหตุผลว่า เราที่ไปขอลูกสาวเขานั้นเป็นคนไม่มีศาสนา เล่นการพนัน กินเหล้าเมายา เช่นนี้วะลีย์จึงไม่แต่งงานให้ เช่นนี้ถือว่าวะลีย์ทำถูกต้องแล้ว
ส่วนกรณีที่เราเป็นคนดีมีศาสนา ไม่กระทำสิ่งต้องห้ามต่างๆ แต่วะลีย์ให้เหตุผลที่ไม่แต่งงานไม่ชอบขี้หน้า หรือไม่ใช่คนที่ตนเองแนะนำไว้ เช่นนี้ถือว่าวะลีย์กระทำผิดหลักการ เพราะสาเหตุที่ไม่แต่งงานให้ไม่ใช่เรื่องของศาสนาแต่เป็นเรื่องของอารมณ์เท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้เราไปแจ้งกับกอฎี (ผู้ตัดสินที่ได้รับมอบหมายจากส่วนกลาง) หรือในประเทศไทยก็ให้เราไปแจ้งกับกรรมการประจำหวัดที่เราอาศัยอยู่ โดยไปแจ้งว่า วะลีย์ท่านนั้นไม่ยอมแต่งงานตนเองให้กับลูกสาวของเขา โดยไม่มีสาเหตุทางศาสนา
เมื่อทางกรรมการฯ เรียกวะลีย์ท่านนั้นมาตรวจสอบ แล้วพบว่าเป็นความจริงอย่างที่แจ้งไว้ ทางกรรมการฯ ก็ต้องบังคับให้วะลีย์แต่งงานให้ หากวะลีย์ท่านนั้น ยังฝ่าฝืนอีก เช่นนี้ทางกรรมการฯ ก็มีสิทธิ์ย้ายการเป็นวะลีย์จากตัวเขา เป็นวะลีย์คนถัดไป เช่นเขาเป็นพ่อของผู้หญิง ก็ให้เลื่อนเป็นพ่อของพ่อของผู้หญิง (ปู่) ต่อไป
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น