อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศิลอดสุนนะฮฺวันอาชูรออฺ



ศาสนาส่งเสริมให้ถือศีลอดมาก ๆ ในเดือนมุหัรร็อม

มีรายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

أَفْضَلُ الصِّيَامِ بَعْدَ رَمَضَانَ شَهْرُ اللَّهِ الْمُحَرَّمُ وَأَفْضَلُ الصَّلَاةِ بَعْدَ الْفَرِيضَةِ صَلَاةُ اللَّيْلِ

"การถือศีลอดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนคือการถือศีลอดในเดือนของ อัลลอฮ ฺคืออัลมุหัรร็อม และการละหมาดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากละหมาดฟัรฎูคือละหมาดกิยามุลลัยลฺ"(บันทึกโดยมุสลิม : 1163)

ความประเสริฐของการถือศีลอดวันอาชูรออฺ

มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาเล่าว่า

قَدِمَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِيْنَةَ فَرَأَى الْيَهُوْدَ تَصُوْمُ يَوْمَ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ مَاهَذَا  قَلُوْا هَذَا يَوْمٌ صَالِحٌ هَذَا يَوْمٌ نَجَّى اللهُ بَنِيْ إِسْرَائِيْلَ مِنْ عَدُوِّهِمْ فَصَامَهُ مُوْسَى قَالَ فَأَنَا أَحَقُّ بِمُوْسَى مِنْكُمْ فَصَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ

"เมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เดินทางถึงนครมะดีนะฮฺ ท่านได้เห็นชาวยะฮูดีย์ถือ ศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านจึงถามว่า "วันนี้คือวัน อะไร?" ชาวยะฮูดีย์ได้ตอบว่า วันนี้เป็นวันที่ดี เป็นวัน ที่อัลลอฮฺทรงทำให้ชาวบนีอิสรออีลรอดพ้นจากศัตรูของพวกเขา (พวกฟิรอูน) ดังนั้นท่านนบีมูซา จึงได้ ถือศีลอดในวันนี้ (เพื่อเป็นการขอบคุณต่อพระองค์อัลอฮฺ) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า ดังนั้นฉันมีสิทธิ์ในมูซามากกว่าพวกเจ้า แล้วท่านก็ถือศีลอด (ในวันนั้น) และสั่งให้ (ชาวมุสลิม) ถือศีลอด ในวันนั้นด้วย " (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 2004 อะหฺมัด : 2639)

เช่นเดียวกัน มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาเล่าว่า

مَا رَأَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَحَرَّى صِيَامَ يَوْمٍ فَضَّلَهُ عَلَى غَيْرِهِ إِلاَّ هَذَا الْيَوْمَ يَوْمَ عَاشُوْرَاءَ وَهَذَا الشَّهْرَ يَعْنِيْ شَهْرَ رَمَضَانَ

"ฉันไม่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พยายามมุ่งมั่นเจาะจงเพื่อที่จะถือศีลอดในวันใด ๆ ที่จริงจังมากกว่าวันอื่น ๆ นอกจากวันนี้ วันอาชูรออฺ และเดือนนี้ หมายถึง เดือนรอมฎอน" (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 2006)

อีกหะดีษบทหนึ่ง มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาเล่าว่า

حِينَ صَامَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّهُ يَوْمٌ تُعَظِّمُهُ الْيَهُودُ وَالنَّصَارَى فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَإِذَا كَانَ الْعَامُ الْمُقْبِلُ إِنْ شَاءَ اللَّهُ صُمْنَا الْيَوْمَ التَّاسِعَ قَالَ فَلَمْ يَأْتِ الْعَامُ الْمُقْبِلُ حَتَّى تُوُفِّيَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

"ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออฺ และได้ใช้ให้ถือศีลอดในวันนี้ นั้น บรรดาเศาะหาบะฮฺได้ถามว่า  โอ้ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม วันนี้มิใช่หรือ ที่พวกยะฮูดี และพวกนัศรอนียฺให้ความสำคัญ ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ตอบว่า หากถึงปีหน้า หากอัลลอฮฺทรงมีพระประสงค์ พวกเราก็จะถือศีลอดในวันที่เก้า (เดือนมุหัรรอม) อับดุลลอฮฺได้เล่าว่า ยังไม่ถึงปีหน้า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ก็เสียชีวิตเสียก่อน"
(บันทึกโดยมุสลิม : 1134)

อิหม่าม ศ็อนอานียฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ระบุว่า “ส่วนการถือศีลอดวันอาชูรออฺนั้น คือวันที่ 10 เดือนมุหัรร็อม ตามทรรศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ทั้งหลาย แท้จริงการถือศีลอดวันอาชูรออฺนั้น เคยป็นบทบัญญัติวาญิบก่อนที่ จะมีการกำหนดฟัรฎูของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งหลังจากนั้นการถือศีลอดในวันอาชูรออฺจึงเป็นแค่เพียง ส่งเสริมให้ปฏิบัติ”  (ศ็อนอานียฺ ในซุบูลุสสลาม บทที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอดซุนนะฮฺ อธิบายหะดีษที่ : 635)

นักวิชาการผู้ชำนาญการด้านประวัตินิศาสตร์อิลามส่วนมากระบุตรงกันว่า การถือศิลอดเดือนรอมาฎอนนั้นถูกกำ หนดให้เป็นฟัรฎู (กิจบังคับ) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เดือนชะอฺบานตรงกับปีฮิจเราะฮ์สักราชที่ 2  นักวิชาการหลายท่าน อธิบายว่า ในอดีตก่อนกำหนดศิลอดฟัรฎูในเดือน รอมาฎอนนั้น ท่านรอซูลใช้ให้เหล่าสาวกถือศิลอดในวันอาชู รออฺเพียงวันเดียว (แบบฟัรฎู) ต่อจากนั้นได้ยกเลิกการถือศิลอดวันอาชูรออฺ (โดยเหลือเพียงแค่เป็นซุนนะฮ์) และให้ถือศิลอดเดือนรอมาฎอนแทน  (อ.อับดุลลอฮฺ สุไลหมัด ในบทความเรื่อง รอมฎอน เดือนแห่งการถือศีลอด www.warasatussunnah.net)

มีรายงานจากอบีเกาะตาดะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

سُئِلَ عَنْ صِيَامِ يَوْمِ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ الْمَاضِيَةَ

"...ถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า มันจะลบล้างบาป ในปีที่ผ่านมา"
(บันทึกโดยมุสลิม : 1162)

ชัยคุล อิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ กล่าวว่า "การลบล้างบาปจากการอาบน้ำละหมาด การละหมาด การถือศีลอดเดือน รอมฎอน การถือศีลอดวันอะรอฟะฮฺ และการถือศีลอดวันอาชูรออฺ จะเกิดขึ้นสำหรับบาปเล็กเท่านั้น"  (อิบนุตัยมียะฮฺ ในอัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ เล่ม 5)

ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันตาซูอาอฺควบคู่วันอาชูรออฺ

มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาเล่าว่า

حِينَ صَامَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّهُ يَوْمٌ تُعَظِّمُهُ الْيَهُودُ وَالنَّصَارَى فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَإِذَا كَانَ الْعَامُ الْمُقْبِلُ إِنْ شَاءَ اللَّهُ صُمْنَا الْيَوْمَ التَّاسِعَ قَالَ فَلَمْ يَأْتِ الْعَامُ الْمُقْبِلُ حَتَّى تُوُفِّيَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

"ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออฺ และได้ใช้ให้ถือศีลอดในวันนี้ นั้น บรรดาเศาะหาบะฮฺได้ถามว่า  โอ้ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม วันนี้มิใช่หรือ ที่พวกยะฮูดี และพวกนัศรอนียฺให้ความสำคัญ ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ตอบว่า หากถึงปีหน้า หากอัลลอฮฺทรงมีพระประสงค์ พวกเราก็จะถือศีลอดในวันที่เก้า (เดือนมุหัรรอม) อับดุลลอฮฺได้เล่าว่า ยังไม่ถึงปีหน้า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ก็เสียชีวิตเสียก่อน"
(บันทึกโดยมุสลิม : 1134)

และมีรายงานจากท่านอิบนิ อับบาส อีกเช่นกันว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

لَئِنْ بَقِيْتُ إِلَى قَابِلٍ لَأَصُوْمَنَّ التَّاسِعَ

"ถ้าหากฉันมีชีวิตอยู่จนถึงปีหน้า ฉันจะต้องถือศีลอดในวันตาซูอาอฺอย่างแน่นอน"
(บันทึกโดยมุสลิม : 1134)

ท่านร่อซูลได้ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างกับยะฮูดีย์ที่พวกเขาถือศีลอดวันอาชูรออฺวันเดียว โดยให้เราถือศีลอด ในวันตาซูอาอฺ (วันที่ 9 มุหัรร็อม) หรือวันที่ 11 มุหัรร็อมพร้อมกับวันอาชูรออฺ

ท่านอิบนุ ก็อยยิม ได้แบ่งการถือศีลอดในวันอาชูรออฺเป็น 3 อย่าง

1. การถือศีลอดวันอาชูรออฺและวันตาซูอาอฺ (9 มุหัรร็อม) การถือศีลอดในลักษณะนี้ประเสริฐที่สุด
2. การถือศีลอดวันอาชูรออฺและวันที่ 11 มุหัรร็อม
3.การถือศีลอดวันอาชูรออฺวันเดียวนักวิชาการบางท่านถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมเพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม สั่งใช้ให้แตกต่างจากชาวยะฮูดีย์ส่วนนักวิชาการบางท่านถือว่าไม่มีปัญหาในการถือศีลอดวัน อาชูรออฺวันเดียว


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น