อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560

ท่านั่งที่อัลลอฮ์ทรงโกรธกริ้วเป็นท่านั่งที่เลียนแบบพวกยิว



ท่านอัชชะรี๊ด บิน สุวัยดฺ กล่าวว่า : ท่านร่อซู้ล ผ่านมาที่ฉัน ขณะที่ฉันกำลังนั่งพิงโดยท้าวมือซ้ายไปด้านหลัง ท่านกล่าวกับฉันว่า :

أتقعد قِعْدة المغضوب عليهم “

"ท่านจะนั่งอยู่ในท่านั่งของพวกที่ถูกกริ้ว
กระนั้นหรือ”

(บันทึกโดยอิมาม อะบูดาวูด)

ท่านอัฎฎีบียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า ความหมายของพวกที่ถูกกริ้ว คือพวกยิว และสำหรับการเจาะจงท่านั่งดังกล่าวมีความหมายใน 2 ประเด็นคือ

1. ท่านั่งนี้เป็นท่าที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกริ้ว

2. มุสลิมคือ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานให้ ดังนั้น จึงสมควรที่เขาจะออกห่างจากการเลียน
แบบผู้ที่พระองค์ทรงกริ้วและทรงสาป
แช่งไว้

ท่านอัลกอรียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวเสริมว่า : การที่พวกยิวถูกเจาะจงถึงในที่นี่ก็เพราะ ลักษณะเด่นของพวกเขาที่อัลลอฮฺทรงกริ้วนั้นครอบคลุมและเด่นชัดกว่าพวกกุฟฟาร
อื่นๆที่มีความโอหัง ทั้งนี้เพราะ ความยโสโอหังของพวกยิวเป็น
ที่ประจักษ์ชัดทั้งในท่านั่งและท่าเดิน
ของพวกเขา

ชัยคุลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะฮฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า : มีรายงานจากท่านอิบนิอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาว่า ท่านเห็นชายคนหนึ่งนั่งพิงด้วยมือซ้ายขณะละหมาด ท่านจึงบอก “ท่านอย่านั่งท่านี้ เพราะมันเป็นท่านั่งของพวกที่ถูกลงทัณฑ์ ”

อีกรายงานหนึ่งระบุว่า :

" تلك صلاة المغضوب عليهم " “นี่เป็นการละหมาดของพวกที่ถูกกริ้ว”

อีกรายงานหนึ่งระบุว่า :

" نهى رسول الله صلى الله عليه وسلم أن يجلس الرجل في الصلاة وهو معتمد على يده "

“ ท่านร่อซู้ล ห้ามไม่ให้คนใดนั่งพิงมือของเขา
ขณะละหมาด”

( บันทึกโดย อิมาม อบูดาวูด)

ในหะดีษนี้ได้ห้ามนั่งท่าดังกล่าวด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นท่านั่งของผู้ถูกลงทัณฑ์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะออกห่างจาก
วิถีปฏิบัติของพวกเขา

มีผู้ถามท่านเชค บินบาส ว่า : ท่านั่งที่ห้ามนี้ห้ามนั่งเฉพาะในละหมาดหรือเป็นการห้ามโดยรวม ?

ท่านเชคตอบว่า : มีหะดีษระบุห้ามนั่งในท่านี้จริง และเป็นการห้ามนั่งโดยรวมทั้งในและนอกละหมาด เพราะฉะนั้น ใครที่ต้องการนั่งพิงแขน ก็จงนั่งพิงทางด้านขวา หรือพิงทั้งสองข้างพร้อมกัน

ท่านเชค อิบนิ อุซัยมีน กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า : ท่านั่งเช่นนี้เป็นท่านั่งที่ท่านนบี ได้บรรยายลักษณะว่าเป็นท่านั่งที่ถูกกริ้ว ส่วนการท้าวทั้งสองมือไปด้านหลังแล้วนั่ง
พิงนั้น ถือว่าไม่เป็นไร และถึงแม้ว่าจะท้าวแขนข้างขวาข้างเดียว
ก็ไม่เป็นไรเช่นกัน เพราะท่านั่งที่ท่านนบี อธิบายว่าป็นท่าที่ถูกกริ้วนั้น คือ การใช้มือซ้ายท้าวไปทางด้านหลัง และวางฝ่ามือกับพื้นแล้วนั่งพิง และท่านเชคยังกล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ในฟัตวา

“นูรุน อะลา ดัรบฺ” ว่า : ความหมายของหะดีษนี้ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว หมายถึง ไม่ให้นั่งเอนโดยที่มือซ้ายพิงอยู่กับพื้น มีคำถามถามท่านเชคว่า : แล้วถ้าหากว่านั่งท่านี้โดยเจตนาเพียงนั่ง
พักและไม่ได้คิดเลียนแบบพวกยิวจะบาป
หรือไม่ ?

ท่านเชค อิบนิ อุซัยมีน กล่าวตอบว่า : หากเจตนาเช่นนั้นจริงๆ ก็ให้ท้าวแขนด้วยมือขวาด้วยอีกข้างหนึ่งถึงจะไม่เป็นที่ต้องห้าม

(ร่วมนำเสนอสิ่งดีๆ โดย เพจศาสนาอิสลาม - الإسلام)
ที่มา Al Assari Al Ameen

........

ฮุก่มการนั่งท้าวมือซ้ายไปด้านหลัง

แปลและเรียบเรียง อุมมุ อุ้ลยา

ผมมีคำถามเกี่ยวกับหะดีษที่ปรากฏในหนังสือ “ริยาฎุซซอลิฮีน” ที่ว่า ท่านอัชชะรี๊ด บิน สุวัยดฺ กล่าวว่า : ท่านร่อซู้ล ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผ่านมาที่ฉัน ขณะที่ฉันกำลังนั่งพิงโดยท้าวมือซ้ายไปด้านหลัง ท่านกล่าวกับฉันว่า :

أتقعد قِعْدة المغضوب عليهم “ท่านจะนั่งอยู่ในท่านั่งของพวกที่ถูกกริ้วกระนั้นหรือ”

(บันทึกโดยอิมาม อะบูดาวูด)

คำตอบ

คำถามคือ หะดีษนี้ถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่ ? และการนั่งท้าวแขนซ้ายไปด้านหลังถือว่า หะรอม หรือ มักรู๊ฮฺ ? กรุณานำเสนอความเห็นของอุละมาอฺในประเด็นนี้ด้วยครับ ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีให้แก่ท่าน

ประการแรก

เราขอตอบว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษศ่อเฮียะฮฺ ท่านอิมามอะฮฺมัด อิมามอบูดาวูดและท่านอิบนิฮิบบานได้บันทึกไว้ในตำราศ่อเฮียะฮฺของพวกท่าน ท่านอัลฮากิมกับท่านอัซซะฮะบียฺได้ยืนยันความถูกต้องของหะดีษนี้ เช่นเดียวกับอิมามนะวะวียฺได้ยืนยันไว้ใน “ริยาฎุซซอลิฮีน ท่านอิบนิ มุฟลิฮฺยืนยันไว้ใน “อาดาบ อัชชัรอียะฮฺ” และเชค อัลอั้ลบานียฺยืนยันไว้ในศ่อเฮียะฮฺ อบีดาวูด

ท่านอัฎฎีบียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า ความหมายของพวกที่ถูกกริ้ว คือพวกยิว และสำหรับการเจาะจงท่านั่งดังกล่าวมีความหมายใน 2 ประเด็นคือ

1. ท่านั่งนี้เป็นท่าที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกริ้ว

2. มุสลิมคือ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานให้ ดังนั้น จึงสมควรที่เขาจะออกห่างจากการเลียนแบบผู้ที่พระองค์ทรงกริ้วและทรงสาปแช่งไว้

ท่านอัลกอรียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวเสริมว่า : การที่พวกยิวถูกเจาะจงถึงในที่นี่ก็เพราะ ลักษณะเด่นของพวกเขาที่อัลลอฮฺทรงกริ้วนั้นครอบคลุมและเด่นชัดกว่าพวกกุฟฟารอื่นๆที่มีความโอหัง ทั้งนี้เพราะ ความยโสโอหังของพวกยิวเป็นที่ประจักษ์ชัดทั้งในท่านั่งและท่าเดินของพวกเขา

ชัยคุลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะฮฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า : มีรายงานจากท่านอิบนิอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาว่า ท่านเห็นชายคนหนึ่งนั่งพิงด้วยมือซ้ายขณะละหมาด ท่านจึงบอก “ท่านอย่านั่งท่านี้ เพราะมันเป็นท่านั่งของพวกที่ถูกลงทัณฑ์ ”

อีกรายงานหนึ่งระบุว่า :

" تلك صلاة المغضوب عليهم " “นี่เป็นการละหมาดของพวกที่ถูกกริ้ว”

อีกรายงานหนึ่งระบุว่า :

" نهى رسول الله صلى الله عليه وسلم أن يجلس الرجل في الصلاة وهو معتمد على يده "

“ ท่านร่อซู้ล ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามไม่ให้คนใดนั่งพิงมือของเขาขณะละหมาด”

( บันทึกโดย อิมาม อบูดาวูด)

ในหะดีษนี้ได้ห้ามนั่งท่าดังกล่าวด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นท่านั่งของผู้ถูกลงทัณฑ์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะออกห่างจากวิถีปฏิบัติของพวกเขา

มีผู้ถามท่านเชค บินบาส ว่า : ท่านั่งที่ห้ามนี้ห้ามนั่งเฉพาะในละหมาดหรือเป็นการห้ามโดยรวม ?

ท่านเชคตอบว่า : มีหะดีษระบุห้ามนั่งในท่านี้จริง และเป็นการห้ามนั่งโดยรวมทั้งในและนอกละหมาด เพราะฉะนั้น ใครที่ต้องการนั่งพิงแขน ก็จงนั่งพิงทางด้านขวา หรือพิงทั้งสองข้างพร้อมกัน


.................

ท่านเชค อิบนิ อุซัยมีน กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า : ท่านั่งเช่นนี้เป็นท่านั่งที่ท่านนบี ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้บรรยายลักษณะว่าเป็นท่านั่งที่ถูกกริ้ว ส่วนการท้าวทั้งสองมือไปด้านหลังแล้วนั่งพิงนั้น ถือว่าไม่เป็นไร และถึงแม้ว่าจะท้าวแขนข้างขวาข้างเดียวก็ไม่เป็นไรเช่นกัน เพราะท่านั่งที่ท่านนบี ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อธิบายว่าป็นท่าที่ถูกกริ้วนั้น คือ การใช้มือซ้ายท้าวไปทางด้านหลัง และวางฝ่ามือกับพื้นแล้วนั่งพิง และท่านเชคยังกล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ในฟัตวา

“นูรุน อะลา ดัรบฺ” ว่า : ความหมายของหะดีษนี้ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว หมายถึง ไม่ให้นั่งเอนโดยที่มือซ้ายพิงอยู่กับพื้น มีคำถามถามท่านเชคว่า : แล้วถ้าหากว่านั่งท่านี้โดยเจตนาเพียงนั่งพักและไม่ได้คิดเลียนแบบพวกยิวจะบาปหรือไม่ ?

ท่านเชค อิบนิ อุซัยมีน กล่าวตอบว่า : หากเจตนาเช่นนั้นจริงๆ ก็ให้ท้าวแขนด้วยมือขวาด้วยอีกข้างหนึ่งถึงจะไม่เป็นที่ต้องห้าม

ประการที่สอง

นักวิชาการระบุว่าท่านั่งนี้เป็นท่านั่งที่น่ารังเกียจ ไม่ควรกระทำ (มักรู๊ฮฺ) ซึ่งท่านอิมามอบูดาวูดได้ตั้งชื่อบทหนึ่งในตำราสุนันของท่านว่า : “ บทว่าด้วยท่านั่งที่น่ารังเกียจ ” (โดยระบุหะดีษนี้ได้บทดังกล่าว)

อิบนิ มุฟลิฮฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า : เป็นที่น่ารังเกียจ (มักรู๊ฮฺ) ที่จะนั่งพิงโดยท้าวมือซ้ายไปด้านหลัง

เชค อับดุลมุฮฺซิน อัลอับบ๊าด กล่าวว่า : บางครั้งมั๊กรูฮฺอาจมีความหมายว่าหะรอม หรืออาจหมายถึงมั๊กรูฮฺที่ใช้ให้ออกห่างจากสิ่งนั้นเสีย แต่หะดีษนี้ระบุถึงท่านั่งของพวกที่ถูกกริ้ว จึงหมายความถึงการห้ามนั่งในท่าดังกล่าว

สรุปว่า ท่านั่งนี้ (นั่งพิงแขนซ้ายไปด้านหนัง) เป็นท่าที่ห้ามนั่งทั้งในและนอกละหมาด และห้ามนั่งไม่ว่าจะจงใจเลียนแบบพวกยิวหรือพวกอื่นๆ ที่ยโสโอหัง หรือไม่มีเจตนาจงใจก็ตาม คำจำกัดความของการนั่งท่านี้คือ ท่านั่งของพวกที่ถูกกริ้วและเป็นท่านั่งของพวกที่ถูกลงทัณฑ์ จึงส่งผลให้การห้ามปฏิบัติในที่นี้มีน้ำหนักมากกว่าการบ่งว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ไม่ควรกระทำ (มักรู๊ฮฺ) เพียงอย่างเดียว และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้รอบรู้อย่างที่สุด

..............

ท่านนบีไม่ชอบท่านั่งเเบบนี้. เพราะอะไร.?
ท่านั่งโดยเอามือซ้ายยันพื้นนั้นเป็นสิ่งที่ท่านนบีไม่ชอบอย่างยิ่ง ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า อิสลาม คือ การทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอิสลามไม่ใช่แค่เรากับอัลลอฮฺเท่านั้น แต่อิสลามครอบคลุมถึงวิถีชีวิต ตลอดจนถึงมารยาทที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ฮาดิษความว่า Al Syarid bin Al Suwaid กล่าวว่า : ท่านนบีเดินผ่านฉัน และเห็นฉันนั่งอยู่ท่านี้ (ฉันนั่งโดยเอามือซ้ายไว้ข้างหลังและยันลงบนพื้น) และท่านนบีกล่าวกับฉันว่า ท่านนั่งในท่าที่นั่งของคนที่ถูกลงโทษ (dimurkai) หรือ ? รายงานจาก Ahmad, และ Abu Daud. ได้รับการยอมรับโดย Al-Albani
และอีกหนึ่งรายงานจาก Abu Daud กล่าวว่า “อย่านั่งในท่านี้เพราะท่านี้เป็นการนั่งของคนที่ถูกลงโทษ” ฮาดิษนี้ได้รับการยอมรับโดย al-Albani
Syeikh Ibnu Uthaimin ได้กล่าวว่า การนั่งในท่าดังกล่าวที่ท่านนบีได้กล่าวว่าเป็นการนั่งในท่าของคนที่ถูกลงโทษ แต่ท่านั่งโดยเอามือทั้งสองวางใว้ด้านหลังและยันกับพื้นนั้นไม่เป็นไร หรือ นั่งในท่าที่เอามือขวาไว้ด้านหลังก็ไม่เป็นไร
การนั่งในท่านี้บางอุลามาอฺได้ให้ทัศนะว่าเป็นสิ่งที่มักโรฮฺ และเป็นการนั่งของคนยิ่งยโส ดังนั้นเมื่อท่านนบีได้ให้คำแนะนำกับเรา ในเรื่องท่านั่งที่เราควรละเลย เราก็ควรปฎิบัติ เพราะทุกย่างก้าวในการดำเนินชีวิต อิสลามได้ระบุหมดแล้ว และสิ่งที่อิสลามได้ระบุไว้นั้นไม่ได้มีจุดประสงค์ให้เราลำบากเสมอไป อาจจะมีข้อดีในเรื่องสุขภาพ และเรื่องสังคมก็อาจได้

แปลและเรียบเรียงโดย Imron Berita Muslim
อ้างอิงจาก binusrah.blogspot.kr


หุก่มในการพาเด็กเล็กเข้ามาที่มัสญิด

ชัยคฺ อัลบานียฺ
______________________________
ผู้ถาม: โอ้...ชัยคฺของเรา มีเด็กเล็กที่ยังไม่ถึงวัยที่สามารถแยกแยะได้(ยังไม่พ้น อะกิล บะลิฆ) ขออนุญาตให้ละหมาดที่มัสญิดกับพ่อได้หรือไม่?
ชัยคฺ อัลอัลบานียฺ: สะลัฟในยุคแรก หัวหน้าของพวกเขาคือนบีของเรา ﷺ เคยอนุญาตให้พวกเขาพาเด็กๆเข้ามัสญิดของท่าน ﷺ
ศอหาบะฮฺท่านหนึ่งรายงานว่า วันหนึ่งเขาละหมาดอัสรฺหลังนบี ﷺ และท่านได้สุญูดนานมากในบางร็อกอะฮฺ และมันไม่ใช่ละหมาดสุหนัต ศอหาบะฮฺจึงเงยหน้าดูว่านบียังสบายดี เขากลัวว่าท่านจะเสียชีวิตขณะสุญูด เขาประหลาดใจที่พบว่า อัลหะสัน และอัลหุซัยนฺ ... แล้วเขาลงไปสุญูดต่อ
พวกเขาถามว่า "ท่านสุญูดในละหมาดนานมาก..." นบี ตอบว่า: "ลูกๆของฉันขี่หลังฉันอยู่ ฉันไม่อยากรบกวนพวกเขา..." เด็กเหล่านี้เคยไปที่มัสญิดเพื่อละหมาด อย่างที่คุณบอก มันไม่ใช่วัยที่จะแยกแยะอะไร
ผู้ที่ละหมาด ไม่ว่าชายหรือญิง ที่ไม่พาลูกๆมามัสญิด มันไม่ใช่ทางนำของนบี ﷺ
มีสายรายงานไม่ศอฮีหฺ "จงเก็บทารกของท่าน คนบ้าของท่าน คนชั่วของท่าน และการซื้อขายของท่าน ให้ห่างไกลจากมัสญิดของท่าน..." แม้ว่า ส่วนท้ายของหะดีษจะศอฮีหฺ โดยการพิสูจน์ของนักหะดีษท่านอื่นๆ มันจะไม่ถูกซ่อนจากท่าน อินชาอัลลอฮฺ
ประเด็น นบี ﷺ ไม่เคยห้ามพาเด็กๆไปมัสญิด ท่านอนุญาต ท่านมีหุก่มพิเศษในเรื่องนี้ เมื่อท่านรับรู้มารดาที่ละหมาดตามหลังท่าน และเด็กๆเริ่มร้อง นบี ﷺ "ฉันได้ยินเสียงเด็กร้อง ฉันจึงละหมาดสั้นลง เพราะฉันไม่ต้องการจะให้เกิดลำบากแก่แม่ของพวกเขา"
ท่านอ่านกุรอ่านสั้นๆ เพื่อให้มารดาดูแลลูกๆของนาง ท่าน ﷺ ไม่เคยทำดั่งอิม่ามโง่ๆทำ และกล่าวว่า: "ทำไมเจ้าเอาลูกของเจ้ามาในมัสญิด มันรบกวนเรา" และอื่นๆ ท่านนบี ﷺ ไม่เคยทำอะไรแบบนี้
เด็กๆ โตมาในบรรยากาศของอิสลาม และไปที่มัสญิด แม้เพียงแค่ไปเล่นสนุก มันเป็นสถานที่ที่ดีกว่าที่อื่นๆ นบี ﷺ ถูกถามว่า: "สถานที่ดีที่สุดและเลวที่สุด?" และท่าน ﷺ ตอบว่า: "สถานที่ที่ดีที่สุดคือมัสญิด และสถานที่ที่เลวที่สุดคือตลาด"
ถ้าเด็กโตมาเช่นนี้ เขามีความต้องการไปมัสญิด มากกว่าเดินตามท้องถนนหรือหุบเขา นี่คือบะรอกะฮฺและข่าวดีที่ดีเลิศ
ดังนั้น พ่อ รวมถึงแม่ ควรจะเล่งเห็นประโยชน์จากสถานการณ์นี้ และช่วยให้เขาได้ไปมัสญิดอย่างสะดวก ดังนั้นถ้าเด็กๆ และไม่เป็นที่ต้องสงสัยว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น เช่น ทำบางอย่างในขณะละหมาด หรือเล่นกันในขณะละหมาด และสิ่งที่เกิดกับหัวหน้าของมนุษยชาติ ﷺ ประสบเช่นบางครั้งปีนขึ้นไปขี่หลัง(อย่างท่านหะสัน-หุซัยนฺทำ) และท่าน ﷺ ก็ไม่เคยดุด่าว่าพวกเขา แต่แท้จริง ท่านได้นำพาหุก่มพิเศษมา(การสุญูดนาน) เช่นเดียวกับที่ฉันได้บอกไป ท่าน ﷺ ละหมาดสั้นๆ เมื่อตอนที่ได้ยินเสียงเด็กร้อง
ถ้าเป็นทุกวันนี้ คงมีการกระโกนด่ามาจากทุกมุมของมัสญิด "ท่านทำให้การละหมาดของเรายาวนานเกินไป โอ้...ชัยคฺ...เด็ก ทำไมท่านพาเด็กเข้ามาในมัสญิด?"
พวกเขาไม่รู้จักทางนำของรอซูลุลลอฮฺ ﷺ พวกเขาไม่รู้ถึงความเมตตาและความโอบอ้อมที่มีต่ออุมมะฮฺของท่าน และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ตรัสจริง เมื่อพระองค์ได้ตรัสว่า
بِالْمُؤْمِنِينَ رَءُوفٌ رَّحِيمٌ
"...เป็นผุ้เมตตา ผู้กรุณาสงสาร ต่อผู้ศรัทธา" (อัตเตาบะฮฺ: 128)
_____________
สรุปจากเทปเสียง ซิลซิละตุลฮุดา วันนูรฺ 668