อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

"การยกมือไหว้ กับผู้คนทั่วไปเป็นที่ต้องห้ามหรือไม่?




 "การยกมือไหว้" ไม่พบนักวิชาการท่านไหนระบุ หรือฟัตวาว่า ผิดหลักการของศาสนา เมื่อไม่พบว่ามีบุคคลใดระบุว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เช่นนั้นยังอนุญาต ( مباح ) ให้มุสลิมกระทำได้


 "การยกมือไหว้" ผู้คนทั่วไปนั้นเป็นวัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาแต่อย่างใดทั้งสิ้น เมื่อไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่นนี้การยกมือไหว้ของมุสลิมต่อคนที่ไม่ใช่มุสลิม อนุญาตให้กระทำได้


 หาก "การยกมือไหว้" ยกมือไหว้พระภิกษุ ,เณร หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนของศาสนา หรือรูปปั้นรูปเจว็ดเช่นนี้ถือว่า มุสลิมห้ามกระทำ เพราะการยกมือไหว้พระภิกษุ และสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นเรื่องของศาสนานั่นเอง 


 หาก "การยกมือไหว้" พร้อมกับก้มเท่ากับท่าทางของการรูกูอฺ เช่นนั้นถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำ เพราะการก้มเท่ากับท่าทางรูกูอฺในนมาซถือว่ากระทำเทียบเท่ากับการอิบาดะฮฺต่อพระองค์อัลลอฮฺ ข้างต้นถือว่าต้องห้ามเช่นกัน


 والسلام 

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

โต้แย้ง สำนวนที่ว่า "ใครจะยึดซาอุก็ยึดไป แต่อย่าไปทะลึ่งประกาศวันตรุษแทนจุฬาราชมนตรี.






สำนวนที่ว่า "ใครจะยึดซาอุก็ยึดไป แต่อย่าไปทะลึ่งประกาศวันตรุษแทนจุฬาราชมนตรี...." ประโยคข้างต้นมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหลายประเด็น


 กล่าวคือ มิได้ยึดประเทศซาอุดิอาระเบีย
 แต่ที่ประเทศซาอุดี้ฯ มีทุ่งอะเราะฟะฮฺ จึงต้องฟังการประกาศวันอะเราะฟะฮฺของประเทศซาอุดี้ฯ นั่นเอง 
ส่วนที่ระบุว่า อย่าทะลึ่งประกาศวันตรุษแทนจุฬาราชมนตรีนั้น ก็เข้าใจผิดอีกเหมือนกัน


 เพราะวันอีดอัฎฮาไม่ใช่ให้ตามสำนักจุฬาฯ แต่ท่านนบีระบุให้ตามวันอะเราะฟะฮฺและถัดจากนั้นก็เป็นวันอีดอัฎฮา


ซึ่งจะรู้วันอะเราะฟะฮฺได้ก็จะต้องรู้วันที่ 1 ซุลหิจญะฮฺของประเทศซาอุดี้ฯนั่นเอง ซึ่งจะใช้วันที่ 1 ซุลหิจญะฮฺของประเทศอื่นไม่ได้ เพราะที่อื่นไม่มีทุ่งอะเราะฟะฮฺ นอกจากที่ประเทศซาอุดี้ฯ เท่านั้น
(แต่ที่ประเทศซาอุดี้ฯไม่ตามประเทศอื่นนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง) 


ฉะนั้นการที่ระบุว่าอย่าทะลึ่งประกาศนั้น ไม่ได้ทะลึ่ง แต่ประกาศให้พี่น้องมุสลิมในประเทศไทยได้ทราบว่าวันอะเราะฟะฮฺที่ท่านระบุไว้ในหะดีษนั้นเป็นวันไหนนั่นเอง?
ส่วนใครทะลึ่งไม่ตาม แต่จะตามคำประกาศของสำนักจุฬาฯ ก็เป็นเรื่องของส่วนตัวเหมือนกัน!


ประการสุดท้าย ทัศนะของนักวิชาการก็คือทัศนะ หรือความเห็น หรือทัศนะของผู้รู้มีทั้งถูกและผิด แต่อัลกุรฺอาน และหะดีษเศาะหี้หฺ หรือหะดีษหะสันนั้นถูกต้องอย่างเดียว หากเราจะไปสิ่งใดไปตรึกตรองต้องมีอัลกุรฺอาน หรือหะดีษที่ถูกต้องกำกับอ้างอิงไว้เท่านั้น


 والله أعلم

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ทัศนะของนักวิชาการบางท่านของมัษฮับทั้งสี่เกี่ยวกับ“การทำบุญเนื่องจากการตาย”




ทัศนะของนักวิชาการบางท่านของมัษฮับทั้งสี่เกี่ยวกับ“การทำบุญเนื่องจากการตาย” ดังต่อไปนี้ …


(1).  มัษฮับหะนะฟีย์

1.  ท่านอัล-กุรฏุบีย์  (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 671)  ได้กล่าวในหนังสือ  “อัต-ตัซกิเราะฮ์”  หน้า  102  ว่า …
وَمِنْهُ الطَّعَامُ الَّذِىْ يَصْنَعُهُ أَهْلُ الْمَيِّتِ الْيَوْمَ فِىْ يِوْمِ السَّابِعِ،  فَيَجْتَمِعُ لَهُ النَّاسُ،  يُرِيْدُ بِذَلِكَ الْقُرْبَةَ لِلْمَيِّتِ وَالتَّرَحُّمَ لَهُ،  وَهَذَا مُحْدَثٌ لَمْ يَكُنْ فِيْمَا تَقَدَّمَ،  وَلاَ هُوَ مِمَّا يَحْمَدُهُ الْعُلَمَاءُ،  قَالُوْا وَلَيْسَ يَنْبَغِىْ لِلْمُسْلِمِيْنَ أَنْ يَقْتَدُوْا بِأَهْلِ الْكُفْرِ  وَيَنْهَى كُلُّ إِنْسَانٍ أَهْلَهُ عَنِ الْحُضُوْرِ لِمِثْلِ هَذَا ..
وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ :  هُوَ مِنْ فِعْلِ الْجَاهِلِيَّةِ !  قِيْلَ لَهُ :  أَلَيْسَ قَدْ قَالَ النَّبِىُّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  ” إِصْنَعُوْا ِلآلِ جَعْفَرٍ طَعَامًا ؟   فَقَالَ  :  لَمْ يَكُوْنُوْا هُمُ اتَّخَذُوْا !   إِنَّمَا اتُّخِذَ لَهُمْ”   فَهَذَا كُلُّهُ وَاجِبٌ عَلَى الرَّجُلِ أَنْ يَمْنَعَ أَهْلَهُ مِنْهُ  وَلاَ يُرَخِّصَ لَهُمْ،   فَمَنْ أَبَاحَ ذَلِكَ ِلأََهْلِهِ فَقَدْ عَصَى اللَّـهَ عَزَّ وَجَلَّ،  وَأَعَانَهُمْ عَلَى اْلإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ  …….
“และส่วนหนึ่งจากพฤติกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์(พวกอนารยชนยุคก่อนอิสลาม) ก็คือ เรื่องอาหารซึ่งลูกเมียผู้ตายในสมัยปัจจุบัน ได้ปรุงขึ้นมาในวันที่ 7 (หรือวันที่ 3,  วันที่ 10,  วันที่ 40,  หรือครบ 100 วันแห่งการตาย)  ..  แล้วผู้คนก็มาชุมนุมกินอาหารนั้นโดยมีจุดประสงค์เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายและแสดงความเมตตาต่อผู้ตาย   นี่คือ อุตริกรรม (บิดอะฮ์) ที่ไม่เคยปรากฏในยุคที่ผ่านมา และก็มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่นักวิชาการยกย่องสรรเสริญแต่อย่างใด,   พวกเขา (นักวิชาการ) กล่าวว่า  ไม่สมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมเราจะไปเลียนแบบพวกกาฟิรฺ   และสมควรที่มนุษย์ทุกคนจะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการไปร่วมในงานประเภทนี้ …
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัลกล่าวว่า ..  นี่คือ พฤติกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์!  มีผู้ท้วงติงท่านว่า ..  ก็ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวไว้มิใช่หรือว่าให้พวกท่านทำอาหารไปให้ครอบครัวของญะอฺฟัรฺ ..   ท่านอิหม่ามอะห์มัดตอบว่า ..  (คำสั่งนั้น) ไม่ใช่ให้พวกเขา (ครอบครัวผู้ตาย) ทำอาหาร(เลี้ยงพวกเรา)  แต่ให้ (พวกเรา) ทำอาหารไปเลี้ยงพวกเขาต่างหาก, ..  ทั้งหมดนี้ คือสิ่งวาญิบสำหรับผู้ชายจะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการกระทำมัน   และหากผู้ใดผ่อนผันเรื่องนี้แก่ลูกเมียของเขา  แน่นอน, เขาคือผู้ทรยศต่อพระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่,   ทั้งยังเป็นการสนับสนุนลูกเมียให้ทำบาปและการเป็นศัตรูกัน ….”
คำพูดของท่านอัล- กุรฺฏุบีย์ ที่ว่า ..   “นี่คือ อุตริกรรม (บิดอะฮ์) ที่ไม่เคยปรากฏในยุคที่ผ่านมา” ..  ถือเป็นการปฏิเสธหลักฐานทั้งมวลของผู้ที่พยายามจะอ้างว่า  เคยมีการกินเลี้ยงบ้านผู้ตายมาแล้ว ในยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และในยุคของบรรดาเศาะหาบะฮ์ ร.ฎ. …
2.  ท่านอิบนุล ฮุมาม  ได้กล่าวในหนังสือ  “ชัรฺหุ้ล ฮิดายะฮ์”  ว่า ..
وَيُكْرَهُ اتِّخَاذُ الضِّيَافَةِ مِنْ أَهْلِ الْمَيِّتِ،   ِلأَنَّهُ مَشْرُوْعٌ فِى السُّرُوْرِ لاَ فِى الشُّرُوْرِ وَهِىَ بِدْعَةٌ مُسْتَقْبَحَةٌ….
“เป็นเรื่องน่ารังเกียจที่จะให้ครอบครัวผู้ตายเป็นฝ่ายเลี้ยงอาหาร !   เพราะการเลี้ยงอาหารนั้น เป็นบทบัญญัติในกรณีมีความสุข (เช่นตอนแต่งงาน,   ตอนมีบุตร,  เป็นต้น)  มิใช่เป็นบทบัญญัติในยามทุกข์ (เช่นตอนพ่อแม่หรือลูกเมียตาย  เป็นต้น) …. มันจึงเป็นเรื่องบิดอะฮ์ที่น่าเกลียด ……..”
(จากหนังสือ  “กัชฟุช ชุบฮาต”  ของท่านมะห์มูดหะซัน รอเบี๊ยะอฺ  หน้า 192).



(2).  มัษฮับมาลิกีย์

1.  ท่านอิหม่ามอบูบักรฺ อัฏ-ฏ็อรฺฏุชีย์  (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 530)  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  “อัล-หะวาดิษ วัล-บิดะอฺ”  หน้า  170  ว่า …
فَأَمَّا إِذَا أَصْلَحَ أَهْلُ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَدَعَوُاالنَّاسَ إِلَيْهِ  فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ عَنِ الْقُدَمَاءِ شَىْءٌ،   وَعِنْدِىْ أَنَّهُ بِدْعَةٌ وَمَكْرُوْهَةٌ …..
“อนึ่ง  การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้น และเชิญชวนให้คนมากินอาหารนั้น  เรื่องนี้ ไม่ปรากฏมีรายงานมาจากประชาชนยุคก่อนๆแต่อย่างใด,   และในทัศนะของฉัน มันเป็นเรื่องบิดอะฮ์ และเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ” …



2.  ในหนังสือ  “มัตนุ คอลีล” ของนักวิชาการมัษฮับมาลิกีย์ มีกล่าวเอาไว้ว่า …
وَأَمَّا اْلإجْتِمَاعُ عَلَى طَعَامِ بَيْتِ الْمَيِّتِ  فَبِدْعَةٌ مَكْرُوْهَةٌ إِنْ لَمْ يَكُنْ فِى الْوَرَثَةِ صَغِيْرٌ،   وَإِلاَّ فَهُوَ حَرَامٌ  …..
“อนึ่ง  การไปชุมนุมกินอาหารกันที่บ้านคนตาย  ถือเป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ หากว่าในทายาทผู้ตายไม่มีเด็กเล็ก (ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ), …   แต่ถ้า (ผู้ตาย) มี (ทายาทที่ยังเล็กอยู่)   ก็ถือว่า (การไปชุมนุมกินอาหารที่บ้านผู้ตาย) เป็นเรื่องต้องห้าม (หะรอม)”
(จากหนังสือ  “อัล-มันฮัลฯ”  อันเป็นหนังสืออธิบายสุนันของท่านอบูดาวูด  เล่มที่ 4   ส่วนที่ 8  หน้า  272) …






(3).  มัษฮับชาฟิอีย์


1.  ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.  676)  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  “อัล-มัจญมั๊วะอฺ”   เล่มที่  5  หน้า  320  ว่า …
قَالَ صَاحِبُ الشَّامِلِ وَغَيْرُهُ  :  وَأَمَّا إِصْلاَحُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَجَمْعُ النَّاسِ عَلَيْهِ  فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ شَىْءٌ  وَهُوَ بِدْعَةٌ غَيْرُ مُسْتَحَبَّةٍ …..
“ท่านเจ้าของหนังสือ  “อัช-ชามิล”  (มีชื่อว่า อบูนัศรฺ, มะห์มูด บิน อัล-ฟัฎล์ อัล-อิศบะฮานีย์,   มีชื่อรองว่า  อิบนุ ศ็อบบาค   เป็นชาวเมืองอิศฟาฮาน,  สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 512) และนักวิชาการท่านอื่นๆกล่าวว่า …  อนึ่ง  การที่ครอบครัวผู้ตายได้จัดปรุงอาหารขึ้น และเชิญชวนผู้คนให้มาร่วมรับประทานกัน  พฤติกรรมนี้ ไม่เคยปรากฏมีรายงานหลักฐานมาแต่ประการใด,   ดังนั้น มันจึงเป็นบิดอะฮ์ที่ไม่ชอบตามหลักการศาสนา” ..


2.  ท่านเช็ค อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์  (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974)  ได้กล่าวในหนังสือ  “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์”  ว่า ….
وَمَا اعْتِيْدَ مِنْ جَعْلِ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِيَدْعُواالنَّاسَ إِلَيْهِ  بِدْعَةٌ مَكْرُوْهَةٌ كَإِجَابَتِهِمْ لِذَلِكَ
“สิ่งซึ่งปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว .. อันได้แก่การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้นมา เพื่อเชิญให้ผู้คนมาร่วมรับประทานนั้น  มันคือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ ..  เช่นเดียวกับการตอบรับคำเชิญชวนไปร่วมในงานเลี้ยงนี้ (ก็เป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจเช่นเดียวกัน) …
(จากหนังสือ  “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน”   เล่มที่  2  หน้า  146)


3.  ท่านอะห์มัด บิน ซัยนีย์ ดะห์ลาน  อดีตมุฟตีย์ของมัษฮับชาฟิอีย์แห่งนครมักกะฮ์  ได้กล่าวตอบเมื่อมีผู้ถามปัญหาเรื่องการเลี้ยงอาหารบ้านผู้ตายว่า …
نَعَمْ،  مَايَفْعَلُهُ النَّاسُ مِنَ اْلإِجْتِمَاعِ عِنْدَ أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصُنْعِ الطَّعَامِ مِنَ الْبِدَعِ الْمُنْكَرَةِ الَّتِىْ يُثَابُ عَلَى مَنْعِهَا وَالِى اْلأَمْرِ …..
“ใช่,  สิ่งซึ่งประชาชนกำลังกระทำกัน  อันได้แก่การไปชุมนุมกัน ณ ครอบครัวผู้ตาย  และมีการปรุงอาหาร (เพื่อเลี้ยงดูกัน)  ถือว่า เป็นหนึ่งจากบิดอะฮ์ต้องห้าม .. ซึ่งผู้นำที่ต่อต้านเรื่องนี้ จะได้รับผลบุญตอบแทน ………”
(จากหนังสือ  “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน”   เล่มที่  2  หน้า  145)
ท่านเช็คอะห์มัด ซัยนีย์ ดะห์ลาน  ยังได้กล่าวในการตอบคำถามนี้อีกตอนหนึ่งว่า
وَلاَ شَكَّ أَنَّ مَنْعَ النَّاسِ مِنْ هَذِهِ الْبِدْعَةِ الْمُنْكَرَةِ فِيْهِ إِحْيَاءٌ لِلسُّنَّةِ وَإِمَاتَةٌ لِلْبِدْعَةِ، وَفَتْحٌ لِكَثِيْرٍ مِنْ أَبْوَابِ الْخَيْرِ وَغَلْقٌ لِكَثِيْرٍ مِنْ أَبْوَابِ الشَّرِّ،  فَإِنَّ النَّاسَ  يَتَكَلَّفُوْنَ كَثِيْرًا يُؤَدِّىْ إِلَى أَنْ يَكُوْنَ ذَلِكَ الصُّنْعُ مُحَرَّمًا ….
“และไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยว่า   การห้ามปรามประชาชนจาก (การกระทำ) สิ่งบิดอะฮ์ต้องห้ามอย่างนี้  คือการฟื้นฟูซุนนะฮ์และเป็นการทำลายบิดอะฮ์,   และยังเป็นการเปิดประตูแห่งความดีอย่างมากมาย และเป็นการปิดประตูแห่งความชั่วอย่างมากมาย,เพราะว่าประชาชนต่างก็ทุ่มเท(ในเรื่องนี้) กันอย่างหนัก  จนการกระทำดังกล่าวอาจนำไปสู่การปฏิบัติที่ต้องห้ามได้” …
(จากหนังสือ  “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน”   เล่มที่  2  หน้า  146)


(4).  มัษฮับหัมบะลีย์


1.  มีรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการกินเลี้ยงที่บ้านผู้ตายจากท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัลว่า ….
قَالَ أَحْمَدُ  :  هُوَ مِنْ فِعْلِ الْجَاهِلِيَّةِ،   وَأَنْكَرَهُ شَدِيْدًا …
ท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า  :  “มัน (การให้บ้านผู้ตายเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารแขก) เป็นพฤติการณ์ของพวกญาฮิลียะฮ์ ! ” ..   และท่านจะแอนตี้มันอย่างรุนแรง …
(จากหนังสือ  “อัล-มันฮัล อัล-อัษบุลเมารูด ฯ”   เล่มที่  4  ส่วนที่  8  หน้า  273)


2.  ท่านอิบนุ กุดามะฮ์  ได้กล่าวในหนังสือ  “อัล-มุฆนีย์”   เล่มที่  2  หน้า  413 ว่า …
فَأَمَّا صُنْعُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِلنَّاسِ فَمَكْرُوْهٌ،  ِلأَنَّ فِيْهِ زِيَادَةً عَلَى مُصِيْبَتِهِمْ وَشُغْلاً أِلَى شُغْلِهِمْ وَتَشَبُّهًا بِصُنْعِ أَهْلِ الْجَاهِلِيَّةِ،  وَيُرْوَى أَنَّ جَرِيْرًا وَفَدَ عَلَى عُمَرَ فَقَالَ  :  هَلْ يُنَاحُ عَلَى مَيِّتِكُمْ ؟ قَالَ : لاَ،   قَالَ  :  وَهَلْ يَجْتَمِعُوْنَ عِنْدَ أَهْلِ الْمَيِّتِ وَبَجْعَلُوْنَ الطَّعَامَ ؟  قَالَ  :  نَعَمْ،   قَالَ  :  ذَلِكَ النَّوْحُ  ……
“อนึ่ง  การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้นมาให้ประชาชน(รับประทานกัน) นั้น  ถือว่า  เป็นเรื่องน่ารังเกียจ,    เนื่องจากมันเป็นการซ้ำเติมเคราะห์กรรมของพวกเขามากยิ่งขึ้น  ซ้ำยังเป็นการเพิ่มภาระพวกเขาซึ่งหนักอยู่แล้วให้หนักเข้าไปอีก   และยังเป็นการลอกเลียนการกระทำของพวกญาฮิลียะฮ์อีกด้วย,    มีรายงานมาว่า  ท่านญะรีรฺ (บิน อับดุลลอฮ์ อัล-บะญะลีย์) ร.ฎ.  ได้มาหาท่านอุมัรฺ (อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ.) แล้วท่านอุมัรฺถามว่า ..  เคยมีการนิยาหะฮ์ (คร่ำครวญอย่างหนัก) ให้แก่ผู้ตายของพวกท่านบ้างไหม ? ท่านญะรีรฺก็ตอบว่า  ไม่เคย, ..   ท่านอุมัรฺก็ถามต่อไปอีกว่า ..  แล้วเคยมีการไปชุมนุมกันที่บ้าน/ครอบครัวผู้ตาย  และมีการปรุงอาหารเลี้ยงกันไหม ?   ท่านญะรีรฺตอบว่า   เคยครับ, ท่านอุมัรฺก็บอกว่า …  นั่นแหละคือการนิยาหะฮ์ (อันเป็นเรื่องต้องห้าม) ละ” …


ทัศนะของมัษฮับทั้งสี่ การกินบุญบ้านคนตาย

หมายเหตุ
คำว่า  مَكْرُوْهٌ (น่ารังเกียจ) .. ที่นักวิชาการแทบทุกท่าน ใช้เป็นสำนวนกล่าวควบคู่กับคำว่า  “บิดอะฮ์”  ที่ผ่านมานั้น  โปรดเข้าใจด้วยว่า ความหมายของมันมิใช่มีหมายถึงสิ่ง “มักโระฮ์” อันเป็นศัพท์ที่เข้าใจกันโดยทั่วๆไปว่า  เป็นสิ่งที่  “ถ้าไม่ทำก็ได้บุญ  แต่ถ้าทำก็ไม่บาป” …
ทว่า ความหมายของมันก็คือ  เป็น “บิดอะฮ์ที่ต้องห้าม”  หรือหะรอม นั่นเอง …

มีกล่าวในหนังสือ  “กัชฟุช ชุบฮาต”   หน้า  193  ว่า  …
ثُمَّ إِنَّ الظَّاهِرَ أَنَّ الْكَرَاهَةَ تَحْرِيْمِيَّةٌ،  إِذِ اْلأَصْلُ فِىْ هَذَاالْبَابِ خَبَرُ جَرِيْرٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ،  وَالنِّيَاحَةُ حَرَامٌ،  وَالْمَعْدُوْدُ مِنَ الْحَرَامِ حَرَامٌ،  وَأَيْضًا إِذَا اُطْلِقَ الْكَرَاهَةُ  يُرَادُ مِنْهَا التَّحْرِيْمِيَّةُ
“ประการต่อมา   โดยรูปการณ์แล้ว คำว่า  مَكْرُوْهٌ (น่ารังเกียจ) ..  จากคำกล่าวของนักวิชาการข้างต้นนั้น หมายถึง “เป็นเรื่องหะรอม” (ต้องห้าม),    ทั้งนี้ เพราะพื้นฐานของเรื่องนี้ (คือเรื่องที่ว่า การไปชุมนุมกินเลี้ยงกันที่บ้านผู้ตาย เป็นเรื่อง   مَكْرُوْهٌ นั้น)  ได้แก่หะดีษของท่านญะรีรฺ ร.ฎ. (ที่กล่าวว่า ..  พวกเรา (เศาะหาบะฮ์) นับว่า การไปร่วมชุมนุมกันที่ครอบครัว/บ้านผู้ตายและมีการปรุงอาหารเลี้ยงกันนั้น  เป็นส่วนหนึ่งของนิยาหะฮ์) ..   และการนิยาหะฮ์นั้น เป็นเรื่องหะรอม,   ดังนั้น สิ่งที่ “ถูกนับว่า” เป็นส่วนหนึ่งนิยาหะฮ์ ก็ต้องหะรอมเช่นเดียวกัน,..   และอีกอย่างหนึ่งก็คือคำว่า  مَكْرُوْهٌ นี้  เมื่อถูกกล่าวโดยปราศจากข้อแม้ใดๆ  (ตามหลักการแล้วถือว่า)  ความหมายของมันก็คือ หะรอม (ต้องห้าม)” ….

สรุปแล้ว การที่บ้านคนตายทำอาหารเลี้ยงชาวบ้านโดยเข้าใจว่าเป็นการส่ง  “บุญ”  ไปให้คนตายนั้น  ตามคำกล่าวของนักวิชาการทั้ง  4  มัษฮับถือเป็นเรื่องหะรอม

วัลลอฮูอาลัม

การที่ผู้ตายในกุบูรฺถูกผ่อนปรนจากการทรมาน เพราะการ “ชะฟาอะฮ์” ของท่านนบี หรือเพราะการตัสเบี๊ยะของก้านก้านอินทผาลัมสด!???




การที่ผู้ตายในกุบูรฺถูกผ่อนปรนจากการทรมาน เพราะการ “ชะฟาอะฮ์” (การอนุเคราะห์) ของท่านนบี หรือเพราะการตัสเบี๊ยะของก้านก้านอินทผาลัมสด!???


มีนักวิชาการศาสนาท่านหนึ่งได้อ้างหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทหนึ่งซึ่งบันทึกโดยท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 216,  ท่านมุสลิม หะดีษที่ 292/111,  และท่านอื่นๆ จากท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ซึ่งมีข้อความว่า ...

    مَرَّالنَّبِىُّ صَلَّىا للهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِقَبْرَيْنِ،  فَقَالَ : إِنَّهُمَا لَيُعَذَّبَانِ!  وَمَا يُعَذَّبَانِ فِىْ كَبِيْرٍ،  أَمَّا أَحَدُهُمَا فَكَانَ لاَ يَسْتَتِرُ مِنَ الْبَوْلِ، وَأَمَّا اْلآخَرُ فَكاَنَ يَمْشِىْ بِالنَّمِيْمَةِ، ثُمَّ أَخَذَ جَرِيْدَةً رَطْبَةً فَشَقَّهَا نِصْفَيْنِ،  فَغَرَزَ فِىْ كُلِّ قَبْرٍ وَاحِدَةً،  قَالُوْا :  يَارَسُوْلَ اللهِ  لِمَ فَعَلْتَ هَذَا ؟  قَالَ : لَعَلَّهُ يُخَفَّفُ عَنْهُمَا مَالَمْ يَيْبَسَا

“ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ผ่านกุบูรฺ 2 หลุม แล้วท่านก็กล่าวว่า  ทั้งสองนี้ กำลังถูกทรมาน, และใช่ว่าทั้งสองจะถูกทรมานเพราะเรื่องใหญ่โตก็หาไม่,  (คือ) หนึ่งจากสอง เพราะเขาปัสสาวะไม่สะเด็ด อีกคนหนึ่งเพราะชอบยุแหย่ให้คนทะเลาะกัน,  แล้วท่านนบีย์ก็เอากิ่งอินทผาลัมสดมากิ่งหนึ่งแล้วแบ่งมันออกเป็น 2 ซีก แล้วท่านก็ปักแต่ละซีกในแต่ละหลุม  พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) ถามว่า .. โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ทำไมท่านจึงทำอย่างนี้?  ท่านนบีย์ก็ตอบว่า .. เพื่อว่า ทั้งสองจะถูกผ่อนปรน (จากการทรมาน) ตราบใดที่ทั้งสองกิ่งนี้ยังไม่แห้ง” ...

แล้ว ก็แปลข้อความในภาษาอาหรับตอนท้ายสุดที่ลงเส้นหนาไว้ว่า .. “หวังว่า ก้านอินทผาลัมจะช่วยผ่อนปรนหรือบรรเทาการถูกทรมานให้แก่กุบูรฺทั้ง 2 หลุม ตราบใดที่มันยังไม่แห้ง” ...


แล้วท่านผู้นี้ยังอธิบายโต้แย้งผู้ที่มีทัศนะว่า การกระทำดังกล่าวของท่านนบีย์ ถือเป็น “ชะฟาอะฮ์” เฉพาะตัวของท่าน ว่า ..  ถ้าจะเอาบะรอกัตส่วนตัวแล้ว  ท่านนบีย์ก็ไม่จำเป็นต้องเอากิ่งอินทผาลัมสดมาปักให้ยุ่งยาก เพียงเอามือลูบที่หลุมทั้ง 2 ก็พอแล้ว ...


และ  ยังอ้างคำอธิบายของนักวิชาการหลายท่าน เช่นท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์และ ท่านอัล-กุรฺฏุบีย์ เป็นต้นว่า  ทำนองว่าการที่ผู้ตายในหลุมได้รับการผ่อนปรนจากการถูกทรมาน  ก็เพราะกิ่งอินทผาลัมสดนั้นช่วยอ่านตัสเบี๊ยะห์ให้ ..  ฯลฯ ...

วิภาษ
 การแปลของ ของท่านผู้นี้ จากข้อความหะดีษที่ว่า لَعَلَّهُ يُخَفَّفُ عَنْهُمَا مَالَمْ يَيْبَسَا   .. โดยแปลว่า .. หวังว่า ก้านอินทผาลัมจะช่วยผ่อนปรนหรือบรรเทาการถูกทรมานให้แก่กุบูรฺทั้ง 2 หลุม ... น่าจะเป็นคำแปลที่ผิดพลาดในคำแรก และบิดเบือนเข้าข้างตัวเองในวรรคหลัง ...


คำแรก .. คือคำว่า لَعَلَّ .. ซึ่งตามปกติแล้ว คำนี้ในอัล-กุรฺอ่านและในหะดีษส่วนใหญ่จะมีความหมายบอกเหตุผล (لِلتَّعْلِيْلِ) ซึ่งจะต้องแปลว่า เพื่อว่า, หรือ เพราะว่า ...

ข้อนี้แตกต่างกับคำว่า لَعَلَّ  ในคำพูดของสามัญชนทั่วไป ซึ่งมีความหมายว่า ใฝ่ฝันในด้านดี (اَلتَّرَجِّىْ) อย่างที่ผู้รู้ผู้นี้แปลว่า “หวังว่า” นั่นเอง, หรือมีความหมายว่า หวั่นเกรงเหตุร้าย (اَلتَّوَقُّعُ) ซึ่งแปลว่า “กลัวว่า” .. อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ...


อย่าลืมว่า ตามเนื้อหาของหะดีษบทนี้  ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม มองเห็นในสิ่งที่สามัญชนมองไม่เห็น นั่นคือการถูกทรมานของผู้ตายในหลุมฝังศพ อันถือเป็นมุอฺญิซัตของท่าน ...


ดังนั้น การช่วยเหลือของท่านที่มีต่อผู้ตายด้วยการปักก้านอินทผาลัมสดที่หลุมศพของเขา จึงมิใช่ทำไปในลักษณะ “เผื่อฟลุก” จนเราต้องมาแปลคำว่า لَعَلَّ จากคำกล่าวของท่านด้วยความหมายว่า “หวังว่า” หรือ  “บางที” (ดังคำแปลในหนังสือ “มัสอะละฮ์อูกามา”  เล่มที่ 1 หน้า 27)  ...


แต่ .. การกระทำดังกล่าวของท่าน เป็นการกระทำที่มี “เหตุผล” และมีเป้าหมายชัดเจนชนิดหวังผลได้ .. จนถึงกับได้กำหนดระยะเวลาเอาไว้ด้วยว่า  การช่วยเหลือของท่านจะยังมีผลอยู่ตราบใดที่กิ่งอินทผาลัมยังไม่แห้ง ...


ส่วนในวรรคหลัง .. คือข้อความที่ว่า .. يُخَفَّفُ عَنْهُمَامَالَمْ يَيْبَسَا   .. ซึ่ง ท่านผู้นี้แปลว่า .. “ก้านอินทผาลัมจะช่วยผ่อนปรนหรือบรรเทาการถูกทรมานให้แก่กุบูรฺทั้ง 2 หลุม ตราบใดที่มันยังไม่แห้ง” .. ถือเป็นคำแปลที่ “บิดเบือน” เพื่อชักลากเข้าหาเป้าหมายของตนเองจนเกินไป ...


ที่ถูกต้องของประโยคนี้จะต้องแปลว่า .. “เพื่อว่าทั้งสอง จะถูกผ่อนปรน (จากการทรมาน) ตราบใดที่มันทั้งสองยังไม่แห้ง”  ดังที่ผมได้แปลไปนั้น ...


ทั้งนี้ เพราะคำว่า “يُخَفَّفُ” ตามหลักไวยากรณ์อาหรับ เรียกว่า فِعْلٌ مَبْنِىٌّ لِلْمَفْعُوْلِ หรือกริยากรรมวาจก .. ซึ่งกริยาประเภทนี้ จะไม่มีการระบุตัว “ผู้กระทำ” หรือ فَاعِلٌ (ซึ่งในที่นี้ คือ “สิ่งที่ช่วยผ่อนปรน” ความทรมานให้ผู้ตายว่า หมายถึงอะไร? ..) เอาไว้เลย ...


การที่ท่านผู้นี้เอาหลักฐานมาจากไหนจึงกล้าฟันธงว่า فَاعِلٌ หรือ “สิ่งผ่อนปรน” ความทรมานให้ผู้ตายในหลุมของหะดีษบทนี้ หมายถึง “ก้านอินทผาลัมสด” ดังคำแปลของท่าน ?  ...


คำตอบก็คือ ไม่มี! .. นอกจากเป็นเพียงความเห็นแบบ “เข้าข้างตัวเอง” ล้วนๆ ...





ก็ขออธิบายเพิ่มเติม ณ ที่นี้ว่า นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันใน “สิ่งที่ช่วยผ่อนปรนความทรมานให้ผู้ตาย” .. ตามนัยของหะดีษบทนี้ ออกเป็น 2 ทัศนะคือ ...

ก. หมายถึง .. การอ่านตัสเบี๊ยะห์ของก้านอินทผาลัมสดที่ท่านนบีย์ปักที่หลุมของผู้ตาย ...

ข. หมายถึง.. การชะฟาอะฮ์ (การอนุเคราะห์หรือบะรอกัตจากดุอา) ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีให้แก่เขา ...

ตามทัศนะหลังนี้ ก้านอินทผาลัม – ไม่ว่าจะสดหรือแห้ง – ไม่มีผลในการบรรเทาความทรมานของผู้ตายแต่อย่างใด  ทว่า มันเป็นเพียงสิ่งที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ใช้เป็น “เครื่องกำหนดเวลาการชะฟาฮ์ของท่าน” เท่านั้น .. ดังจะเห็นได้จากคำตอบของท่านที่ว่า .. “เพื่อว่า ความทรมานของเขาทั้งสองจะถูกบรรเทาลง ตราบใดที่มันยังไม่แห้ง” ...



ความเชื่อของ ท่านผู้นี้และนักวิชาการที่มีทัศนะว่า ที่ผู้ตายได้รับการผ่อนปรนจากความทรมานก็เพราะก้านอินทผาลัมสดช่วยอ่านตัสเบี๊ยะห์ให้ -- (หมายความว่า ถ้าแห้งก็จะไม่อ่านตัสเบี๊ยะห์ต่อไป) -- นั้น ...


ทัศนะดังกล่าวนี้ เป็นทัศนะที่ “เฎาะอีฟ” ในมุมมองของท่านอิหม่ามนะวะวีย์ .. ดังความเข้าใจจากสำนวนที่ท่านกล่าวถึงทัศนะนี้ในหนังสือ “ชัรห์มุสลิม” เล่มที่ 3 หน้า202, .. และทัศนะของ اَلْمُفَسِّرُوْن ที่แท้จริงในมุมมองของท่านก็คือผู้ที่กล่าวว่า โองการนี้มีความหมายกว้างๆ ไม่จำกัดการตัสเบี๊ยะห์ว่า จะมีเฉพาะในกิ่งไม้สดอย่างเดียว ...


ทั้งนี้ ก็เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงดำรัสในซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์  โองการที่ 44  มีข้อความว่า ...

     تُسَبِّحُ لَهُ السَّمَاوَاتُ وَاْلأَرْضُ وَمَنْ فِيْهِنَّ وَإِنْ مِنْ شَىْءٍ إلاَّ يُسَبِّحُ بِحَمْدِهِ وَلَكِنْ لاَ تَفْقَهُوْنَ تَسْبِيْحَهُمْ ..........
“ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและแผ่นดิน และที่อยู่ในนั้น ต่างกล่าวตัสเบี๊ยะห์ต่อพระองค์  และไม่มีสิ่งใด เว้นแต่มันจะตัสเบี๊ยะห์ด้วยการสรรเสริญพระองค์  แต่ว่าพวกเจ้าไม่เข้าใจการตัสเบี๊ยะห์ของพวกเขา ......”

คำว่า شَىْءٍ  (สิ่ง, สิ่งใด) เป็นสามานยนาม (إِسْمُ النَّكِرَةِ) ที่อยู่หลังคำปฏิเสธด้วยคำว่า إِنْ  (ไม่มี) .. ดังนั้น คำนี้จึงมีความหมายกว้างๆไม่จำกัด ดังกฎเกณฑ์ที่ว่า  ...
                                  اَلنَّكِرَةُ فِىْ سِيَاقِ النَّفْىِ تُفِيْدُ الْعُمُوْمَ

“นามนะกิเราะฮ์ที่อยู่ในความหมายปฏิเสธ จะให้ความหมายกว้างๆ”

โดยนัยนี้ คำว่า “ไม่มีสิ่งใด.. เว้นแต่” จึงมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “ทุกๆสิ่ง”

โองการข้างต้นนี้แสดงว่า สรรพสิ่งทุกอย่างบนพื้นโลก  ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ทุกชนิด  ลำคลองหนองบึง, ภูเขา, ทะเล, ก้อนหินดินทราย, พืชทุกชนิด --ไม่ว่าสดหรือแห้ง – ต่างก็กล่าว “ตัสเบี๊ยะห์” ต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ตามสภาพของมัน ซึ่งพวกเราไม่เข้าใจเอง..
ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่า ก้านอินทผาลัมสดจะกล่าวตัสเบี๊ยะห์ ส่วนก้านที่แห้งจะไม่กล่าวตัสเบี๊ยะห์นั้น จึงเป็นผู้ขัดแย้งและ “تَخْصِيْصٌ” .. คือ “จำกัด” ความหมายของอัล-กุรฺอ่านเอาเองโดยพลการ อันเป็นเรื่องต้องห้ามตามหลักการศาสนา ...





นอกจากนี้ ความเข้าใจดังกล่าวยังขัดแย้งกับหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์อีกบทหนึ่งซึ่งมีข้อความระบุอย่างชัดเจนว่า การที่ผู้ตายในกุบูรฺถูกผ่อนปรนจากการทรมาน ก็เพราะการ “ชะฟาอะฮ์” ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม  มิใช่เพราะการตัสเบี๊ยะห์ของก้านอินทผาลัมสด! ...


ท่านมุสลิมได้บันทึกหะดีษบทนี้ไว้ในหนังสือ “อัศ-เศาะเหี๊ยะฮ์” ของท่าน เป็นหะดีษที่ 3012 โดยรายงานมาจากท่านญาบิรฺ บินอับดุลลอฮ์ ร.ฎ. อันเป็นหะดีษที่มีข้อความยืดยาวมาก  แต่มีข้อความในตอนหนึ่งว่า ...

      إِنِّىْ مَرَرْتُ بِقَبْرَيْنِ يُعَذَّبَانِ،  فَأَحْبَبْتُ بِشَفَاعَتِىْ أَنْ يُرَفَّهَ عَنْهُمَا، مَادَامَ الْغُصْنَانِ رَطْبَتَيْنِ ...
“แท้จริง ฉัน (ท่านนบี) ได้เดินผ่านหลุมฝังศพ 2 หลุม ซึ่ง (เจ้าของหลุม) ทั้งสองกำลังถูกทรมานอยู่  ดังนั้นฉันจึงใคร่จะให้ความทรมานของเขาทั้งสองบรรเทาลงด้วยการชะฟาอะฮ์ (การอนุเคราะห์) ของฉัน  ตราบใดที่กิ่งไม้ทั้งสองกิ่งนั้นยังสดอยู่” ...
ไม่ว่าหะดีษทั้ง 2 บทนี้จะเป็นเหตุการณ์เดียวกันหรือไม่ก็ตาม  แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ลักษณะการกระทำของท่านนบีย์ในหะดีษ 2 บทนี้ เหมือนกันทุกอย่าง! โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหะดีษของท่านญาบิรฺ ร.ฎ. ท่านนบีย์เองได้แจ้ง “เหตุผล” ไว้อย่างชัดเจนว่า  การที่ผู้ตายทั้งสองถูกผ่อนปรนความทรมานลงได้นั้น ก็เพราะการ “ชะฟาอะฮ์” ของท่าน  หาใช่เพราะเหตุอื่นใดไม่ ...


หะดีษจากการรายงานของท่านญาบิรฺ บินอับดุลลอฮ์ ร.ฎ. จึงถือเป็นการอธิบายหะดีษของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. อีกทีหนึ่ง ...
เป็นการ “เอาหะดีษอธิบายหะดีษ” อย่างแท้จริง ..

ท่านผู้นี้ได้กล่าวในลักษณะว่า .. สมมุติถ้าท่านนบีย์จะใช้บะรอกัตช่วยเหลือผู้ตาย ท่านก็ไม่จำเป็นต้องเอาก้านอินทผาลัมสดไปปักที่หลุมให้ยุ่งยาก  เพียงแต่ใช้มือลูบที่หลุมทั้ง 2 ก็พอแล้ว ...





วิภาษ
ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วว่า  การที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมใช้ก้านอินทผาลัมสดปักที่หลุม ก็เพื่อเป็นการ “กำหนดเวลา” การชะฟาอะฮ์ของท่านว่า จะยังคงมีอยู่ตราบใดที่มันไม่แห้ง ..

ไม่ใช่เพื่อให้มันกล่าว “ตัสเบี๊ยะห์” ช่วยเหลือผู้ตายดังความเข้าใจของท่านผู้นี้

ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเป็นรอซู้ลของอัลลอฮ์,  ท่านได้รับมุอฺญิซัตต่างๆซึ่งสามัญชนอย่างเราไม่ได้รับ  เพราะฉะนั้น ท่านจึงรู้ดีที่สุดว่า อะไรบ้างที่ท่านควรทำ, .. และเมื่อจะทำ ท่านควรจะทำอย่างไร ...

สามัญชนอย่างเราจึงไม่ควรไป “สู่รู้” หรือ “อวดรู้” ด้วยการกล่าววิจารณ์หรือแนะนำท่านนบีย์หรอกว่า ท่านควรทำอะไรและให้ทำอย่างไร ...

หน้าที่ของพวกเรามีเพียง “ปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน” ให้เคร่งครัดก็พอแล้ว ...

ท่านผู้นี้ได้อ้างคำพูดของนักวิชาการหลายท่าน – ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ – ว่า  ที่ผู้ตายได้รับการบรรเทาความทรมานลงดังนัยของหะดีษบทนั้น ก็เพราะการกล่าวตัสเบี๊ยะห์ของก้านอินทผาลัมสด ...





วิภาษ
ข้ออ้างคำพูดของท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ดังกล่าว ถูกคัดลอกมาบันทึกในหนังสือ “ชัรฺห์ อัศ-ศุดูรฺ”  หน้า  313,  และหนังสือ “กัชฟุชชุบฮาต” หน้า 307  ...
แต่ข้อมูลจากคำพูดของท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ – จากตำราที่ท่านเขียนเอง --  ขัดแย้งและแตกต่างจากข้ออ้างข้างต้น เหมือนสีขาวกับสีดำ ...
เพราะ .. ท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในหนังสือ “มะอาลิม อัส-สุนัน”  เล่มที่ 1  หน้า  18  ว่า ...
     إِنَّهُ مِنَ التَّبَرُّكِ بِأَثَرِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَدُعَائِهِ بِالتَّخْقِيْفِ عَنْهُمَا،  وَكَأَنَّهُ جَعَلَ مُدَّةَ بَقَاءِ النَّدَاوَةِ فِيْهِمَاحَدًّا لِمَا وَقَعَتْ بِهِ الْمَسْأَلَةُ مِنْ تَخْفِيْفِ الْعَذَابِ عَنْهُمَا،  وَلَيْسَ ذَلِكَ مِنْ أَجْلِ أَنَّ فِى الْجَرِيْدِ الرَّطْبِ مَعْنىً لَيْسَ فِى الْيَابِسِ،  وَالعَامَّةُ فِىْ كَثِبْرٍ مِنَ الْبُلْدَانِ تَفْرِشُ الْخُوْصَ فِىْ قُبُوْرِ مَوْتَاهُمْ،  وَأَرَاهُمْ ذَهَبُوْا إِلَى هَذَا،  وَلَيْسَ لِمَا تَعَاطَوْهُ مِنْ ذَلِكَ وَجْهٌ  
“แท้จริงเรื่องนี้ (คือเรื่องที่ผู้ตายได้รับการผ่อนปรนความทรมานในกุบูรฺ) ก็เป็นผลมาจากบารอกัตการกระทำของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และดุอาที่ท่านขอให้บรรเทาความทรมานของเขาทั้งสอง,  และคล้ายกับว่าท่านจะกำหนดระยะเวลาแห่ง “ความสด” ของก้านอินทผาลัมมาเป็น “ขอบเขตเวลา” ที่ท่านได้ขอให้บรรเทาความทรมานของเขาทั้งสองดังกล่าว  มิใช่ว่าก้านอินทผาลัมสดจะมี “คุณสมบัติพิเศษ” ซึ่งไม่มีในก้านอินทผาลัมแห้งอะไรหรอก,  และประชาชนทั่วไปจำนวนมากในเมืองต่างๆมักจะนำเอาใบปาล์มสดมาปูหรือตบแต่งที่กุบูรฺคนตายของพวกเขา  ฉันมองว่า พวกเขาคงจะมีความเชื่ออย่างนี้แหละ ซึ่ง(ความจริง) สิ่งที่พวกเขากระทำลงไป มันไม่มีสาระอะไรเลย”


คำกล่าวข้างต้นของท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ ได้รับการสนับสนุนจากท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิร นักวิชาการหะดีษชาวอินเดีย ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือ “เศาะเหี๊ยะอฺ อัล-ญาเมียะอฺ”  เล่มที่ 1 หน้า 103 ว่า ...
     صَدَقَ الْخَطَّابِىُّ!  وَقَدِ ازْدَادَ الْعَامَّةُ إِصْرَارًا عَلَى هَذَاالْعَمَلِ الَّذِىْ لاَ أَصْلَ لَهُ وَغَلَوْافِيْهِ،  خُصُوْصًا فِىْ بِلاَدِ مِصْرَ تَقْلِيْدًا لِلنَّصَارَى حَتىَّ صَارُوْا يَضَعُوْنَ الزُّهُوْرَ عَلَى الْقُبُوْرِ
“ท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์พูดถูกแล้ว  ประชาชนทั่วๆไปต่างยืนหยัดนำเอาสิ่งซึ่งไม่มีพื้นฐานใดๆนี้มาปฏิบัติกันมากขึ้นจนเลยเถิด ..โดยเฉพาะในประเทศอียิปต์ เพียงเพราะต้องการเลียนแบบพวกคริสเตียนจนกระทั่งว่า พวกเขาถึงขนาดนำเอาดอกไม้(พวงหรีด) ไปวางบนหลุมฝังศพกันแล้ว” ...






ท่านบุคอรีย์ได้นำรายงานหนึ่งจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. มาบันทึกไว้ในหนัง “เศาะเหี๊ยะฮ์” ของท่านในบาบที่ 81 จากกิตาบ อัล-ญะนาอิซ มีข้อความว่า ...
   وَرَأَى ابْنُ عُمَرَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ فُسْطَاطًا عَلَى قَبْرِعَبْدِالرَّحْمَنِ  فَقَالَ : إِتْزِعْهُ يَا غُلاَمُ! فَإِنَّمَا يُظِلُّهُ عَمَلُهُ
“ท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. ได้เห็นกระโจมหลังหนึ่งบนหลุมศพของท่านอับดุรฺเราะห์มาน ท่านจึงกล่าว (แก่เด็กคนหนึ่ง) ว่า .. นี่แน่ะไอ้หนู! รื้อมันออกไปซะ  เพราะไม่มีสิ่งใดให้ร่มเงาแก่เขาได้นอกจากอะมั้ลของเขาเท่านั้น”  ...


ท่านอิบนุรอชิด ได้กล่าวอธิบายว่า ...
                 وَيَظْهَرُ مِنْ تَصَرُّفِ الْبُخَارِىِّ أَنَّ ذَلِكَ خَاصٌّ بِهِمَا ...
“ตามรูปการณ์จากท่วงทีของท่านบุคอรีย์ก็คือ เรื่องดังกล่าวนี้ (การที่ท่านนบีย์ปักก้านอินทผาลัมบนหลุมศพ) เป็นเรื่อง “เฉพาะ” ของหลุมศพทั้งสองเท่านั้น” ...


(จากหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์”  เล่มที่ 3  หน้า 223) ...
ท่านเช็คอับดุลอะซัซ บินบาซ อดีตประธานฝ่ายฟัตวาปัญหาศาสนาของราชอาณาจักรสอุดีอารเบียได้กล่าวใน “ฟุตโน้ต” หนังสือฟัตหุ้ลบารีย์เล่มและหน้าดังกล่าว เพื่อเสริมข้อความตอนนี้ ว่า ...
    اَلْقُوْلُ بِالْخُصُوْصِيَّةِ هُوَالصَّوَابُ،  ِلأَنَّ الرَّسُوْلَ عَلَيْهِ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ لَمْ يَغْرِزِِالْجَرِيْدَةَ إِلاَّ عَلَى قُبُوْرٍ عَلِمَ تَعْذِيْبَ أَهْلِهَا،  وَلَمْ يَفْعَلْ ذَلِكَ لِسَائِرِالْقُبُوْرِ،  وَلَوْ كَانَ سُنَّةً لَفَعَلَهُ بِالْجَمِيْعِ،  وَِلأَنَّ الْخُلَفَاءَ الرَّاشِدِيْنَ وَكِبَارَالصَّحَابَةِ لَمْ يَفْعَلُوْا ذَلِكَ،  وَلَوْكَانَ مَشْرُوْعًا لَبَادَرُوْا إِلَيْهِ ..     “ทัศนะที่ว่า “เรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม” เป็นทัศนะที่ถูกต้อง  เนื่องจากท่านนบีย์ไม่เคยปักก้านอินทผาลัมให้ นอกจากบนหลุมที่ท่านรู้ว่าเจ้าของหลุมนั้นกำลังถูกทรมานอยู่,  และท่านก็ไม่เคยกระทำดังกล่าวให้กับหลุมฝังศพทั่วๆไปแต่อย่างใด  ถ้าหากการกระทำดังกล่าวเป็นซุนนะฮ์หรือแบบอย่างเพื่อให้ปฏิบัติแล้ว ท่านก็ต้องทำอย่างนั้นกับหลุมฝังศพทั่วๆไปแน่นอน,  และเนื่องจากบรรดาคอลีฟะฮ์ผู้ปราดเปรื่องทั้งสี่ตลอดจนเศาะหาบะฮ์ผู้อาวุโสอื่นๆก็ไม่ปรากฏว่า จะเคยมีการกระทำกันอย่างนี้  ซึ่งถ้าหากสิ่งนี้เป็นบทบัญญัติของศาสนาแล้วไซร้ พวกเขาก็คงรีบเร่งกระทำตามกันเป็นแน่ ..........”

والله أعلم

ช่วงเวลาละหมาดอีชาอ์



ละหมาดอีชาอ์ ช่วงเวลาที่แสงสีแดงบนขอบฟ้าหายไปจนกระทั่งถึงเที่ยงคืน


         ท่านอับดุลลอฮ์ บุตรของอัมร์เล่าว่า ท่านรสูลุลอฮ์ ซอลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "เวลาของการละหมาดอิชาอ์ (เรื่อยไปจนกระทั่ง) ถึงครึ่งคืน ซึ่งเป็นช่วงกลาง" 
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 966 , นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 519 , อบูดาวูด หะดิษที่ 335 และอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 6671 )
         
         เวลาของละหมาดกลางคืน แบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนกลางของกลางคืน ตอนเที่ยงคืน
         
        เวลาละหมาดอิชาอ์แม้ว่าจะไปสิ้นสุดตอนเที่ยงคืน นั้นถือว่าเป็นเวลาที่เลือกได้ ส่วนเวลาที่อนุญาต หรืออยู่ในภาวะคับขันก็อนุญาตให้เลื่อนเวลาไปจนกระทั่งแสงอรุณขึ้น (หมายถึงเริ่มเข้าเวลาละหมาดศุบฮ์) 
ซึ่งท่านอบูเกาะฮตาดะฮ์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮ์ ซอลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
       "พึงทราบเถิดว่าไม่มีการเพิกเฉย (หรือบกพร่อง) ขณะนอนหลับแท้จริงการเพิกเฉย (หรือบกพร่อง) ได้แก่บุคคลที่ไม่ละหมาดจนกว่าเวลาละหมาดถัดไปจะมาถึง 
(หะดิาเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1099 , นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 612 และอบูดาวูด หะดิาเลขที่ 373)


      หะดิษข้างต้นบ่งชี้้้ว่า อันที่จริงเวลาของแต่ละหมาดสามารถเลื่อนออกไปจนถึงเวลาของการละหมาดในลำดับถัดไป ยกเว้น เวลาของการละหมาดศุบฮ์ ที่อนุญาตให้ละหมาดเรื่อยไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น ซึ่งไม่อนุญาตให้เลื่อนออกไปจนถึงเวลาละหมาดซุฮ์ริ 
      เพราะท่านอับดุลลอฮ์ บุตรของอัมร์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮ์ ซอลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "เวลาของการละหมาดศุบฮ์ตั้งแต่แสงอรุณขึ้น (เรื่อยไป) ตราบเท่าที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้น" (หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกมุสลิม หะดิษเลขที่ 1099, นะสะอีย์ หะดิษเลขที่ 519 , อบูดาวูด หะดิษเลขที่ 335 และอะหมัด หะดิษเลขที่ 6671)

วัลลอฮุอาลัม


การเพิ่ม “ซัยยิดดินา” (سَيِّدِنَا) ในศอลาวาตขณะนั่งตะชะฮ์ฮุดของละหมาด




การเพิ่ม “ซัยยิดดินา” (سَيِّدِنَا)  ในศอลาวาตขณะนั่งตะชะฮ์ฮุดของละหมาด


คำว่า “ซัยยิดดินา” (سَيِّدِنَا)  ในภาอาหรับเป็นคำสมาสรวมสองคำเข้าด้วยกัน ซึ่งมีความหมายว่า “นายของเรา” 


คำว่า “ศอลาวาต” เป็นคำที่มาจากศัพท์เดียวกับคำว่า ศอลาฮ์ หรือบ้านเราเรียกละหมาด หรือ นมาซ ซึ่งมีความหมายทางภาว่า การขอพร หรือการให้พร โดยปกติการขอพรในภาอาหรับจะเรียกว่า “ดุอาอ์” แต่การขอดุอาอ์กับศอลาวาตมีความแตกต่างกันทางด้านการนำมาใช้ กล่าวคือ ดุอาอ์นั้นใช่ในเรื่องทั่วไป และใช้กับตามบุคคลทั่วไป แต่การศอลาวาตเป็นคำที่เจาะจงให้แก่ท่านนบี และมีถ่อยคำจำกัดเฉพาะตามที่ท่านนบีได้สอนแก่บรรดาสอฮาบะฮฺเท่านั้น 


ฮาดิษศอเฮียะฮ์หลายบทที่กล่าวถึงสำนวนการสอลาวาตไว้ แต่เป็นตัวบทที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาปัญหา “ซัยยิดินา” ในที่นี้จะนำมาเฉพาะตัวบทที่มีกล่าวอ้างเป็นหลักฐานว่า  มีและไม่มีรายงานคำว่า ซัยยิดินา จากฮะดิษบทเดียวกันดังนี้ 


คำรายงานจากศอเฮียะฮ์มุสลิม


“ยะฮ์ยา อิบนุ ยะฮ์ยา อัตตะมีมีย์ เล่าให้เราฟังโดยกล่าวว่า ฉันได้ทวนความกับมาลิก จาก นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร แท้จริง อับดุลลอฮ์ บิน เซด อัลอันศอรีย์ และอับดุลลอฮ์ บิน เซด นั้น เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการดลให้ฝันเห็นการอาซานในละหมาด ซึ่งได้บอกเขา จากอบี มัสอู๊ด อัลอัน ศอรีย์ โดยกล่าวว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้มาหาพวกเรา ขณะพวกเราอยู่ที่ชุมนม ของซะอ์ด บิน อุบาดะฮฺ ต่อมา บะซีร บิน ซะอ์ด ได้ถามว่า อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งทรงใช้พวกเราให้ศอลาวาตแก่ท่านโอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ พวกเราจะศอลาวาตแก่ท่านอย่างไร เขาเล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ได้นิ่งจนกระทั้งเราหวังว่าเขาจะไม่ถามซ้ำอีก ต่อมาท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงกล่าว “อัลลอฮุมม่าศ็อลลิอะลา มูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาศ็อลลัยต่าอะลาอิบรอหีม วะบาริกอะลามูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาบาร๊อกต่าอาลาอาลิอิบรอฮีม ฟิลอาละมีน่า อินนะก่าฮะมีดุนมะญีด และสลามดังที่พวกท่านได้รู้กันแล้ว” (ศอเฮียะฮ์มุสลิม ฮะดิษเลขที่ 613 


คำรายงานจากสุนัน อัตติรมีซีย์


“อิสฮาก บิน มูซา อัลอันสอรีย์ เล่าให้เราฟังว่า มะอ์นุน เล่าให้เราฟังว่า มาลิก บิน อนัส เล่าให้เราฟังจาก นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร และมูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด อัลอันศอรีย์  อับดุลลอฮ์ บิน เซด นั้น เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการดลให้ฝันเห็นการอาซานในละหมาด ซึ่งได้บอกเขา จากอบี มัสอู๊ด อัลอัน ศอรีย์ โดยกล่าวว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้มาหาพวกเรา ขณะพวกเราอยู่ที่ชุมนม ของซะอ์ด บิน อุบาดะฮฺ ต่อมา บะซีร บิน ซะอ์ด ได้ถามว่า อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งทรงใช้พวกเราให้ศอลาวาตแก่ท่านโอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ พวกเราจะศอลาวาตแก่ท่านอย่างไร เขาเล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ได้นิ่งจนกระทั้งเราหวังว่าเขาจะไม่ถามซ้ำอีก ต่อมาท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงกล่าว “อัลลอฮุมม่าศ็อลลิอะลา มูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาศ็อลลัยต่าอะลาอิบรอหีม วะบาริกอะลามูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาบาร๊อกต่าอาลาอาลิอิบรอฮีม ฟิลอาละมีน่า อินนะก่าฮะมีดุนมะญีด และสลามดังที่พวกท่านได้รู้กันแล้ว” (ศอเฮียะฮ์มุสลิม ฮะดิษเลขที่ 613 (อบู อีซา (ติรมีซีย์) กล่าวว่า นี้คือ ฮะดิษฮะซัน สอเฮียะฮ์ {สุนัน อัตติรมีซีย์ ฮะดิษ เลขที่ 3144})




สำหรับคำรายงานจากสุนัน นะซาอีย์ ฮะดิษเลขที่ 1268 คำรายงานจากสุนัน อบีดาวูด ฮะดาเลขที่ 831 คำรายงานจาก มุสนัดอีหม่ามอะฮ์หมัด ฮะดิษเลขที่ 31320 ซึ่งเป็นฮาดิษเศะเฮียะฮ์ มีเนื้อหาเช่นเดียวกับคำรายงานจากศอเฮียะฮ์มุสลิม และสุนัน อัตติรมีซีย์  คือได้รายงานคำสอลาวาตว่า อัลลอฮุมม่าศ็อลลิอะลา มูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด โดยไม่มีคำว่า “ซัยยิดินา”  นั้น 


โดยคำรายงานแต่ละบันทึกนั้นต่างอ้างว่า นำคำรายงานมาจากแหล่งเดียวกันทั้งสิ้น คือ มาลิก บิน อนัส จาก นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร จาก  อับดุลลอฮ์ บิน เซด และ มูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด จาก อบีมัสอู๊ด อัลอันศอรีย์
1.อบีมัสอู๊ด อัลอันศอรีย์
2.อับดุลลอฮ์ บิน เซด และ มูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด
3.นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร
4.มาลิก 


หมายเหตุ คำรายงานตอนท้ายฮะดิษที่ว่า “และสลามดังที่พวกท่านได้รู้กันแล้ว” หมายถึงคำกล่าวที่ว่า “อัสสลามุอลัยกะ อัยยุฮันนบียุ วะเราะฮฺมาตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮู” ซึ่งเป็นสำนวนการกล่าวสลามแก่ท่านนบีในขณะอ่านอัตตะฮิยา ดังนั้น คำกล่าวสอลาวาต ที่ได้แสดงจากหลักฐานนี้ หมายถึงการสอลาวาตในละหมาด หลังจากอ่านอัตตะฮิยาเสร้จแล้ว 


สำหรับที่มาของซัยยิดินาในสอลาวาต ได้ระบุไว้ในหนังสือ “ฟัฏลุ้ศศอลาติอะลัลนบี” โดย อิสมาอีล บิน อิสฮาก อัลญ์ดีย์ อัลกอดี อัลมาลิกี ซึ่งกล่าวถึงความประเสร็ฐในการสอลาวาตแก่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ระบุตัวบทฮะดิษพร้อมสายรายงานไว้ดังนี้


“อับดุลลอฮ์ บิน มัสละมะฮ์ เล่าให้เราฟังว่า มาลิก เล่าให้เราฟังจาก นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร แท้จริง มูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด อัลอันศอรีย์ และ อับดุลลอฮ์ บิน เซด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการดลให้ฝันเห็นการอาซานในละหมาด ซึ่งได้บอกเขา จากอบี มัสอู๊ด อัลอัน ศอรีย์ โดยกล่าวว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้มาหาพวกเรา ขณะพวกเราอยู่ที่ชุมนม ของซะอ์ด บิน อุบาดะฮฺ ต่อมา บะซีร บิน ซะอ์ด ได้ถามว่า อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งทรงใช้พวกเราให้ศอลาวาตแก่ท่านโอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ พวกเราจะศอลาวาตแก่ท่านอย่างไร เขาเล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ได้นิ่งจนกระทั้งเราหวังว่าเขาจะไม่ถามซ้ำอีก ต่อมาท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงกล่าว “อัลลอฮุมม่าศ็อลลิอะลา ซัยยิดินา มูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาศ็อลลัยต่าอะลาอิบรอหีม วะบาริกอะลามูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาบาร๊อกต่าอาลาอาลิอิบรอฮีม ฟิลอาละมีน่า อินนะก่าฮะมีดุนมะญีด และสลามดังที่พวกท่านได้รู้กันแล้ว” (ฟัฏลุ้ศศอลาติอะลัลนบี ลำดับที่ 63 เล่มที่ 1 หน้าที่ 61)

จากตัวบทฮะดิษนี้ระบุคำว่า “ซัยยิดินา” ถ้อยคำสอลาวาตที่ถูกระบุอยู่ในฮาดิษนี้ มีการกล่าวชื่อท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม อยู่ 4 ครั้ง แต่การมีการเพิ่มเติม ซัยยิดินา เฉพาะการกล่าวชื่อนบีมูฮัมหมัดในครั้งแรกเท่านั้น ส่วนอีกสามครั้งที่เหลือ กล่าวเพียงชื่ออย่างเดียวโดยไม่มีคำว่า ซัยยิดินา ระบุไว้ด้วย




ซึงสายรายงานข้างอาดิษข้างต้นมีสายรายงานดังนี้
1.อบีมัสอู๊ด อัลอันศอรีย์
2.อับดุลลอฮ์ บิน เซด และ มูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด
3.นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร
4.มาลิก 
5.อับดุลลอฮฺ บิน มัสละมะฮ์


จะเห็นได้ว่า ฮะดิษที่ระบุ “ซัยยินา” ไว้นี้ เป็นฮาดิษที่มีสายรายงานเดียวกับฮาดิษที่บันทึกอยู่ใน ศอเฮียะฮ์มุสลิม , สุนัน อัตติรมีซีย์  , สุนัน นะซาอีย์  , สุนัน อบีดาวูด  , มุสนัดอีหม่ามอะฮ์หมัด และสุนัน อัดดาริมีย์ กล่าวคือ ทั้งหมดเป็นฮาดิษที่มาจากผู้รายงานสายเดียวกันรวมถึงฮะดิษที่ระบุคำว่า ซัยยิดินา ไว้ด้วยคือ ผู้รายงานตั้งแต่ลำดับ 1 ถึง 4 ดังนี้  คือ มาลิก จาก นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร จาก  อับดุลลอฮ์ บิน เซด และ มูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด จาก อบีมัสอู๊ด อัลอันศอรีย์
หมายถึงผู้รายงานในทุกบันทึกได้ฟังเรื่องนี้มาจาก มาลิก เหมือนกัน และผู้รายงานที่ชื่อมาลิกนี้ก็คือ มาลิก บิน อนัส บินมาลิก บิน อบีอามีร หรือที่ผู้คนทั่วไปเรียกขานว่า อีหม่ามมาลิก ท่านเป็นนักฟิกฮ์ผู้ยิ่งใหญ่เจ้าของมัซฮับมาลีกีนั้นเอง ท่านอิหม่ามมาลิกเป็นคนรุ่นตาบีอีน เสียชีวิตที่นครมะดีนะฮ์ ในปีที่ 179 ของฮิจเราะฮ์ศักราช 


เมื่อสายรายงานในบันทึกศอเฮียะฮ์ต่างๆ อ้างว่านำคำรายงานมาจากท่านอีหม่ามมาลิก โดยไม่ระบุ ซัยยิดินา ไว้ แต่หนังสือ “ฟัฏลุ้ศศอลาติอะลัลนบี” ก็อ้างว่านำคำรายงานมาจากอีหม่ามมาลิกเหมือนกัน แต่ระบุคำว่า “ซัยยิดินา” จึงต้องไปตรวจสอบความถูกต้องจากบันทึกต้นฉบับของอีหม่ามมาลิก ตามคำรายงานต้นฉบับจาก มุวัตเฏาะอ์ ของอีหม่ามมาลิก ดังนี้ 


“และได้เล่าให้ฉันฟังจาก มาลิก จาก นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร จาก มูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด ว่า อบี มัสอู๊ด อัลอันศอรีย์ ได้บอกกับเขาว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้มาหาพวกเรา ขณะพวกเราอยู่ที่ชุมนม ของซะอ์ด บิน อุบาดะฮฺ ต่อมา บะซีร บิน ซะอ์ด ได้ถามว่า อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งทรงใช้พวกเราให้ศอลาวาตแก่ท่านโอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ พวกเราจะศอลาวาตแก่ท่านอย่างไร เขาเล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ได้นิ่งจนกระทั้งเราหวังว่าเขาจะไม่ถามซ้ำอีก ต่อมาท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงกล่าว “อัลลอฮุมม่าศ็อลลิอะลา มูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาศ็อลลัยต่าอะลาอิบรอหีม วะบาริกอะลามูฮัมหมัด วะอะลาอาลิมูฮัมหมัด กะมาบาร๊อกต่าอาลาอาลิอิบรอฮีม ฟิลอาละมีน่า อินนะก่าฮะมีดุนมะญีด และสลามดังที่พวกท่านได้รู้กันแล้ว” (มุวัตเฏาะอ์ ของอีหม่ามมาลิก ฮะดิษเลขที่ 358)


นี้คือรายงานต้นฉบับที่ถุกถ่ายทอดสู่บันทึกต่างๆ ซึ่งปรากฏสายรายงานดังนี้
1.อบีมัสอู๊ด อัลอันศอรีย์
2.อับดุลลอฮ์ บิน เซด และ มูฮัมหมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน เซด
3.นุอัยม์ บิน อับดิลลาฮ์ อัลมุจมิร
4.มาลิก 
ผู้รายงานต่อจากท่านอีหม่ามมาลิก จะมีรายชื่อแตกต่างกันออกไป ตามแต่สายรายงานของแต่ละบันทึก คือ
ในศอเฮียะฮ์มุสลิม : ยะห์ยา อิบนุ ยะห์ยา ฟังจากมาลิก
ในสุนัน อัตติรมีซีย์ : อิสฮาก บินมูซา อัลอันศอรีย์ จาก มะอ์นั้น ฟังจากมาลิก 
ในสุนัน นะซาอีย์  : อิบนุลกอเซ็ม ฟังจาก มาลิก  
ในสุนัน อบีดาวูด : อัลกออ์นะบีย์ ฟังจากมาลิก
ในมุสนัดอีหม่ามอะฮ์หมัด : อับดุลเราะฮ์มาน และอิฮาก ฟังจากมาลิก


จะเห็นได้ว่าสายรายงานของแต่ละบันทึกนั้นต่างก็รายงานเรื่องนี้จากอีหม่ามมาลิก ทั้งสิ้น แต่ปรากฏว่า ต้นฉบับของอิหม่ามมาลิกไม่ระบุคำว่า ซัยยิดินาไว้ และบันทึกอื่นๆ ที่นำมาต่อ ก้ไม่ระบุคำว่า ซัยยิดีนาแต่อย่างใด มีเพียงหนังสือ “ฟัฏลุ้ศศอลาติอะลัลนบี” ที่นำมาจากอีหม่ามมาลิกเช่นเดียวกัน แต่กลับมีคำว่าซัยยิดินา เพิ่มเข้ามาด้วย
ข้อความเพิ่มเติมในหนังสือ “ฟัฏลุ้ศศอลาติอะลัลนบี” อาจจะเกิดจากความคาดเคลื่อนของผู้ที่นำจากท่านอีหม่ามมาลิกไปรายงานต่อ คือ อับดุลลอฮ์ บิน มัสละมะฮ์ หรือเกิด จากผู้บันทึกเอง คือ อิสมาอีล บิน อิสฮาก ซึงเป็นอุลามาฮ์ในมัซฮับมาลิกี วัลลอฮุอะอ์ลัม ซึ่งคำคำรายงานที่ระบุ ซัยยิดินา เป็นคำรายงานที่คาดเคลื่อนจากการคัดลอก 






สำหรับในหนังสือ “มัจมัวอุ้ลอะอ์มาล” หรือชื่อภาษาไทยว่า “รวมบรรดาอามัล” ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมวิธีการทำพิธีกรรมต่างๆ ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ อ่านอัตต้าฮี้ยา ซึ่งมีคาศอลาวาตประกอบด้วย ดังนี้


“อัตตะฮิยาตุลมุบาระกาตุสศอลาวาตุดตอยยิบาตุลิ้ลลาฮ์ อัสสลามุอะลัยกะอัยยุฮันนะบียุเราะฮ์มะตุ้ลลอฮิวะบะรอกาตุฮู อัสลามุอะลัยนาวะอะลาอิบาดิ้ลาฮฺสสอลีฮีน อัชฮะดุอันลาอิลาอ่าอิ้ลลัลลอฮ์ วะอัชฮะดุอันน่ามูอัมมะดัรรอซูลุ้ลลอฮ์ อัลลอฮุมม่าศ็อลลิอะลา ซัยยิดินา มูฮัมหมัด วะอะลาอาลิ ซัยยิดินา มูฮัมหมัด กะมาศ็อลลัยต่าอะลา ซัยยิดินา อิบรอหีม วะอาลาอาลิ ซัยยิดินา อิบรอหีม วะบาริกอะลา ซัยยิดินา มูฮัมหมัด วะอะลาอาลิ ซัยยิดินา มูฮัมหมัด กะมาบาร๊อกต่าอาลา ซัยยิดินา อิบรอฮีม วะอะลาอาลิ ซัยยิดินา  อิบรอหีม ฟิลอาละมีน่า อินนะก่าฮะมีดุนมะญีด (หนังสือรวมบรรดาอามัล หน้า 8-9)


***ซึ่งคำศอลาวาตข้างต้น ที่เติมคำซัยยิดินา ตามที่ขีดเส้นใต้  ในหนังสือ “มัจมัวอุ้ลอะอ์มาล” เป็นศอลาวาตประยุกต์ ที่คิดค้นสำนวน และเติมคำกันเองโดยไม่มีต้นแบบคำรายงานจากบันทึกฮาดิษเศาะเฮียะฮ์ใดๆกับศอลาวาตประยุกต์นี้เลยจริงๆ


และสำหรับอัลกุรอาน อายะฮ์ที่ 56 ของซเราะฮ์อัลอะฮ์ซาบ ว่า
“แท้จริงอัลลอฮ์ และมาลาอีกะฮ์ของพระองค์ได้ให้พรต่อท่านนบี(มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงให้พรต่อนบี และกล่าวสลามด้วยถ้อยคำที่ดีงาม”
ซึ่งความหมายของอัลกุรอานอายะฮ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นคำสั่งใช้บรรดาผู้ศรัทธาให้ขอพรแก่ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งเป็นคำสั่งโดยรวม มิได้เจาะจงเฉพาะการกล่าว สอลาวาตในละหมาดเท่านั้น 


สำหรับในหนังสืออัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุล มุฮัซซับ ลิชชีรอซีย์ ของท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) เล่มที่ 3 หน้า 448 ระบุว่า : ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ และ อัลอัศฮาบ (บรรดานักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์) กล่าวว่า : ที่ประเสริฐที่สุด (อัลอัฟฎ้อล) ในลักษณะของการซอละหวาตนั้นคือการกล่าวว่า : “อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อะลา มุฮำมัด ว่า อะลา อาลิ มุฮำมัด” จะเห็นได้ว่า ไม่มีการกล่าวคำ ซัยยิดินา แต่อย่างใด? 




ตามที่มีตัวบท (نَصُّ) รายงานมาจากท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฎ.) คือ ไม่มีการเพิ่มคำว่า “ซัยยิดินา” 


คำกล่าว ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) ปรากฏในหนังสืออัลอัซการฺของท่าน (หน้า 69) ระบุว่า : 


(وَالأَفْضَلُ أن يقول : اللهم صل علىمحمد عبدِك ورسولك...)


“และที่ประเสริฐที่สุด คือการที่เขา (ผู้ละหมาด) กล่าวว่า : อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อะลา มุฮำมัด อับดิก้า ว่าร่อซูลิก้า.......”


ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) ก็ยังได้ระบุถึง การซอละหวาตแก่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อย่างน้อยที่สุด คือการที่เขา (ผู้ละหมาด) กล่าวว่า “อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อะลา มุฮำมัด” หลังจากนั้นท่านก็กล่าวว่า : 


(وأكملهااﻥﻳﻘﻮﻝ : ﺍﻟﻠﻬﻢﺻﻞﻋﻠﻰﻣﺤﻤﺪﻭﻋﻠﻰﺁﻝﻣﺤﻤﺪ....)


“และที่สมบูรณ์ที่สุดของการซอละหวาตนั้นคือการที่เขา (ผู้ละหมาด) กล่าวว่า “อัลลอฮุมม่า ซ็อลลิ อะลา มุฮำมัด ...” (ดู เราฎ่อตุตตอลิบีน ว่า อุมดะตุ้ลมุฟตีน, อิหม่ามอันนะวาวีย์ เล่มที่ 1 หน้า 265) ดังนั้นอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฎ.) จึงเป็นผู้ที่กล่าวถึงข้อชี้ขาดในประเด็นของการซอละหวาตที่ประเสริฐสุดซึ่งไม่มีการเติมคำว่า “ซัยยิดินา” แต่อย่างใด


ซึ่งในเรื่องของการเพิมเติมคำหรือข้อความในสอลาวาต ท่านอีหม่ามนะวาวีย์ ด้ชี้แจงไว้ในอัลอัซการ ความว่า “ส่วนถ้อยคำที่สหายของเรา(ในมัซฮับชาฟีอี) และ อิบนุ อบีเซด อัลมาลิก ได้กล่าวว่า สมควรที่จะเพิ่มถ้อยคำสอลาวาตด้วยคำว่า “ได้้โปรดเมตตาต่อมูฮัมหมัดและวงศ์ของวงศ์วานของมูฮัมหมัด” นั้น มันคืออุตรกรรมในศาสนา (บิดอะฮ์) ไม่มีที่มาแต่อย่างใด” (อัลอัซการ โดยอิหม่ามนะวาวีย์ 1/270)


ดังนั้น การเติมคำว่า “ซัยยิดินา” กับการเติมคำว่า “ได้โปรดเมตตาต่อมูฮัมหมัดและวงศ์ของวงศ์วานของมูฮัมหมัด” ในศอลาวาต ก็มีผลไม่ต่างอะไรกัน ที่ท่านอิหม่ามนะวาวีย์กล่าว่ามันเป็นอุตริกรรมขึ้นใหม่ในศาสนา 


วัลลอฮุอะอ์ลัม

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

กรณีไม่สามารถไปละหมาดญุมอัต(วันศุกร์)ที่มัสยิด




หากในเมืองที่เราอาศัยอยู่นั้น มีมัสยิดที่ใช้สำหรับการละหมาดญุมะอะฮฺในวันศุกร์ ก็ให้เราทำการละหมาดร่วมกันในมัสยิดนั้น และไม่เป็นที่อนุญาตในการที่คุณจะทำการเรียกร้องให้ผู้อื่นมาทำการละหมาดญุ มะอะฮฺภายนอกมัสยิดอีก เว้นเสียแต่ว่าในเมืองนั้นไม่มีการละหมาดญุมะอะฮฺ เราก็ทำการจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺขึ้นได้ และไม่เป็นการอนุญาตให้ทำการละหมาดดุฮฺริทดแทนการละหมาดญุมะอะฮฺ 


เพราะ 
“การจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺนั้น มีความจำเป็นสำหรับบรรดามุสลิมที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือในหมู่บ้านนั้น ๆ ซึ่งจะมีเงื่อนไขของการจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺที่ถูกต้องอยู่ โดยตามกฎของชารีอะฮฺ นั้น ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขของผู้ที่จะทำการละหมาดญุมะอะฮฺที่แน่นอน ซึ่งจำนวนตัวเลขที่ถือว่าเพียงพอและใช้ได้นั้น คือมีผู้ทำการละหมาดญุมะอะฮฺตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และจากความคิดเห็นของบรรดาผู้รู้ส่วนใหญ่ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ไม่เป็นที่อนุญาตให้คนหนึ่งคนใดทำการละหมาดดุฮฺริทดแทนการละหมาดญุมะอะฮฺ แม้ว่าในการละหมาดญุมะอะฮฺนั้นจะมีจำนวนผู้เข้าร่วมละหมาดน้อยกว่า 40 คนก็ตาม”
(จากฟัต วาของ al-Lajnah al-Daa’imah, หมายเลข 1794 (8/178))


และจากคณะกรรมการฟัตวาหมายเลข 957


ได้กล่าวว่า เรายังไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนที่แน่นอนของผู้ที่จะต้องทำการจัดตั้งการ ละหมาดญุมะอะฮฺ เพราะไม่มีบันทึกเกี่ยวตัวเลขที่แน่นอนเอาไว้ ซึ่งบรรดานักวิชาการก็ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับเรื่องของจำนวน ตัวเลขนี้อยู่ แต่ท่ามกลางความคิดของบรรดานักวิชาการเหล่านี้ก็ได้เห็นว่า จำนวนผู้ที่จะทำการจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺนั้น คืออาจจะเป็นชายจำนวน 3 คนที่เป็นชาวท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งเป็นรายงานที่มาจากท่าน อิหม่ามอะฮฺหมัด และเป็นรายงานที่ได้รับการเห็นชอบด้วยจากท่าน al-Awzaa’I และ Shaykh Taqiy al-Deen Ibn Taymiyah เนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสเอาไว้ดัง อายะฮฺอัลกุรอ่าน ซูเราะฮฺที่ 62 : 9 ซึ่งมีความหมายว่า 
“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงเรียกร้อง (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้” (62 : 9)


ซึ่งจากลักษณะของคำแล้ว หมายถึงเป็นคำพหูพจน์ ซึ่งตีความหมายได้ว่าจำนวนอย่างต่ำของผู้ที่จะต้องไปทำการละหมาดในวันศุกร์ คือจำนวน 3 คน (8/210)

วิธีนมาซญะนาซะฮฺตามแบบฉบับของท่านนบี




วิธีนมาซญะนาซะฮฺตามแบบฉบับของท่านนบีมีดังนี้


การนมาซญะนาซะฮฺ (นมาซให้แก่คนตาย) 


หลังจากที่ห่อกะฝั่นเสร็จแล้ว ก็ให้นำศพไปที่ลางกว้างเพื่อที่จะนมาซญะนาซะฮฺ (อันที่จริงท่านนบีมุหัมมัดจะนมาซญะนาซะฮฺที่ลานกว้างเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งเท่านั้นที่ท่านนบีจะนมาซญะนาซะฮฺในมัสญิด) ฉะนั้นการนมาซญะนาซะฮฺที่ลานกว้างถือว่าประเสริฐกว่า
โดยวางผู้ตายไปทางทิศกิบละฮฺ ซึ่งวางด้านหน้าของอิมาม (ส่วนศีรษะจะอยู่ด้านขวาและด้านซ้ายของอิมามล้วนอนุญาตทั้งสิ้น เพราะไม่พบหลักฐานระบุให้วางศีรษะไปทางใด) ส่วนการยืนของอิมามนั้น มีแบบอย่างให้กระทำกล่าวคือ หากเป็นศพผู้ชายให้อิมามยืนตรงบริเวณศีรษะของผู้ตาย แต่ถ้าเป็นศพผู้หญิงให้อิมามยืนตรงบริเวณส่วนกลางของศพนั่นเอง 


เงื่อนไขการนมาซญะนาซะฮฺ
1. ศพจะต้องเป็นมุสลิม ส่วนศพกาฟิรฺไม่อนุญาตให้นมาซ หรือขอดุอาอ์ให้


2. ศพจะต้องวางอยู่ด้านหน้าของผู้นมาซ แม้ว่าจะศพจะถูกฝังแล้วก็ตาม ซึ่งท่านรสูลุลลอฮฺทำเช่นนั้น


3. ศพจะต้องอาบน้ำญะนาซะฮฺ หรือตะยัมมุม และกะฝั่นแล้ว


4. ศพจะต้องปราศจากจากหนี้สิน หรือมีทรัพย์มรดกทิ้งไว้จ่ายหนี้ หรือมีผู้รับรองว่าจะจ่ายหนี้แทนเขา เพราะท่านรสูลุลลอฮฺเข้มงวดในในการนมาซญะนาซะฮฺให้แก่ผู้ที่มีหนี้สินอย่างมาก






วิธีนมาซญะนาซะฮฺ
1. การนมาซญะนาซะฮฺ วาญิบผู้นมาซจะต้องอาบน้ำนมาซ เพราะท่านรสูลุลลอฮฺเรียกการขอดุอาอฺให้แก่ผู้ตายว่า “การนมาซ” ฉะนั้นทุกๆ การนมาซจำเป็นจะต้องมีน้ำนมาซอย่างไม่ต้องสงสัย
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวกับบรรดาเศาะหาบะฮฺว่า
« صَلُّوا عَلَى النَّجَاشِىِّ »


“พวกท่านจงนมาซ (ญะนาซะฮฺ) ให้แก่กษัตริย์นะญาชีย์เถิด” 
จะสังเกตเห็นได้ว่า ท่านรสูลุลลอฮฺสั่งให้บรรดาเศาะหาบะฮฺนมาซญะนาซะฮฺ (ฆออิบ) โดยท่านรสูลใช้คำว่า “ศ็อลลู” ซึ่งเป็นคำเดียวที่ท่านรสูลใช้เรียกการนมาซฟัรฺฎู หรือการนมาซสุนนะฮฺนั่นเอง 


2. เนียต (ตั้งเจตนา) ว่านมาซญะนาซะฮฺ โดยไม่อนุญาตให้กล่าวคำเนียตออกมาเป็นคำพูดแต่อย่างทั้งสิ้น


ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า “แท้จริงการงานต่างๆ ล้วนขึ้นอยู่กับเจตนา และทุกๆ บุคคลจะได้รับในสิ่งที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้เท่านั้น” 


3. จากนั้นให้ยกมือทั้งสองแล้วกล่าวตักบีรฺว่า 
اللهُ أَكْبَرُ 
คำอ่าน “อัลลอฮุ อั๊กบัรฺ” 
คำแปล “พระองค์อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่” 


4. จากนั้นให้อ่านสูเราะฮฺฟาติหะฮฺ


بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ (1) الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ (2) الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ (3) مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ (4) إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ (5) اهْدِنَا الصِّرَاطَ الْمُسْتَقِيمَ (6) صِرَاطَ الَّذِينَ أَنْعَمْتَ عَلَيْهِمْ غَيْرِ الْمَغْضُوبِ عَلَيْهِمْ وَلاَ الضَّالِّينَ (7) 


คำอ่าน “บิสมิ้ลลาฮิรฺร่อมานิรฺร่อฮีม
อัลฮัมดุลิ้ลลาฮี้ ร็อบบิ้ลอาล่ามีน
อัรฺร่อมานิรฺร่อฮีม
มาลี่กี้เยามิดดีน
อียาก้านะอฺบุดู้ ว่าอียาก้านัซต้าอีน
อิฮฺดี้นัศศิรอฏ็อลมุซต้ากีน
ศิรอฏ็อลล่าซีน่าอันอัมต้า อ้าลัยฮิม ฆ็อยริลมัฆดูบี้อ้าลัยฮิม ว่าลัฎฎอลลีน”


คำแปล “ด้วยนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิแด่พระองค์อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก
ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
ผู้ทรงสิทธิ์ขาดแห่งวันตอบแทน
เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ
ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแนวทางอันเที่ยงตรงแด่พวกเราด้วยเถิด
(คือ) แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ทรงโปรดปรานแด่พวกเขา ซึ่งมิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้ว (พวกยิว) และไม่ใช่แนวทางของพวกที่หลงผิด (พวกคริสเตียน)” 
5. กล่าวตักบีรฺ (ครั้งที่สอง) ว่า “อัลลอฮุอั๊กบัรฺ” โดยครั้งนี้ไม่ต้องยกมือแต่ประการใด 
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า


أَنَّ رَسُولَ اللَّهُ صلى الله عليه وسلم كَبَّرَ عَلَى جَنَازَةٍ فَرَفَعَ يَدَيْهِ فِى أَوَّلِ تَكْبِيرَةٍ وَوَضَعَ الْيُمْنَى عَلَى الْيُسْرَى


“แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺตักบีรฺนมาซญะนาซะฮฺ โดยท่านรสูลยกมือทั้งสองของท่านในตักบีรฺแรก (เท่านั้น) จากนั้นก็นำมือขวาทับบนมือซ้าย” 
ต่อมาให้อ่านเศาะละวาตนบีดังนี้


اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَ عَلَى آلِ مُحَمَّدٍ
كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَ عَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ
إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
اللَّهُمَّ بَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَ عَلَى آلِ مُحَمَّدٍ
كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَ عَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ
إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ


คำอ่าน “อัลลอฮุมม่า ศ็อลลิ อ้าลา มุฮัมหมัด ว่า อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด, ก้ามา ศ็อลลัยต้า อ้าลา อิบรอฮีม ว่า อ้าลา อาลิ อิบรอฮีม อินน่าก้า ฮะมีดุม ม่าญีด
อัลลอฮุมม่า บาริก อ้าลา มุฮัมหมัด ว่า อ้าลา อาลิ มุฮัมหมัด ก้ามา บาร็อกต้า อ้าลา อิบรอฮีม ว่าอะลา อาลิ อิบรอฮีม อินนะก้า ฮะมีดุม ม่าญีด” 


คำแปล “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดเมตตา (สดุดี) แด่ (นบี) มุหัมมัด และวงศ์วานของท่าน (นบี) มุหัมมัด, เสมือนที่พระองค์ทรงเมตตา (สดุดี) แด่ (นบี) อิบรอฮีม และวงศ์วานของท่าน (นบี) อิบรอฮีม, แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง


โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แด่ (นบี) มุหัมมัด และวงศ์วานของ (นบี) มุหัมมัด, เสมือนที่พระองค์ทรงประทานความจำเริญให้แก่ (นบี) อิบรอฮีม และวงศ์วานของ (นบี) อิบรอฮีม, แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง” 


5. กล่าวตักบีรฺ (ที่สาม) ว่า “อัลลอฮุอั๊กบัรฺ”(การกล่าวตักบีรฺม่รวมถึงยกมือ หากมีการยกมือ ฮาดิษจะระบุไว้ว่าให้ตักบีรฺพร้อมกับยกมือ) แล้วอ่านดุอาอ์ว่า


« اللَّهُمَّ اغْفِرْ لَهُ وَارْحَمْهُ وَاعْفُ عَنْهُ وَعَافِهِ وَأَكْرِمْ نُزُلَهُ وَوَسِّعْ مُدْخَلَهُ وَاغْسِلْهُ بِالماَءِ وَالثَلْجِ وَالبَرَدِ وَنَقِّهِ مِنَ الْخَطَايَا كَمَا يُنَقَّى الثَّوْبُ الأَبْيَضُ مِنَ الدَّنَسِ وَأَبْدِلْهُ دَارًا خَيْرًا مِنْ دَارِهِ وَأَهْلاً خَيْرًا مِنْ أَهْلِهِ وَزَوْجًا خَيْرًا مِنْ زَوْجِهِ وَأَدْخِلْهُ الجَنَّةَ وَأَعِذْهُ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ وَمِنْ عَذَابِ النَّار »


คำอ่าน “อัลลอฮุมมัฆฟิรฺ ล่าฮู วัรฺฮัมฮุ วะอฺฟุ อันฮุ ว่าอาฟี้ฮี ว่าอั๊กริม นุซุล่าฮู ว่าวัซเซี๊ยะอฺ มุดค่อล่าฮู วัฆซิลฮุ บิ้ลมาอี้ วัซซัลยี่ วัลบ้าร่อดี้ ว่านักกี้ฮี มินัลค่อฏอยาย่า ก้ามา ยุนักก็อยเซาบุลอั๊บย่าฎุ มินัดด้านัซ ว่าอั๊บดิ้ลฮุ ดาร็อนค็อยรอน มิน ดารี่ฮี ว่าอะฮฺลัน ค็อยรอน มินอะหฺลี่ฮี ว่าเซายัน ค็อยรอน มิน เซายี่ฮี ว่าอัดคิลฮุลญันน่าต้า ว่าอ้าอิซฮุ มิน อ้าซาบิ้ลก็อบรี่ ว่ามินอ้าซาบินนารฺ” 
คำแปล “โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่เขา, ทรงเมตตาต่อเขาทรงให้เขามีความปลอดภัย, ทรงอภัยโทษให้แก่เขา, ทรงทำให้ที่ลงของมีเกียรติ, ทรงทำให้ที่ข้าวของเขากว้างขวาง, ขอพระองค์ทรงโปรดชำระล้างเขาด้วยน้ำ, น้ำหิมะ, และน้ำลูกเห็บ และทรงโปรดทำให้เขาบริสุทธิ์ผุดผ่องจากความผิดต่างๆ ของเขา เสมือนกับที่พระองค์ทำให้เสื้อผ้าสีขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องจากสิ่งสกปรก, ขอพระองค์ทรงเปลี่ยนบ้านที่ดีกว่าบ้านของเขา และครอบครัวที่ดีกว่าครอบครัวของเขา, เปลี่ยนคู่ครองที่ดีกว่าคู่ครองของเขา, พระองค์ทรงทำให้เขาเข้าสวรรค์, ขอพระองค์ทรงปกป้องเขาจากการลงโทษในหลุมฝังศพ และการจากลงโทษในไฟนรกด้วยเถิด” 


7. กล่าวตักบีรฺ (ที่สี่) ว่า “อัลลอฮุอั๊กบัรฺ” (สุนนะฮฺนบีไม่ยกมือทั้งสอง) 
ไม่ต้องกล่าวอะไรทั้งสิ้น
จากนั้นให้กล่าวว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ


คำอ่าน “อัซซ่าลามุอ้าลัยกุม ว่าเราะหฺม่าตุ้ลลอฮฺ” 
คำแปล “ขอความสันติสุข และความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่พวกท่านด้วยเถิด” 
พร้อมหันหน้าไปทางขวาเพียงข้างเดียวเท่านั้น
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า


أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم صَلَّى عَلَى جَنَازَةٍ فَكَبَّرَ عَلَيْهَا أَرْبَعًا وَسَلَّمَ تَسْلِيمَةً وَاحِدَةً


“แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺนมาซญะนาซะฮฺโดยตักบีรฺสี่ครั้ง และให้สลามเพียงครั้งเดียวเท่านั้น”,


 والله أعلم