อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

เด็ก 6 ขวบ เข้ารับอิสลาม



น้องฟ้าหรือเด็กหญิง ฟาติมะฮ์ ทาบันเทิง เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านรถไฟ พัทยา รับอิสลามด้วยความศรัทธา ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ล่าสุดเธอได้ดะอฺวะอฺพี่ชายของเธออายุ 14 ปี เข้าเป็นมุสลิมอีกคน โดยที่พ่อแม่ยังไม่ได้เป็นมุสลิม ศึกษาภาคฤดูีร้อนที่มัสยิดอันวาริสซุนนะฮ์ พัทยา วันที่มาสมัครเรียนพ่อแม่ซึ่งเป็นชนต่างศาสนิกมาส่งด้วยตนเองเธอเป็นเด็กน่ารักมาก
อัลฮัมดุลิ้ลละฮฺ ขออัลลฮอฮฺทรงโปรดชี้นำแนวทางที่ถูกต้องและเที่ยงตรงแด่เธอ และครอบครัวและโปรดทรงเพิ่มพูลอีหม่านและความรู้แด่เธอด้วยเทอญ...ดญ.ฟาติมะฮฺ...(อามีน)


วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

หลักฐานศาสนาคือกิตาบุลลอฮ์และสุนนะฮ์


หลักฐานศาสนาคือกิตาบุลลอฮ์และสุนนะฮ์


ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إن الله فرض فرائض فلا تضيعواها وحد جدودا فلا تعتدوها وحرم أشياء فلا تنتهكوها وسكت عن أشياء رحمة لكم عير نسيان فلا تبحثوا عنها

“แท้จริงอัลลอฮ์ได้กำหนดข้อบัญญัติใดๆไว้ พวกเจ้าก็อย่าละเลย และพระองค์กำหนดขอบเขตใดๆไว้ พวกเจ้าก็อย่าละเมิด และพระองค์ทรงห้ามสิงใดไว้ พวกเจ้าก็อย่าฝ่าฝืนมัน และสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้คือความเมตตาที่มีต่อพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าก็อย่าไปค้นหามัน” ฮะดีษบทนี้รายงานโดย อัดดารุ กุฏนีย์ และท่านอื่นๆ ซึ่งบรรดานักฮะดีษให้สถานะว่า ฮะดีษฮะซัน

######
ข้อความในฮะดีษที่ว่า (และสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้คือความเมตตาที่มีต่อพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าก็อย่าไปค้นหามัน) ในประเด็นนี้รวมถึงเรื่องการ “กิยาส” ด้วย เพราะมิได้หมายความว่า ใครจะนำเรื่องใดมาเปรียบเทียบกับเรื่องใดก็ได้ตามความต้องการของแต่ละคน แต่ ญุมฮุรอุลามาอ์ (ปวงปราชญ์โดยส่วนใหญ่) ก็อนุญาตให้ กิยาสได้เมื่อมีเหตุของความจำเป็น โดยจะต้องพิจารณา ถึง อิลละห์, ชุรูฏ และกฏเกณฑ์อื่นๆของการกิยาสอย่างรอบคอบ

หลักฐานทางศาสนานั้น คือ อัลกุรอาน และฮะดีษหรือซุนนะห์ของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และหรือซุนนะห์ของบรรดาคอลีฟะห์ที่ท่านนบีให้การรับรอง ส่วนเรื่องการกิยาสนั้นคือวิธีการ ซึ่งบางคนเรียกว่า การอนุมาน หรือการเปรียบเทียบ

สำหรับบรรดานักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกันการนำเสนอทัศนะของนักวิชาการบางท่าน ก็เป็นเพียงการแสดงทัศนะด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ทั้งหมดไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็มิใช่หลักฐานศาสนาทั้งสิ้น

เราจะต้องยึดอุลามาอ์ทีปรากฏหลักฐาน ไม่ยึดอุลามาอ์เฉพาะที่ตนชื่นชอบ และตรงกับสติปัญญาของตน แต่ปราศจากหลักฐาน

วัลลอฮุอะลัม

แบบการนั่งขณะละหมาด









1.นั่งแบบ “อิฟติรอช” ให้แบเท้าซ้าย แล้วให้ก้นทับเท้าซ้าย โดยให้เท้าขวาชันขึ้น และให้นิ้วเท้าหันไปทางกิบละฮ์
-นั่งแบบ “อิฟติรอช”นั่งในกรณีระหว่างสองสุญูด((หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยมุสลิมหะดิษลขที่ 768)
-และในขณะนั่งตะชะฮุดครั้งแรก((หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 270)


2.นั่งแบบ "ตะวัรรุก”โดยให้ก้นแนบกับพื้น เท้าซ้ายยื่นไปที่ขาอ่อนกับหน้าแข้งขวา ส่วนเท้าขวายกชันขึ้น นิ้วเท้าหันไปทางกิบละฮ์
หรือนั่งตะวัรรุก โดยทำก้นแนบกับพื้น เท้าซ้ายยื่นไประหว่างขาอ่อน กับหน้าแข้งขวา ส่วนเท้าขวาแบราบกับพื้น(หะดิษเศาะเฮียะฮ์..บันทึกโดยมุสลิม หะดิษที่ 909)

-นั่งแบบตะวัรรุกนี้นั่งในกรณีในขณะนั่งตะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย

รายงานจากท่านหุมัยด์ ความว่า “เมื่อท่านรสูล นั่งในร้อกอะฮฺสุดท้าย ท่านจะยื่นเท้าซ้ายมาข้างหน้า และชันหน้าฝ่าเท้าอีกข้างหนึ่ง(เท้าขวา)และ(ก้น)นั่งราบกับพื้น”
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 675)

...ส่วนกรณีการละหมาดที่มีสองร็อกอะฮ์ เช่นละหมาดศุบฮ์ มีสุนนะฮ์ให้นั่งแบบอิฟติรอช วึ่งปรากฏหลักฐานในหะดิษของนะสาอีย์(หนังสือ ศิฟะตุเศาะลาตินนบี” หน้า 155)
ส่วนบางทัศนะก็ให้นั่งแบบตะวัรรุก(เช่นทัศนะของอิมามชาฟีอีย์)

นักวิชาการฝ่ายอัชชาฟิอียะฮฺระบุว่า : ฮิกมะฮฺในการนั่งอิฟติรอชฺในการอ่านตะชะฮฺฮุดแรก และนั่งตะวัรรุกในตะชะฮฺฮุดครั้งที่ 2 ก็เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงต่อรำลึกถึงการละหมาดและไม่เกิดความสับสนในจำนวนของรอกอะฮฺ และเป็นเพราะว่าซุนนะฮฺให้นั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรกแบบเบา ๆ (คือไม่นานเกินไป) จึงให้นั่งแบบอิฟติรอชฺ เพื่อจะได้ง่ายและสะดวกในการลุกขึ้นยืน และซุนนะฮฺให้นั่งตะชะฮฺฮุดครั้งที่ 2 ยาว (คือนาน) และไม่มีการลุกขึ้นยืนหลังจากนั้นอีก จึงให้นั่งตะวัรรุกเพื่อจะได้เป็นการหนุนเนื่องสำหรับการอ่านตะชะฮฺฮุดและขอดุอาอฺได้เต็มที่ และเป็นเพราะว่าผู้ที่มาละหมาดทีหลัง (มัซบู๊ก) เมื่อเห็นเขานั่งตะวัรรุกก็รู้ว่าผู้ละหมาดอยู่นั้นอยู่ในการตะชะฮฺฮุดครั้งใด (อ้างแล้ว 3/431)

แม้การนั่งตะชะฮุดในร็อกอะฮ์สุดท้าย ของละหมาดที่มีสองร็อกอะฮ์จะเป็นรุก่นก็ตาม แต่ทว่า วิธีการนั่งจะเลือกนั่งแบบอิฟติรอช หรือนั่งแบบตะวัรรุกนั้น สามารถเลือกปฏิบัติได้ เพราะวิธีการนั่งมีหุก่มเป็นสุนนะฮ์ ส่วนผู้ละหมาดจะให้น้ำหนักทัศนะไหนนั้นเป้นสิทธิของแต่ละบุคคล

และ ถึงแม้อิมามจะนั่งอีกแบบกับเรา เหมือนเอามือแนบอก เหนือสะดือ ใต้สะดือ การกระดิกนิ้ว ไม่กระดิกนิ้ว การยกมือ เสมอบ่า หรือเลยบ่า ทั้งหมดมาจากรูปแบบท่านนบี ไม่ทำให้การละหมาดนั้นเสียไป

 والله أعلم

คนต่างศาสนิกไม่ใช่นะญิส






พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า " إنما المشركون نجس " ความว่า "แท้จริงบรรดามุชริก (ผู้ตั้งภาคี) ถือว่าโสมม" (สูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 28)

อายะฮฺข้างต้นระบุว่า คนมุชริกเป็นนะญิส หรือสกปรกโสมม ซึ่งความหมายของอายะฮฺข้างต้นหมายถึง คนมุชริกมีความเชื่อ (อะกีดะฮฺ) ที่สกปรก หรือความเชื่อที่เลอะเทอะต่างหากไม่ใช่หมายรวมว่า คนต่างศาสนิกมีเนื้อตัวที่สกปรกเป็นนะญิส ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
...เนื้อตัว หรือเหงื่อของคนต่างศาสนิกไม่ใช่นะญิส ซึ่งเราเข้าใจผิดกันมาโดยตลอด ทีนี้เราก็ต้องเปลี่ยนความเข้าใจนั้นใหม่ ในเมื่อคนกาฟิรฺไม่เป็นนะญิสทางด้านร่างกาย (ไม่ว่าตัวเขาแห้งหรือเปียก) ก็ตาม การเมื่อคนต่างศาสนิกทำขนม หรืออาหารที่ไม่มีสิ่งหะรอมเจือปน เช่นนี้มุสลิมสามารถรับประทานได้ เพราะเนื้อตัวของต่างศาสนิกไม่เป็นนะญิส
สำหรับการสัมผัสคนต่างศาสนิกไม่เสียน้ำละหมาด ถึงแม้จะมีเจตนาสัมผัสก็ไม่เสียน้ำนมาซ แต่มีความผิดในกรณีตั้งใจสัมผัสเพศตรงข้ามที่แต่งงานกันได้

 والله أعلم

ชีวิตในโลกดุนยาเพียงหยดน้ำที่ติดปลายนิ้ว







รายงานจาก อิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า "ท่านรสูล ได้จับไหล่ฉันแล้วกล่าวว่า "เจ้าจงอยู่ในดลกดุนยานี้ เหมือนเจ้าเป็นคนแปลกหน้า หรือเป็นคนเดินทาง และจงนับตัวเองรวมอยู่ในชาว กุบูรฺ" และท่านอุมัร กล่าวว่า "และเมื่อท่านอยู่ในยามเย็น ท่านอย่าคอยเวลาเช้า และเมื่อท่านอยู่ในยามเช้า ท่านอย่าคอยเวลาเย็น และจงฉวยโอกาสจากความมีสุขของท่าน เพื่อยามป่วยไข้ของท่าน และจากยามที่ท่านมีชีวิตอยู่ และว่างจากการงาน"
(บันทึกหะดิษโดย บุคอรี และติรมีซีย์)

รายงานจากท่านมุสเตาริด จากท่านรสูล ได้กล่าวว่า "โลกนี้กับอาคีเราะฮ์นั้นไม่มีสิ่งใดเทียบ นอกจากมันเหมือนกับสิ่งที่คนหนึ่งจากพวกท่าน เอานิ้วจุ่มลงในทะเล ดังนั้นให้เขาจงมองดูเถิดว่า จะมีสิ่งใดติดกลับขึ้นมาไหม"
(บันทึกหะดิษโดย ติรมีซีย์)

การใช้ภาชนะของคนนอกศาสนิกในการประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม







รายงานจากอะบีซะอฺละบะห์ ว่า เขาได้ถามท่านรสูล โดยกล่าวว่า “แท้จริงพวกเรา(ได้เดินทาง)ผ่านพวกที่ศรัทธาในคัมภีร์ โดยพวกเขาจะต้มหมูในหม้อของพวกเขา และจดื่มสุราในภาชนะของพวกเขา” ท่านตอบว่า “ถ้าพวกท่านพบ(หม้อและภาชนะ)อื่น ก็ให้ท่านทั้งหลายจงรับประทานและดื่มใน(หม้อและภาชนะ)นั้น แต่ถ้าหากพวกท่านไม่พบ(หม้อและภาชนะ)อื่น ให้พวกท่านจงล้างมันด้วยน้ำ และจงรับประทานและจงดื่ม”
(บันทึกโดย บุคอรี มุสลิม อบูดาวูด และติรฺมีซีย์)

รายงานจากยาบิร ได้กล่าวว่า “พวกเราได้เคยออกไปทำสงครามพร้อมกับท่านรสูล และพวกเราได้เอาภาชนะและถุงหนังใส่น้ำของมุชริกิน(พวกตั้งภาคี) พวกเราได้นำมาใช้ โดยท่านรสูลไม่ได้ตำหนิพวกเรา”
(บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด)

ท่านรสูลุลลอฮ์ ได้ถูกถามถึงหม้อหุงต้มของพวกบูชาไฟ(คือพวกที่ยึดถือว่า โลกนี้มีต้นกำเนิดอยู่สอง ได้แก่แสงสว่าง และความมืด แสงสว่างคือความดี ความมืดคือความชั่วร้าย) ท่านตอบว่า “พวกท่านจงล้างมันให้สะอาดและจงใช้มันในการหุงต้ม”
(บันทึกหะดิษโดยติรฺมีซีย์)

จากหลักฐานข้างต้นแสดงว่า อนุญาตให้ใช้ภาชนะ(หม้อ กระทะ จาน ชาม ช้อน....)ของพวกที่ศรัทธาในคัมภีร์(ยิว คริสต์)และพวกตั้งภาคี(บูชาไฟ,พุทธ,พราหมณ์..)ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องล้างให้สะอาดเสียก่อน แต่หากมีภาชนะอื่นที่สะอาดก็ควรใช้ภาชนะนั้น เช่นหากเราอยู่ห้องพักกับเพื่อนต่างศาสนิก หากเพื่อนต่างศาสนิกนำจานไปใส่หมู เมื่อเรานำมาใช้เราก็ต้องล้างให้สะอาด แต่ถ้าเราแยกภาชนะจะเป็นการดีกว่า...ที่กล่าวมาเป็นเพียงภาชนะเท่านั้น ไม่รวมถึงอาหารเครื่องดื่ม ถึงแม้ภาชนะที่สะอาด แต่อาหารนั้นหะรอม ก็รับประทานไม่ได้ เช่น คนศาสนิกนำน้ำมันปาล์มไปทอดหมู เราก็นำน้ำมันนั้นไปทำกับข้าวอีกที่ ถือว่าเจือปนสิ่งหะรอม ไม่เป็นที่อนุมัติจากศาสนา นอกจากมีความจำเป็นตามที่ศาสนาระบุไว้
والله أعلم

ตำแหน่งการวางมือทั้งสอง(สุนนะฮิ) ตำแหน่งการวางมือทั้งสองภายหลังการตักบีรฺขณะละหมาด







ท่านอาอิลเล่าว่า "ฉันเห็นท่านรสูลุลลอฮฺ(ซ.ล.) ขณะละหมาด โดยท่ารสูลใช้มือขวากำมือซ้าย" (ฮาดิษเศาะหีหฺ...บันทึกโโดยนะสาอีย์ หะดิษที่๘๗๗)

ท่านนบีห้ามวางมือไว้ข้างเอว ท่านอบูฮุร็อยเราะหฺเล่าว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺ(ซ.ล.)ห้ามนำมือ(ขวาทับลงบนมือซ้าย)วางไว้ข้างสะเอว(ซ้าย)ในขณะละหมาด"(หะดิษเศาะหี้หฺ...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษที่๘๑๐ และติรฺมรซีย์ หะดิษที่ ๓๔๙)

"ท่านรอสูล(ซ.ล.)เดินผ่านชายคนหนึ่งซึ่งเขากำลังละหมาดอยู่ โดยเขาวางมือซ้ายทับบนมือขวา ท่านรสูลก้แกะมือเขาออก แล้วเปลี่ยนมือขวาวางทับมือซ้าย"(ฮาดิษเศาะหีหฺ...บันทึกโดยอะหมัด หะดิษที่๑๔๕๕๘)

ท่านวาอิล บุตรของหุจญ์รินเล่าว่า "เมื่อท่านรสูล(ซ.ล.)ยืนขึ้นตักบีรฺ ซึ่งท่านรสูลยกมือทั้งสองจนกระทั้งอยู่ในระดับเดียวกับใบหูทั้งสองของท่านรสูล จากนั้นท่านรสูลก็วางมือขวาทับบนหลังมือซ้าย และ(วางบน)ข้อมือซ้าย และ(วางบน)ท่อนแขนซ้าย"(หะดิษเศาะหีหฺ...บันทึกฮาดิษโดยอะหฺมัด หะดิษที่๑๘๑๑๕ นะสาอีย์ หะดิษที่๘๗๙ และอบูดาวูด หะดิษที่ ๖๒๔)

ท่านวาอิล บุตรของหุจญ์รินเล่าว่่า "ฉันละหมาดพร้อมกับท่านรสูล(ซ.ล.) โดยท่านรสูลวางมือขวาทับมือซ้ายบนหน้าอกของท่านรสูล"(หะดิษเศาะหีหฺ...คัดจากหนังสือ "อัลวะญิช"หน้า๙๘

ท่านอฺลีย์กล่าวว่า "ส่วนหนึ่งจากสุุุุนนะฮ์ในละหมาด คือ การวางมือทับบนมือ (วางบริเวณ)ใต้สะดือ(บันทึกโดยอะหฺมัด อบูดาวูด อิบนุคุซัยมะฮ์ และอัดดารุกฏนีย์)

ท่านอิมามอะหฺมัดถุกถามถึงเรื่องดังกล่าว อิมามอะหิมัดตอบว่า "จะวางมือเหนือสะดือก็ได้ , จะวางตรงสะดือก้ได้ , หรือจะวางใต้สะดือก็ได้ ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งเปิดกว้าง" บรรดานักวิชาการเพียรพยายามทุกวิถีทางเพื่อได้มาซึ่งความถูกต้อง ความแม่นยำต่อสุนนะฮ์นบีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมจึงมีหลากหลายในเรื่องทัสนะ โดยเฉพาะการวางมือทั้งสองระดับไหน เป็นเรื่องที่ต้องค้นหาและให้น้ำหนักในการเลือกปฏิบัติ ซึ่งพวกเขาขัดแย้งกันในประเด็นสถานะของหะดิษว่าอยู่ในระดับไหนเท่านั้น

ถึงแม้ว่าหะดิษที่ให้วางมือแต่ละระดับ นักวิชาการได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นหะดิษที่ไม่ถูกต้อง แต่มีหะดิษที่เศาะเฮียะฮ์ที่รายงานการเอามือขวาทับมือซ้าย โดยวางมือขวาทับบนหลังมือซ้าย และ(วางบน)ข้อมือซ้าย และ(วางบน)ท่อนแขนซ้าย มิได้ยืนตรงๆเอามือแนบลำตัวแต่อย่างใด

ต่อไปนี้เป็นหะดิษเกี่ยวกับตำแหน่งการวางมืที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นหะดิษฎออิฟ



ท่านวาอิล อิบนุ หุจญ์รฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า:
صليت مع رسول الله صلى الله عليه و سلم ووضع يده اليمنى على يده اليسرى على صدره
ความว่า: ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่าน เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม และท่านได้วางมือขวาของท่านบนมือซ้ายของท่านบนหน้าอก.
(หะดีษบันทึกโดยอิบนุคุซัยมะฮฺในหนังสือ "อัศ-เศาะหีหฺ" เลขที่: 479, และอบูอัช-ชัยคฺ อัล-อัศบะฮานีย์ในหนังสือ "เฏาะบะกอต อัล-มุหัดดิษีน บิ อัศ-บะฮาน" 2/268.)

ทั้งสองรายงานด้วยสายรายงานถึงมุอัมมัล จากสุฟยาน จากอาศิม อิบนุ กุลัยบฺ จากพ่อของเขา จากวาอิล อิบนุ หุจญ์รฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ.
และมีอีกสายรายงานหนึ่งที่รายงานจากวาอิล อิบนุ หุจญ์รฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ด้วยสำนวนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งบันทึกโดยอัล-บัยหะกีย์ในหนังสือ "อัส-สุนัน อัล-กุบรอ" เลขที่: 2335. ด้วยสายรายงานถึงมุหัมมัด อิบนุ หุจญ์รฺ อัล-หัฎเราะมีย์ จากสะอีด อิบนุ อับดุลญับบารฺ อิบนุ วาอิล จากพ่อของเขา (คืออัลดุลญับบารฺ อิบนุ วาอิล) จากแม่ของเขา (นั่นคือแม่ของอับดุลญับบารฺ) จากวาอิล อิบนุ หุจญ์รฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ.

ข้อมูลนักรายงานหะดีษ
1. มุอัมมัล อิบนุ อิสมาอีล (เสียชีวิตฮ.ศ 206)
อิบนุ สะอฺดฺกล่าว่า: "ษิเกาะฮฺ มีความผิดพลาดมาก"
อิบนุ มะอีนกล่าวว่า: "ษิเกาะฮฺ"
อบูหาติมกล่าวว่า: "เศาะดูก มีความเข้มงวดในสุนนะฮฺ มีความผิดพลาดมาก"
อัล-บุคอรีย์กล่าว่า: "มุนกัรฺ อัล-หะดีษ"
อบูซุรฺอะฮฺกล่าวว่า: "ในหะดีษของเขามีความผิดพลาดมาก"
อิบนุหิบบานระบุชื่อเขาในหนังสือ "อัษ-ษิกอต" และท่านกล่าวเสริมว่า: "บางทีมีความผิดพลาด"
อัซ-ซะฮะบีย์กล่าวว่า: "หาฟิษ (ผู้ท่องจำหะดีษ) อาลิม (ผู้รู้) มีความผิดพลาด"

อิบนุหะญัรฺกล่าวว่า: "เศาะดูก มีความจำที่ไม่ดี"
บางคนกล่าวว่า: "เขาได้ฝังบรรดาหนังสือของเขา แล้วเขารายงานหะดีษจากความจำ เลยทำ ให้มีความผิดพลาดมาก"
สรุป: มุอัมมัล อิบนุ อิสมาอีลมีระดับความน่าเชื่อถือที่ใช้ได้ แต่ทว่าท่านมีความผิดพลาดมากและมีความจำที่ไม่ดี.

2. สุฟยาน อิบนุ สะอีด อัษ-เษารีย์ (เสียชีวิตฮ.ศ 161)
อิบนุหะญัรฺกล่าว่า: "ษิเกาะฮฺ หาฟิซ ฟะกีฮฺ อาบิด อิมาม หุจญะฮฺ"


3. อาศิม อิบนุ กุลัยบฺ (เสียชีวิตฮ.ศ 137)
อิบนุสะอฺดฺกล่าวว่า: "ษิเกาะฮฺ สามารถเอาเขามาเป็นหลักฐานได้ ไม่ได้รายงานหะดีษมาก"
อิบนุมะอีนกล่าวว่า: "ษิเกาะฮฺ"
อิบนุหิบบานระบุชื่อเขาไว้ในหนังสือ: "อัษ-ษิกอต"
อิบนุ อัล-มะดีนีย์กล่าวว่า: "ไม่สามารถเอาเขามาเป็นหลักญานได้ เมื่อเขารายงานเพียงคนเดียว"
อัล-อิจญ์ลีย์กล่าวว่า: "ษิเกาะฮฺ"
อบูหาติมกล่าว่า: "ศอลิหฺ"
อิบนุหะญัรฺกล่าวว่า: "เศาะดูก"

4. กุลัยบฺ อิบนุ ชิฮาบ (พ่อของอาศิม)
อิบนุสะอฺดฺกล่าวว่า: "ษิเกาะฮฺ รายงานหะดีษมาก"
อบูซุรฺอะฮฺกล่าวว่า: "เป็นชาวกูฟีย์ ษิเกาะฮฺ"
อิบนุหิบบานได้ระบุชื่อเขาในหนังสือ: "อัษ-ษิกอต"
อัล-อิจญ์ลีย์กล่าว่า: "ษิเกาะฮฺ"
อิบนุหะญัรฺกล่าวว่า: "เศาะดูก"

5. วาอิล อิบนุ หุจญ์รฺ (เสียชีวิตประมาณฮ.ศ 50)
เป็นเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม พำนักอยู่ที่เมืองหัดเราะเมาตฺ (Hadhramaut) ประเทศเยเมน และเป็นเชื้อสายของกษัตริย์หัดเราะเมาตฺ ท่านได้เดินทางไปยังนครมะดีนะฮฺเพื่อเข้ารับอิสลามและท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้ดุอาอ์ให้แก่เขา.

สถานะของหะดีษ
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษชาซ ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟ เนื่องจากมุอัมมัล ถึงแม้ว่าระดับความน่าเชื่อถือของเขาจะอยู่ในระดับที่ใช้ได้ (เศาะดูก) แต่ว่าเขามีความผิดพลาดมากในการรายงานหะดีษ ฉะนั้นในการรับหะดีษจากมุอัมมัลจึงจำเป็นต้องตรวจสอบสายรายงานอื่น ๆ ว่าค้านกับสายรายงานของมุอัมมัลหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อยืนยันได้ว่าหะดีษที่เขารายงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากความผิดพลาดของเขาหรือไม่
และจากการตรวจสอบพบว่ามีนักรายงาน 8 คน ที่รายงานหะดีษข้างต้นด้วยสายรายงานของมุอัมมัล (นั่นคือสายรายงานจากสุฟยาน อัษ-เษารีย์ จากอาศิม อิบนุ กุลัยบฺ จากพ่อของเขา จากวาอิล อิบนุ หุจญ์รฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ) แต่ในสายรายงานดังกล่าวไม่ได้ระบุประโยคที่ว่า "บนหน้าอก" ซึ่งค้านกับการรายงานของมุอัมมัลที่ระบุว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้วางบนหน้าอก


ท่านฮุลบฺ อัฏ-ฏออีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า:
رأيت النبي صلى الله عليه وسلم ينصرف عن يمينه وعن يساره ورأيته قال يضع هذه على صدره وصف يحيى اليمنى على اليسرى فوق المفصل
ความว่า ฉันได้เห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม หันไปทางขวาและทางซ้าย และฉันได้ยินท่านกล่าวว่า เอานี้วางบนหน้าอก และท่านยะหฺยาได้แสดงลักษณะโดยการวางมือขวาบนมือซ้ายเหนือข้อมือ.


(หะดีษบันทึกโดยอะหฺมัดในหนังสือ "อัล-มุสนัด" เลขที่ 21967. ด้วยสายรายงานถึงยะหฺยา อิบนุ สะอีด จากสุฟยาน จากสิมาก จากเกาะบีเศาะฮฺ อิบนุ ฮุลบฺ จากพ่อของเขา (ฮุลบฺ อัฏ-ฏออีย์).)

หะดีษของฮุลบฺ อัฏ-ฏออีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เป็นหะดีษที่เฎาะอีฟและชาซ เนื่องจากเกาะบีเศาะฮฺ อิบนุ ฮุลบฺ เป็นนักรายงานที่ "มัจญ์ฮูล" ดังที่ท่านอิบนุ อัล-มะดีนีย์ได้กล่าวไว้ ส่วนการที่ท่านอิบนุหิบบานและอัล-อิจญ์ลีย์ได้ระบุชื่อเขาไว้ในหนังสือ "อัษ-ษิกอต" นั้น ไม่สามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานได้ว่านักรายงานคนดังกล่าวเป็นนักรายงานที่ "ษิเกาะฮฺ" เพราะท่านทั้งสองมีแนวทางหรือมันฮัจญ์ที่ค้านกับนักหะดีษส่วนใหญ่นั่นคือ การเหมารวมว่านักรายงานที่มัจญ์ฮูลเป็นนักรายงานที่ษิเกาะฮฺ เพราะพื้นฐานเดิมของมุสลิมคือ "ษิเกาะฮฺ"
หรือถ้าจะยึดตามทัศนะของอิบนุหะญัรฺหะดีษบทนี้ก็ยังไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ เพราะอิบนุหะญัรฺกล่าวว่า "มักบูล" กล่าวคือ เมื่อมีสายรายงานอื่นสมทบ แต่ถ้าไม่มีเขาก็จะอยู่ในระดับ "ลัยยิน" และจากการตรวจสอบไม่พบว่ามีสายรายงานอื่น (متابع ) สนับสนุนสายรายงานของเกาะบีเศาะฮฺเลย ดังนั้นในหะดีษบทนี้เขาจึงอยู่ในระดับ "ลัยยิน" ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้หะดีษอยู่ในระดับเฎาะอีฟ.

والله أعلم



หะดิษที่ว่าวิญญาณท่านนบีจะมาร่วมในสถานที่ที่การอ่านประวัติวันเกิด






มีการอ้างว่า มีการรายงานหะดิษ บันทึกโดย อัด-ดารุลกุดนีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ.385) ว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ซ็อลลัลลออฮุอะลัยฮิวะซันลัม กล่าวว่า “ดวงวิญญาณของฉันจะมา ในสถานที่ที่มีการอ่านประวัติการเกิดของฉัน” 
หะดิษข้างต้น ไม่ทราบใครรายงาน ไม่มีที่มาที่ไป ถือเป็นหะดิษเก๋ (หะดิษเมาฎัวะ)

จากฮะดีษเมาฎั๊วะ ถ้าจะเอามาเป็นหลักฐานจริงๆ ขนาดเป็นเมาฎั๊วะก้ยังไม่ได้บอกให้จัดงานเมาลิดเพียงแค่บอกว่า “ดวงวิญญาณของฉันจะมา ในสถานที่ที่มีการอ่านประวัติการเกิดของฉัน” ...ถ้าศาสนาใช้ความคิด คิดเอาเอง เห็นว่าดี มาตรฐานของศาสนาจะอยู่ที่ไหน เพราะต่างคนก็บอกว่าความคิดของตนดี ศาสนาที่เที่ยงแท้ก็คงไม่มาถึงพวกเราถึงทุกวันนี้ เรื่องศาสนาต้องมีหลักฐานที่ถูกต้องซึ่งมาจากกิตาบุ้ลลอฮฺและซุนนะฮฺ

สำหรับกรณีที่อ้างว่า" บ้าน มัสยิด หรือสถานที่ใดที่มีการจัดงานเมาลิด อานประวัตินบี มลาอีกาะห์รอห์มัตจะห้อมล้อมเขาเหล่านั้น และอัลเลาะห์จะประทานรอห์มัตให้กับผู้ที่จัดงานเมาลิด "
ก็ไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีร่องรอยของหะดิษ

แต่มีหะดิษต่อไปนี้
ท่านนบีมุหัมมัดกล่าวว่า

« مَا مِنْ قَوْمٍ يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلاَّ حَفَّتْ بِهِمُ الْمَلاَئِكَةُ وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِينَةُ وَذَكَرَهُمُ اللَّهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ »

"กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดก็ตามที่รำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ เช่นนั้นมลาอิกะฮฺจะห้อมล้อม, ความเมตตาจะปกคลุมพวกเขา, ความสงบจะก็ประทานมายังพวกเขา และพระองค์อัลลอฮฺจะอยู่ร่วมกับบุคคลที่รำลึกถึงพระองค์" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์)

ฉะนั้นที่ระบุว่ามลาอิกะฮฺห้อมล้อมพวกเขา คือบุคคลที่รำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ ตัวอย่างเช่น ร่วมกันศึกษาอัลกุรฺอาน, ร่วมกันนั่งฟังการบรรยายศาสนธรรม ทำนองนี้เป็นต้น เช่นนี้แหละมลาอิกะฮฺจะห้อมล้อม, บะเราะกะฮฺ (ความจำเริญ) จะลงมา

ส่วนกรณีที่เราทำสิ่งที่ผิดหลักการศาสนา หรือรวมตัวกันทำสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺ แม้ว่าจะมีการอ่านอัลกุรฺอานก็ตาม เช่นนี้ ไม่มีบะเราะกะฮฺลงมาอย่างแน่นอน และไม่มีมลาอิกะฮฺมาห้อมล้อมอย่างแน่นอนเช่นกัน เพราะสิ่งที่เป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) นั้น เป็นสิ่งที่ผิดหลักการศาสนา เช่นนี้ ไม่มีความจำเริญลงมายังกลุ่มที่ทำความผิดใดหรอก และไม่มีมลาอิกะฮฺท่านใดที่จะห้อมล้อมกลุ่มชนที่ฝ่าฝืนหลักการศาสนาโดยเด็ดขาด
والله أعلم

การทำความสะอาดกรณีสุนัขเลียภาชนะ


รายงานจากท่านอบูฮุร้อยเราะฮ์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า...
ความว่า "การทำความสะอาดภาชนะของบุคคลหนึ่งในหมู่พวกท่าน เมื่อสุนัขเลียภาชนะนั้นให้ล้าง 7 ครั้ง โดยครั้งแรกให้ล้างน้ำดิน" (บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 420 และอะหฺมัด หะดิาเลขที่ 9146)

รายงานจากท่านอบูฮุร้อยเราะฮ์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า...
ความว่า "เมื่อสุนัขเลียภาชนะ ดังนั้นพวกท่านจงล้าง(ด้วยน้ำ) เจ็ดครั้ง โดยครั้งที่เจ็ด ให้ล้าง(ด้วยน้ำ)ดิน" (บันทึกโดยอบูดาวูดหะดิษเลขที่ 66)

รายงานจากท่านอิบนุ มุฆ้อฟฟัลเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า...
ความว่า "เมื่อสุนัขเลียภาชนะ ดังนั้นพวกท่านจงล้าง(ด้วยน้ำ) เจ็ดครั้ง และพวกท่านจงนำภาชนะนั้นไปล้าง(น้ำ)ดินในครั้งที่แปด" (บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 422 และอะหฺมัด หะดิาเลขที่16190)
______
จากหะดิษทั้งสาม สรุปวิธีการล้างภาชนะที่สุนัขเลียได้ดังนี้
วิธีแรก ให้นำภาชนะที่ถุกสุนัขเลียไปล้างน้ำดิน จากนั้นให้นำไปล้างน้ำเปล่าหกครั้ง

วิธีที่สอง ให้นำภาชนะที่ถุกสุนัขเลียไปล้างน้ำเปล่าหกครั้ง จากนั้นให้นำภาชนะนั้นไปล้างน้ำในครั้งที่เจ็ด

วิธีที่สาม ให้นำภาชนะที่ถุกสุนัขเลียไปล้างน้ำเปล่าเจ็ดครั้ง จากนั้นให้นำภาชนะนั้นไปล้างน้ำในครั้งที่แปด
......
สรุป วิธีล้างอนุญาตให้กระทำได้สามวิธี แต่นักวิชาการเห็นว่า การล้างน้ำดินเป็นครั้งแรก จากนั้นก้ให้ล้างน้ำเปล่าอีกหกครั้ง ถือว่าเป็นการกระทำที่ประเสร็จกว่า
والسلام

ฮุก่มการละหมาดย่อนักวิชาการส่วนใหญ่ถือเป็นสิ่งจำเป็น









รายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า "อัลลอฮฺทรงกำหนดการละหมาด เมื่อพระองค์กำหนดเป็นฟัรฎูนั้นเพียงสองร้อกอะฮ์ ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรือระหว่างเดินทาง แล้วละหมาดระหว่างเดินทางนั้นก็ให้ปฏิบัติตามเดิม(คือ2ร็อกอะฮฺ) และเพิ่มละหมาดในขณะอยู่ที่บ้าน(หมายถึงให้ละหมาด4ร้อกอะฮฺ)
(บันทึกโดย บุคอรี, มุสลิมและอบูดาวูด)

รายงานจากจากท่านอิบนิอับบ๊าส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า "อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดการละหมาดโดยผ่านทางคำบอกของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในขระที่บ้าน(ไม่ได้เดินทาง)4ร้อกอะฮฺ และในขระเดินทาง 2กร้อกอะฮฺ
(บันทึกโดยมุสลิม อบูดาวูด และอันนะวะอีย์)

รายงานจากท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า "การละหมาดระหว่างการเดินทางนั้นมี 2 ร้อกอะฮฺ การละหมาดวันศุกร์นั้นมี 2 ร็อกอะฮฺ ละหมาดอีดนั้นมี 2 ร็อกอะฮฺ เป็นจำนวนเต็ม โดยไม่มีการลดหย่อนตามคำของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 
(บันทึกโดยอันนะวะอีย์ อัลบัยฮะกีย์)
รายงานจากท่านมุวัรริก ได้กล่าวว่า "ฉันได้ถามท่านอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา เกี่ยวกับการละหมาดในระหว่างเดินทาง ท่านตอบว่า "มี2ร็อกอะฮฺ มี 2 ร้อกอะฮฺ ผู้ใดปฏิบัติค้านกับซุนนะฮฺ เขาเป็นผู้ปฏิเสธ"
(บันทึกโดยอัฏฏ็อบรอนีย์ อัฏฏ่อฮาวีย์)

ท่านอิมามอัซซอนอานีย์ได้กล่าวในหนังสือ "สุบุลุสสลาม" เล่ม2 หน้า442 ว่า "การที่ท่านอิบนิอุมัรกล่าวว่า "ผู้ใดปฏิบัติค้านกับซุนนะฮฺเขาเป็นผู้ปฏิเสธ" นั้น เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ท่านอิบนิอุมัรไม่ได้ใช้คำพุดนี้โดยพลการ หากแต่ท่านได้ทราบว่าดังกล่าวเป็นคำพูดของท่านรสูล จึงถือว่าคำพุดของท่านอิบนิอุมัรเป็นหะดิา "มัรฟั๊วอฺ(อ้างจากท่านนบี)"

ท่านอิมามอันนะวะวีย์ได้กล่าวในหนังสือ "ชัรฮุซ่อฮีฮิมุสลิม" เล่ม5 หน้า1941 ว่า "ท่านอิมามอบูฮะนีฟะฮฺ(ฮะนาฟีย์)และนักวิชาการจำนวนมากกล่าวว่า การละหมาดย่อในระหว่างเดินทางนั้นเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) ไม่อนุญาตให้ละหมาดเต็ม(ในละหมาดที่มี 4 ร็อกอะฮฺ)

ท่านฮัมมาด อิบนิ อบีสุไลมาน ซึ่งเป็นอาจารย์ของอิมามอบูฮธนิฟะฮฺได้กล่าวว่า "บุคคลที่ละหมาดเต็ม(4ร้อกอะฮฺ)นั้น ต้องละหมาดใหม่(หมายถึงต้องละหมาดย่อใหม่) และท่านอิมามมาลิกกล่าวว่า "บุคคลละหมาดเต็ม(4ร้อกอะฮฺ)ต้องละหมาดใหม่ ตราบใดที่ยังอยู่ในเวลาละหมาดนั้น"

 والسلام

อิสลามเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ไม่ใช่ของคนหนึ่งหรือกลุ่มใดแม้แต่ท่านนบีมูฮัมหมัด


อัลลอิสลามมิได้เป็นศาสนาของคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ มิได้เป็นศาสนาที่ใครจะแอบอ้างหรือทึกทักเอามาเป็นของตัวเอง หรือจะอ้างสิทธิในการปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติม เพราะอัลอิสลามเป็นศาสนาของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงกล่าวว่า
"แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮ์นั้นคือ อัลอิสลาม...."(อัลกุรอานซูเราะฮฺ อาละอิมรอน 3:19)

ฉะนั้นคนที่นับถือศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่า "มุสลิม" จึงมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามคำสอน โดยไม่มีหน้าที่ไปคิดค้น แก้ไข เปลี่ยนแปลงในเรื่องศาสนา แม้กระทั้งท่านนบีมูฮัมหมัดเองก็ตาม ถึงท่านจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูต แต่ท่านก็มีหน้าที่ในการประกาศและปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ถูกบัญชามายังท่านเท่านั้น

พระองค์อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า
"จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ฉันมิได้เป็นคนแรกในบรรดาร่อซูล และฉันไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแก่ฉันและแก่พวกท่าน ฉันมิได้ปฏิบัติตามสิ่งใดนอกจากสิ่งที่ถูกวะฮียฺให้แก่ฉัน และฉันมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นผู้ตักเตือนอันชัดแจ้ง"(อัลกุรอานซูเราะฮฺ อัลอะฮฺก็อฟ 46:9)

จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ที่บางคนเรียกขานศาสนาอิสลามว่า "ศาสนมะหะหมัด" หรือ"ศาสนาพระมะหะหมัด" เพราะท่านนบีมูฮัมหมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม เป็นผู้ที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้งให้ประกาศศาสนาเท่านั้น ท่านมิได้ตรัสรู้เรื่องของศาสนาอิสลาม เพราะการตรัสรู้นั้นก็คือ การรู้ด้วยปัญญา แต่อิสลามมาด้วย "วะฮีย์" والسلام

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

บิดอะฮฺ - อุตริกรรม ชะรีอะฮฺที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นใหม่




บิดอะฮฺ - อุตริกรรม ชะรีอะฮฺที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นใหม่




บิดอะฮฺ(อุตริกรรม) ถูกให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่ถูกนำเข้ามาในศาสนา โดยที่อัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ไม่เคยนำเข้ามา ไม่เคยสั่งใช้ โดยผู้คนเชื่อว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา มันจึงถูกกระทำไปด้วยความมุ่งหมายที่จะได้รางวัลตอบแทนจากอัลลอฮฺ  พร้อม ๆ กันนี้ ได้มีการวางวิธีการต่าง ๆ มีเงื่อนไขต่าง ๆ ที่อ้างขึ้นมา เสมือนหนึ่งเป็นการวางฮุกมฺ(กฏเกณฑ์)ทางชะรีอะฮฺ(กฎหมายอิสลาม)
         ดังนั้น บิดอะฮฺก็คือชะรีอะฮฺที่ถูกอุปโลกน์ขึ้น โดยตรงข้ามกับชะรีอะฮฺ อิลาฮียะฮฺ(กฎหมายของพระผู้เป็นเจ้า) มันจึงมีหลักนิติศาสตร์ของมันที่เป็นอิสระ มีชนิดของฟัรฎู(ข้อกำหนด)และวาญิบ(ข้อบังคับ) มีชนิดของ ซุนนะฮฺและมันดูบ(ข้อส่งเสริมให้กระทำ) ซึ่งในบางครั้งมันถูกวางขึ้นเท่าเทียมกับชะรีอะฮฺ อิลาฮียะฮฺ(กฎหมายของพระผู้เป็นเจ้า) และบางครั้งถูกวางไว้เหนือกว่าอีกทั้งในความสำคัญและความสูงส่ง

        บิดอะฮฺจึงทำให้ขอบเขตของตัวมันเองหลุดออกไปจากความแท้จริงที่แจ่มชัด(คืออิสลาม) ซึ่งเป็นศาสนาที่ถูกทำให้สมบูรณ์แล้ว ตัวชะรีอะฮฺเองก็ถูกทำให้เสร็จสิ้นแล้วเช่นกัน

        แล้วด้วยเหตุอันใดเล่าที่ต้องไปกำหนดขึ้นมาอีก แล้วด้วยเหตุผลอันใดเล่าที่ต้องไปวางหลักการเรื่องฟัรฎู(ข้อกำหนด) วาญิบ(ข้อบังคับ)อีก ทั้งที่แหล่งที่วางหลักการศาสนาได้ถูกปิดไปแล้ว แล้วการงานรูปแบบใหม่ชนิดไหนกันล่ะที่ได้อ้างไปยังศาสนานี้ มันจึงไม่สามารถเกิดสิ่งเหล่านี้ได้อีกแล้ว เว้นแต่เป็นสิ่งปลอมแปลงที่เกิดขึ้นมา ซึ่งมันเป็นสิ่งดีในแบบที่อิหม่ามมาลิกได้บอกไว้ว่า

      “ใครก็ตามประดิษฐ์ขึ้นในอิสลามซึ่งอุตริกรรมชนิดหนึ่ง แม้มันจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ดี  เท่ากับเขาได้กล่าวหามุฮัมมัด ว่าหลอกลวงคำสอนแล้ว เพราะแท้จริงอัลลอฮฺได้ตรัสว่า วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า  ดังนั้น หากว่าวันนั้นไม่มีศาสนา(ที่สมบูรณ์)เกิดขึ้นแล้ว วันนี้ก็ย่อมไม่มีศาสนาเช่นกัน” [1]

แท้จริงลักษณะพิเศษของชะรีอะฮฺที่อัลลอฮฺ ประทานลงมานั้นก็คือลักษณะที่สะดวกง่ายดายและก่อเกิดความดีงามในการประพฤติปฏิบัติ อีกทั้งสามารถนำไปใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ทุกท้องถิ่น และทุกดินแดน เนื่องจากว่าผู้ที่สามารถกำหนดนิติบัญญัติให้กับศาสนาได้ก็คือพระผู้สร้างมนุษย์ พระผู้ทรงรู้ดียิ่งถึงความจำเป็นต่าง ๆ รู้ดียิ่งถึงธรรมชาติ ศักยภาพ จุดอ่อนแอ และข้อด้อยของมนุษย์ ดังที่ปรากฏในอัล-กุรอานว่า “พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง” [2]

     ด้วยเหตุนี้เอง จึงปรากฏข้อปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ของชีวิตมนุษย์ทั้งหมดในชะรีอะฮฺของพระผู้เป็นเจ้า แต่เมื่อใดที่มนุษย์ยึดถือตัวเองเป็นผู้วางกฎให้ชีวิตตัวเองเสียแล้ว เขาจะไม่พบทางที่จะนำไปสู่ข้อปฏิบัติในด้านต่าง ๆ อีกจำนวนมาก ตราบที่อุตริกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนเข้ากับศาสนา ก็จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมจากการกำหนดของมนุษย์เองเข้าไป ความยุ่งยากซับซ้อนต่าง ๆ ก็ถูกเพิ่มเข้าไปในศาสนา จนกระทั่งว่ามันจะผลักดันให้ผู้คนต้องถอนเอาห่วงของศาสนาออกจากต้นคอของพวกเขา โดยที่พวกเขาได้ละทิ้งความโปรดปรานที่ถูกให้มอบให้แล้วในเรื่อง “การขจัดซึ่งความยุ่งยากต่างๆ” ไป ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า  “และพระองค์มิได้ทรงทำให้เป็นการลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องของศาสนา” [3]

       ลักษณะพิเศษอีกอย่างของชะรีอะฮฺ อิสลามียะฮฺ(กฎหมายอิสลาม) ก็คือการประสานกลมกลืนกันอย่างสมบูรณ์แบบ และความเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นสากล โดยสิ่งนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแบ่งแยกออกจากันไม่ว่าอยู่ในยุคใดสมัยใดหรือดินแดนใด  ดังนั้น หากมุสลิมคนใดเดินทางจากจุดหนึ่งในโลกมนุษย์ไปสู่อีกจุดหนึ่ง ก็จะไม่มีความยากลำบากหรือความยุ่งยากใด ๆ ในการปฏิบัติการงานต่างๆของศาสนา และการนำชะรีอะฮฺไปใช้ เขาไม่ต้องการวิถีชีวิตแบบใดเป็นการเฉพาะอีกแล้ว หรือต้องการแนวทางเฉพาะท้องถิ่น

       แต่ บิดอะฮฺ นั้นขาดความสอดคล้องกลมกลืนกัน มันจะถูกหลอมละลายในเบ้าหลอมท้องถิ่นของแต่ละสถานที่ และต้องจัดข้อกำหนดของเมืองนั้น ๆ ที่แตกต่างจากเมืองอื่น ๆ  จากประเทศนั้น ๆ ที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ มันจะก่อให้เกิดปัจจัยต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นเป็นการเฉพาะ จะเกิดผลประโยชน์ส่วนบุคคล จะเกิดเป้าหมายของปัจเจกชนเป็นการพิเศษ

       ดังนั้น จะเกิดบิดอะฮฺในแต่ประเทศที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนกัน แต่จะเป็นบิดอะฮฺของแต่ละมณฑล ของแต่ละเมือง ยิ่งกว่านั้นจะเกิดบิดอะฮฺของแต่ละอำเภอ แต่ละตำบล และของแต่ละบ้าน ในที่สุดสิ่งงมงายต่างๆก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว นำไปสู่ผลิตผลของศาสนาอันใหม่ที่ขัดแย้งปะทะกันและกันในทุก ๆ หมู่บ้านและทุก ๆ เมือง ในทุก ๆ อำเภอและทุก ๆ บ้าน

      เพื่อประโยชน์ที่ครอบคลุมและยาวนานที่เราสามารถเข้าใจได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ท่านเราะซูล จึงห้ามเข้าใกล้บิดอะฮฺ ท่านได้สั่งให้พวกเราออกห่างจากทุก ๆ สิ่งที่เป็นบิดอะฮฺในศาสนา และให้ปกป้องและยึดมั่นต่ออัซ-ซุนนะฮฺ(แบบอย่างของท่านเราะซูล ) ท่านเราะซูลได้กล่าวว่า

      ใครก็ตามที่ได้สร้างใหม่ในงานของเรานี้ โดยไม่ได้อยู่ในมัน มันจะถูกปฏิเสธ(จากอัลลอฮฺ) [4]พวกท่านพึงระวังการสร้างใหม่ในการงานต่างๆ แท้จริงทุกๆการสร้างใหม่นั้นเป็นอุตริกรรม และทุกๆอุตริกรรมนั้นเป็นความหลงผิด [5]


โดย เชค อบุล ฮะซัน อลี อัน-นัดวียฺ
อัล อัค แปลและเรียบเรียง   

________________________

[1] รายงานโดยอิบนุล มาญะชูน จากมาลิก(อัน-นัดวียฺ)

[2] อัล มุลกฺ 14

[3] อัลกุรอาน 22:78

[4] รายงานโดยบุคอรียฺ

[5] รายงานโดยอะหฺมัดและอบูดาวูด คัดจากมิชกาต อัล มะศอบิหฺ, บาบ อัล อิอฺติศอม บิล กิตาบิ วัซ ซุนนะฮฺ(อัน-นัดวียฺ)  เชคอัลบานียฺ จัดว่าเป็นฮะด๊ษ เศาะฮีฮฺ ในกิตาบุซ ซุนนะฮฺ หมายเลข 31(ผู้แปล)




วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

กรณีการแข่งขันนกเขาชวาหรือนกกรงหัวจุกที่เข้าข่ายการพนันขันต่อ



การแข่งขันนั้นถูกเป็นข้อบัญญัติ โดยถือว่า เป็นกีฬาที่ดี ความจริงแล้วการแข่งขันกันนั้น บางทีถือเป็นการส่งเสริม (มุสตะฮับบะฮ์) หรือบางทีก็เป็นเรื่องที่อนุญาต (มุบาฮะฮ์) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา และจุดมุ่งหมาย

การแข่งขันโดยไม่มีการต่อรองกันนั้น เป็นที่อนุญาต ทั้งที่เป็นมตินักปราชญ์ ส่วนการแข่งโดยมีการต่อรอง ก็เป็นที่อนุญาตในรูปแบบต่อไปนี้
****อนุญาตให้เอาเงินในการแข่งขันได้ ถ้าปรากฏว่าการแข่งขันมาจากเจ้าเมือง หรือจากคนอื่น เช่น เขากล่าวแก่ผู้ที่เข้าแข่งขันว่า “ผู้ใดในหมู่พวกท่านได้ชัยชนะ เขาจะได้เงินจำนวนนี้ไป”

****หรือคนหนึ่งในจำนวนผู้เข้าแข่งขันได้ออกเงินจำนวนหนึ่ง แล้วกล่าวแก่ผู้เข้าร่วมแข่งขันว่า “หากท่านชนะฉัน เงินจำนวนนี้ก็เป็นของท่าน และหากฉันชนะ ท่านก็จะไม่ได้อะไรจากฉัน และฉันจะไม่ได้อะไรจากท่าน

*****ถ้าปรากฏว่าเงินมาจากผู้แข่งขันทั้งสอง หรือเอามาจากผู้เข้าร่วมแข่งขัน โดยที่พวกเขากำหนดให้มีคนกลางเป็นผู้เอาเงินถ้าคนหนึ่งชนะ ส่วนคนที่แพ้ก็ไม่ปรับเงินแต่ประการใด

รายงานจากอนัส ว่า ในสมัยท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซันลัม พวกท่านเคยต่อรองกันไหม? และท่านรสูลเองเคยต่อรองไหม ?
เขาตอบว่า “มีการต่อรอง ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ได้มีการต่อรองกันในเรื่องม้าตัวหนึ่ง ชื่อ สัฟฮะฮ์ ผู้คนได้ชัยชนะกัน เรื่องดังกล่าวนั้นได้มีการกล่าวขวัญกันมาก และเป็นที่ประหลาดใจของผู้คน”
(บันทึกหะดิษโดย อิมามอะหฺมัด)

++++++!!!!!ไม่อนุญาตให้มีการต่อรองกันในกรณ๊ที่เมื่อแต่ละคนได้ชัยชนะก็จะได้เงินไป ส่วนผู้แพ้ก็จะเสียเงิน ก็จะถูกปรับเงิน ในกรณีนี้ถือว่าเป็นการพนันที่เป็นที่ต้องห้าม (หะรอม)

{จากหนังสือฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่5 โดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ}




----->  จากข้อความข้างต้น การแข่งขันนกเขาที่จะถือเป็นการพนันขันต่อ นั้น ต้องเป็นกรณีต่อไปนี้

......... ))) การแข่งขันนกเขาชวาหรือนกกรงหัวจุก ที่ผู้แข่งขันต้องมีการต่อรอง และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแข่งขั้นนั้น หากตนชนะ ผู้นั้นจะได้รับเงิน หรือสิ่งของ(หรือที่เรียกว่ารางวัล) หากแพ้ ผู้นั้นจะเสียเงินที่ตนได้จ่ายไป ไม่ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกว่าค่าเสา หรือเรียกชื่ออย่างอื่นก็ตาม เพราะถือว่าเป็นการแข่งขันกันโดยมีการลงทุนเพื่อให้ได้รางวัลที่มากมาย นั่นถือว่าเป็นการพนันขันต่อ เงินที่ได้มานั้นถือเป็นสิ่งหะรอม ห้ามนำเงินนั้นไปใช้จ่าย หรือบริจาค(แม้แต่บริจาคมัสยิด) เช่น การสมัครแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุกโดยเสียค่าสมัคร 400 บาท แต่ครั้นพอได้รับรางวัลจะได้ จักรยาน, พัดลม, ตู้เย็น หรืออื่นๆ เช่นนี้ถือว่าเป็นการพนัน


ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ก้อนเนื้อทุกชิ้นที่เติบโตมาจากสิ่งฮะรอม(ก้อนเนื้อนั้น) ไฟนรกจะเผาผลาญเป็นเบื้องแรก " (รายงานโดย:ฎ็อบเราะนีย์)



กฏนิติศาสตร์อิสลาม ระบุว่า
ما حرم أخذه حرم إعطاؤه
"สิ่งที่ต้องห้ามเอามา ย่อมต้องห้ามให้มันด้วย(เช่นกัน)


๑๑๑สำหรับเงินหรือรางวัลที่ได้มาจากสิ่งที่หะรอม เช่น ที่เป็นดอกเบี้ย จากการพนัน การขายสิ่งที่ห้าม นักวิชาการเค้าอนุญาตให้ทำได้เพียงกรณีเดียวเท่านั้น นั่นคือ การนำไปทำสาธารณะประโยชน์ เช่น สะพาน, ที่พักริมทาง หรือส้วมสาธารณะ เป็นต้น ส่วนส้วมของมัสญิด ไม่อนุญาตให้นำเงินที่ได้จากสิ่งหะรอมไปสร้าง เพราะเรื่องของเงินหะรอมนำไปสร้างสิ่งที่สาธารณะก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ฉะนั้นหากห้องส้วมมัสญิดพังก็ประกาศให้สัปบุรุษของมัสญิดนั้นช่วยกันบริจาคสร้าง เพราะเป็นของมัสญิด ซึ่งหน้าที่ของมุสลิมจะต้องทำนุบำรุงดูแล

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالْأَنْصَابُ وَالْأَزْلَامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย แท้จริงสิ่งมึนเมา, การพนัน, การบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วเป็นสิ่งโสมมจากการงานของชัยฏอน ดังนั้นสูเจ้าจงออกห่างมันเสีย หวังว่าสูเจ้าจะประสบความสำเร็จ"
(สูเราะฮฺมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 90)

ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

وَمَنْ قَالَ لِصَاحِبِهِ تَعَالَ أُقَامِرْكَ ، فَلْيَتَصَدَّقْ

"และบุคคลใดที่กล่าวแก่เพื่อนของเขาว่า มานี่สิ...ฉันจะพนันกับท่าน เช่นนั้นให้เขา (ผู้พูด) จงบริจาคทานเถิด" (บันทึกโดยบุคอรีย์).



}}}} สำหรับกรณีที่ไม่ถือว่าการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก เป็นการพนันขันต่อ

1.กรณีการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยผู้แข่งขันไม่ต้องเสียค่าสมัครแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่มีผู้อื่นสนับสนุนรางวัลให้ เช่น นายอำเภอ ผูว่าราชการจังหวัด ส.ส. นายก.อบต. เป็นผู้สนับสนุนรางวัล

2.กรณีการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยคนหนึ่งในจำนวนผู้เข้าแข่งขันได้ออกเงินจำนวนหนึ่ง เป็นเงินรางวัลแข่งขันนั้น หากผู้ที่ออกเงินชนะ เขาผู้นั้นไม่ได้เงินหรือรางวัลจากผู้แข่งขั้นอีกคนหนึ่ง กล่าวคือเขายอมเป็นผู้ออกเงินโดยไม่หวังเงินรางวัลในการแข่งขันใดๆทั้งสิ้น

3.กรณีการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยนำเงินมาจากผู้แข่งขันทั้งสอง หรือเอามาจากผู้เข้าร่วมแข่งขัน โดยที่พวกเขากำหนดให้มีคนกลางเป็นผู้เอาเงินถ้าคนหนึ่งชนะ ส่วนคนที่แพ้ก็ไม่ปรับเงินแต่ประการใด เช่น วางเงื่อนไขว่า หากทีมใดชนะเงินก้อนนี้จะเป็นขององค์กรเด็กกำพร้า เมื่อทีมใดเป็นฝ่ายชนะ เงินก้อนนี้ก็นำไปให้กับองค์กรเด็กกำพร้า ส่วนทีมที่แพ้ก็ไม่ต้องมีค่าปรับ หรือค่าชดเชยอะไรทั้งสิ้น


+++แต่สำหรับกรณีที่แข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยเจ้าของนกทุกคนเสียค่าสมัครจำนวนหนึ่ง และหากนกตัวใดชนะก็มีของรางวัลให้ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับคะแนน แม้นำเงินส่วนหนึ่งไปบริจาคมัสยิดก็ตาม ยังถือเป็นการพนันขันต่อ ศาสนาไม่อนุญาตให้กระทำเช่นกัน ซึ่งต่างไปจากกรณีข้างต้น ที่ผู้แข่งขันได้ออกเงินแข่งขัน แต่เมื่อชนะตนไม่ได้เงินรางวัลตอบแทนแต่อย่างใด


!!!!! แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุกจะไม่เข้าเงื่อนไขการพนันขันต่อก็ตาม หากเข้าเงื่อนไขการทรมานสัตว์อิสลามก็ห้ามเด็ดขาดเช่นเดียวกัน

ท่านรสูลกล่าวว่า“หญิงนางหนึ่งต้องเข้านรกเพราะทรมานแมวตัวหนึ่งด้วยการจับขังและไม่ให้อาหารมัน จนกระทั่งแมวตัวนั้นตายเพราะความหิว” 
( รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

ท่านรสูลกล่าวว่า“ใครก็ตามที่ฆ่านกตัวหนึ่งโดยเปล่าประโยชน์ นกตัวนั้นจะร้องตะโกนประท้วงในวันกิยามะฮ์ พร้อมกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ ชายคนนั้นได้ฆ่าฉันโดยไม่มีวัตถุประสงค์อื่นใด เขาฆ่าฉันโดยมิได้หวังประโยชน์อันใดจากฉันเลย”
(โดยอันนะสาอีย์และอิบนุหิบบาน)

%%%% สำหรับการเลี้ยงนกเขา นกกรงหัวจุกเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น หรือเพื่อการจำหน่ายนั้นศาสนาอนุญาต ไม่มีข้อห้ามจากศาสนาแต่อย่างใด

 والسلام


วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

กล่าวขออภัยโทษ และกล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์หลังละหมาดฟัรฎู




ภายหลังละหมาดฟัรฎูเสร็จแล้ว ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจะกล่าวขออภัยโทษ และกล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์ อ่านอายะฮ์กุรสีย์ สุเราะฮ์อัล-อิคลาศ สูเราะฮ์อัลฟะลัก และสูเราะฮ์อันนาส โดยมีหลักฐานหะดิษ ดังนี้

หลักฐานที่ 1


จากท่านเษาบาน เล่าว่า "เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาด(ฟัรฎู) เสร็จ ท่านรสูลจะขออภัยโทษ 3 ครั้ง และกล่าวว่า "อัลลอฮุมม่า อันตัสส่าลาม วามินกัสส่าลาม ต้าบาร็อกต้า ยาซัลญะลาลิ วัลอิกฺรอม"(ความว่า "โอ้อัลลอฮ์ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ซึ่งความสันตินั้นมาจากพระองค์ พระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยความจำเริญ โอ้ผู้ทรงไว้ซึ่งความยิ่งใหญ่ และความมีเกียรติยิ่ง)


ท่านวะลีดถามแก่ท่านเอาซาอีย์ว่า "สำนวนการอิสติฆฟารฺ(ขออภัยโทษ)กล่าวอย่างไร?" เขาตอบว่า "ให้ท่านอ่าน อัสตัฆฟิรุลลอฮ์ อัสตัฆฟิรุลลอฮ์ "
{หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโยมุสลิม หะดิษเลขที่ 931 ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 276 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1320 อบูดาวูด หะดิษเลขที่1292 และอิบนุมาญะฮ์ หะดิษเลขที่ 918}

หลักฐานที่ 2






ท่านมุฆีเราะฮ์เขียนไปหาท่านมุอาวิยะฮ์ ว่า “เมื่อท่านรสูล สิ้นสุดการละหมาดและให้สลามแล้ว ท่านรสูล กล่าว่า “ลาอิลาฮ่า อิ้ลลัลลอฮ์ , วะฆ์ด้าฮู ลาช่ารีก้าละฮ์ , ล่าอุลฮุลมุลกู้ ว่าล่าฮุลอัมดุ ว่าฮุว่าอ้าลากุลลิ ชัยอิน ก้อดีรฺ , อัลลอฮุมม่า ลามานิอ้า ลิมาอะฮ์ต็อยต้า ว่าลา มุอ์ฏิย่า ลิมา มานะอ์ต้า ว่าลา ยันฟ่าอุ ซัลญัดดิ มินกัลญัดดุ”
(ความว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ได้รับการเคารพสักการะ นอกจากพระองค์อัลลอฮ์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ อำนาจและการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง , โอ้อัลลอฮ์ ไม่มีผู้ใดยับยั้งในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานได้ และไม่มีผู้ใดประทานในสิ่งที่พระองค์ทรงยับยั้งได้ ความมีเกียรติจะไม่เอื้อประโยชน์อันใดแก่ผู้มีเกียรติ (ให้พ้นจากการลงโทษ) ณ ที่พระองค์ได้เลย”)
{หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 5855 มุสลิม หะดิษเลขที่ 933 และอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1287}


หลักฐานที่ 3






ท่านอับดุลลอฮ์ บุตรของซุบัยร์เล่าว่า "เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้สลาม(เลิกละหมาด) ท่านรสูลจะกล่าวว่า "ลาอิลาฮ่า อิ้ลลัลลอฮ์ วะฮ์ด้าฮูลา ชะรีก้าละฮ์ ล่าฮุลมุลกุ ว่าล่าฮุลฮัมดุ ว่าฮุว่าอ้าลา กุลลิ ชัยอิน ก้อดีรฺ ลาเฮาล่า ว่าลา กูว่าต้า อิ้ลลา บิ้ลลาฮ์ ว่าลา นะอ์บุดู้ อิ้ลลา อิยาฮุ ละฮุน ละฮุน นิอ์ม่าตุ ว่าล่าอุล ฟัฎลุ ว่าล่าฮุษษ่านาอุลฮะส่านุ, ลาอิลาฮธ อิ้ลลัลลอฮุ มุคลิซีน่า ล่าฮุดดีน ว่าเลาก้าริฮัลกาฟิรูน"
(ความว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ได้รับเคารพสักการะ นอกจากพระองค์อัลลอฮ์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ อำนาจและการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง , ไม่มีพลังและอำนาจใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพภักดีอื่น เว้นแต่เฉพาะพระองค์เท่านั้น , สำหรับพระองค์เท่านั้นคือความโปรดปราน , สำหรับพระองค์เท่านั้นคือความประเสริฐ และสำหรับพระองค์เท่านั้นคือการสรรเสริฐที่ดี ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพภัคดีนอกจากพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น โดยเป็นผู้บริสุทธิ์ใจ ในศาสนาของพระองค์ มาตรว่าบรรดาผู้ปฏิเสธจะชิงชังก็ตาม)"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยมุสลิม หะดิษที่ 935 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1322 อบูดาวูด หะดิษที่ 1288 และอะหฺมัด หะดิษที่ 15523)


หลักฐานที่4


"ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "บุคคลใดกล่าว ซุบฮานัลลอฮ์(มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮ์) 33 ครั้ง , กล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮ์(การสรรเสริญเป็นสิทธิแด่พระองค์อัลลอฮ์) 33 ครั้ง , และกล่าว อัลลอฮุอักบัรฺ(พระองค์อัลลอฮ์ทรงยิ่งใหญ่) 33 ครั้ง ซึ่งรวมเป็น 99 ครั้ง ทุกๆละหมาด(ฟัรฎู) จากนั้นเขากล่าวเพิ่มจนครบ 100 ครั้ง ว่า "ลาอิลาฮ่า อิ้ลลัลลอฮ์ , วะห์ด้าฮูลา ช่ารีก้าละฮ์ , ล่าฮุลมุลกู้ ว่าล่าฮุลฮัมดุ ว่าฮุว่าอ้าลา กุลลิชัยอิน ก้อดิร"(ความว่า ไม่มีพระเจ้าองค์ใดที่ได้รับการเคารพสักการะ นอกจากพระองค์อัลลอฮ์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ อำนาจและการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง) 
เช่นนี้ความผิดต่างๆ ของเขาจะถูกอภัยโทษ แม้ว่าความผิดนั้นจะมากมายเฉกเช่นฟองน้ำในทะเลก็ตาม"
{หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 939 และอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1286}

หลักฐานที่5

ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “บุคคลใดที่อ่านอายะฮ์กุรฺซีย์(อัลกุรอานซูเราะฮ์ อัลบาเกาะเราะฮ์ อายะที่ 255) ทุกๆ หลังละหมาดฟัรดู เช่นนั้นจะไม่มีสิ่งใดห้ามให้เขาเข้าสวรรค์ ยกเว้น ความตายเท่านั้น” ท่านมุหัมมัด บุตรของอิบรอฮีม ระบุในหะดิษของเขาว่าอ่าน "กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด"ด้วย
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกหะดิษโดย อัฏฏ็อบรอนีย์ จากหนังสือ “อัลวะญ๊ซ” หน้า 102)

หลักฐานที่ 6

ท่านอุกฺบะฮ์ บุตรของอามิรฺเล่าว่า “ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งให้ฉันอ่านสูเราะฮ์อัลฟะลัก และสูเราะฮ์อันนาส ทุกๆหลังละหมาดฟัรฎู”
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1302)

>>>>จากหลักฐานหะดิษให้ขออภัยโทษ และการสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์ ดังนี้


คำอ่าน "อัสตัฆฟิรุลลอฮ์"(กล่าว 3 ครั้ง)



คำอ่าน "อัลลอฮุมม่า อันตัซซ่าลาม ว่ามินกัสส่าลาม ต้าบาร็อกต้า ยาซัลยะลาลิ วัลอิกฺรอม"



คำอ่าน “ลาอิลาฮ่า อิ้ลลัลลอฮ์ , วะฆ์ด้าฮู ลาช่ารีก้าละฮ์ , ล่าอุลฮุลมุลกู้ ว่าล่าฮุลอัมดุ ว่าฮุว่าอ้าลากุลลิ ชัยอิน ก้อดีรฺ , อัลลอฮุมม่า ลามานิอ้า ลิมาอะฮ์ต็อยต้า ว่าลา มุอ์ฏิย่า ลิมา มานะอ์ต้า ว่าลา ยันฟ่าอุ ซัลญัดดิ มินกัลญัดดุ”






คำอ่าน  "ลาอิลาฮ่า อิ้ลลัลลอฮ์ วะฮ์ด้าฮูลา ชะรีก้าละฮ์ ล่าฮุลมุลกุ ว่าล่าฮุลฮัมดุ ว่าฮุว่าอ้าลา กุลลิ ชัยอิน ก้อดีรฺ ลาเฮาล่า ว่าลา กูว่าต้า อิ้ลลา บิ้ลลาฮ์ ว่าลา นะอ์บุดู้ อิ้ลลา อิยาฮุ ละฮุน ละฮุน นิอ์ม่าตุ ว่าล่าอุล ฟัฎลุ ว่าล่าฮุษษ่านาอุลฮะส่านุ, ลาอิลาฮธ อิ้ลลัลลอฮุ มุคลิซีน่า ล่าฮุดดีน ว่าเลาก้าริฮัลกาฟิรูน"






คำอ่าน "ซุบฮานัลลอฮ์" (กล่าว 33 ครั้ง)




คำอ่าน "อัลฮัมดุลิลลาฮ์" (กล่าว 33 ครั้ง)






คำอ่าน " อัลลอฮุอักบัรฺ" (กล่าว 33 ครั้ง)






คำอ่าน ""ลาอิลาฮ่า อิ้ลลัลลอฮ์ , วะห์ด้าฮูลา ช่ารีก้าละฮ์ , ล่าฮุลมุลกู้ ว่าล่าฮุลฮัมดุ ว่าฮุว่าอ้าลา กุลลิชัยอิน ก้อดิร"


อ่านอายะฮ์กุรฺซีย์(อัลกุรอานซูเราะฮ์ อัลบาเกาะเราะฮ์2 อายะที่ 255) 


اللَّهُ لا إِلٰهَ إِلّا هُوَ الحَىُّ القَيّومُ ۚ لا تَأخُذُهُ سِنَةٌ وَلا نَومٌ ۚ لَهُ ما فِى 


السَّمٰوٰتِ وَما فِى الأَرضِ ۗ مَن ذَا الَّذى يَشفَعُ عِندَهُ إِلّا بِإِذنِهِ ۚ 


يَعلَمُ ما بَينَ أَيديهِم وَما خَلفَهُم ۖ وَلا يُحيطونَ بِشَيءٍ مِن عِلمِهِ 


إِلّا بِما شاءَ ۚ وَسِعَ كُرسِيُّهُ السَّمٰوٰتِ وَالأَرضَ ۖ وَلا يَـٔودُهُ حِفظُهُما ۚ 


وَهُوَ العَلِىُّ العَظيمُ ﴿٢٥٥




อ่านสูเราะฮ์อัลอิคลาส 




قُل هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ ﴿١﴾ اللَّهُ الصَّمَدُ ﴿٢﴾ لَم يَلِد وَلَم يولَد ﴿٣﴾ وَلَم يَكُن لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ ﴿٤

อ่านสูเราะฮ์
อัลฟะลัก



قُل أَعوذُ بِرَبِّ الفَلَقِ ﴿١﴾ مِن شَرِّ ما خَلَقَ ﴿٢﴾ وَمِن شَرِّ غاسِقٍ إِذا وَقَبَ ﴿٣﴾ وَمِن شَرِّ النَّفّٰثٰتِ فِى العُقَدِ ﴿٤﴾ وَمِن شَرِّ حاسِدٍ إِذا حَسَدَ 


อ่านสูเราะฮ์อันนาส

قُل أَعوذُ بِرَبِّ النّاسِ ﴿١﴾ مَلِكِ النّاسِ ﴿٢﴾ إِلٰهِ النّاسِ ﴿٣﴾ مِن شَرِّ الوَسواسِ الخَنّاسِ ﴿٤﴾ الَّذى يُوَسوِسُ فى صُدورِ النّاسِ ﴿٥﴾ مِنَ الجِنَّةِ وَالنّاسِ 

สรุปได้ว่า หลังละหมาดฟัรฎู มีสุนนะฮ์ให้อภัยโทษ กล่าวสรรเสริญพระองคือัลลอฮ์ อ่านอายะฮ์กุรฺสียื หรือสูเราะฮ์อัลอิคลาศ สูเราะฮ์อัลฟาลัก และสูเราะฮ์อันนาส เท่านั้น

สำหรับการขอดุอาอ์อะไรอื่นจากนั้นไม่พบสุนนะฮ์(แบบฉบับ) จากท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กระทำไว้เลย อีกทั้งไม่พบหะดิษเศาะเฮียะฮ์ที่ระบุให้ขอดุอาอ์ให้ขอดุอาอ์ในช่วงเวลาดังกล่าว (หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยมุสลิม หะดิษที่ 609 และนะสาอีย์ หะดิษที่ 1262) เพราะการขอดุอาอ์ที่ประเสริฐนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมสั่งใช้ให้ขอดุอาอ์ขระละหมาดก่อนจะให้สลาม ดังหลักฐานของท่านอิบนุมัสอูด เล่าว่า ภายหลังที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งใช้ให้กล่าวดุอาอ์ตะชะฮ์ฮุด(ขระนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย) ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเสริมว่า "จากนั้นให้เขาเลือกวิงวอน(ดุอาอ์)ตามที่เขาประสงค์"
{หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1301 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1286 และอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 21109}


ท่านหญิงอาอีชะฮฺเล่าถึงถึงการละหมาดวิตรฺของท่านรสูลไว้ว่า
"...........จากนั้นก็นั่ง(ตะชะฮุด)โดยกล่าวสรรเสริญต่อผู้อภิบาล และเศาะลาวาตนบี เสร็จแล้วให้ก็ขอดุอาอ์(ก่อนให้สลาม)จากนั้นก็ให้สลาม"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดย อบู อุวานะฮ์(เล่ม 2 หน้า 324))

ท่านฟะฎอละฮฺ บุตรของอุบัยด์ เล่าว่า "...ท่านรสูลกล่าวแก่เขา และบุคคลอื่นจากเขาว่า เมื่อบุคคลหนึ่งในหมู่พวกท่านละหมาด ก็ให้เริ่มสรรเสริญ และเทิดพระผู้อภิบาลของเขา จากนั้นก็ให้เศาะละวาต(ขอพร) แด่ท่านนบีมูฮัมหมัด ถัดจากนั้นค่อยวิวอนในสิ่งที่(ตัวเอง)ประสงค์"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยอะหมัด หะดิษเลขที่ 22811 และติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 3399)


หะดิษข้างต้นระบุอย่างชัดเจน ขณะผู้ละหมาดนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายก่อนจะให้สลาม ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งใช้ให้เขาขอดุอาอ์ตามที่เขาประสงค์ไม่ว่าจะเป้นเรื่องใดก็ตาม ซึ่งการขอในช่วงเวลานั้นถือว่าประเสร็จที่สุด เพราะท่านนบีตอกย้ำถึงการขอดุอาอ์ในช่วงเวลาดังกล่าว และท่านนบีเจาะจงให้ขอเฉพาะก่อนให้สลามเท่านั้น อีกทั้งไม่พบหะดิษเศาะเฮียะฮ์ หรือหะดิษหะสันอันจะเป็นหลักฐานทำให้เข้าใจว่าท่านนบีขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู ส่วนสิ่งที่ท่านนบี กล่าวหลังละหมาดฟัรฎูมีเพียงการขออภัยโทาและการกล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น แต่ไม่ไช่ขอดุอาอ์ในสิ่งที่ปรารถนาแต่อย่างใด

สำหรับหลักฐานจากหะดิษต่อไปนี้

ท่านมุอาซ บุตรของญะบัลเล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวแก่แก่เขาว่า “โอ้ท่านมุอาซเอ๋ย ท่านอย่าละทิ้งทุกๆท้ายละหมาด โดยให้ท่านกล่าวว่า “อัลลอฮุมม่า อ้าอินนี อ้าลา ซิกริก้า ว่า ชุกริก้า ว่า ฮุสนิอิบาด้าติก” (ความว่า โอ้อัลลอฮ์ขอพระองค์ทรงช่วยฉันให้ได้สำนึกบุญคุณของพระองค์ และทรงทำให้การอิบาดะฮ์ต่อพระองค์เป็นที่เรียบร้อย(สวยงาม)ด้วยเถิด)”
{หะดิษเศาะเฮียะฮ์....บันทึกโยมุสลิม หะดิษเลขที่ 609 และนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1262}

+++หะดิษข้างต้นนักวิชาการยังถกเถียงกันว่าคำวิงวอนข้างต้นเป็นดุอาอ์ขอก่อนสลาม หรือขอหลังสลาม เพราะสำนวนหะดิษระบุว่า “ดุบุริ กุลลิ เศาะลาติน” คำว่า “ดุบุริ” แปลว่า “ท้ายละหมาด” ซึ่งหมายถึงก่อนสลามก็ได้ หรือหลังสลามก็ได้

แต่ทัศนะที่มีน้ำหนักก็น่าจะเป็นการขอดุอาอ์ก่อนให้สลาม เพราะหลักฐานหนึ่ง ท่านรสูลกล่าวไว้ว่า “หลังอ่านตะชะฮ์ฮุดเสร็จ ท่านรสูล พูดเสริมว่า “จากนั้นให้เขาเลือกขอดุอาอ์ตามที่เขาประสงค์”
{หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1301 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1286 และอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 21109}


ท่านรสูลสั่งใช้ให้ขอดุอาอ์ตามความประสงค์ของผู้ละหมาดก่อนจะสลาม ซึ่งหะดิษระบุอย่างชัดเจน ดังนั้น หะดิษบทใดที่ระบุให้ขอดุอาอ์ก็ต้องขอดุอาอ์ก่อนสลาม ไม่ใช่ขอดุอาอ์หลังให้สลามเสร็จแล้ว เนื่องจากท่านรสูลไม่เคยขอสิ่งใดหลังละหมาดฟัรฎู นอกจากขออภัยโทษ หรือการกล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น

และการขอดุอาอ์ของผูละหมาดต่อพระองค์อัลลอฮ์ขณะกำลังละหมาดนั้น ถือว่าประเสริฐสุด ไม่มีการวิงวอนใดจะดีไปกว่าการวิงวอน(ดุอาอ์) ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์อัลลอฮ์ขณะกำลังละหมาด
 ดังหะดิษที่รายงานจากท่านอบู อุมามะฮ์ เล่าว่า "ชายผู้หนึ่งเอ่ยถามท่านรอซูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮ์ ดุอาอ์ใดเป็นที่รับฟังยิ่งกว่า (หมายถึงดุอาอ์ช่วงใดเป็นที่ตอบรับ ณ ที่พระองค์อัลลอฮ์มากกว่า) ท่านรสูลตอบว่า ดุอาอ์ในช่วงสุดท้ายของกลางคืน และช่วงท้ายของละหมาดฟัรฎู"
(หะดิษหะสัน...บันทึกโดยติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 3421)

สำนวนหะดิษที่ระบุว่า "ช่วงท้ายของละหมาดฟัรฺฎู" นั้น นักวิชาการอธิบายว่า เป็นการขอดุอาอ์ในช่วงสุดท้ายละหมาดก่อนให้สลาม ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า การขอดุอาอ์ก่อนให้สลามนั้น เป็นดุอาอ์ที่ถูกตอบรับมากที่สุด ณ ที่พระองค์อัลลอฮ์ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ข้อกังขาใดๆ เลยว่า ทำไม ท่านนบีมูหัมหมัด ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงขอดุอาอ์ก่อนให้สลาม และสงเสริมให้ผู้ละหมาดขอดุอาอ์ที่ตนเองประสงค์จะขอในช่วงก่อนก่อนให้สามเท่านั้น แต่กลับไม่เคยกระทำ หรือระบุให้กระทำสิ่งข้างต้นภายหลังให้สลามเลยแม้แต่น้อย

والله أعلم









วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ใช้มือยันพื้นเพื่อลุกขึ้นในร็อกอะฮ์ถัดไปของการละหมาด(สุนนะฮ์)



<<<>>>
"เมื่อท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เงยศีราะขึ้นจากการสุญูดครั้งที่สอง ท่านรสูลจะนั่ง(อิสติรอหะฮ์) และใช้มือยันพื้น จากนั้นก็ลุกขึ้นยืน"
(หะดิษเศาะเฮียฮ์...บันทึกโดยอิมามบุคอรี หะดิษเลขที่ 783)

รายงานจากท่านมาลิก บุตรของอัลหุวัยริษ เล่าถึงการละหมาดของท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่า "เมื่อท่านรสูลเงยศีรษะจากสุญูดครั้งที่สอง ท่านรสูลจะยันพื้น จากนั้นท่านรสูลก็ลุกขึ้นยืน"
(หะดิษเศาะเฮียฮ์...บันทึกโดยอิมามบุคอรี หะดิษเลขที่ 781 และนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1141)

>>>***ภายหลังจากสุญูดครั้งที่สอง ก่อนจะลุกขึ้นยืนในร็อกอะฮ์ถัดไป มีสุนนะฮ์ให้ผู้ละหมาดนั่งพักชั่วครู่(นั่งอิสติรอหะฮ์) แล้วค่อยลุกขึ้นในร้อกอะฮ์ถัดไป โดยใช้มือทั้งสองยันพื้นขณะจะลุกขึ้น และยกหัวเข่าขึ้นก่อนแล้วค่อยยกมือขึ้นตามทีหลัง(เพื่อให้แตกต่างจากอูฐที่ลุกขึ้น)<<<

๐๐๐สำหรับหะดิษต่อไปนี้..."จากนั้นท่านรสูลก็ลุกขึ้นยืนประหนึ่งลูกศร(ออกจากคันธนู)โดยท่านรสูลมิได้ใช้มือทั้งสองยันพื้น(แต่อย่างใด)"
(จาหหนังสือ "ศิฟะตุเศาะลาตินนบี" หน้า 155 ...ซึ่งหะดิษข้างต้น เชคอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดิษเมาฎูอ์(หะดิษเก๋).......^__^

.....???สำหรับการะยันพื้นโดยกำมือหรือแบมือเพื่อลุกขึ้นในร็อกอะฮ์ถัดไป มีรายงานหะดิษ คือ


จากท่านอิบนุ อับบาส กล่าวว่า "ท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ลุกขึ้นยืนในละหมาด ท่านรสูลจะวางมือยันพื้นเสมือนผู้นวดแป้งกำลังนวดแป้ง"
(หนังสือ"ศิฟะตุเศาะลาตินนบี"หน้า155)

>>_<<ดังนั้น ผู้ละหมาด จะยันพื้นโดยกำมือหรือแบมือเพื่อลุกขึ้นในร็อกอะฮ์ถัดไป ก็เป็นสิทธิที่จะเลือกมาปฏิบัติ หรือจะปฏิบัติสลับกัน แต่ที่แน่ๆกันใช้มือยันพื้นถือเป็นสุนนะฮ์ของท่านนบี


والله أعلم

ขณะก้มลงสุญูดให้วางมือลงบนพื้นก่อนหัวเข่า(สุนนะฮ์)





รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าว่า "เมื่อบุคคลหนึ่งในหมู่พวกท่านสุญูด เช่นนั้นจงอย่าลงคุกเข่าเสมือนอูฐคุกเข่า แต่ให้วางมือทั้งสอง(ลงบนพื้น)ก่อนหัวเข่าทั้งสอง"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดย อบูดาวูด หะดิษเลขที่ 714 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1079)

รายงานจากอิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า "ปรากฏว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) วางมือทั้งสองบนพื้นก่อนหัวเข่าทั้งสองของท่านรสูล"
(หะดิาเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยอิบนุ คุซัยมะฮ์ หะดิาเลขที่ 714 ท่านหากิม หะดิาเลขที่ 821)
ส่วนกรณีผู้ละหมาดประสงค์จะวางหัวเข่าก่อนมือทั้งสองนั้นถือว่าอนุญาต

%+++ท่านวาอิล บุตรของหุจญ์ริน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า "ฉันเห็นท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ลงสุญูด ท่านรสูลวางหัวเข่าทั้งสองก่อนมือทั้งสองของท่านท่านรสูล "
(บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 713)
!!!!****หะดิษข้างต้น ทัศนะของเชคมุหัมหมัด นาศิรุดดีน อัลบานีย์ ถือว่าเป็นหะดิษเฎาะอิฟ!!!!

หมายเหตุ มีรายงานหลายกระแสที่สนับสนุนให้วางมือลงก่อนหัวเข่า
และการวางมือลงก่อนหัวเข่าทั้งสองนั้นเป็นทัศนะของนักวิชาการหะดิษ



. والله أعلم

หรือจะเรียกเขาว่า “มุอัลลัฟ”ตลอดชีวิต???!!!



คำว่า “มุอัลลัฟ” ถูกนำมาจากคำว่า(اَلْمُؤَلًّفَةِقُلُوْبُهُمْ) ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่มีเป้าาหมายในกรทำให้หัวใจของพวกเขาเกิดความอบอุ่นเป็นกันเองด้วยการโน้มน้าวเข้าสู่อิสลาม หรือด้วยการทำให้เกิดความมั่นคงในการเป็นอิสลามิกชน หรือด้วยการยุติการประทุษร้ายของพวกเขาที่มีต่อชาวมุสลิม หรือมุ่งหวังประโยชน์ของพวกเขาในการช่วยปกป้องชาวมุสลิม หรือช่วยให้มุสลิมมีชัยต่อศัตรู เป็นต้น (ฟิกฮุซซะกาฮฺ , ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวี่ย์ เล่มที่ 2 หน้า 636)  ถือเป็นกลุ่มคนหนึ่งใน 8 จำพวกที่มีสิทธิรับซะกาต

ดังนั้น มุอัลลัฟ คือผู้ที่ยังไม่เป็นมุสลิม  แต่หัวใจของพวกเขากำลังโน้มน้าวที่จะเข้าสู่อิสลาม เมื่อเขาได้ศรัทธาและกล่าวกล่าวชาฮาดาฮ์ ปฏิญาณตนรับอิสลาม ถือว่าเขาเป็นมุสลิมเต็มตัว ส่วนเขาจะเป็นมุอฺมินที่สมบูรณ์นั้นก็ขึ้นอยู่กับความมั่นคงในศรัทธา การเข้าใจเรื่องราวของศาสนา และการประพฤติตนตามหลักการว่ามีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด

จึงไม่มีคำนิยามใดเลยที่จะเรียกคนเคยเป็นศาสนิกอื่น แล้วเข้ารับอิสลาม ว่า มุอัลลัฟ เมื่อเขาเข้ารับอิสลามก็ไม่ต่างอะไรกันเลยกับผู้ที่เป็นมุสลิมมาแต่กำเนิดที่บิดามารดาเป็นมุสลิม หากมุสลิมผู้นั้นไม่มีความเข้าใจในศาสนา ไม่มีการปฏิบัติตนตามที่ศาสนาบัญญัติ เขาก็ไม่ต่างอะไรกับมุสลิมที่เพิ่งเข้ารับศาสนาอิสลามแต่อย่างใดเลย

แล้วเหตุไฉนถึงเรียกมุสลิมที่เข้ารับอิสลามที่ไม่ได้เป็นมุสลิมแต่กำเนิดว่า มุอัลลัฟ และได้ถูกเรียกเช่นนี้ตลอดไป จนไม่มีที่สิ้นสุด แล้วเมื่อไหร่เขาจะได้เป็นมุสลิมเต็มตัวสักที  หรือเขารอคำนี้ไปตลอดชีวิตเชียวหรือ???



สรุปว่า..
มุอัลลัฟ คือ คนที่สนใจ อิสลาม
หากเขาเข้ารับอิสลาม กล่าวปฏิญาณตน มีศรัทธามั่น
ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ คำสั่งห้าม (อย่างน้อยคือ ละหมาด) แล้ว
เขาคนนั้น ก็คือ มุสลิม นั่นเอง

มิเช่นนั้น ก็คงต้องเรียก บรรดาซอฮาบะห์ทั้งหลายว่าเป็น "มุอัลลัฟ"




 والله أعلم

^^^^การเพิ่ม"วะบิอัมดิฮี"ขณะอ่านดุอาอ์ในรุกัวอ์และสุญูด^^^^



ดุอาฮ์ขณะรุกัวอ์ "ซุบฮาน่าร็อบบิยัลอ้าซีม" ความว่า "มหาบริสุทธิแดด่พระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่" กล่าว 3 ครั้ง แต่บางครั้งท่านรสูลก็กล่าวมากกว่า 3 ครั้ง
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์..บันทึกโดย มุสลิม หะดิษเลขที่ 1291 ติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 243 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 998 อบูดาวูด หะดิษเลขที่737 อิบนุมาญะฮ์ หะดิษเลขที่ 878 อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 22156 และอัดดาริมีย์ หะดิษเลขที่ 1273)

ดุอาอ์ขณะสุญูด "ซุบฮาน่าร็อบบิยัลอ้าลา" ความว่า "มหาบริสุทธิแดด่พระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง" กล่าว 3 ครั้ง แต่บางครั้งท่านรสูลก็กล่าวมากกว่า 3 ครั้ง
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์..บันทึกโดย มุสลิม หะดิษเลขที่ 1291 ติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 243 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 998 อบูดาวูด หะดิษเลขที่737 อิบนุมาญะฮ์ หะดิษเลขที่ 878 อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 22156 และอัดดาริมีย์ หะดิษเลขที่ 1273)
!!!ซึ่งสำนวนดุอาอ์ขณะรุกัวอ์และสุญูดข้างต้น ถูกต้องทั้งสายรายงาน ผู้รายงาน และเนื้อหาของรายงาน!!!!

>>>สำหรับหะดิษที่รายงาน มีการเพิ่ม "วะบิอัมดิฮี"ขณะอ่านดุอาอ์ในรุกัวอ์และสุญูด โดยอ้างจากหะดิษที่บันทึกอยู่ในสุนัน อบีดาวู๊ด หะดิษเลขที่ 736 แต่เมื่อตรวจสอบกลับเป็นหะดิษฎออิฟ

...รายงานจาก อัยยูบ บินมูสา ชายคนหนึ่งในพวกพ้องของเขา จาก อุกบะฮ์ บิน อามิร ด้วยกับความหมายเดียวกันนี้ แต่ได้เพิ่มข้อความว่า ปรากฏว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เมื่อท่านรุกัวอ์ก็จะกล่าวว่า "ซุบฮาน่าร็อบบิยัลอ้าซีม วะบิอัมดิฮี" และเมื่อท่านสุญูดก็กล่าวว่า "ซุบฮาน่าร็อบบิยัลอ้าลา วะบิอัมดิฮี" ...อบูดาวูดกล่าวว่า "เราเกลงว่าข้อความที่เพิ่มเติมนี้ จะไม่ได้ท่องจำกันมา "
อบูดาวูด กล่าวว่า"ชาวอิยิปต์ได้รายงานหะดิษทั้งสองสายนี้ เพียงลำพัง คือหะดิษของอัรรอเบียะฮ์ และหะดิษของอะหฺมัด บินยุนุส"


>>ในสายรายงานแรกจาก อัรรอเบียะอ์ และมูวา นั้นมิได้รายงานคำว่าบิอัมดิฮี ระบุด้วย แต่มีรายงานที่สองของของอะหฺมัด บินยุนุสที่คำรายงาน "บิอัมดิฮี"

หะดิษนี้ผู้รายงานที่ชื่อมูซา บิน อัยยูบ รายงานว่า เขาได้ฟังเรื่องนี้มาจากชายคนหนึ่งในกลุ่มชนของเขา ซึ่งกรณีนี้ขาดเงื่อนไขหะดิษเศาะเฮียะฮ์และหะซัน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ชายคนหนึ่งที่เขากล่าวนี้คือใคร มีสถานะเป็นเช่นไร (ทางภาษาหะดิษเรียกว่า "มุบฮัม" ซึ่งต่างกับคำว่า "มัจฮูล" เพราะคำว่ามัจฮูล นั้นรู้ชื่อแต่ไม่รูประวัติ ทั้งมุบฮัมและมัจฮูล ก็มีผลทำให้สายรายงานที่อ้างถึงเขาบกพร่อง จัดอยู่ในประเภทหะดิษฎออิฟ ไม่สามารถนำมาอ้างเป็นหลักฐานได้ ทั้งยังไม่มีหะดิษเศาะเฮียะฮ์บทอื่นมาสนับสนุน สำหรับหะดิษของท่านอัตฏ๊อบรอนีย์ และของท่านอัดดารุกฏนีย์ ที่รายงานมี "บิอัมดิฮี" ก็เป็นหะดิษฎออิฟทั้งหมาด


والله أعلم