อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มารยาทในการพูดคุยระหว่างชายหญิง






              ฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)กล่าวว่า เสียงของผู้หญิงนั้น ไม่ใช่เอาเราะฮฺ(สิ่งที่ต้องปกปิด)โดยตัวมันเอง ดังนั้นมันจึงไม่ได้ห้ามที่จะฟัง เมื่อมีความจำเป็นต้องฟัง พวกเขาจึงไม่ได้ห้ามการฟัง แต่ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

            ผู้หญิงต้องไม่ลากเสียงให้ยาว ต้องไม่ทำเสียงให้อ่อนหวาน หรือยกเสียงสูง(ทั้งหมดนี้หมายถึงการพูดจาให้อยู่ในระดับปกติ ไม่ได้ดัดเสียงเพื่อสร้างแรงดึงดูดใจแก่ผู้ฟัง) มันเป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ชายที่จะฟังอย่างเพลิดเพลิน เพราะเกรงว่าจะเกิดฟิตนะฮฺขึ้น

            ปัจจัยชี้ชัดที่รู้กันดีว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้หญิงเกี่ยวกับคำพูดและเสียงนั้น อยู่ในอายะฮฺดังต่อไปนี้


يَا نِسَاءَ النَّبِيِّ لَسْتُنَّ كَأَحَدٍ مِّنَ النِّسَاءِ إِنِ اتَّقَيْتُنَّ فَلَا تَخْضَعْنَ بِالْقَوْلِ فَيَطْمَعَ الَّذِي فِي قَلْبِهِ مَرَضٌ وَقُلْنَ قَوْلًا مَّعْرُوفًا ( 32 )


           " โอ้ บรรดาภริยาของนะบีเอ๋ย! พวกเธอไม่เหมือนกับสตรีใด ๆ ในเหล่าสตรีอื่นหากพวกเธอยำเกรง(อัลลอฮฺ)ก็ไม่ควรพูดจาเพราะพริ้งนัก เพราะจะทำให้ผู้ที่ในหัวใจของเขามีโรคเกิดความโลภ แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล อะหฺซาบ 33 : 32)

           ดังนั้นจึงเป็นการห้ามที่จะทำเสียงให้นุ่มนวลเกินไปในการพูดคุย เป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้หญิงต้องต้องพูดคุยด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามครรลองอิสลาม ซึ่งความหมายของมันเป็นไปตามที่มุฟัสซิรีน(นักอธิบายอัล กุรอาน)ได้อธิบายไว้ว่า พวกนางต้องไม่ทำให้คำพูดนั้นอ่อนหวาน ขณะที่สนทนากับพวกผู้ชาย

            กล่าวโดยสรุปว่า สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงมุสลิม เมื่อต้องพูดคุยกับชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อมก็คือ   ต้องยึดมั่นกับหลักการตามอายะฮฺที่ยกมาข้างต้น

            ผู้หญิงมุสลิมจะต้องถอนตัวออกจากสิ่งที่ต้องห้าม และปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้ลุล่วง นางควรจะพูดกับผู้ชายเฉพาะเมื่อจำเป็น และเฉพาะเรื่องที่อนุญาตและเป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่เรื่องที่เสื่อมเสีย
            และการพูดระหว่างนางกับชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อมนี้ จะต้องไม่มีการทำเสียงสูงเสียงต่ำหรือแสดงท่าทางต่างๆ หรือการพูดคุยไร้สาระ สนุกสนาน และตลกขบขันต่างๆ เพื่อไม่เปิดช่องทางให้เกิดการกระตุ้นอารมณ์ฝ่ายต่ำและความเคลือบแคลงต่างๆ

            ผู้หญิงไม่ได้ถูกปิดกั้นจากการพูดคุยกับชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อม เมื่อจำเป็นต้องพูดคุย ได้แก่เรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับนางโดยตรง เช่น การซื้อของ หรือการประกอบธุรกิจอื่นๆ เพราะว่ากรณีนี้ทั้งสองฝ่ายต้องมีการพูดคุยกัน
         

            เช่นเดียวกันผู้หญิงก็อาจถามอุละมาอฺ(นักวิชาการอิสลาม)เกี่ยวกับประเด็นทางชะรีอะฮฺ หรือผู้ชายก็อาจถามนางได้ ดังที่มีตัวบทที่ยืนยันชัดเจนจากอัล กุรอานและซุนนะฮฺ

            ตามกรอบที่ได้วางไว้ข้างต้นแล้ว ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดที่ผู้หญิงจะพูดคุยกับชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อม จึงอนุญาตให้ผู้ชายสามารถให้สลามผู้หญิงได้หรือในทางตรงกันข้ามก็อนุญาตให้ผู้หญิงทำเช่นนั้นได้เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานที่แข็งแรง

             อย่างไรก็ตามการทักทายนี้ต้องไม่มีสิ่งใดที่กระตุ้นสัญชาตญานฝ่ายต่ำในตัวของคนที่หัวใจมีโรค เป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่าต้องให้ปลอดภัยจากฟิตนะฮฺ ดังนั้นต้องเอาใจใส่กับกรอบที่วางไว้ข้างต้นด้วย

             ถ้าหากเกรงว่าฟิตนะฮฺจะเกิดขึ้นเนื่องจากการให้สลาม ก็ให้ยุติการทักทายด้วยสลามแก่ผู้หญิงเสีย ไม่ว่าจะให้หรือรับสลามก็ตาม เพราะว่าการละทิ้งฟิตนะฮฺด้วยการยุติการให้สลามนั้นคือการป้องกันความเสื่อมเสียที่จะเกิดขึ้น  สรุปก็คือ หลักในการป้องกันสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลร้าย เป็นเรื่องที่มาก่อนการทำสิ่งที่อาจก่อให้เกิดผลดี(เช่น แม้ว่าการให้สลามเป็นสิ่งดี แต่หากกลัวว่าจะมีฟิตนะฮฺก็ให้เลือกยุติการให้สลามเป็นการดีกว่า-ผู้แปล)
(อ้างจาก อัล มุฟัศศ็อล ฟี อะหฺกาม อัล มัรอะฮฺ โดยเชค ดร. อับดุล กะรีม ซัยดาน เล่ม 3/227)



والله أعلم بالصواب



-โดย ชัยคฺ มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล มุนัจญิด
-อิบนุ อับดุรรอูฟ แปลและเรียบเรียง




✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿




1 ความคิดเห็น: