อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ที่มาของครุย



              โดยทั่วๆไปมุสลิมมักรู้จักชุดครุย ด้วยนัยยะต่างๆ เช่น ชุดที่ต้องสวมใส่ในวันที่ได้รับปริญญาบัตร หรือชุดที่สงวนสิทฺธิในการสวมใส่ได้เฉพาะผู้ที่จบการศึกษา เป็นต้น

              อันความจริงครุยมีที่มาจากเสื้อคลุมยาวชองพระนักบวช โดยเข้ามามีบทบาทแสดงฐานะในระบบการศึกษาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12

              สืบเนื่องจากเกิดมหาวิทยาลัยในยุโรป ภายใต้ศูนย์กลางความรู้ถูกกำหนดให้กระจุกอยู่ในคริสตจักร บรรดามหาวิทยาลัยยุคแรกต้องอาศัยบริเวณโบสถ์คริสต์เป็นสำคัญ การเรียนการสอนซึ่งเคยอยู่ในแวดวงพระก็ได้ขยายครอบคลุมไปยังฆราวาสด้วยการแต่งกายปกติทั้งของครูบาอาจารย์และศิษย์สมัยนั้นอยู่ในชุดของ “พระสอนศาสนา”  ที่อาศัยอยู่แบบของ “ดรูอิด” (Druid) หรือนักบวชชาวเซลท์ในชุมชนชาวเซลทิค

              พระเหล่านี้ใส่ชุดยาวที่มี “ฮู้ด” เพื่อแสดงความเป็นชนชั้นที่สูงกว่า เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นผู้รู้ที่เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ

             ดังนั้น การอ้างที่มาของฮู้ดซึ่งเป็นผ้าห้อยติดอยู่ตรงคอเสื้อด้านหลังว่าเป็นไปเพื่อความสะดวกในการใช้คลุมศีรษะให้ความอบอุ่นหรือปกปิดใบหน้า จึงมิใช่เหตุผลสำหรับที่มาของฮู้ดแต่ประการใด

            ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันในชุมชนดังกล่าวกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในสมัยนั้นแล้วว่า ฮู้ด ก็คือ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์แห่งการแบ่งแยกทางชนชั้นที่แสดงถึงความเป็นผู้เหนือกว่าทางสติปัญญาและภูมิรู้นั้นเอง



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


1 ความคิดเห็น: