มีรายงานจากอัล-บุคอรีย์และมุสลิมในเศาะฮีหฺของทั้งสองท่าน จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«يَتْبَعُ الْمَيِّتَ ثَلاَثَةٌ،
فَيَرْجِعُ اثْنَانِ وَيَبْقَى وَاحِدٌ، يَتْبَعُهُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ وَعَمَلُهُ،
فَيَرْجِعُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ، وَيَبْقَى عَمَلُهُ» [البخاري برقم 6514، ومسلم
برقم 2960]
ความหมาย “จะติดตามผู้เสียชีวิตไปสามประการ โดยที่สองประการจะกลับหลัง และอีกหนึ่งประการจะยังคงอยู่กับเขา สิ่งที่จะติดตามเขาไป สมาชิกในครอบครัวของเขา ทรัพย์สินของเขา และการงานของเขา ดังนั้นสมาชิกในครอบครัว ทรัพย์สินของเขาจะกลับหลัง และการงานจะคงอยู่กับเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 6514
และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2960)
อัล-หาฟิซ อิบนุ เราะญับ อัล-หัมบะลีย์ ได้อธิบายหะดีษนี้ในสารฉบับหนึ่งอันทรงคุณค่าซึ่งฉันได้สรุปคำกล่าวของท่านด้วยความรีบเร่ง ดังนี้
ท่านกล่าวว่า “และความหมายของหะดีษนี้ คือ แท้จริงลูกหลานอาดัม ในการมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยาจำเป็นต้องมีภรรยาและลูกที่ใช้ชีวิตร่วมกัน และต้องมีทรัพย์สินเพื่อการดำเนินชีวิต ทั้งสองประการนี้ จะแยกจากเขาและเขาเองจะต้องแยกจากมันทั้งสอง ดังนั้นคนที่มีความสุขคือผู้ที่ได้นำมันมาเพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาได้รำลึกถึงอัลลอฮฺและเขาได้ใช้จ่ายมันไปเพื่อโลกอาคิเราะฮฺ ฉะนั้นเขาได้ใช้ทรัพย์สินเพื่อทำให้เขาบรรลุสู่โลกอาคิเราะฮฺ และเขาได้มีภรรยาที่ดีเพื่อช่วยเหลือเขาในเรื่องของการศรัทธา ส่วนผู้ที่ได้ทำให้สมาชิกในครอบครัวหรือทรัพย์สินเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาหลงลืมอัลลอฮฺ เขาเป็นผู้ที่ขาดทุนอย่างแน่นอน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสถึงเบดูอินกลุ่มหนึ่งว่า
﴿ شَغَلَتۡنَآ أَمۡوَٰلُنَا
وَأَهۡلُونَا فَٱسۡتَغۡفِرۡ لَنَاۚ ١١ ﴾ [الفتح: ١١]
ความหมาย “ทรัพย์สินของเราและครอบครัวของเราทำให้เรามีธุระยุ่งอยู่ ดังนั้นได้โปรดขออภัยให้แก่พวกเราด้วยเถิด” (อัล-ฟัตห์ 11)
และพระองค์ได้ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ
ءَامَنُواْ لَا تُلۡهِكُمۡ أَمۡوَٰلُكُمۡ وَلَآ أَوۡلَٰدُكُمۡ عَن ذِكۡرِ ٱللَّهِۚ
وَمَن يَفۡعَلۡ ذَٰلِكَ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡخَٰسِرُونَ ٩ ﴾ [المنافقون: ٩]
ความหมาย “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย อย่าให้ทรัพย์สินของพวกเจ้าและลูกหลานของพวกเจ้าทำให้พวกเจ้าหันเหจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และใครก็ตามที่กระทำเช่นนั้นพวกเขาคือผู้ที่ขาดทุน” (อัล-มุนาฟิกูน 9)
ในบันทึกของอัล-หากิม รายงานจากสะฮ์ลฺ บิน สะอฺด์ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«جَاءَ جِبْرِيْلُ فَقَالَ: يَا مُحَمَّدُ عِشْ مَا شِئْتَ فَإِنَّكَ
مَيِّتٌ، وَأَحْبِبْ مَنْ شِئْتَ فَإِنّكَ مُفَارِقُهُ، وَاعْمَلْ مَا شِئْتَ فَإِنَّكَ
مَجْزِيٌّ بِهِ، ثُمَّ قَالَ: يَا مُحَمَّدُ شَرَفُ الْمُؤْمِنِ قِيَامُ اللَّيْلِ
وَعِزُّهُ اسْتِغْنَاؤُهُ عَنِ النَّاسِ»
[الحاكم في المستدرك 4/360-361، برقم 7921]
ความหมาย “ญิบรีลได้มาหา แล้วกล่าวว่า โอ้มุหัมมัด จงใช้ชีวิตในโลกนี้ตามที่ท่านต้องการเถิด เพราะท่านจะต้องตาย และท่านจงรักกับบุคคลที่ท่านจะรักเถิด เพราะท่านจะต้องแยกจากเขา และจงทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด เพราะท่านจะถูกตอบแทนในสิ่งที่กระทำ หลังจากนั้นก็กล่าวอีกว่า โอ้มุหัมมัด ความมีเกียรติของผู้ศรัทธาคือกิยามุลลัยล์(การละหมาดกลางคืน) และศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธาคือความเพียงพอของเขาต่อการร้องขอจากผู้อื่น” (มุสตัดร็อก อัล-หากิม 4/360-361 หมายเลขหะดีษ 7921)
ครั้นเมื่อลูกหลานอาดัมได้เสียชีวิตลงแล้วได้จากโลกนี้ไป สมาชิกในครอบครัวและทรัพย์สินจะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่เขา นอกจากดุอาอ์ของสมาชิกในครอบครัวที่ขอให้กับเขา การขออภัยโทษของพวกเขา สิ่งอื่นๆ ที่ศาสนาได้บัญญัติไว้ และสิ่งที่เขาได้ใช้จ่ายไปเพื่อตัวของเขา
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَوۡمَ لَا يَنفَعُ
مَالٞ وَلَا بَنُونَ ٨٨ إِلَّا مَنۡ أَتَى ٱللَّهَ بِقَلۡبٖ سَلِيمٖ ٨٩ ﴾ [الشعراء : ٨٨-٨٩]
ความหมาย “วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่ยังประโยชน์อันใดเลย นอกจากผู้ที่กลับมายังอัลลอฮฺด้วยกับหัวใจอันบริสุทธิ์” (อัช-ชุอะรออ์ 88-89)
และพระองค์ตรัสอีกว่า
﴿ وَلَقَدۡ جِئۡتُمُونَا
فُرَٰدَىٰ كَمَا خَلَقۡنَٰكُمۡ أَوَّلَ مَرَّةٖ وَتَرَكۡتُم مَّا خَوَّلۡنَٰكُمۡ وَرَآءَ
ظُهُورِكُمۡۖ ٩٤ ﴾ [الأنعام: ٩٤]
ความหมาย “และแน่นอนพวกเจ้าได้มายังเราโดยลำพัง เฉกเช่นที่เราได้บังเกิดเจ้ามาในครั้งแรก และพวกเจ้าได้ละทิ้งสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเจ้าไว้เบื้องหลังของพวกเจ้า“ (อัล-อันอาม 94)
มุสลิมได้บันทึกไว้ในหนังสือเศาะฮีหฺ จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า
แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِذَا مَاتَ الإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَنْهُ عَمَلُهُ إِلاَّ مِنْ ثَلاَثَةٍ:
إِلاَّ مِنْ صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ
يَدْعُو لَهُ» [مسلم برقم 1631]
ความหมาย “เมื่อมนุษย์ได้เสียชีวิตลง การงานของเขาจะถูกตัดขาด นอกจากการงานสาม ประการ หนึ่ง..การบริจาคทานที่ถาวร สอง..ความรู้ซึ่งเป็นประโยชน์ และสาม..ลูกที่ดีซึ่งขอดุอาอ์ให้กับเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1631)
กลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ สมาชิกในครอบครัว(ลูกหลานและภรรยา) พวกเขาจะไม่ยังประโยชน์อันใดกับผู้ตายนอกจากผู้ที่ขออภัยโทษให้กับเขา และได้วิงวอนขอดุอาอ์ให้เขาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และบางครั้งพวกเขาก็ไม่ได้กระทำการขอดุอาอ์ให้ด้วยซ้ำ และบางครั้งบุคคลอื่นนอกเหนือจากญาติยังให้ประโยชน์แก่ผู้ตายได้มากกว่าสมาชิกในครอบครัวเสียอีก มีคำพูดของคนศอลิห์บางท่านกล่าวว่า สมาชิกในครอบครัวได้แบ่งปันมรดกของท่าน โดยที่ได้ปล่อยให้ท่านเผชิญความเศร้าโศกแต่เพียงลำพัง เขาได้แค่ขอดุอาอ์ให้กับท่าน ในขณะที่ท่านถูกกลบดินอยู่ในหลุมฝังศพ ดังนั้นในบางครั้งสมาชิกในครอบครัวก็เป็นเฉกเช่นกับศัตรู ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ
ءَامَنُوٓاْ إِنَّ مِنۡ أَزۡوَٰجِكُمۡ وَأَوۡلَٰدِكُمۡ عَدُوّٗا لَّكُمۡ فَٱحۡذَرُوهُمۡۚ ﴾ [التغابن : ١٤]
ความหมาย “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงบางส่วนจากคู่ครองของพวกเจ้าและลูกหลานของพวกเจ้านั้นมีบางคนที่เป็นศัตรูแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงระวังต่อพวกเขา” (อัต-ตะฆอบุน 14)
กลุ่มที่สอง ได้แก่ ทรัพย์สิน มันคือสิ่งแรกที่กลับและมันไม่ได้เข้าในหลุมพร้อมกับเขา คำว่า “มันกลับไป” เป็นการเปรียบเทียบว่ามันไม่ได้เป็นเพื่อนเขาและมันไม่ได้เข้าไปในสุสานพร้อมเขา
อิมามมุสลิมได้บันทึกในหนังสือเศาะหีฮฺ รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู แท้จริงนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«يَقُولُ الْعَبْدُ: مَالِى، مَالِى،
قَالَ وَهَلْ لَكَ يَا ابْنَ آدَمَ
مِنْ مَالِكَ إِلاَّ مَا أَكَلْتَ فَأَفْنَيْتَ، أَوْ لَبِسْتَ فَأَبْلَيْتَ، أَوْ
تَصَدَّقْتَ فَأَمْضَيْتَ، وَمَا سِوَى ذَلِكَ فَهُوَ
ذَاهِبٌ وَتَارِكُهُ لِلنَّاسِ»
[مسلم برقم 2958]
ความหมาย “ลูกหลานอาดัมจะกล่าวว่า โอ้ทรัพย์สินของฉัน โอ้ทรัพย์สินของฉัน เขากล่าวว่า โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ยท่านมีทรัพย์สินอื่นใดอีกเล่านอกจากสิ่งที่ท่านได้บริโภคมันไปแล้ว ท่านได้ใช้จ่ายมันแล้ว หรือท่านได้สวมใส่มันแล้ว ท่านได้ทำให้มันหมดไปแล้ว หรือท่านได้บริจาคมันผ่านไปแล้ว และสิ่งอื่นจากนั้นมันจะจากไป และมันจะเหลือทิ้งไว้ให้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้า” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2958)
และอัล-บุคอรีย์ได้บันทึกจากรายงานของอิบนิมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ว่า
แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَيُّكُمْ مَالُ وَارِثِهِ أَحَبُّ
إِلَيْهِ مِنْ مَالِهِ؟» قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا مِنَّا أَحَدٌ إِلَّا مَالُهُ أَحَبُّ إِلَيْهِ. قَالَ: «فَإِنَّ مَالَهُ مَا قَدَّمَ وَمَالُ وَارِثِهِ مَا أَخَّرَ» [البخاري برقم 6442]
ความหมาย “คนใดจากพวกท่านที่ห่วงทรัพย์สินของทายาทมากกว่าทรัพย์สินของตัวเอง?” พวกเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺ ไม่มีใครในหมู่พวกเรานอกจากจะต้องรักทรัพย์สินของตัวเองมากกว่ากันทุกคน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงทรัพย์สินของเขานั้นคือสิ่งที่เขาได้ใช้มันไปแล้ว และทรัพย์สินของทายาทเขาคือสิ่งที่เขาทิ้งไว้ข้างหลัง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 6442)
ฉะนั้น บ่าวคนหนึ่งจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากทรัพย์สินของเขา นอกจากสิ่งที่เขาได้ใช้จ่ายไปเพื่อตัวของเขา และเขาได้ใช้จ่ายมันไปในหนทางของอัลลอฮฺ ส่วนสิ่งที่เขาได้บริโภคและได้สวมใส่มันก็ไม่เป็นบุญและบาปอันใดแก่เขานอกจากว่าเขาจะมีเจตนาที่ดีซึ่งจะทำให้เขาได้รับผลบุญ ในขณะที่อุละมาอ์บางคนมีความเห็นว่าเขาจะได้รับภาคผลบุญในทุกกรณี เคยมีพระราชาบางคนได้กล่าวกับอบู หาซิมผู้มีความสมถะว่า ทำไมพวกเราจึงเกลียดชังความตาย? เขากล่าวว่า พวกท่านให้ความสำคัญกับดุนยา ท่านได้ทำให้ทรัพย์สินของท่านอยู่ระหว่างตาทั้งสองข้างของท่าน ดังนั้นท่านก็เลยกลัวว่าจะจากมันไป และหากท่านได้มอบทรัพย์สินไว้ล่วงหน้ากับโลกอาคิเราะฮฺ แน่นอนท่านก็ย่อมรักที่จะติดตามมันไปเร็วๆ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ لَن تَنَالُواْ
ٱلۡبِرَّ حَتَّىٰ تُنفِقُواْ مِمَّا تُحِبُّونَۚ وَمَا تُنفِقُواْ مِن شَيۡءٖ فَإِنَّ
ٱللَّهَ بِهِۦ عَلِيمٞ ٩٢ ﴾ [آل عمران: ٩٢]
ความหมาย “พวกเจ้าทั้งหลายจะไม่ได้รับความดีอันใดเลย จนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้ารัก และไม่ว่าสิ่งใดที่พวกเจ้าได้บริจาคไป แท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ในสิ่งนั้นดี” (อาล-อิมรอน 92)
มีรายงานว่า อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา นั้น ไม่มีทรัพย์สมบัติใดที่ท่านชื่นชอบนอกเสียจากว่าท่านจะต้องบริจาคมันไปเพื่ออัลลอฮฺ จนกระทั่งมีอยู่วันหนึ่งท่านได้ขี่อูฐตัวหนึ่งครั้นแล้วมันก็ทำให้ท่านประทับใจ ดังนั้นท่านก็ได้ลงจากหลังของมันทันที และได้ผูกมันทิ้งไว้ แล้วได้ให้มันเป็นทานไปในแนวทางของอัลลอฮฺ
กลุ่มที่สาม ได้แก่ การงานที่มนุษย์ได้ประกอบไว้ในดุนยา ซึ่งมันจะติดตามไปพร้อมกับเขาในหลุมฝังศพ และจะไปพร้อมกับเขาเมื่อฟื้นคืนชีพ ตามจุดต่างๆ ในวันกิยามะฮฺ บนสะพานศิรอฏ บนตาชั่ง และการงานนี่เองจะเป็นตัวจำแนกที่พำนักว่าจะอยู่ในสวนสวรรค์หรือนรก อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ مَّنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا
فَلِنَفۡسِهِۦۖ وَمَنۡ أَسَآءَ فَعَلَيۡهَاۗ وَمَا رَبُّكَ بِظَلَّٰمٖ لِّلۡعَبِيدِ
٤٦ ﴾ [فصلت: ٤٦]
ความหมาย “ผู้ใดได้ปฏิบัติการงานที่ดีก็จะได้แก่ตัวเขา และผู้ใดได้กระทำความชั่วก็จะได้แก่ตัวของเขาเอง และพระเจ้าของเจ้านั้นมิทรงอธรรมต่อปวงบ่าวของพระองค์” (ฟุศศิลัต 46)
และอัลลอฮฺตรัสอีกว่า
﴿ مَن كَفَرَ فَعَلَيۡهِ
كُفۡرُهُۥۖ وَمَنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا فَلِأَنفُسِهِمۡ يَمۡهَدُونَ ٤٤ ﴾ [الروم: ٤٤]
ความหมาย “ผู้ใดที่ปฏิเสธศรัทธาดังนั้นการปฏิเสธศรัทธาก็จะตกอยู่กับตัวของเขา และผู้ใดได้ปฏิบัติการงานที่ดีพวกเขาก็จะเตรียมที่พักไว้สำหรับตัวของพวกเขาเอง” (อัรรูม 44)
ชาวสลัฟบางท่านได้อธิบายอายะฮฺที่ผ่านมาว่า พวกเขาได้ผูกเปลเพื่อตัวของพวกเขาในหลุมฝังศพ ดังนั้นการงานที่ดีในหลุมฝังศพจะเป็นเสมือนเปลของเขา ในขณะที่ทรัพย์สินในดุนยาของเขาไม่ได้เป็นทั้งเสื่อ หมอน หรือเปลแต่อย่างใด ทว่าผู้ประกอบกรรมความดีในดุนยาทุกคนจะเอาความดีความชั่วของตนเป็นดั่งเช่นเสื่อหรือหมอน ดังนั้น ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะคือผู้ที่บูรณะบ้านที่เขาจะอาศัยอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน ถึงแม้ว่าเขาจะบูรณะบ้านหลังดังกล่าว(อาคิเราะฮฺ)ด้วยความผุพังของบ้านชั่วคราว(ดุนยา)ซึ่งเขาจะจากมันไปในไม่ช้า เขาก็มิใช่เป็นคนที่ถูกหลอกหลอน แต่เขาจะเป็นผู้ที่มีกำไร
และยังมีชาวสลัฟบางคนได้กล่าวว่า “จงทำงานเพื่อโลกดุนยาเท่ากับระยะเวลาที่ท่านจะอาศัยอยู่ในนั้น และจงทำงานเพื่อโลกอาคิเราะฮฺเท่ากับระยะเวลาที่ท่านจะอาศัยอยู่ในนั้น”
ขณะที่อัล-หะสันได้กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งได้ติดตามศพของพี่น้องมุสลิมของเขาไปยังสุสาน ครั้นเมื่อศพถูกวางลงในหลุม เขาก็กล่าวว่า ฉันไม่เห็นสิ่งใดเลยที่ติดตามท่านไปนอกจากผ้าสามผืน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แน่แท้ฉันได้ปล่อยให้บ้านของฉันมีทรัพย์สินมากมายเอาไว้ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากพระองค์ให้โอกาสฉันกลับถึงบ้าน(หลังจากนี้)
แน่นอนฉันจะนำมันมากองไว้ต่อหน้าฉัน เขา(อัล-หะสัน)กล่าวว่า ดังนั้น เมื่อเขาได้กลับไปถึงบ้านเขาก็นำมากองวางไว้ต่อหน้าเขา(เพื่อบริจาคจนหมด) บรรดานักปราชญ์เล่ากันว่าชายผู้นั้นคือ อุมัรฺ
บิน อับดุลอะซีซ”
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮฺ ความศานติสุขจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเราและจงมีแด่เครือญาติวงศ์ตระกูลของท่านตลอดจนบรรดาอัครสาวกของท่านทั้งหมด
والحمد لله رب العالمين ، وصلى الله
وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .
.......................................
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ตรวจทานโดย
: ซุฟอัม อุษมาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น