อิสลามนั้นไม่มีระบบบุตรบุญธรรม เหมือนอย่างกฎหมายบางประเทศ เช่น ประเทศไทย ที่บัญญัติกฎหมายให้มีการรับบุตรบุญธรรม และให้มีศักดิ์และสิทธิอย่างบุตรผู้สืบสันดาน(สืบสายโลหิต) รวมถึงสิทธิการรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย ส่วนการแต่งานระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม ก็ให้แต่งงานกันได้ โดยให้ยกเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้นเสีย แต่สำหรับกฎหมายอิสลามนั้น อัลกุรอานระบุไว้อย่างชัดเจน มิให้มีการรับบุตรบุญธรรม
ดังพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
فَلَمَّا قَضَىٰ زَيْدٌ مِّنْهَا وَطَرًا زَوَّجْنَاكَهَا لِكَيْ لَا يَكُونَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ حَرَجٌ فِي أَزْوَاجِ أَدْعِيَائِهِمْ إِذَا قَضَوْا مِنْهُنَّ وَطَرًا وَكَانَ أَمْرُ اللَّهِ مَفْعُولًا ( 37 ) อัล-อะห์ซาบ - Ayaa 37
"ครั้นเมื่อเซด ได้หย่ากับนาง แล้ว เราได้ให้เจ้าแต่งงานกับนางเพื่อที่จะไม่เป็นที่ลำบากใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายใน เรื่องการ (การสมรสกับ) ภริยาของบุตรบุญธรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาหย่ากับพวกนางแล้วและพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้นจะต้อง บรรลุผลเสมอ" (อัลกุรอาน สุเราะฮฺ อัล-อะห์ซาบ 33:37)
อัลกุรอานอายะฮฺข้างต้น พระองค์อัลลอฮฺตะอาลา ทรงประสงค์ที่จะยกเลิกประเพณีเกี่ยวกับบุตรบุญธรรม ซึ่งเผยแพร่หลายในหมู่ชาวอาหรับยุคก่อนอิสลาม กล่าวคือ ชาวอาหรับจะเอาเด็กคนหนึ่งที่ไม่ใช่บุตรของตนเองมาอุปการะเลี้ยงดูเหมือนบุตรของตนเอง มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนบุตรของตนเองทุกประการ ทั้งในเรื่องมรดก การหย่าร้าง การแต่งงาน และญาติสนิท(มะฮฺร็อม)ที่ห้ามแต่งงาน
พระองค์อัลลอฮฺทรงใช้ให้ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) แต่งงานกับท่านหญิงซัยหนับ บินตุ ญะฮ์ช หลังสามีของนาง คือท่านซัยด์ อิบนุ ฮาริษะฮ์ บุตรบุญธรรมของท่านนบีได้อย่านาง จุดประสงค์ในการสมรสครั้งนี้ เพื่อยกเลิกระบบบุตรบุญธรรม และถือว่าภรรยาของบุตรบุญธรรมที่ผ่านมานั้น ไม่ได้เป็นที่ต้องห้ามที่จะแต่งงานกัน ดังเช่นภรรยาของบุตรที่แท้จริงแต่อย่างใด
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น