อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

กรณีครบรอบที่จะต้องจ่ายซะกาต


เมื่อครบรอบตามที่ศาสนาบัญญัติที่จะต้องจ่ายซะกาต วาญิบสำหรับมุสลิมคนนั้นจะต้องจ่ายซะกาตทันที

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า
"ไม่ถือว่าเป็นซะกาตในทรัพย์สิน จนกว่าจะครบรอบ (ปี หรือครบพิกัด) ของซะกาต(นั้น)" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 1864 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

สำหรับการจ่ายซะกาตด้วยการครบรอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1ประเภทซึ่งทรัพย์ครบพิกัด ได้แก่ ทรัพย์ที่เป็นประเภทพืชไร่ เช่น ข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวได้จำนวนที่ศาสนากำหนด วาญิบต้องจ่ายซะกาต โดยไม่ต้องรอให้ครบรอบปี

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

 كُلُوا مِن ثَمَرِهِ إِذَا أَثْمَرَ وَآتُوا حَقَّهُ يَوْمَ حَصَادِهِ ( 141 ) อัล-อันอาม - Ayaa 141

 "จงบริโภคจากผลของมันเถิดเมื่อออกผล และจงจ่ายส่วนอันเป็นสิทธิ ในมันด้วย ในวันแห่งการเก็บเกี่ยวมัน"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6:141)

2.ทรัพย์ซึ่งครบรอบปี (ตามปฏิทินอิสลาม) อาทิเช่น เงิน, ทองคำ,สินค้า และปศุสัตว์

ส่วนซะกาตที่ต้องเกี่ยวข้องกับกำหนดเวลาที่ถูกเจาะจงไว้วาญิบจะต้องจ่าย ได้แก่ ซะกาตฟิฏเราะฮฺ เป็นต้น

والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น