... บรรดานักนิติศาสตร์มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องของ การให้ค่าจ้างแก่ผู้ครูผู้สอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา อาทิเช่น สอนวิชาอัล-หะดีษ ,อัล-ฟิกฮฺ และวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยแบ่งออกเป็น 3 ทัศนะ ด้วยกัน คือ..
ทัศนะที่หนึ่ง : มีความเห็นว่า อนุญาตสำหรับครูบาอาจารย์ในการรับค่าจ้าง ในการสอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เมื่อได้ทำการตกลงกันระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน (ข้อตกลงระหว่างผู้ให้ค่าจ้างกับครูผู้สอน) นี่คือทัศนะของท่าน อัมมาร บิน ยาสิร และท่านสะอฺด บิน อะบีวักกอศ
และแท้จริงท่านอะบูกุลาบะฮฺ ,ท่านอะฏออฺ และท่านมุอาวียะฮฺ อิบนุ กุรเราะฮฺ ก็อนุญาตให้ครูผู้สอนนั้นรับค่าจ้างได้ และเช่นเดียวกันนี่คือ ทัศนะหนึ่งจากถูกรายงานมาจากท่านอิบนุซีรีน ,ท่านอิบนุมุนซิร และท่านอะบูษูร
และท่านหะกัม บิน อุตัยบะฮฺ ได้กล่าวว่า “ฉันไม่เคยรู้เลยว่า จะมีใครคนใดคนหนึ่งที่รังเกียจในการเอาค่าจ้างของครูผู้สอน”
และนี่คือ ทัศนะที่ถูกชี้ขาดเอาไว้โดยปวงปราชญ์รุ่นหลังจากมัซฮับหะนะฟีย์ จากแนวทางการวินิจฉัยในมัซฮับของพวกเขา
และ ปราชญ์ในมัซฮับอัล-มาลิกีย์ก็อนุญาตเช่นเดียวกันในการให้ค่าจ้างแก่ครูผู้ สอนอัล-กุรอาน แต่พวกเขาถือว่า ไม่สมควรในการจะให้ค่าจ้างแก่ครูที่สอนวิชาการศาสนาอื่นๆ นอกจากอัล-กุรอาน
และ ปราชญ์ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ก็อนุญาตเช่นเดียวกันในการให้ค่าจ้างแก่ครูผู้สอนอัล-กุรอาน แต่ทว่าพวกเขาไม่อนุญาตให้ครูขอค่าจ้างจากการสอนวิชาการศาสนาของเขา นอกสะจากว่า ครูคนนั้นจะต้องเป็นครูที่ถูกเจาะจงตัวเอาไว้แล้วว่าต้องเป็นคนนี้ หรือถูกเจาะจงเอาไว้แล้วว่าคุณจะต้องสอนวิชานั้นวิชานี้ เป็นต้น
และเช่นเดียวกัน นี่คือทัศนะหนึ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านอิมามอะหฺมัด และเป็นทัศนะของปราชญ์จากมัซฮับอัซ-ซอฮิรีย์
ทัศนะ ที่สอง : มีความเห็นว่า อนุญาตสำหรับครูบาอาจารย์ในการรับค่าจ้าง ในการสอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือวางเงื่อนไขอะไรกันไว้ก่อนแล้ว (คือ รับเท่าที่เค้าให้มา ไม่ว่าเท่าไรก็ตาม) ซึ่งปราชญ์กลุ่มนี้ถือว่า เป็นความน่ารังเกียจในการที่จะมาตกลงล่วงหน้ากัน เพื่อเอาค่าจ้างในการสอนวิชาการศาสนา นี่คือ ทัศนะของท่านหะซัน อัล-บัศรีย์ ,ท่านฏอวูส ,ท่านอัล-นะคออีย์ และเป็นทัศนะหนึ่งจากท่านอิบนุซีรีน
และ ท่านอิมาม อัช-ชะบีย์ กล่าวว่า “ครูผู้สอนนั้นจะไม่ถูกวางเงื่อนไขในการสอนของเขา (ในเรื่องค่าจ้าง) นอกจากเมื่อคนอื่นได้ให้ค่าจ้างแก่เขา ดังนั้น เขาก็จงรับมันไว้”
และ ท่านอิมามอะหฺมัด ได้กล่าวว่า “ครูผู้สอนนั้นจะไม่ร้องขอสิ่งใด และไม่วางเงื่อนไขใดๆ (ในเรื่องค่าจ้าง) ดังนั้น หากมีใครให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ท่าน ท่านก็จงรับมันไว้” และนี่คืออีกทัศนะหนึ่งของท่าน
ซึ่งปราชญ์ในกลุ่มนี้มีความเห็นว่า ไม่สมควรแก่ครูบาอาจารย์ในการที่จะวางเงื่อนไขหรือร้องขอสิ่งใดในเรื่องค่า จ้างจากคนอื่น แต่ทว่าหากใครที่ได้หยิบยื่นผลตอบแทนอะไรให้ ก็จงรับมันเอาไว้
ทัศนะที่สาม : มีความเห็นว่า ไม่อนุญาตให้เอาค่าจ้างหรือจ่ายค่าจ้างแก่ผู้ที่ทำการสอนอัล-กุรอานหรือสอน วิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาสนา นี่คือ สิ่งที่รายงานมาจากท่านอุมัร ,ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มุฆฟิล ,ท่านอับดุลลอฮฺ บิน ยะซีด ,ท่านอับดุลลอฮฺ บิน ชะกีก ,ท่านเอาวฟฺ บิน มาลิก ,ท่านเฎาะหาก บิน ก็อยสฺ ,ท่านอุลเกาะมะฮฺ ,ท่านอิมามอัซ-ซุฮรีย์ ,ท่านหะซัน บิน หัย ,ท่านอิสหาค ,ท่านชะรีหฺ และคือ ทัศนะของปราชญ์รุ่นก่อนในมัซฮับอัล-หะนะฟีย์
ทัศนะที่หนักแน่นที่สุด : ด็อกเตอร์ อับดุลฟัตตาหฺ มะหฺมูด อิดรีส หัวหน้าภาควิชานิติศาสตร์เปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ผู้ที่ทำการค้นคว้าในเรื่องนี้ มีความเห็นว่า หลังจากที่ฉันได้ทำการค้นคว้าในเรื่องของหลักฐานและการโต้ตอบกันทางวิชาการ ของทัศนะจากปราชญ์ทั้ง 3 กลุ่ม ดังนั้น ฉันมีความเห็นว่าทัศนะที่หนักแน่นที่สุด คือ ทัศนะแรกที่กล่าวว่า “อนุญาตให้เอาค่าจ้างและจ่ายค่าจ้างให้กับครูผู้สอนอัล-กุรอานหรือสอน วิชาการต่างๆ ในศาสนาได้ คือ แนวทางของปราชญ์รุ่นหลังในมัซฮับอัล-หะนะฟีย์ และเป็นทัศนะหนึ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านอิมามอะหฺมัด และเป็นทัศนะของปราชญ์ในมัซฮับอัซ-ซอฮิรีย์”
............................................................................................................................................
ดู ตำรา ما ينفع الأموات من سعي الأحياء โดย ด็อกเตอร์ อับดุลฟัตตาหฺ มะหฺมูด อิดรีส หน้าที่ 231
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น