อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาชูรอ มีรากศัพท์มาจากการกวนขนมอาชูรอในสมัยนบีนุฮจริงหรือ

โดย อ.อะสัน  หมัดอะดั้ม


มีอาจารย์ท่านหนึ่ง อ้างว่า
คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) มักนิยมทำกันประมาณช่วงเดือนมุฮัรรอมของทุกปี และหรือตรงกับวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม อันเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามศาสนาอิสลาม
.....ความเป็นมาของการกวนข้าวอาซูรอ หรือกวนขนมอาซูรอนั้น สืบเนื่องจากได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยศาสดานุฮ์ (อล) หนึ่งในศาสดาของศาสนาอิสลาม ซึ่งจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกมีการนำสัตว์เป็นคู่ๆขึ้นเรือใหญ่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นาของประชาชนและสาวกของศาสดานุฮ (อล) ทำให้เกิดสภาพขาดแคลน ผู้คนทั่วไปอดอาหาร ท่านศาสดานุฮ (อล) จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน และให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานอาหารกันโดยทั่วหน้า
....................
ชี้แจง
ความจริงคำว่า อาชูรอ หมายถึง วันที่สิบ มาจากคำว่า อะชะเราะ แปลว่า จำนวนสิบ อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า
قَالَ أَصْحَابُنَا : عَاشُورَاءُ هُوَ الْيَوْمُ الْعَاشِرُ مِنْ الْمُحَرَّمِ ، وَتَاسُوعَاءُ هُوَ التَّاسِعُ مِنْهُ هَذَا مَذْهَبُنَا ، وَبِهِ قَالَ جُمْهُورُ
บรรดาสหายของพวกเรา(หมายถึงปราชญ์มัซฮับชาฟิอี) กล่าวว่า “อาชูรออฺ คือ วันที่สิบ ของเดือนมุหัรรอม และ ตะสูอาอฺ คือ วันที่เก้าของเดือนมุหัรรอม ,นี่คือ ทัศนะของพวกเรา และนักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูร)ก็มีทัศนะด้วยมัน –อัลมัจญมัวะ 6/433 เรือง การถือศีลอดวันอะชูรอ
อัลหาฟิซอิบนุหะญัร (ร.ฮ)กล่าวว่า
قَالَ الْقُرْطُبِيُّ : عَاشُورَاءُ مَعْدُولٌ عَنْ عَاشِرَةٍ لِلْمُبَالَغَةِ وَالتَّعْظِيمِ ، وَهُوَ فِي الْأَصْلِ صِفَةٌ لِلَّيْلَةِ الْعَاشِرَةِ ؛ لِأَنَّهُ مَأْخُوذٌ مِنَ الْعَشْرِ الَّذِي هُوَ اسْمُ الْعَقْدِ وَالْيَوْمُ مُضَافٌ إِلَيْهَا
อัลกุรฎุบีย์ กล่าวว่า “อะชูรออฺ เป็นคำที่ถูกแปลงมาจากคำว่า อาชิเราะฮ(แปลว่าที่สิบ) เพื่อแสดงถึงการให้ความหนักแน่นและให้ความสำคัญ และมัน อยู่ในความหมายเดิม คือ ลักษณะของคืนที่สิบ เพระว่า มันถูกเอามาจาก คำว่า อะชัร(สิบ) ซึ่งมันคือ ชื่อของจำนวนที่ใช้นับ และคำว่าวันถูกนำไปประกอบกับมัน – ฟัตหุลบารีย 6/280
สำหรับการอ้างการกวนขนมอาชูรอ ว่ามาจากประวัตินบีนุฮอะลัยฮิสสลาม มันเป็นแค่ทำนาน ที่ไม่มีที่มา มีสำนวนหะดิษที่ระบุว่า การถือศีลอดวันอะชูรอ เพื่อระลึกถึง วันที่เรื่อของนบีนุฮ(อ.)จอดที่ภูเขายูดีย์ด้วยความปลอดภัย ซึ่งเป็นหะดิษเฎาะอีฟคือ
حَدَّثَنَا أَبُو جَعْفَرٍ حَدَّثَنَا عَبْدُ الصَّمَدِ عَنْ أَبِيهِ عَنْ شُبَيْلٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ مَرَّ النَّبِيُّ صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِأُنَاسٍ مِنَ الْيَهُودِ قَدْ صَامُوا يَوْمَ عَاشُورَاءَ فَقَالَ مَا هَذَا مِنَ الصَّوْمِ قَالُوا هَذَا الْيَوْمُ الَّذِي نَجَّى اللَهُ مُوسَى وَبَنِي إِسْرَائِيلَ مِنَ الْغَرَقِ وَغَرَّقَ فِيهِ فِرْعَوْنَ وَهَذَا يَوْمُ اسْتَوَتْ فِيهِ السَّفِينَةُ عَلَى الْجُودِيِّ فَصَامَهُ نُوحٌ وَمُوسَى شُكْرًا لِلَّهِ تَعَالَى فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَا أَحَقُّ بِمُوسَى وَأَحَقُّ بِصَوْمِ هَذَا الْيَوْمِ فَأَمَرَ أَصْحَابَهُ بِالصَّوْمِ *
อบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอฺะลัยฮิวะสัลลัม เดินผ่านพวกยะฮูดกลุ่มหนึ่งขณะที่พวกเขาถือศีลอดกันอยู่ในวันอฺาชูรออ์ ท่านถามว่า นี่เป็นการถือศีลอดอะไรกัน? พวกเขาตอบว่า วันนี้เป็นวันที่อัลลอฮฺทรงช่วยมูซาและบะนีอิสรออีลให้รอดพ้นจากจากการจมน้ำ และทรงทำให้ฟิรเอฺาน์จมน้ำ และวันนี้อีกเช่นกันที่เรือ(ของท่านนบีนูห์)ไปจอดบนภูเขาญูดี ดังนั้นทั้งนูห์และมูซาจึงถือศีลอดเพื่อขอบคุณแด่อัลลอฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอฺะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า ฉันสมควรที่จะปฏิบัติตามมูซา และสมควรที่จะต้องถือศีลอดในวันนี้มากกว่า(พวกเขา-ยะฮูด) ดังนั้นท่านจึงสั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺให้ถือศีลอดด้วย (อะหฺมัด)
วิจารณ์หะดิษ
สำนวนหะดิษเรื่องดังกล่าวที่กล่าว สำนวนหะดิษที่เพิ่มเติมที่กล่าวถึง นบีนุฮ ด้วยนั้นเท่าที่ดูมา เป็นทั้งหะดิษเฎาะอีฟ
وأخرجه أحمد (2/359) من حديث أبي هريرة وزاد: "وهذا يوم استوت فيه السفينة على الجودي"وإسناده ضعيف، في إسناده عبدالصمد بن حبيب وهو ضعيف، وحبيب بن عبدالله وهو مجهول .
قال ابن كثير في تفسيره (2/448) - بعد أن أورده من هذا الوجه - : "وهذا حديث غريب من هذا الوجه"
และบันทึกโดย อะหมัด(2/359)จากหะดิษอบีฮุรัยเราะฮ และมีข้อความเพิ่มขึ้นมาว่า "และวันนี้อีกเช่นกันที่เรือ(ของท่านนบีนูห์)ไปจอดบนภูเขาญูดีย์" โดยที่สายรายงานของมันเฎาะอีฟ
ในสายรายงานของมัน มีผู้รายงานชื่อ อับดุศเศาะมัด บิน หะบีบ โดยที่เขา เป็นผู้ที่หลักฐานอ่อน(เฎาะอีฟ) และ หะบีบ บิน อับดุลลอฮ (ชื่อเสียง เรียงนาม)ไม่เป็นที่รูจัก(มัจญฮูล)
อิบนุกะษีร ได้กล่าวไว้ในตัฟสีรของท่าน(ตัฟสีรอิบนิกะษีร) เล่ม 2 หน้า 448 หลังจากที่ได้รายงานมันจากกระแสนี้ ว่า " นี้คือหะดิษที่แปลก (หะดิษเฆาะรีบ) จากกระแสนี้
ส่วนสำนวนที่เป็นหะดิษเศาะเฮียะ ไม่มีประโยคที่ว่า
وهذا يوم استوت فيه السفينة على الجودي
และวันนี้อีกเช่นกันที่เรือ(ของท่านนบีนูห์)ไปจอดบนภูเขาญูดี
คือหะดิษรายงานโดยท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
قَدِمَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ فَرَأَى الْيَهُودَ تَصُومُ يَوْمَ عَاشُورَاءَ فَقَالَ مَا هَذَا قَالُوا هَذَا يَوْمٌ صَالِحٌ هَذَا يَوْمٌ نَجَّى اللَّهُ بَنِي إِسْرَائِيلَ مِنْ عَدُوِّهِمْ فَصَامَهُ مُوسَى قَالَ فَأَنَا أَحَقُّ بِمُوسَى مِنْكُمْ فَصَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ
“ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้มาที่นครมะดีนะฮ์ ท่านเห็นพวกยิวทำการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ดังนั้นท่านนะบีย์จึงถามว่า นี้คือวันอะไร พวกเขากล่าวว่า นี้คือวันดี เป็นวันที่อัลเลาะฮ์ได้ให้ท่านนะบีย์ของบะนีอิสรออีล (นะบีย์มูซา) รอดพ้นจากศัตรู (คือฟิรอูน) ดังนั้นท่านนะบีย์มูซาจึงถือศีลอด (เพื่อขอบคุณอัลเลาะฮ์) ท่านนะบีย์จึงกล่าวว่า ฉันมีสิทธิมากกว่าพวกท่านเกี่ยวกับมูซา ดังนั้นท่านนะบีย์จึงถือศีลอดวันอาชูรออฺและสั่งใช้ให้ถือศีลอด” รายงานโดยอัลบุคอรีย์, ฮะดีษลำดับที่ 2004
والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น