อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

จงระวังผู้รู้ศาสนาที่หลงทาง

 โดย อามีน  ลอนา



عَنْ أَبِي تَمِيمٍ الْجَيْشَانِيِّ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا ذَرٍّ يَقُولُكُنْتُ مُخَاصِرَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمًا إِلَى مَنْزِلِهِ فَسَمِعْتُهُ يَقُولُ غَيْرُ الدَّجَّالِ أَخْوَفُ عَلَى أُمَّتِي مِنْ الدَّجَّالِ فَلَمَّا خَشِيتُ أَنْ يَدْخُلَ قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيُّ شَيْءٍ أَخْوَفُ عَلَى أُمَّتِكَ مِنْ الدَّجَّالِ قَالَ الْأَئِمَّةَ الْمُضِلِّينَ“

รายงานจากอบูตะมีม อัลญัยชานีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยิน อบูสัรรินกล่าวว่า ในวันหนึ่งข้าพเจ้าได้เดินทางร่วมกับท่านเราะซูลโดยที่ข้าพเจ้าได้เดินคล้องมือของท่านเพื่อไปยังที่พำนักของท่าน ทันใดนั้นข้าพเจ้าก็ได้ยินท่านนบีพูดว่า-นอกเหนือจากดัจญาลแล้ว[1]ยังมีสิ่งอื่นที่ฉันกลัวมากกว่าดัจญาลว่ามันจะประสบแก่ประชาชาติของฉันดังนั้นฉันจึงถามท่านว่า โอ้ท่านเราะซูลลุลเลาะฮฺสิ่งใดอีกเล่าที่ท่านกลัวว่าจะประสบแก่ประชาชาติของท่านยิ่งกว่าดัจญาล? ท่านก็ตอบว่า คือบรรดาอิมามผู้ที่ทำให้ผู้คนหลงผิด”(มุสนัดอิมามอะฮฺมัด, หมายเลข : 21297, อัลบานีย์รับรองหะดีษนี้ว่าเศาะฮีฮฺ ดู ศ.ญ., หมายเลข :4165 เช่นเดียวกับอิมามซุยูฏีย์ ดู อ.ญ., หมายเลข : 5782)[2]


[1]ดัจญาลคือคนผู้หนึ่งที่อันตรายมากสำหรับมุสลิมโดยทั่วไปเนื่องจากตัวเขาจะหลอกหลอนให้มุสลิมเกิดการหลงผิดในช่วงใกล้กิยามะฮฺ บรรดาสาวกต่างขอดุอาอ์ในการละหมาดเพื่อให้ตนเองหนีพ้นจากความวุ่นวายของดัจญาล แต่กระนั้นก็ตามหะดีษกลับบ่งชี้ว่าท่านนบีกังวลต่อสิ่งอื่นมากกว่าดัจญาลเสียอีก

[2]คำว่า “บรรดาอิมามผู้หลงผิด” หมายถึง ผู้ที่เรียกร้องเชิญชวนผู้คนไปสู่เรื่องบิดอะฮฺลุ่มหลงทั้งหลายในศาสนารวมถึงเรื่องชั่วร้ายและเลวทรามต่างๆ (ม.ม.,เล่ม 6 หน้า 401 หมายเลข : 2229) สาเหตุที่ทำให้ท่านนบี   กังวลถึงพิษภัยของอิมามแห่งความหลงผิดเหล่านี้มากกว่าดัจญาลก็เพราะว่าคนหลงผิดเช่นนี้แทบจะมีทุกยุคทุกสมัย ในขณะที่ดัจญาลสามารถสร้างความวุ่นวายเพียงเฉพาะก่อนวันสิ้นโลกเท่านั้น และในขณะที่ดัจญาลจะไม่สามารถล่อลวงบ่าวที่ศรัทธาต่ออัลเลาะฮฺได้แต่บรรดานักการศาสนาที่หลงผิดจะสามารถล่อลวงผู้ศรัทธาที่ขาดความรู้ได้อย่างง่ายดายเพราะคิดว่านั่นคือคำสอนทางศาสนา หะดีษบทนี้จึงเป็นสิ่งที่เตือนให้เราระมัดระวังบรรดาอิมามหรือผู้ที่เรียกร้องไปสู่บิดอะฮฺหลงผิดและความชั่วร้ายต่างๆ อันเป็นการเตือนให้บรรดามุสลิมทำการระวังถึงเหล่าอุละมาอ์หรือนักการศาสนาที่ชั่วร้ายเพราะคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่ทรงพลังมากที่สุดในการเรียกร้องคนให้คล้อยตามเชื่อฟังพวกเขาจนกระทั่งล่วงล้ำสู่เรื่องบิดอะฮฺลุ่มหลง ฉะนั้นตามมันฮัจฺสะลัฟแล้วพวกเขาไม่เคยพิจารณาตื้นๆว่าหากเป็นอุละมาอ์หรือนักปราชญ์ทางด้านศาสนาที่สามารถท่องจำอัลกุรอานมากมาย ท่องจำหะดีษมากมายก็ถือว่าเขาเป็นผู้ทรงเกียรติของสังคมที่ไม่สามารถตำหนิได้ นี่คือความเห็นที่หลงผิดและสวนทางกับแนวทางสะลัฟ เนื่องจากชาวสะลัฟนั้นพวกเขาได้ทำการตำหนิประณามต่อบรรดาอุละมาอ์ชั่วที่เสี้ยมสอนคนให้ลุ่มหลงไปจากทางนำ อาทิ อัมรฺบินอุบัยดฺ คนผู้นี้คืออุละมาอ์ใหญ่ของสำนัก     มุอฺตะซิละฮฺที่มีความเคร่งครัดน่าเชื่อถือ อ่อนน้อมตลอดจนการปฏิบัติศาสนกิจที่มากมาย        แต่ทว่าความหลงผิดในเรื่องหลักศรัทธาของเขานั้นร้ายแรงมาจนถึงขนาดที่ชาวสะลัฟท่านหนึ่งคือท่านยูนุสบินอุบัยดฺต้องกล่าวว่า

فَقَالَ يُونُسُ: أَنْهَى عَنِ الزِّنَاءِ , وَالسَّرِقَةِ , وَشُرْبِ الْخَمْرِ , وَلَئِنْ تَلْقَى اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ بِهَذَا أَحَبُّ مِنْ أَنْ  تَلْقَاهُ بِرَأْيِ عَمْرِو بْنِ عُبَيْدٍ وَأَصْحَابِ عَمْرٍو ,                                                           “ข้าพเจ้าขอห้ามพวกท่านจากการผิดประเวณี การขโมย การดื่มสุราเมรัย อย่างไรก็ตามหากพวกท่านกลับไปพบพระองค์อัลเลาะฮฺ   ด้วยกับบาปเหล่านี้มันยังดีกว่าที่ท่านต้องกลับไปหาพระองค์อัลเลาะฮฺในสภาพที่พวกท่านมีหลักศรัทธาเยี่ยงนายอัมรฺบินอุบัยดฺและลูกสมุนของเขาที่ชื่อว่าอัมรูว์”(อ.อ.2, เล่ม 2 หน้า 466)

การเตือนประชาชนให้ออกห่างจากอันตรายของอิมามผู้หลงผิดจึงถือเป็นหน้าที่ตามแนวทางของชาวสะลัฟท่านอิมามติรมิสี้ย์ ปราชญ์หะดีษยุคสะลัฟบันทึกไว้ว่า

ولهذا كان شعبة يقول : (( تعالوا حتى نغتاب في الله ساعة )) . يعني نذكر الجرح والتعديلوذكر ابن المبارك رجلاً فقال : (( يكذب )) ، فقال له رجل : يا أبا عبد الرحمن (( تغتاب ! )) ، قال : (( اسكت ، إذ لم نبين كيف يعرف الحق من الباطل)). وكذا روي عن ابن عُلية أنه قال في الجرح : ((إِنَّ هَذَا أَمَانَةٌ لَيْسَ بِغِيبَةٍ))وقال أبو زرعة الدمشقي ((سَمِعْتُ أَبَا مُسْهِرٍ ، يُسْأَلُ عَنِ الرَّجُلِ يَغْلَطُ وَيَهِمُ وَيُصَحِّفُ ، فقال : " بَيِّنْ أَمْرَهُ ، فَقُلْتُ لأَبِي مُسْهِرٍ : أَتَرَى ذَلِكَ مِنَ الْغِيبَةِ ؟ ، قَالَ : لا ))وروى أحمد بن مروان المالكي ثنا عبد الله بن أحمد بن حنبل قال : جاء أبو تراب النخشبي إلى أبي ، فجعل أبي يقول : (( فلان ضعيف وفلان ثقة )) ، قال أبو أيوب : (( يا شيخ لا تغتب العلماء )) قال : فالتفت أبي إليه قال : (( ويحك ! هذا نصيحة ، ليس هذا غيبة)) .

“ท่านชุอฺบะฮฺ ปราชญ์สะลัฟกล่าวว่า พวกท่านจงมานินทาคนในหนทางของพระองค์อัลเลาะฮฺสักชั่วโมงเถิด – หมายถึงการที่พวกเรามาทำหน้าที่ญัรฮฺ(เตือนให้สังคมรู้จักพิษภัยของคนใดก็ตาม)และตะอ์ดีล(รับรองคนดีๆให้สังคมรู้จัก) และเมื่อท่านอิบนุลมุบาร็อกได้กล่าวถึงชายคนหนึ่ง ท่านก็กล่าวให้รู้ว่า ชายผู้นั้นคือจอมโกหก ชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านอิบนุลมุบาร็อก (ปราชญ์หะดีษยุคสะลัฟ) ว่า โอ้อะบาอับดุรเราะฮฺมาน ท่านนินทาคนอยู่หรือ? ท่านอิบนุลมุบาร็อกตอบว่า หุบปากซะ! หากเราไม่สร้างความกระจ่าง แล้วสังคมจะรู้จักแยกแยะสัจธรรมออกจากความเท็จได้อย่างไร? ท่านอิบนุอุลัยยะฮฺกล่าวถึง การญัรฮฺ(การเตือนให้ระวังบุคคล)ว่า มันคือหน้าที่ ไม่ใช่การนินทา ท่านอะบามุซฮิร ถูกถามเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ในตัวของเขามีความสับสน มีความผิดพลาดบางอย่างและมีความเสียหายบางอย่างอยู่ ท่านอะบามุซฮิร กล่าวว่าจงสร้างความกระจ่างแก่สังคมให้รู้ถึงการงานของเขา ผู้ถามจึงถามว่า ท่านไม่ถือว่าเป็นการนินทาดอกหรือ? ท่านตอบว่าไม่!ท่านอับดุลเลาะฮฺซึ่งเป็นลูกชายของท่านอิมามอะฮฺมัดได้เล่าว่าครั้งหนึ่งอบูตุร้อบ อันนัคชะบีย์ ได้มาหาพ่อของฉัน ดังนั้นพ่อของฉันจึงเริ่มกล่าววิจารณ์คนว่า คนนี้เป็นคนอ่อน (เฎาะอีฟ) และคนนั้นเป็นคนที่เชื่อถือได้จากนั้น อบูอัยยูบ จึงได้กล่าวกับท่านอิมามอะฮฺมัดว่า โอ้ท่านชัยคฺ ท่านจงอย่าได้นินทาอุละมาอ์!’ ดังนั้นพ่อของฉันจึงได้หันไปหาเขาและกล่าวว่า หายนะจงมีแด่เจ้า! นี่คือการให้คำตักเตือนต่างหาก หาได้เป็นการนินทาไม่”  (ซ.อ.,เล่ม 1 หน้า 349)

เราขอถามว่าไหนเล่าความคิดเรื่องมารยาทแบบตื้นๆในหมู่ชาวสะลัฟตามที่พวกฮิซบีย์ในยุคปัจจุบันมักอ้างนักหนาเพื่อกีดกันการเปิดโปงพวกนอกคอกเล่า? กระไรกันเล่าชาวสะลัฟจึงไม่พูดจาเพ้อเจ้อเช่นบางกลุ่มในยุคปัจจุบันว่าอย่าไปโจมตีอุละมาอ์เลยเขาท่องจำอัลกุรอานมากมาย จำหะดีษมากมาย เขาทรงความรู้มากมาย?! ทั้งที่ชาวสะลัฟเคยเปรียบอัมรฺบินอุบัยดฺอุละมาอ์ผู้รู้หลักการศาสนาว่าต่ำช้ากว่าคนโฉดที่ผิดประเวณี! เช่นเดียวกับอุละมาอ์หลายท่านที่มีชีวิตในยุคสะลัฟแต่ทว่าได้เบี่ยงเบนออกไปจากแนวทางสะลัฟ คนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ถูกตำหนิจากชาวสะลัฟผู้ทรงธรรมทั้งสิ้น เช่น ท่านอับดุลเลาะฮฺอิบนุกุลลาบ และเหล่าสานุศิษย์ที่นิยมในตัวเขา เราพบว่าความผิดเพี้ยนในเรื่องหลักศรัทธาเกี่ยวกับอัลกุรอานของพวกเขาทำให้ปราชญ์สะลัฟผู้ทรงธรรมต้องทำการตัดขาดจากพวกเขา ครั้งหนึ่งท่านอิมามอิบนุคุซัยมะฮฺนักปราชญ์    ชาวสะลัฟผู้ทรงธรรมได้ถูกชายผู้หนึ่งนามว่าอบูอะลีย์ อัซซะเกาะฟีย์ ถามว่า

مَا الَّذِي أَنكرتَ أَيُّهَا الأُسْتَاذُ مِنْ مَذَاهِبِنَا حَتَّى نَرجِعَ عَنْهُ؟قَالَ: مَيلُكُم إِلَى مَذْهَبِ الكلاَّبيَّةِ، فَقَدْ كَانَ أَحْمَدُ بنُ حَنْبَلٍ مِنْ أَشَدِّ النَّاسِ عَلَى عَبْدِ اللهِ بنِ سَعِيْدِ بنِ كلاَّبٍ وَعَلَى أَصْحَابِهِ مِثْلِ الحَارِثِ وَغَيْرِهِ،“อะไรเล่าที่ทำให้ท่านปฏิเสธแนวทางของเรา โอ้ท่านครูเอ๋ย บอกเราเถิดเพื่อว่าเราจะได้ละทิ้งมัน(หากว่าผิด) อิมามอิบนุคุซัยมะฮฺตอบว่า ก็การที่ท่านได้เอียงไปกับแนวทางของอับดุลเลาะฮฺอิบนุ       กุลลาบนะสิ! ทั้งที่ท่านอิมามอะฮฺมัดนั้นเป็นหนึ่งในหมู่ผู้ที่มีท่าทีแข็งกร้าวต่ออับดุลเลาะฮฺอิบนุ    กุลลาบ รวมถึงพวกสานุศิษย์ของเขาเช่นนายอัลฮาริษและอื่นๆ” (ส.บ.,เล่ม 3 หน้า 3309) ท่านผู้อ่านรู้หรือไม่นายอัลฮาริษ อัลมุฮาซิบีย์ ที่อิมามอะฮฺมัดมีท่าทีแข็งกร้าวต่อเขานั้นท่านทำอย่างไร ท่านอิมามอิบนุฮะญัรได้รายงานมาว่า

وقال أبو القاسم النصر اباذي بلغني أن الحارث تكلم في شيء من الكلام فهجره أحمد بن حنبل فاختفي فلما مات لم يصل عليه إلا أربعة نفر وقال البردعي سئل أبو زرعة عن المحاسبي وكتبه فقال للسائل إِيَّاكَ وَهَذِهِالكُتُبَبِدَعٍ وضَلاَلاَتٍ

“อบูกอซิมได้รายงานมาว่า ได้มีการแจ้งข่าวมายังฉันว่า นายอัลฮาริษ ได้วิภาษบางสิ่งเกี่ยวกับสภาวะที่แท้จริงของคุณลักษณะการดำรัสของพระองค์อัลเลาะฮฺ ดังนั้นท่านอิมามอะฮฺมัดจึงตัดขาด(ออกห่าง)จากเขาไป จนกระทั่งเขาไม่สามารถปรากฏตัวต่อสาธารณะชน และเมื่อเขาตายลงก็ไม่มีใครไปละหมาดให้เขาเลยเว้นแต่คนสี่คนเท่านั้น ท่านอัลบุรดะอีย์กล่าวว่า เมื่อท่าน          อบูซุรอะฮฺ ปราชญ์หะดีษได้ถูกถามถึงสถานภาพของอัลฮาริษและตำราที่เขาเขียน ท่านก็ตอบแก่ผู้ถามว่า ท่านจงระวังตำรับตำราบิดอะฮฺและสารพัดความหลงทางของเขาไว้ให้ดี”(อ.น.,เล่ม 2 หน้า 135).

ท่านอิบนุตัยมียะฮฺกล่าวว่า

أما الحارث المحاسبى فكان ينتسب إلى قول ابن كلاب ولهذا أمر احمد بهجره وكان احمد يحذر عن ابن كلاب واتباعه ثم قيل عن الحارث انه رجع عن قوله

“สำหรับอัลฮาริษอัลมุฮาซิบีย์นั้น เขาได้ทำการอธิบายหลักการศาสนาโดยอิงความเห็นของอิบนุกุลลาบ และด้วยเหตุนี้เองที่ท่านอิมามอะฮฺมัดได้ออกคำสั่งให้ประชาชนออกห่างจากตัวเขาและ  อิมามอะฮฺมัดยังได้เตือนให้ระวังนายอิบนุกุลลาบและเหล่าสาวกของเขา และต่อมาก็ได้มีการกล่าวกันว่านายอัลฮาริษได้ถอนตัวจากทัศนะของอิบนุกุลลาบ”(อ.ต.,เล่ม 2 หน้า 6)

ที่กล่าวไปนี้เป็นตัวอย่างเพียงไม่กี่ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีอันแข็งกร้าวของปราชญ์ชาวสะลัฟต่อพวกเบี่ยงเบน แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นปราชญ์ที่ท่องจำอัลกุรอานและอัลหะดีษมากเพียงใดก็ตาม เหล่าสะลัฟก็เรียกร้องให้ประชาชนบอยคอตหรือต่อต้านพวกเขาโดยไม่สนใจความรู้ทางศาสนาของพวกเขาอีก แล้วกระไรกันเล่าที่มีบางคนบางกลุ่มได้อ้างว่านักปราชญ์ที่หลงผิดในยุคสมัยของเรานั้นไม่สามารถทำการตำหนิเขาได้เพราะเขาจำอัลกุรอานมากกว่าเรา จำหะดีษมากกว่าเรา!, สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับชาวสะละฟีย์ทั้งหลายก็คือพวกเราจงอย่าตำหนินักปราชญ์คนใดโดยพลการ หน้าที่ของเราก็คือการศึกษาหาความรู้ทางด้านศาสนาและเมื่อพบว่านักปราชญ์ผู้ยึดมั่นต่อแนวทางสะลัฟท่านใดได้เตือนประชาชนให้ระวังต่อบุคคลใดแล้วก็เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์คำเตือนของปวงปราชญ์เพื่อปกป้องสังคมต่อไป,

อย่างไรก็ตามคำถามที่หลงเหลืออยู่จากการศึกษาหะดีษบทนี้มีอยู่ว่า เมื่อ     อุละมาอ์ทุกคนบนโลกนี้สามารถหลงผิดได้แม้กระทั่งกับอุละมาอ์ที่เราชื่นชอบ คำถามก็คือประชาชนรู้แล้วหรือยังว่าอุละมาอ์ต้องเป็นอย่างไรถึงจะเรียกว่าหลง ? หากตอบว่าไม่รู้ คำถามต่อมาก็คือแล้วท่านมั่นใจได้อย่างไรว่าปราชญ์ที่ท่านชื่นชมอยู่ในเวลานี้ พวกเขาไม่ได้อยู่ในสภาพที่กำลังหลงทาง ? นี่คือคำตอบที่เยาวชนผู้คลั่งไคล้ต่ออาจารย์ของตนเองต้องตั้งคำถามแก่ชีวิตของเขา! จากปัญหาเหล่านี้แหละที่ข้าฯจึงมองว่าประชาชนจะไม่มีทางหลุดพ้นความหลงผิดเพราะการชี้นำของนักปราชญ์สามานย์ได้ดอกหากเขาไม่เรียนรู้ทำความรู้จักว่าอะไรคือความหลงผิดประเภทต่างๆที่ชาวสะลัฟได้เคยสั่งสอนให้ระวัง รวมถึงอะไรคือความหลงผิดของปราชญ์แต่ละคนในยุคปัจจุบันที่นักปราชญ์ต่างทำการตักเตือนและเปิดโปงพวกเขาไว้ นี่คือสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับเยาวชนมิใช่ปล่อยให้พวกเขาชื่นชม

ผู้รู้หลงผิดทั่วสารทิศอย่างไม่เลือกสรรแต่เมื่อมีคนเรียกร้องให้เขา
คำนึงถึงความหลงผิดของผู้รู้เหล่าสามานย์ชนกลับออกมาแก้ตัวน้ำขุ่นๆว่าอย่าเอาความผิดของอุละมาอ์มาประจาน! คำพูดเช่นนี้มิใช่อื่นใดนอกจากการอำพรางความหลงผิดของผู้รู้เพื่อหวังให้ประชาชนคล้อยตามความหลงผิด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น