อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

หลักฐานศาสนาคือกิตาบุลลอฮ์และสุนนะฮ์


หลักฐานศาสนาคือกิตาบุลลอฮ์และสุนนะฮ์


ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إن الله فرض فرائض فلا تضيعواها وحد جدودا فلا تعتدوها وحرم أشياء فلا تنتهكوها وسكت عن أشياء رحمة لكم عير نسيان فلا تبحثوا عنها

“แท้จริงอัลลอฮ์ได้กำหนดข้อบัญญัติใดๆไว้ พวกเจ้าก็อย่าละเลย และพระองค์กำหนดขอบเขตใดๆไว้ พวกเจ้าก็อย่าละเมิด และพระองค์ทรงห้ามสิงใดไว้ พวกเจ้าก็อย่าฝ่าฝืนมัน และสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้คือความเมตตาที่มีต่อพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าก็อย่าไปค้นหามัน” ฮะดีษบทนี้รายงานโดย อัดดารุ กุฏนีย์ และท่านอื่นๆ ซึ่งบรรดานักฮะดีษให้สถานะว่า ฮะดีษฮะซัน

######
ข้อความในฮะดีษที่ว่า (และสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้คือความเมตตาที่มีต่อพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าก็อย่าไปค้นหามัน) ในประเด็นนี้รวมถึงเรื่องการ “กิยาส” ด้วย เพราะมิได้หมายความว่า ใครจะนำเรื่องใดมาเปรียบเทียบกับเรื่องใดก็ได้ตามความต้องการของแต่ละคน แต่ ญุมฮุรอุลามาอ์ (ปวงปราชญ์โดยส่วนใหญ่) ก็อนุญาตให้ กิยาสได้เมื่อมีเหตุของความจำเป็น โดยจะต้องพิจารณา ถึง อิลละห์, ชุรูฏ และกฏเกณฑ์อื่นๆของการกิยาสอย่างรอบคอบ

หลักฐานทางศาสนานั้น คือ อัลกุรอาน และฮะดีษหรือซุนนะห์ของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และหรือซุนนะห์ของบรรดาคอลีฟะห์ที่ท่านนบีให้การรับรอง ส่วนเรื่องการกิยาสนั้นคือวิธีการ ซึ่งบางคนเรียกว่า การอนุมาน หรือการเปรียบเทียบ

สำหรับบรรดานักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกันการนำเสนอทัศนะของนักวิชาการบางท่าน ก็เป็นเพียงการแสดงทัศนะด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ทั้งหมดไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็มิใช่หลักฐานศาสนาทั้งสิ้น

เราจะต้องยึดอุลามาอ์ทีปรากฏหลักฐาน ไม่ยึดอุลามาอ์เฉพาะที่ตนชื่นชอบ และตรงกับสติปัญญาของตน แต่ปราศจากหลักฐาน

วัลลอฮุอะลัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น