การแข่งขันนั้นถูกเป็นข้อบัญญัติ โดยถือว่า เป็นกีฬาที่ดี ความจริงแล้วการแข่งขันกันนั้น บางทีถือเป็นการส่งเสริม (มุสตะฮับบะฮ์) หรือบางทีก็เป็นเรื่องที่อนุญาต (มุบาฮะฮ์) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา และจุดมุ่งหมาย
การแข่งขันโดยไม่มีการต่อรองกันนั้น เป็นที่อนุญาต ทั้งที่เป็นมตินักปราชญ์ ส่วนการแข่งโดยมีการต่อรอง ก็เป็นที่อนุญาตในรูปแบบต่อไปนี้
****อนุญาตให้เอาเงินในการแข่งขันได้ ถ้าปรากฏว่าการแข่งขันมาจากเจ้าเมือง หรือจากคนอื่น เช่น เขากล่าวแก่ผู้ที่เข้าแข่งขันว่า “ผู้ใดในหมู่พวกท่านได้ชัยชนะ เขาจะได้เงินจำนวนนี้ไป”
****หรือคนหนึ่งในจำนวนผู้เข้าแข่งขันได้ออกเงินจำนวนหนึ่ง แล้วกล่าวแก่ผู้เข้าร่วมแข่งขันว่า “หากท่านชนะฉัน เงินจำนวนนี้ก็เป็นของท่าน และหากฉันชนะ ท่านก็จะไม่ได้อะไรจากฉัน และฉันจะไม่ได้อะไรจากท่าน
*****ถ้าปรากฏว่าเงินมาจากผู้แข่งขันทั้งสอง หรือเอามาจากผู้เข้าร่วมแข่งขัน โดยที่พวกเขากำหนดให้มีคนกลางเป็นผู้เอาเงินถ้าคนหนึ่งชนะ ส่วนคนที่แพ้ก็ไม่ปรับเงินแต่ประการใด
รายงานจากอนัส ว่า ในสมัยท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซันลัม พวกท่านเคยต่อรองกันไหม? และท่านรสูลเองเคยต่อรองไหม ?
เขาตอบว่า “มีการต่อรอง ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ได้มีการต่อรองกันในเรื่องม้าตัวหนึ่ง ชื่อ สัฟฮะฮ์ ผู้คนได้ชัยชนะกัน เรื่องดังกล่าวนั้นได้มีการกล่าวขวัญกันมาก และเป็นที่ประหลาดใจของผู้คน”
(บันทึกหะดิษโดย อิมามอะหฺมัด)
++++++!!!!!ไม่อนุญาตให้มีการต่อรองกันในกรณ๊ที่เมื่อแต่ละคนได้ชัยชนะก็จะได้เงินไป ส่วนผู้แพ้ก็จะเสียเงิน ก็จะถูกปรับเงิน ในกรณีนี้ถือว่าเป็นการพนันที่เป็นที่ต้องห้าม (หะรอม)
{จากหนังสือฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่5 โดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ}
-----> จากข้อความข้างต้น การแข่งขันนกเขาที่จะถือเป็นการพนันขันต่อ นั้น ต้องเป็นกรณีต่อไปนี้
......... ))) การแข่งขันนกเขาชวาหรือนกกรงหัวจุก ที่ผู้แข่งขันต้องมีการต่อรอง และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแข่งขั้นนั้น หากตนชนะ ผู้นั้นจะได้รับเงิน หรือสิ่งของ(หรือที่เรียกว่ารางวัล) หากแพ้ ผู้นั้นจะเสียเงินที่ตนได้จ่ายไป ไม่ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกว่าค่าเสา หรือเรียกชื่ออย่างอื่นก็ตาม เพราะถือว่าเป็นการแข่งขันกันโดยมีการลงทุนเพื่อให้ได้รางวัลที่มากมาย นั่นถือว่าเป็นการพนันขันต่อ เงินที่ได้มานั้นถือเป็นสิ่งหะรอม ห้ามนำเงินนั้นไปใช้จ่าย หรือบริจาค(แม้แต่บริจาคมัสยิด) เช่น การสมัครแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุกโดยเสียค่าสมัคร 400 บาท แต่ครั้นพอได้รับรางวัลจะได้ จักรยาน, พัดลม, ตู้เย็น หรืออื่นๆ เช่นนี้ถือว่าเป็นการพนัน
ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ก้อนเนื้อทุกชิ้นที่เติบโตมาจากสิ่งฮะรอม(ก้อนเนื้อนั้น) ไฟนรกจะเผาผลาญเป็นเบื้องแรก " (รายงานโดย:ฎ็อบเราะนีย์)
กฏนิติศาสตร์อิสลาม ระบุว่า
ما حرم أخذه حرم إعطاؤه
"สิ่งที่ต้องห้ามเอามา ย่อมต้องห้ามให้มันด้วย(เช่นกัน)
๑๑๑สำหรับเงินหรือรางวัลที่ได้มาจากสิ่งที่หะรอม เช่น ที่เป็นดอกเบี้ย จากการพนัน การขายสิ่งที่ห้าม นักวิชาการเค้าอนุญาตให้ทำได้เพียงกรณีเดียวเท่านั้น นั่นคือ การนำไปทำสาธารณะประโยชน์ เช่น สะพาน, ที่พักริมทาง หรือส้วมสาธารณะ เป็นต้น ส่วนส้วมของมัสญิด ไม่อนุญาตให้นำเงินที่ได้จากสิ่งหะรอมไปสร้าง เพราะเรื่องของเงินหะรอมนำไปสร้างสิ่งที่สาธารณะก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ฉะนั้นหากห้องส้วมมัสญิดพังก็ประกาศให้สัปบุรุษของมัสญิดนั้นช่วยกันบริจาคสร้าง เพราะเป็นของมัสญิด ซึ่งหน้าที่ของมุสลิมจะต้องทำนุบำรุงดูแล
พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالْأَنْصَابُ وَالْأَزْلَامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย แท้จริงสิ่งมึนเมา, การพนัน, การบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วเป็นสิ่งโสมมจากการงานของชัยฏอน ดังนั้นสูเจ้าจงออกห่างมันเสีย หวังว่าสูเจ้าจะประสบความสำเร็จ"
(สูเราะฮฺมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 90)
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
وَمَنْ قَالَ لِصَاحِبِهِ تَعَالَ أُقَامِرْكَ ، فَلْيَتَصَدَّقْ
"และบุคคลใดที่กล่าวแก่เพื่อนของเขาว่า มานี่สิ...ฉันจะพนันกับท่าน เช่นนั้นให้เขา (ผู้พูด) จงบริจาคทานเถิด" (บันทึกโดยบุคอรีย์).
}}}} สำหรับกรณีที่ไม่ถือว่าการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก เป็นการพนันขันต่อ
1.กรณีการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยผู้แข่งขันไม่ต้องเสียค่าสมัครแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่มีผู้อื่นสนับสนุนรางวัลให้ เช่น นายอำเภอ ผูว่าราชการจังหวัด ส.ส. นายก.อบต. เป็นผู้สนับสนุนรางวัล
2.กรณีการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยคนหนึ่งในจำนวนผู้เข้าแข่งขันได้ออกเงินจำนวนหนึ่ง เป็นเงินรางวัลแข่งขันนั้น หากผู้ที่ออกเงินชนะ เขาผู้นั้นไม่ได้เงินหรือรางวัลจากผู้แข่งขั้นอีกคนหนึ่ง กล่าวคือเขายอมเป็นผู้ออกเงินโดยไม่หวังเงินรางวัลในการแข่งขันใดๆทั้งสิ้น
3.กรณีการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยนำเงินมาจากผู้แข่งขันทั้งสอง หรือเอามาจากผู้เข้าร่วมแข่งขัน โดยที่พวกเขากำหนดให้มีคนกลางเป็นผู้เอาเงินถ้าคนหนึ่งชนะ ส่วนคนที่แพ้ก็ไม่ปรับเงินแต่ประการใด เช่น วางเงื่อนไขว่า หากทีมใดชนะเงินก้อนนี้จะเป็นขององค์กรเด็กกำพร้า เมื่อทีมใดเป็นฝ่ายชนะ เงินก้อนนี้ก็นำไปให้กับองค์กรเด็กกำพร้า ส่วนทีมที่แพ้ก็ไม่ต้องมีค่าปรับ หรือค่าชดเชยอะไรทั้งสิ้น
+++แต่สำหรับกรณีที่แข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุก โดยเจ้าของนกทุกคนเสียค่าสมัครจำนวนหนึ่ง และหากนกตัวใดชนะก็มีของรางวัลให้ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับคะแนน แม้นำเงินส่วนหนึ่งไปบริจาคมัสยิดก็ตาม ยังถือเป็นการพนันขันต่อ ศาสนาไม่อนุญาตให้กระทำเช่นกัน ซึ่งต่างไปจากกรณีข้างต้น ที่ผู้แข่งขันได้ออกเงินแข่งขัน แต่เมื่อชนะตนไม่ได้เงินรางวัลตอบแทนแต่อย่างใด
!!!!! แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการแข่งขันนกเขาชวาเสียง หรือนกกรงหัวจุกจะไม่เข้าเงื่อนไขการพนันขันต่อก็ตาม หากเข้าเงื่อนไขการทรมานสัตว์อิสลามก็ห้ามเด็ดขาดเช่นเดียวกัน
ท่านรสูลกล่าวว่า“หญิงนางหนึ่งต้องเข้านรกเพราะทรมานแมวตัวหนึ่งด้วยการจับขังและไม่ให้อาหารมัน จนกระทั่งแมวตัวนั้นตายเพราะความหิว”
( รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)
ท่านรสูลกล่าวว่า“ใครก็ตามที่ฆ่านกตัวหนึ่งโดยเปล่าประโยชน์ นกตัวนั้นจะร้องตะโกนประท้วงในวันกิยามะฮ์ พร้อมกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ ชายคนนั้นได้ฆ่าฉันโดยไม่มีวัตถุประสงค์อื่นใด เขาฆ่าฉันโดยมิได้หวังประโยชน์อันใดจากฉันเลย”
(โดยอันนะสาอีย์และอิบนุหิบบาน)
%%%% สำหรับการเลี้ยงนกเขา นกกรงหัวจุกเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น หรือเพื่อการจำหน่ายนั้นศาสนาอนุญาต ไม่มีข้อห้ามจากศาสนาแต่อย่างใด
والسلام
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น