อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

นบีเก่งกว่าใครๆทำไมเจ้าไม่ยกมา


Amaluddeen Abdulqodir
3 ธันวาคม เวลา 12:17 น.
(วาฮาบี)หน้าไหนเก่งกว่า(ท่านอิบนูฮาญัร)
ท่านอิบนุฮาญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้
البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح
ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และคำว่าบิดอะฮ์อย่างเดียว ( مطلق ) (คือพูดโดยใช้คำว่า"บิดอะฮ์" เฉย ๆ เพียงลำพังตัวเดียว)ในทางบทบัญญัติ ได้ถูกนำมาใช้เรียกกับสิ่งที่ตรงข้ามกับซุนนะฮ์ จึงถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ และจากการตรวจสอบพบว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้หลักการที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็นบิดอะฮ์ ประเภทที่มุบาห์" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ตอบ
เด็กคนนี้เขียนบทความโจมตีผู้ที่ถูกอุปโลกน์ให้เป็นวะฮบีย์ ทุกวันก่อนและหลังอาหาร แต่คำถามที่แสดงความจองหอง ยะโส ดูหมิ่นดูแคลนคนอื่นที่เห็นต่างกับตน ข้างต้น มันดูเกินไป จึงอดไม่ได้ที่จะนำมาตอบ คงไม่ว่ากันนะ เพราะเองท้าทายถามวะฮบีย์
มาดูคนที่เก่ง กว่า อัลหาฟิซ อิบนุหะญัร (ร.ฮ) กล่าวไว้ นั้นคือ รซูลุลลอฮ (ศอ็ลฯ) กล่าวว่า
وإياكم ومحدثات الأمور فإن كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة
ความว่า : “และพวกเจ้าจงระวังสิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่ในศาสนา เพราะว่าทุกๆบิดอะฮฺนั้นคือความหลงผิด”(รางานโดย อะบูดาวุด: 4607 และติรมีซีย์ : 2676)
นบี ศอ็ลฯ ซึ่งเก่งกว่า อิบนุหะญัร กล่าวว่า ทุกบิดอะฮคือ การหลงผิด หรือลุ่มหลง ใครหรือครับเก่งกว่าท่านนบี
อัลหาฟีซอิบนุหะญัร (ร.ฮ)เองก็ยืนยันว่า บิดอะฮในทางศาสนบัญญัตินั้นถูกตำหนิ คือ
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีย์ (ร.ฮ)กล่าวว่า
فالبدعة في عرف الشرع مذمومة ، بخلاف اللغة ، فإن كل شيء أُحدث على غير مثال يسمى بدعة سواء كان محموداً ، أو مذموماً
บิดอะฮในนิยามของศาสนบัญญัตินั้น คือ สิ่งที่ถูกตำหนิ ต่างกับบิดอะฮในทางภาษา เพราะทุกสิ่ง ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อนนั้น ถูกเรียกว่า บิดอะฮ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกชมเชยและถูกตำหนิก็ตาม - ดูฟัตหุลบารีย์ 13/253
อิบนุหะญัร ได้แบ่งบิดอะฮเป็น 2 ประเภทคือ
1.บิดอะฮ ในทางศานบัญญัติ บิดอะฮประเภทนี้ถูกตำหนิ
2. บิดอะฮในทางภาษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 บิดอะฮที่ถูกชมเชย
2.2 บิดอะฮที่ถูกตำหนิ
จึงเห็นได้ว่า บิดอะฮใดๆก็ตามที่เลียนแบบศาสนบัญญัติ เป็นสิงที่ถูกตำหนิ
เพราะฉะนั้น อย่าแค่เอาบางส่วนของคำพูดปราชญ์ มาอ้าง แบบบิดเบือน ตบตา แสดงว่าข้า นั้นเก่งแต่..วะฮบีย์ ไม่รู้จริง ซึ่งการกระทำแบบนี้มันไม่ใช่วิสัยของคนรู้ศาสนาที่มีอิคลาศต่ออัลลอฮ ,ที่หน้าทีหลัง หากจะถามวะฮบีย์ ขอความกรุณามาถามหน้าเพจนี้นะครับ หน้าเพจนี้ยินดีตอบและรับฟังหลักฐานของท่าน และอยากถามท่านผู้นี้กลับด้วย ว่า "ใครเก่งกว่านบี"
والله أعلم بالصواب
ความคิดเห็น
ฮาริศ นำ แสดงว่า อ่านยังไม่จบเล่ม แล้วร้อนวิชา!!!
Kuson Maitae เค้ามีความสุขที่ได้กล่าวหาคนอื่นแต่ลืมส่องกระจก
Asan Madadam มาดูข้อความเต็มๆ
อิบนุหะญัร อธิบาย คำว่า “المحدثات ว่า

وَالْمُرَادُ بِهَا مَا أُحْدِثَ ، وَلَيْسَ لَهُ أَصْلٌ فِي الشَّرْعِ وَيُسَمَّى فِي عُرْفِ الشَّرْعِ " بِدْعَةً " وَمَا كَانَ لَهُ أَصْلٌ يَدُلُّ عَلَيْهِ الشَّرْعُ فَلَيْسَ بِبِدْعَةٍ ، فَالْبِدْعَةُ فِي عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُومَةٌ بِخِلَافِ اللُّغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَيْءٍ أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ يُسَمَّى بِدْعَةً سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُودًا أَوْ مَذْمُومًا

และ ความมุ่งหมายด้วยมัน(ด้วยคำว่า อัลมุหดะษาต)คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ และ มันไม่มีรากฐานในศาสนบัญญัติ และมันถูกเรียกตามนิยามในทางศาสนบัญญัติว่า “บิดอะฮ” และสิ่งใด ที่มีรากฐาน ที๋ศาสนบัญญัติแสดงบอกเอาไว้ บนมัน มันไม่ใช่บิดอะฮ ดังนั้น บิดอะฮในนิยามของศาสนบัญญัตินั้น คือ สิ่งที่ถูกตำหนิ ต่างกับบิดอะฮในทางภาษา เพราะทุกสิ่ง ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อนนั้น ถูกเรียกว่า บิดอะฮ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกชมเชยและถูกตำหนิก็ตาม - ดูฟัตหุลบารีย์ 13/253

มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม ยินดีให้ Amaluddeen Abdulqodir มาถามในหน้าเพจนี้
Kuson Maitae ตามไปแล
นายหมัด จะนะ ต้องรอ !! แขบมาห้องนี้ตะบ่าวถ้าว่าร้อนวิชา
Nurjariya Safie สิ่งทีคุยกันเรื่องซุนนะห์ สิ่งทีทำกันคือฟิตนะห์ ไมีมีใครสักึนได้เข้าสวรรค์เพรระกาทำอีบาดัต คนทีได้เจ้าสวรรค์ จากเราะหมัติของอัลลอฮ บางคนืำอีบ่ดัตทั้งขีวิต ไม่ได้เข้าสววรค์ บาบคนเป็นโสเภณีทังชีวิต แค่ช่วยหมาตัวเดียวเข้าสววค์ ทีแน่ๆ อัลลอฮ กล่าวว่า ใครที่มีซีฟัต ตะกับบูร แม้เพียงเศษทุลึ คนนั้นไม่ได้เข้าสววรค์ หันมารวมตัวกัน สามัคคี รวมตัวสร้าง jammah islam ใหเยิรงใหญ่ ร่อสุ้กับยิวเถอะ ชาวซีเรีย ชาวปาเลสไต ชาวตุรกี รอดุอาจากพวกเราอยู่
Nurjariya Safie ต่างคนต่างมีหลักการกุรอ่านและฮาดิษรองรับในอีบาดัตของตัวเอง อัลลอฮ เพียงพอแล้วทีจะตัดสินใครถูกใครผิด แต่ที่มรทะเล่ะกันนั้น ผิดแน่นอน
Tuan Fathoni อย่าโลกสวยครับท่าน
ฮาริศ นำ @Nurjariya การอ่านหนังสือศาสนาไม่จบเล่ม แล้วมาจับประเด็นผิดๆขยายความแล้วยึดมาเป็นหลักฐานสนับสนุนการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องร้ายแรงนะครับ ไม่ใช่ว่าต่างฝ่ายมีหลักฐานยอมรับแบบที่ท่านกล่าว ...ประเด็นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องทักท้วงแก้ไข จะปล่อยปละละเลย แล้วไปสร้างความรู้ผิดๆกับคนทั่วไปไม่ได้ นะครับ ...ส่วนตัวผมถือว่า โพสต์เนื้อหาในประเด็นนี้ วาญิบต้องชี้แจงให้ชัดเจน ว่า ท่านอิบนุฮาญัร ได้สอนอะไรไว้กันแน่


เขียนข้อความตอบกลับ...
มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม Nurjariya Safie สิ่งทีคุยกันเรื่องซุนนะห์ สิ่งทีทำกันคือฟิตนะห์>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>ช่วยอธิบายหน่อยครับ ว่า ฟิตนะ คืออะไร คุณจะสร้างญะมาอะฮบนพื้นฐานอะไรครับคุณNurjariya Safie
มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม Amaluddeen Abdulqodir
3 ธันวาคม เวลา 12:17 น.
(วาฮาบี)หน้าไหนเก่งกว่า(ท่านอิบนูฮาญัร)
ท่านอิบนุฮาญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้
البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح
ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และคำว่าบิดอะฮ์อย่างเดียว ( مطلق ) (คือพูดโดยใช้คำว่า"บิดอะฮ์" เฉย ๆ เพียงลำพังตัวเดียว)ในทางบทบัญญัติ ได้ถูกนำมาใช้เรียกกับสิ่งที่ตรงข้ามกับซุนนะฮ์ จึงถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ และจากการตรวจสอบพบว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้หลักการที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็นบิดอะฮ์ ประเภทที่มุบาห์" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253
>>>>>>>>>>>>>>
คำอธิบายของอิบนุหะญัรข้างต้น อิบนุหะญัรได้อธิบายหะดิษต่อไปนี้
وَعَنْ ابْنِ شِهَابٍ عَنْ عُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ عَبْدٍ الْقَارِيِّ أَنَّهُ قَالَ خَرَجْتُ مَعَ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ لَيْلَةً فِي رَمَضَانَ إِلَى الْمَسْجِدِ فَإِذَا النَّاسُ أَوْزَاعٌ مُتَفَرِّقُونَ يُصَلِّي الرَّجُلُ لِنَفْسِهِ وَيُصَلِّي الرَّجُلُ فَيُصَلِّي بِصَلَاتِهِ الرَّهْطُ فَقَالَ عُمَرُ إِنِّي أَرَى لَوْ جَمَعْتُ هَؤُلَاءِ عَلَى قَارِئٍ وَاحِدٍ لَكَانَ أَمْثَلَ ثُمَّ عَزَمَ فَجَمَعَهُمْ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ ثُمَّ خَرَجْتُ مَعَهُ لَيْلَةً أُخْرَى وَالنَّاسُ يُصَلُّونَ بِصَلَاةِ قَارِئِهِمْ قَالَ عُمَرُ نِعْمَ الْبِدْعَةُ هَذِهِ وَالَّتِي يَنَامُونَ عَنْهَا أَفْضَلُ مِنْ الَّتِي يَقُومُونَ يُرِيدُ آخِرَ اللَّيْلِ وَكَانَ النَّاسُ يَقُومُونَ أَوَّلَهُ
โดยท่านอธิบายคำพูด ท่านอุมัรที่ว่า نِعْمَ الْبِدْعَةُ هَذِهِ โดยกล่าวว่า
قَوْلُهُ : ( قَالَ عُمَرُ : نِعْمَ الْبِدْعَةُ ) فِي بَعْضِ الرِّوَايَاتِ : " نِعْمَتِ الْبِدْعَةُ " بِزِيَادَةِ تَاءٍ ، وَالْبِدْعَةُ أَصْلُهَا مَا أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ ، وَتُطْلَقُ فِي الشَّرْعِ فِي مُقَابِلِ السُّنَّةِ فَتَكُونُ مَذْمُومَةً ، وَالتَّحْقِيقُ أَنَّهَا إِنْ كَانَتْ مِمَّا تَنْدَرِجُ تَحْتَ مُسْتَحْسِنٍ فِي الشَّرْعِ فَهِيَ حَسَنَةٌ ، وَإِنْ كَانَ مِمَّا تَنْدَرِجُ تَحْتَ مُسْتَقْبَحٍ فِي الشَّرْعِ فَهِيَ مُسْتَقْبَحَةٌ ، وَإِلَّا فَهِيَ مِنْ قِسْمِ الْمُبَاحِ ، وَقَدْ تَنْقَسِمُ إِلَى الْأَحْكَامِ الْخَمْسَةِ
คำพูดของท่านอุมัร ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญญัติ แต่เป็นความหมายในทางภาษา ซึ่งหมายถึงการริเริ่ม เพราะการละหมาดตารอเวียะ เป็นญะมาอะฮ ท่านนบีเคยทำ ไม่ได้หมายถึงบิดอะฮในทางศาสนบัญญัติ

SI UD รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายคำพูดของ ท่านอิบนุหะญัรที่ Amaluddeen Abdulqodir ยกมา กับที่อาจารย์อ้างถึง มันเป็นบทเดียวกันหรือไม่ ทำไมมันต่างกันคนละขั่ว ขัดแย้งกันมาก หรือมีการบิดเบือนคำพูดค่ะ
มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม SI UD รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายคำพูดของ ท่านอิบนุหะญัรที่ Amaluddeen Abdulqodir ยกมา กับที่อาจารย์อ้างถึง มันเป็นบทเดียวกันหรือไม่ ทำไมมันต่างกันคนละขั่ว ขัดแย้งกันมาก หรือมีการบิดเบือนคำพูดค่ะ
>>>>>>>>>>>>>>>

อิบนุหะญัร (ร.ฮ) ได้อธิบายคำพูดเคาะลิฟะฮ อุมัร(ร.ฎ) ที่ว่า
نعمت البدعة هذه
บิดอะฮที่ดี คือสิ่งนี้
( قَالَ عُمَرُ : نِعْمَ الْبِدْعَةُ ) فِي بَعْضِ الرِّوَايَاتِ : " نِعْمَتِ الْبِدْعَةُ " بِزِيَادَةِ تَاءٍ ، وَالْبِدْعَةُ أَصْلُهَا مَا أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ ً
(อุมัร กล่าวว่า เนียะมัลบิดอะฮ) ในบางรายงาน ระบุว่า “เนียะมะติลบิดอะฮ” ด้วยการเพิ่มพยัญชนะตา ,และคำว่า “บิดอะฮ รากฐานของมัน(หมายถึงที่มาของคำนี้) คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน
...................
ข้างต้นอิบนุหะญัรกล่าวถึงความหมายกว้างๆของคำว่าบิดอะฮ ในทางภาษา แล้วท่านกล่าวถึงความหมายในทางศาสนบัญญัติว่า
، وَتُطْلَقُ فِي الشَّرْعِ فِي مُقَابِلِ السُّنَّةِ فَتَكُونُ مَذْمُومَة
และถูกกล่าว กว้างๆ(โดยไม่จำกัด)ในทางศาสนบัญญัติ ในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่า อัสสุนนะฮ เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ
................
กล่าวคือ คำว่าบิดอะฮ หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่าอัสสุนนะฮ แบบนี้ เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ
แล้วท่านอิบนุหะญัร กล่าวสรุปว่า
والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح
และพิสูจน์ได้ว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้หลักการที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็นบิดอะฮ์ ประเภทที่มุบาห์" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253
ข้างต้น เราต้องมาดูจุดสำคัญที่การกระทำของท่านอุมัรเป็นหลัก เพราะการกระทำของท่านอุมัร ไม่ใช่บิดอะฮ ในทางศาสนาบัญญัติแต่เป็นความหมายในเชิงภาษา
มาดูคำอธิบายคำว่าบิดอะฮ ของอิบนุหะญัรเองดังนี้
أما "البِدَع" : فهو جمع بدعة ، وهي كل شيء ليس له مثال تقدّم ، فيشمل لغةً ما يُحْمد ، ويذمّ ، ويختص في عُرفِ أهل الشرع بما يُذمّ ، وإن وردت في المحمود : فعلى معناها اللغوي
สำหรับ คำว่า “อัลบิดอุ” มัน เป็นคำพหุพจน์ ของคำว่า “บิดอะฮ และมันคือ ทุกสิ่ง ที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน ,ในทางภาษา ครอบคลุมสิ่งที่ถูกสรรเสริญ และสิ่งที่ถูกตำหนิ และได้ถูกเจาะจงในนิยามของนักนิติศาสตร์อิสลาม ด้วยสิ่งที่ ถูกตำหนิ และ หากปรากฏ ใน แง่ของการสรรเสริญ ความหมายของมันคือ บิดอะฮในทางภาษา –ฟัตหุลบารี 13/340
อิบนุหะญัร แบ่งไว้ชัดเจน ว่า บิดอะฮ มี 2 ประเภท คือ บิดอะฮในทางศาสนา มันถูกตำหนิ และ ถ้าปรากฏว่าเป็นบิดอะฮที่ดี หมายถึงบิดอะฮในทางภาษา ซึ่ง หมายถึง การริเริ่ม หรือฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ดังที่ท่านอุมัรได้ฟื้นฟูสุนนะฮของท่านนบี ที่นบีเคยปฏิบัติ

SI UD ญาซ่ากัลลอฮุฆัยร็อนค่ะ

เขียนข้อความตอบกลับ...
มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม ไม่มีใครหรอก บอกว่า ท่านอุมัรเป็นผู้อุตริบิดอะฮ โดยการบัญญัติคำสอนศาสนาขึ้นใหม่ อิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وأمَّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع، فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر - رضي الله عنه - لما جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلون كذلك، فقال: نعمت البدعة هذه

“ สำหรับสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของสะลัฟ จากการที่เห็นว่าบางส่วนของบิดอะฮเป็นสิ่งที่ดีนั้น ความจริง ดังกล่าวนั้น เกี่ยวกับบิดอะฮในเชิงภาษา ไม่ใช่ ในด้านศาสนา แล้วส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ คำพูดของอุมัร (ร.ฎ)เมื่อได้รวมผู้คนให้มาละหมาดกิยามุเราะมะฏอน(ตะรอเวียะ) ภายใต้การนำของอิหม่ามคนเดียวกัน ในมัสญิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขา กำลังละหมาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่า “ นี่คือ บิดอะฮที่ดี – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม 1/129

มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม พวกอะฮลุลบิดอะฮ พยายามหาข้ออ้างจะทำบิดอะฮให้ได้ โดยเอาการวิเคราะหของปราชญฺ์ทั้งๆนบีได้ห้ามชัดเจน เรื่องบิดอะฮ อัศศอนอานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ว่า

وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة

สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”(บิดอะฮที่ดี)นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10
มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม ท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวว่า

ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"
مجموع الفتاوى (27/152)

และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮ”
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152
บางกลุ่ม พยายามที่จะอนุรักษ์บิดอะฮ แทนที่จะปกป้องอัสสุนนนะฮ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น