อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การอ้างคำพูดของท่านอิบนุตัยมียะฮ์มาเป็นหลักฐานเรื่องทำเมาลิด


ผมเห็นนักวิชาการหลายท่าน ได้อ้างคำพูดของท่านอิบนุตัยมียะฮ์มาเป็นหลักฐานเรื่องทำเมาลิด - ทั้งผู้ที่สนับสนุนให้ทำเมาลิดและผู้ที่คัดค้านการทำเมาลิด - โดยอ้างจาก "คำพูดเดียวกัน" ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์มาเป็นหลักฐานยืนยันแนวคิดของตน ...
เพราะในคำพูดของท่าน มีทั้งกล่าวถึงผลบุญที่ผู้ทำเมาลิดจะได้รับ, มีทั้งกล่าวว่า การทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ (ซึ่งมิใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์แน่นอน) ...
จึงทำให้สงสัยว่า ตกลง ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวอย่างนั้น เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านการทำเมาลิดกันแน่ ? ...
ผมขออธิบายเสริมนิดหนึ่งก่อนว่า เท่าที่ผมเคยอ่านคำแปลของทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันแล้ว จะมีจุดหนึ่งที่สอดคล้องกัน คือ "แปลผิด" เหมือนกันตรงข้อความที่ว่า والله قد يثيبهم ..
เพราะทั้งสองฝ่ายจะแปลออกมาในลักษณะว่า .. "ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. จะให้ผลบุญแก่พวกเขา" จนนำไปสู่ความเข้าใจว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์รับรองว่า ผู้ทำเมาลิดจะได้รับผลบุญจากการทำเมาลิดแน่นอน ..
ขอเรียนว่า คำแปลอย่างนี้ ผิดหลักไวยากรณ์อาหรับครับ ..
เพราะคำว่า قد ในภาษาอาหรับ หากมันนำหน้าฟิอฺแอลมุฎอเรียะอฺอย่างในคำข้างต้นนี้ มันจะมีความหมาย للتقليل ...
เพราะฉะนั้น คำกล่าวข้างต้นของท่านจึงต้องแปลว่า "ซึ่งบางที พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. อาจจะให้ผลบุญต่อพวกเขา" .. อย่างที่ผมแปลไปนั่นแหละครับ ...
คำพูดลักษณะนี้ เป็นเพียงการแบ่งรับแบ่งสู้ มิใช่ยืนยันครับ ...

ผมจึงขอนำเอาข้อเขียนของท่านที่เป็นตัวปัญหา - ทั้งหมด - พร้อมด้วยคำแปลของผมมาให้ท่านได้อ่านกัน แล้วกรุณาใช้ดุลยพินิจของท่านเอาเองว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ สนับสนุนหรือคัดค้านการทำเมาลิด ?? ...
ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 728) ได้กล่าวในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 123 – 124 มีข้อความว่า .....
( وَكَذَلِكَ مَايُحْدِثُـهُ بَعْضُ النَّاسِ، إمَّا مُضَاهَاةً لِلنَّصَارَى فِيْ مِيْلاَدِ عِيْسَى عَلَيْهِ السَّلاَمُ، وَإمَّا مَحَبَّةً لِلنَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَعْظِيْمًا، وَاللَّـهُ قَدْ يُثِيْبُهُمْ عَلَى هَذِهِ الْمَحَبَّةِ وَاْلإجْتِهَادِ، لاَ عَلَى الْبِدْعَـةِ مِنِ اتِّخَـاذِ مَوْلِدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عِيْدًا، مَعَ اخْتِلاَفِ النَّاسِ فِيْ مَوْلِدِهِ، فَإنَّ هَذَا لَمْ يَفْعَلْـهُ السَّلَفُ، مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِيْ لَـهُ وَعَدَمِ الْمَانِعِ مِنْهُ، لَوْكَانَ خَيْرًا مَحْضًا أَوْرَاجِحًا لَكَانَ السَّلَفُ رَضِيَ اللَّـهُ عَنْهُمْ أَحَقَّ بِـهِ مِنَّا، فَإنَّـهُمْ كَانُوْا أَشَدَّ مَحَبَّةً لِرَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَعْظِيْمًا لَـهُ مِنَّا، وَهُمْ عَلَى الْخَيْرِ أَحْرَصَ ....
وَإنَّمَا كَمَالُ مَحَبَّتِـهِ وَتَعْظِيْمِهِ فِيْ مُتَابَعَتِهِ وَطَاعَتِهِ وَاتِّبَاعِ أَمْرِهِ، وَإحْيَاءِ سُنَّتِهِ بَاطِنًاوَظَاهِرًا، وَنَشْرِمَابُعِثَ بِـهِ، وَالْجِهَادِ عَلَى ذَلِكَ بِالْقَلْبِ وَالْيَدِ واللِّسَانِ، فَإنَّ هَـذِهِ طَرِيْقَةُ السَّابِقِيْنَ اْلاَوَّلِيْنَ، مِنَ الْمُهَاجِرِيْنَ وَاْلاَنْصَارِ، وَالَّذِيْنَ اتَّبَعُوْهُـمْ بِإحْسَانٍ .....)

“และเฉกเช่นเดียวกับสิ่งที่กล่าวมานี้ ก็คือ สิ่งซึ่งประชาชนบางคนได้ริเริ่มขึ้นมาใหม่ ..ในมุมมองหนึ่ง ก็เป็นการเลียนแบบชาวคริสต์ในการจัดงานฉลองวันเกิดของท่านนบีย์อีซา อะลัยฮิสสลาม (วันคริสต์มาส), แต่ในอีกมุมมองหนึ่งก็เป็นการแสดงความรักและเทิดทูนต่อท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ซึ่งบางที พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. อาจจะให้ผลบุญต่อพวกเขาเพราะความรักและความทุ่มเทนี้บ้างก็ได้ ... แต่มิใช่ (พระองค์จะให้ผลบุญ) เพราะการทำบิดอะฮ์ ด้วยการยึดถือเอาวันเกิดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นวันรื่นเริง, ทั้งๆที่พระชาชนก็ยังขัดแย้งกันอยู่เกี่ยวกับวันเกิดของท่าน, ทั้งนี้ เพราะการกระทำดังกล่าวนี้ บรรดาบรรพชนยุคแรกไม่เคยมีผู้ใดกระทำมาก่อนทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้ทำ และไม่มีอุปสรรคอันใดเลย, สมมุติว่า หากการกระทำสิ่งนี้ เป็นเรื่องดีล้วนๆหรือมีน้ำหนักแห่งความดีอยู่บ้าง แน่นอนบรรพชนเหล่านั้น เหมาะสมที่สุดที่จะทำมันยิ่งกว่าพวกเรา,..ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขารักและเทิดทูนท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยิ่งกว่าพวกเรา, ทั้งยังเป็นผู้ที่กระหายในเรื่องการทำสิ่งดีมากที่สุดด้วย ...
ความสมบูรณ์เพียบพร้อมในเรื่องความรักและการเทิดทูนท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมนั้นมิใช่อื่นใด หากอยู่ที่การปฏิบัติตามท่าน, เชื่อฟังท่าน, กระทำตามคำสั่งของท่าน, ฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่าน ทั้งที่ลับและที่แจ้ง, เผยแผ่สารของท่าน, เสียสละเพื่อสิ่งเหล่านี้ทั้งใจ กาย และวาจา, เพราะสิ่งเหล่านี้ คือแนวทางของบรรดาบรรพชนยุคแรกๆ อันได้แก่ชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ็อรฺ, และบรรดาผู้ซึ่งปฏิบัติตามพวกท่านเหล่านั้นด้วยคุณธรรมความดี ......”

ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ ได้กล่าวอุปมา-อุปมัย ไว้ในหนังสือ “อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 124 เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า .......
( وَإنَّمَـا هُمْ بِمَنْزِلَةِ مَنْ يُحَلِّي الْمِصْحَفَ وَلاَ يَقْرَأُ فِيْهِ، أَوْ يَقْرَأُ فِيْهِ وَلاَ يَتَّبِعُهُ، وَبِمَنْزِلَةِ مَنْ يُزَخْرِفُ الْمَسْجِدَ وَلاَ يُصَلَّى فِيْهِ، أَوْ يُصَلِّى فِيْهِ قَلِيْلاً .......... )
“และมันมิใช่อื่นใด นอกจากอุปมาพวกเขา --- ผู้ที่จัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีย์ฯเสียใหญ่โต แต่ไม่ปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน --- ก็เสมือนดั่งผู้ที่ประดับประดาอัล-กุรฺอ่านเสียดูสวยงาม แต่ไม่เคยอ่านมัน, หรือเคยอ่านบ้าง แต่ก็ไม่เคยปฏิบัติตาม, ... และอุปมาเหมือนดั่งผู้ที่ตกแต่งมัสญิดจนดูเลิศหรู แต่ไม่เคยเข้าไปนมาซในมัสญิดนั้น, หรืออาจจะเคยเข้าไปนมาซบ้าง ก็แค่บางครั้งเท่านั้น ..........”
ความคิดเห็น 14 รายการ
ความคิดเห็น
เจ้าฝ่าฝืนตัวน้อย อั้ลฟุวัยซิก จริงๆแล้วผู้คนที่จัดงานเมาลิด ก็ไม่ได้ยึดว่า จะได้ผลบุญที่ตัวของการจัดงานเมาลิดอยู่แล้วนี่ครับ

แต่ว่าการรำลึกถึงท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์ การซอลาวาตต่อท่าน การบรรยายประวัติของท่านให้ผู้คนได้จดจำ และรำลึกถึงท่าน ตรงนี้ต่างหากครับ ที่อัลเลาะห์ตาอาลา จะทรงตอบแทนความดีงามให้
ปราโมทย์ ศรีอุทัย ผมเพียงแปลคำพูดของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ให้อ่านกันเท่านั้นครับ แต่ผมมิได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวอย่างใดทั้งสิ้นในการแปลนี้ และผมก็ "เคารพ" ในความเห็นของทุกท่านครับ ไม่ว่าผมจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม ...
ฟะห์มี ซาอุ เห็นด้วยกับชัยค์มะห์มูด ร้อยทั้งร้อยครับ .. นี่ถ้าเป็นสมัยที่ยังไม่ห้ามการพนัน ผมขอท้าพนันวัวสิบตัวว่าชัยค์มะห์มูดพูดถูก ... ตกลงจะคุยประเด็นการทำเมาลิด หรือ ความประเสิฐของการเศาะละหวาตครับ? เอาให้ชัด อย่าเมาโพสดิ์ อย่าหลงประเด็น และกรุณาอย่าทำรวมมิตรด้วยครับ เพราะผู้ติดตามชัยค์มะห์มูด เขาจำแนกเป็น. เจ้าฝ่าฝืนตัวน้อย อั้ลฟุวัยซิก
เจ้าฝ่าฝืนตัวน้อย อั้ลฟุวัยซิก ท่านอิหม่าม อัชชาฟิอีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ ได้กล่าวคำกลอนไว้ในหนังสือ ดีวาน อัชชาฟิอีย์ ว่า

قُلْ بِمَا شِئْتَ فِيْ مَسَـبَّةِ عِرْضِيْ .... فَسُكُوْتِيْ عَـنْ اللَئِيـْمِ جَـوَابُ

مَا أنا عَــادِمَ الجَــوَابِ وَلكِنْ ..... مَا ضَرَّ الأسَدَ أنْ تُجِيْبَ الكِلاَبَ

" เชิญด่าว่าให้ร้ายฉันตามสบายเถิด

ที่ฉันไม่พูดอะไรกับคนโฉดนั้นถือเป็นการตอบแล้ว

ใช่ว่าฉันจะไม่มีคำตอบให้เพียงแต่ว่า

เรื่องอะไรที่ราชสีห์จะไปตอบโต้ฝูงสุนัข? "
ฟะห์มี ซาอุ ผมชื่นชมกลอนบทนี้ของท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ .. แต่ถ้าคุณกำลังจะเปรียบตัวเองดั่งราชสีห์แล้วล่ะก็ คุณคิดผิด เพราะคุณต้องเปรียบตัวเองดั่งสุนัขถึงจะถูก
นายพิชัย กิ่งหม้น ขอความกรุณาให้คุยแบบวิชาการครับเดี๋ยวประเด็นจะเพี้ยนบานเหมือนดอกเบี้ยอีก
นายพิชัย กิ่งหม้น แล้วก็ไม่ได้ผลบุญและไม่มีบารอกะฮ์
Prateep Sainui ผมชอบอาจารย์ปราโมทย์ ที่มีวุฒิภาวะของการนำเสนอวิชาการ ไม่ใช้อารมณ์ เคารพผู้เห็นต่างทึ่บางคนใช้อารมณ์มากกว่าหลักการ
Abu Taimiah ตามความเข้าใจของผมเกี่ยวกับประเด็นนี้คือ
ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺมีทัศนะว่าการทำเมาลิดเป็นบิดอะฮฺ ผู้ที่ติดตามงานเขียนของท่านจะประจักษ์ดีในประเด็นนี้

ส่วนประเด็นที่เป็นข้อกังขาคือ การที่ท่านได้กล่าวว่า "ผู้ที่ทำเมาลิดอาจได้รับผลบุญ" การกล่าวเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะเห็นด้วยกับการทำเมาลิด แต่ท่านพยายามจะสื่อว่า การทำเมาลิดนั้นบิดอะฮฺ ไม่เป็นที่อนุมัติ แต่หากว่า ผู้ทำเมาลิดมีความบริสุทธิ์ใจ ทำไปเพราะความรักต่อท่านนบี อัลลอฮฺก็อาจจะประทานผลบุญให้ ผลบุญส่วนนี้ไม่ใช่มาจากการทำเมาลิด แต่มาจากความรักในใจที่มีต่อท่านนบี

ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพอีกกรณีคือ การใส่ชุดโต๊ป ซึ่งไม่ใช่สุนนะฮฺของท่านนบีแต่ประการใด แต่เป็นอาดะฮฺหรือประเพณีที่คนอาหรับสมัยนั้นจะสวมชุดโต๊ป ฉะนั้น การสวมชุดโต๊ปจึงไม่ได้รับผลบุญ แต่ประการใด แต่ถ้ามีคน ๆ หนึ่งใส่ชุดโต๊ป เพราะรู้ว่าท่านนบีใส่ เขาก็อาจได้รับผลบุญ ไม่ใช่เพราะการใส่ชุดตอบเป็นสุนนะฮฺ แต่เพราะความรักที่เขามีต่อนบี

วัลลอฮุอะอฺลัม
Asan Madadam เช็คบินบาซ ได้อธิยายยืนยันว่า อิบนุตัยมียะฮ
คัดค้านเรื่องเมาลิด

والشيخ تقي الدِّين أحمد بن تيمية رحمه الله ممن يُنكِرُ
ذلك (الاحتفال بذكرى المولد النبوي) ويرى أنه بدعة. ولكنه في كتابه (اقتضاء الصراط
المستقيم مخالفة أصحاب الجحيم) ذكر في حق مَن فعله جاهلاً، ولا ينبغي لأحدٍ أن
يغترَّ بمن فعله من الناس أو حبَّذ فعله أو دعا إليه ...؛ لأن الحجة ليست في أقوال
الرجال وإنما الحجة فيما قال الله سبحانه أو قاله رسولُه صلى الله عليه وسلم أو
أجمع عليه سلف الأمة

และเช็คตะกียุดดีน อะหมัด บิน ตัยมียะฮ (ร.ฮ) เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่คัดค้าน
ดังกล่าวนั้น (การเฉลิมฉลอง ด้วยการระลึกถึงวันเกิดนบี) และเขาเห็นว่ามันเป็นบิดอะฮ แต่ในตำราของเขา (อิกติฎออฺ อัศศิรอติลมุสตะกีมมุคอละฟะติ อัศหาบิลญะฮีม) เขาได้ระบุเกี่ยวกับผู้ที่ปฏิบัติ มัน เพราะความไม่รู้
และไม่สมควรหลงเชื่อด้วยบรรดาผู้คนที่ปฏิบัติมัน หรือ สรรเสริญการกระทำของเขาหรือ เรียกร้องไปสู่มัน .... เพราะหลักฐานไม่ได้อยู่ ในบรรดาคำพูด(ทัศนะ)ของผู้คน
และความจริงหลักฐาน อยู่ในสิ่งที่อัลลอฮ ซ.บ. หรือรซูลลุลลอฮ ศอ็ลฯ ได้กล่าวมัน
หรือ อุมมะฮยุคสะลัฟได้มีมติ(อิจญมาอ)บนมัน
مجموع فتاوى العلامة عبد العزيز بن باز (9/ 211)، أشرف
على جمعه وطبعه: محمد بن سعد الشويعر
............
ดูคำแปล
Asan Madadam ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وأما اتخاذ موسم غير المواسم الشرعية كبعض ليالي شهر ربيع الأول التي يقال : إنها ليلة المولد , أو بعض ليالي رجب , أو ثامن عشر ذي الحجة , أو أول جمعة من رجب , أو ثامن من شوال الذي يسميه الجهَّال عيد الأبرار : فإنها من البدع التي لم يستحبها السلف , ولم يفعلوها. والله سبحانه وتعالى أعلم
"สำหรับการยึดเอาเทศกาลหนึ่งเทศกาลใด(มาเฉลิมฉลอง)อื่นจากบรรดาเทศกาลทางศาสนบัญัติ เช่น บางคืนของเดือนเราะบิอุลเอาวัล ซึ่ง เรียกกันว่า "คืนเมาลิด" หรือ บางคืนของเดือนเราะญับ หรือ คืนที่แปดของเดือนซุลหิจญะฮ หรือ วันศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือ วันที่แปดของเดือนเชาวาล ที่บรรดาพวกโง่เขลา เรียกว่า "อีดุลอับรอ็ร" นั้น แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาบิดอะฮ ที่บรรดาชาวสะลัฟไม่ส่งเสริมให้กระทำและพวกเขาไม่ได้กระทำมัน ,วัลลอฮุซุบหานะฮูวะตะอาลา อะอฺลัม. - มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 25 หน้า 298
.............
การเจตนาจงใจบิดเบือนคำพูดของอุลามาอฺ เพื่อหาความชอบธรรมให้กับทัศนะตัวเองนั้น ช่างน่าละอายยิ่งนัก ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง ใครมีทัศนะอย่างไร ก็ควรนำเสนอข้อมูลวิชาการด้วยความอิคลาศและมีอามานะฮ หากมีการผิดพลาด โดยไม่เจตนาเราหวังจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ เพราะ การเจตาที่ดีเพื่อมุ่งที่จะเข้าถึงสัจธรรมที่แท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น