อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ




ความเชื่อที่ว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ”  ค้านกับคำอธิบายของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยษะมีย์ สองนักวิชาการดังแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ...

ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์  ได้กล่าวในหนังสือ  “ฟัตหุ้ลบารีย์”  เล่มที่  13  หน้า  253  ว่า ..

     فَالْبِدْعَةُ فِىْ عُرْفِ الشَّرْعِ  مَذْمُوْمَةٌ !   بِخِلاَفِ اللُّغَةِ  فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ  يُسَمَّى بِدْعَةً،  سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا أَوْ مَذْمُوْمًا ...

            “ดังนั้น  ความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม,   ต่างกับความหมายบิดอะฮ์ตามหลักภาษา, ..   เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน  จะถูกเรียกว่า บิดอะฮ์ (ตามหลักภาษา) ทั้งสิ้น   ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องเลว” ...

คำอธิบายนี้  ชัดเจนจนแทบจะไม่ต้องขยายความใดๆเพิ่มเติมอีกแล้ว ...


ส่วนท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์  ก็ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ  “อัล-ฟะตาวีย์”  ของท่าน  ดังการอ้างอิงในหนังสือ  “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ”  หน้า  39  ว่า ...

     فَإِنَّ الْبِدْعَةَ الشَّرْعِيَّةَ ضَلاَلَةٌ !  كَمَاقَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ،   وَمَنْ قَسَّمَهَا مِنَ الْعُلَمَاءِ إِلَى حَسَنٍ وَغَيْرِحَسَنٍ  فَإِنَّمَا قَسَّمَ الْبِدْعَةَ اللُّغَوِيَّةَ،   وَمَنْ قَالَ : كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ ..  فَمَعْنَاهُ الْبِدْعَةُ الشَّرْعِيَّةُ ...                                                                          

“แน่นอน  สิ่งบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทุกอย่าง) เป็นความหลงผิด ! ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม,

..  นักวิชาการท่านใดที่แบ่งมันออกเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์  ก็เป็นเพียงการแบ่งมันตามหลักภาษาเท่านั้น ..

และผู้ใดที่กล่าวว่า  ทุกๆบิดอะฮ์ เป็นความหลงผิด   ความหมายของเขาก็คือ  หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” ...

คำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์   ถือว่า เป็นคำอธิบายที่ตรงประเด็นที่สุดในการจำแนกความเข้าใจอันสับสน --  แม้กระทั่งจากผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักวิชาการ --  ระหว่าง  “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และบิดอะฮ์ตามหลักภาษา” ..  จึงสมควรจะต้องจดจำคำกล่าวนี้ให้ขึ้นใจ  เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องในเรื่องนี้ตลอดไป

ความเชื่อที่ว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ”  ค้านกับคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ..
ทั้งนี้  เพราะท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.  เศาะหาบะฮ์ผู้เคร่งครัดในซุนนะฮ์ที่สุดท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ...

                             كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ،  وَإِنْ رَآهَـا النَّاسُ حَسَنَةً ...

“ทุกๆบิดอะฮ์  คือความหลงผิด,   แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม”
(บันทึกโดย  ท่านอัล-บัยฮะกีย์ในหนังสือ  “المدخل إلى السنن الكبرى”  หมายเลข  191,   ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ  “السنة”  หน้า  24,    และท่านอัล-ลาลิกาอีย์ในหนังสือ  “شَرْحُ اُصُوْلِ اعْتِقَادِ أَهْلِ السُّنَّةِ”  เล่มที่  1  หน้า  92) ...

คำว่า  “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด”  ตามคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ในที่นี้  หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติโดยปราศจากข้อสงสัย, ..  และคำกล่าวของท่านตอนหลังที่ว่า  “แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม”   แสดงว่า ท่านปฏิเสธและไม่ยอมรับว่า มีบิดอะฮ์ดีในบทบัญญัติอย่างเด็ดขาด ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งดีในมุมมองมนุษย์อย่างไรก็ตาม ...


ความเชื่อที่ว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ”  ค้านกับหะดีษของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
ข้อนี้ ถือเป็น  “ตัวชี้ขาด”  ความผิดพลาดทั้งมวลของผู้ที่เข้าใจว่า  มีบิดอะฮ์ดีตามบทบัญญัติศาสนา  ทั้งนี้ เพราะท่านศาสดาได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆวาระว่า ...

                                                كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَ لَةٌ

“ทุกๆบิดอะฮ์  คือความหลงผิด” ...
และท่านยังเคยกล่าวเอาไว้อีกว่า ...

                                         إِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ اْلأُمُوْرِ،   فَإِنَّهَا ضَلاَلةَ ٌ!

“พวกท่านพึงระวังตนเองจาก สิ่งทั้งหลายที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ (ในศาสนา)  เพราะว่า มันคือความหลงผิด” ...
                                                .....ฯลฯ .....

ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม  มิได้ถูกส่งมาเพื่อสอน  “ภาษา”  แก่ผู้ใด,   แต่ท่านถูกส่งมา  เพื่อสอน  “บทบัญญัติศาสนา”  ของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. แก่มนุษยชาติทั้งมวล ...

เมื่อท่านกล่าวเตือนอุมมะฮ์ของท่านว่า  “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด”  ท่านจึงย่อมหมายถึงสิ่งบิดอะฮ์  “ตามบทบัญญัติ”, ..  มิใช่บิดอะฮ์  “ตามหลักภาษา”  แน่นอน

และก็ไม่เคยมีรายงานหะดีษมาแม้แต่บทเดียวว่า  ท่านศาสดาจะเคยกล่าวยกย่องชมเชยสิ่งใดที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ในศาสนาของท่านว่า  เป็นสิ่งที่ดี ! ...


ดังนั้น  ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใดก็ตาม  ก็จะไม่พบคำว่า  “มีบิดอะฮ์ดี”  ในบทบัญญัติ  นอกจากทั้งหมด จะเป็น  “บิดอะฮ์ต้องห้าม”  เพียงสถานเดียว ...

คำว่า  “บิดอะฮ์ดี”  ที่มีกล่าวกันแพร่หลายมิใช่อื่นใด   แต่เป็นเพียงศัพท์เทคนิคตามหลักภาษาที่ใช้เรียกสิ่งดีๆ -- (ตาม  “มุมมอง”  ของมนุษย์, ..  ต่อสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา) -- ว่าเป็น  บิดอะฮ์ดี (คือ การริเริ่ม,  การประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ดี) ..  แค่นั้นเอง ...

ผู้ใดก็ตามที่กล่าวว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ดี)ในบทบัญญัติ”   หากจะมองเพียงว่า  คำพูดของเขาไปค้านกับคำนิยามของคำว่า  “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์”   ตามหลักวิชาอุศูลุลฟิกฮ์,

หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ หะญัรฺ ทั้งสองท่าน,

หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ที่กล่าวมาข้างต้น  ..

เพียงแค่นั้น  ก็คงไม่สู้กระไรนักหรอก ...
ที่สำคัญ  คำพูดของเขาดังกล่าวไป  “คัดค้าน”  คำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่บอกเขาว่า  “ทุกๆบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) คือความหลงผิด” นี่สิ   มันเป็นเรื่องสาหัสสากรรจ์สำหรับมุสลิมที่มีอีหม่านทุกคนเหลือเกิน ...

ยกตัวอย่าง

การอะซานในการนมาซวันอีด  ก็เป็นเรื่องดีตามบทบัญญัติเหมือนกัน โดยมองตาม  “หลักภาษา”   มันก็เป็น เป็นบิดอะฮ์ดี (หะสะนะฮ์)...แต่การอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซวันอีด เป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามตามบทบัญญัติ   เนื่องจากไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนจากท่านนบีย์และเศาะหาบะฮ์ของท่าน ...(เรื่องนี้ต้องนำไปเปรียบเทียบกับงานเมาลิด ซึ่งไม่ต่างอะไรกับอะซานในการนมาซอีดเลย ที่เพิ่งจะก่อเกิดหลังปี ฮ.ศ. 362)

สรุุป บิดดะฮฺหะสะนะฮ์ หรือบิดอะฮ์ดี เป็นเพียงศัพท์เทคนิคตามหลักภาษาที่ใช้เรียกสิ่งดีๆ หรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ดี ที่เรียกมันเป็นเรื่องดีในความรู้สึกของผู้กระทำและบุคคลทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา สำหรับบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ทุกบิดอะฮฺ คือสิ่งต้องห้ามและความหลงผิดทั้งสิ้น

والله أعلم بالصواب

นำข้อมูล จาก อ.ปราโมทย์  ศรีอุทัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น