อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ใครคือผู้จุดไฟ ? ในความหมายอายะฮ์ที่ 17 ซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์


:
คำถามของคุณ Srun Srunlaiman
อัสลามูอาลัยกุม ตอนนี้ เรื่อง ซูเราะห์อัลบากอเราะ อายะที่ 17 กะลังมาแรง อยากให้อาจารย์ ช่วย วิเคราะห์ หน่อยคับ เพื่อปกป้อง คำพูดของอัลเลาะและศาสนาของเราคับ
@@@@@@@

คำตอบ ...

ปราโมทย์ ศรีอุทัย วะอลัยกุมุสสลาม .. ความขัดแย้งในความหมายอายะฮ์ที่ 17 ซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ก็คือ ใครคือผู้จุดไฟ ? .. ดังที่มีกล่าวในโองการบทนั้น ...
เป็นตัวท่านนบีย์เอง (ตามทัศนะของนักวิชาการบางท่าน) หรือเป็นพวกมุนาฟิก (ตามทัศนะของนักอรรถาธิบายอัล-กุรฺอานส่วนใหญ่ ? ..
ก็ขอเรียนตามตรงว่า ข้อคิดเห็นหรือทัศนะของผมคงไม่ใช่ข้อชี้ขาดของความขัดแย้งในเรื่องนี้หรอกครับ เพราะแม้ผมเองจะยอมรับตามทัศนะและคำอธิบายของมุฟัซซิรีนส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ขณะเดียวกัน ก็มี "บางคำ" ในอายะฮ์นี้ที่ผมยังสะกิดใจอยู่เหมือนกัน ..
สรุปแล้ว ในทัศนะผมเห็นว่า "ผู้จุดไฟ" ในอายะฮ์นี้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ - ว่าจะหมายถึงพวกมุนาฟิกหรือท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ? - จนถึงขั้นจะนำไปหุก่มผู้ที่มีความเห็นต่างว่าเป็นกาเฟรฺหรือตกมุรฺตัด ..
เพราะฉะนั้น ประเด็นสำคัญก็คือ ผู้ที่ไปหุก่มกล่าวหาผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับตัวเองในความหมายของอายะฮ์นี้ว่า เป็นกาเฟรฺหรือตกมุรฺตัด อะไรทำนองนี้ ท่านเคยเฉลียวคิดบ้างไหมครับว่า ท่านยึดอัตตาและมั่นใจตัวเองเกินไป! .. จนกล้านำตัวเองไปเสี่ยงกับการตกเป็นกาเฟรฺเสียเองดังคำกล่าวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ? ...
Srun Srunlaiman แล้ว อิบนุกะษีร ไม่ชัดเจนหรือคับ
ปราโมทย์ ศรีอุทัย ผมบอกแล้วว่า ผมเองก็ยอมรับในทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึงท่านอิบนุกะษีรฺด้วย แต่ผมไม่เคยเจอนักวิชาการเหล่านี้ท่านใดกล่าวเลยว่า นี่เป็นทัศนะที่เป็น "อิจญมะอฺ" หรือมติเอกฉันท์ของนักวิชาการทั้งหมด! .. ผู้ใดมีความเห็นต่างไปจากนี้ ถือว่าผู้นั้นตกมุรฺตัดออกจากศาสนาอิสลาม ...
เพราะฉะนั้น ผมจึงสงสัยว่า ผู้ที่หุก่มผู้เห็นต่างว่าตกมุรฺตัดในเรื่องนี้ ท่านเอาหุก่มข้อนี้มาจากนักวิชาการท่านใด ? หรือเป็นเพียงความเข้าใจส่วนตัวของท่านเอง ???
Srun Srunlaiman คับ อาจารย์ ตกลงว่า .......ถ้ามีใครบิดเบือนความหมายกุรอ่านนี้ เขาทำได้ไช่ไหมคับ.......เพราะไม่มีคำสั่งห้ามหรือป่าคับ............ และไม่ต้องไปต่อต้านเขา ไช่ไหมคับ ข้อที่2 หรือว่า ต่อต้านได้ แต่ ห้ามไปบอกว่าเขาตกมุรตัร ขอข้อมูลที่ชัดเจน นิดนุงคับ ข้อที่3.. มีนักวิชาการท่านไหนบ้างคับที่บอกว่า(แปลว่านบีมูฮัมหมัดได้) เอาที่เป็นซุนนะไม่เอาพวกหลงนะคับเช่นก๊อดยานี ที่แปลเป้นภาษาอุรดู แล้วอิควาน(อัลเมาดูดี้) ไปแปลมาอีกที่ ญาซากัลเลาะ...?
ปราโมทย์ ศรีอุทัย บิดเบือนความหมายกุรฺอานทำไม่ได้โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการครับ แต่ขณะนี้เรากำลังพูดกันถึง "อายะฮ์ที่ 17" ของซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์โดยเฉพาะ ไม่ได้เกี่ยวกับโองการอื่นๆ ...
สิ่งที่ผมยอมรับว่าอึดอัดใจสำหรับนักวิชาการของเราในปัจจุบันก็คือ มักจะ "ฟันธง" ว่าความเข้าใจของเราเท่านั้นที่ถูกต้องในปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาที่มีมุมมองต่างกัน ...
ผมขอย้ำอีกครั้งว่า ผมเห็นด้วยกับทัศนะของนักมุฟัซซิรีนส่วนใหญ่ในอายะฮ์นี้ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ไปหุก่มผู้เห็นต่างกับตัวเองในอายะฮ์นี้ว่าตกมุรฺตัด เพราะบอกแล้วว่า มี "บางอย่าง" ในโองการนี้ที่เป็นช่องทางให้เข้าใจต่างกันได้ ...
เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ หากเรา (ซึ่งรวมทั้งผมด้วย) ไม่เห็นด้วยกับเขา ก็ควรชี้แจงตามหลักวิชาการว่า มุมมองของเขาผิดอย่างไร แต่การหุก่มถึงขั้นตกมุรฺตัดนี่ผมไม่เอาด้วยหรอก เพราะผมไม่มีหลักฐานที่จะไปหุก่มเขาอย่างนั้น และผู้ที่ไปหุก่มเขา ก็ให้นำหลักฐานมาตีแผ่ดีกว่าครับ ว่า หลักฐานอยู่ในตำราเล่มใด หรืออยู่ในกฎเกณฑ์ข้อไหนของวิชาการอิสลาม เพราะผมก็อยากจะทราบเหมือนกัน ...
ปราโมทย์ ศรีอุทัย ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติมอีกนิดว่า ทุกท่านรู้ดีอยู่แล้วว่า ผมเป็นซุนนะฮ์ ไม่ใช่เป็นอิควาน แต่ผมเป็นซุนนะฮ์ที่เป็นตัวของตัวเองในด้านวิชาการ มิใช่เป็นซุนนะฮ์ประเภทพวกมากลากไปครับ ...
Srun Srunlaiman อ. จารย์ตอบได้ ชัดเจนคับ แต่มีอยู่อีกข้อคับที่ท่านยังไม่ตอบผมคับ ..............(." ก็มี "บางคำ" ในอายะฮ์นี้ที่ผมยังสะกิดใจอยู่เหมือนกัน .. สรุปแล้ว ในทัศนะผมเห็นว่า "ผู้จุดไฟ" ในอายะฮ์นี้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ - ว่าจะหมายถึงพวกมุนาฟิกหรือท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ? ") ..........คือข้อที่3 คับ .................... "ข้อที่3.. มีนักวิชาการท่านไหนบ้างคับที่บอกว่า(แปลว่านบีมูฮัมหมัดได้) เอาที่เป็นซุนนะไม่เอาพวกหลงนะคับเช่นก๊อดยานี ที่แปลเป้นภาษาอุรดู แล้วอิควาน(อัลเมาดูดี้) ไปแปลมาอีกที่ ญาซากัลเลาะ...?"............ที่ยังสะกิดใจของ อาจารย์อยู่คับ ..?
ปราโมทย์ ศรีอุทัย คุณ SRUN ครับ ทั้งๆที่ผมอธิบายออกชัดเจนอย่างนี้แล้วคุณก็ยังไม่เข้าใจ, ยังพยายามจะให้ผมหุก่ม - เหมือนนักวิชาการของเราบางคนหุก่ม - ต่อผู้ที่มีทัศนะว่า "ผู้ที่จุดไฟคือท่านนบีย์" ว่า เป็นกาเฟรฺ ตกมุรฺตัด.. ซึ่งผมก็บอกแล้วว่าผมทำไม่ได้
ปราโมทย์ ศรีอุทัย ใช่ครับ ผมไม่ปฏิเสธว่า ผมไม่เคยเจอมุฟัซซิรีนท่านใดในอดีตที่อธิบายโองการนี้ว่า ผู้จุดไฟคือท่านนบีย์ .. เท่าๆกับคุณก็ไม่เคยเจอเช่นกันว่า จะมีนักวิชาการท่านใดในอดีตที่หุก่มว่า ใครที่เข้าใจแตกต่างไปจากความเข้าใจของนักวิชาการส่วนใหญ่ เช่นผู้ที่เข้าใจว่าท่านนบีย์เป็นผู้จุดไฟ จะต้องตกมุรฺตัดและจะต้องลงนรก
ปราโมทย์ ศรีอุทัย เพื่อรายละเอียด ผมขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ ...
ปราโมทย์ ศรีอุทัย (1). เนื้อหาของโองการบทนี้ เป็นเพียงการอุปมา - อุปมัยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องอะกีดะฮ์และไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับอะกีดะฮ์แม้แต่นิดเดียว เพราะฉะนั้น ความเข้าใจต่างกันใน "บางจุด" ของเนื้อหา เช่น ความเข้าใจจากคำว่า إستوقد نارا ว่าหมายถึง "จุดไฟเอง" หรือ "ขอร้องให้จุดไฟ" จึงไม่ส่งผลให้ฝ่ายใดที่เห็นต่างกัน ต้องถูกตราหน้าว่า เป็นผู้บิดเบือนอัล-กุรฺอาน หรือตกมุรฺตัดหรอกครับ ...
ปราโมทย์ ศรีอุทัย (2). ผมบอกแล้วว่า มี "บางคำ" ในโองการบทนี้ที่อาจเข้าใจได้ว่า ผู้จุดไฟคือท่านนบีย์ (ดังที่ผมกำลังจะอธิบายต่อไป) เพราะฉะนั้น จึงมีนักวิชาการหลายท่านในประเทศไทยที่มิใช่เป็นพวกอิควาน, มิใช่กอดยานีย์ ได้อธิบายโองการบทนี้ในลักษณะ "แบ่งรับแบ่งสู้" ซึ่งทำให้เข้าใจว่า ผู้จุดไฟในที่นี้ อาจหมายถึงพวกมุนาฟิกก็ได้ หรืออาจหมายถึงท่านนบีย์ก็ได้ .. (ดูตัวอย่างคำอธิบายโองการบทนี้จากหนังสือ "ความหมายอัล-กุรฺอานเป็นภาษาไทย" ของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ หรือหนังสือ "กุรฺอานุลกะรีม" ของ อ.ซากิรีน บุญมาเลิศ ..
แล้วเราจะกล่าวไหมครับว่า บรรดาอาจารย์เหล่านี้ ตกมุรฺตัดด้วยหรือ ?? ...
ปราโมทย์ ศรีอุทัย (3) ผู้ที่มีทัศนะว่า ผู้จุดไฟคือท่านนบีย์ คงจะมองในแง่ที่ว่า "ไฟ" ในโองการนี้ หมายถึง "แสงสว่างหรือทางนำแห่งอิสลาม" ซึ่งไม่มีความขัดแย้งใดๆของนักวิชาการในความหมายนี้ ...
เพราะฉะนั้น ปัญหาจึงมีว่า แล้วผู้ที่จุดไฟหรือให้แสงสว่างแห่งทางนำของอิสลามแก่ชาวโลกและแก่มุนาฟิกเหล่านั้นควรจะเป็นใคร ? .. ท่านนบีย์หรือพวกมุนาฟิก ? ...
ปราโมทย์ ศรีอุทัย (4) อีกจุดหนึ่งที่เขาคงจะเห็นว่า เป็นเรื่องน่าคิดก็คือ "คำสรรพนาม" สองลักษณะที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงใช้ในโองการนี้ 4 ตำแหน่ง ซึ่งผมขอแปลความหมายเป็นภาษาไทยตรงๆ และจะเน้นจุดสำคัญอันเป็นตำแหน่งของคำสรรพนาม(ตามความเข้าใจข้างต้น ขอย้ำอีกครั้งว่า ตามความเข้าใจข้างต้น) ก็คือ ...
อุปมา "พวกเขา" ก็อุปมัย "ผู้หนึ่ง" ซึ่งจุดไฟขึ้น ครั้นเมื่อไฟนั้นให้แสงสว่างรอบตัว "เขา" แล้ว อัลลอฮ์ก็ได้พรากแสงของ "พวกเขา" ไป ..
เพราะฉะนั้น ถ้าจะอธิบายและเข้าใจความหมายตามรูปคำประโยคโดยไม่มีการ "ตะอ์วีล" หรือเปลี่ยนแปลงใดๆเลยก็จะมีความหมายว่า ... "พระองค์อัลลอฮ์ได้อุปมาพวกเขา (คือพวกมุนาฟิก ) ว่า อุปมัยเหมือนผู้หนึ่ง (?) ซึ่งจุดไฟขึ้นเพื่อให้แสงสว่าง ครั้นเมื่อไฟที่เขาจุดขึ้นให้แสงสว่างรอบๆตัวเขา (?) แล้ว พระองค์อัลลอฮ์ก็ได้พรากแสงสว่างนั้นของพวกเขา (?) ไป และทิ้งให้พวกเขา (?) ตกอยู่ในความมืด, มองไม่เห็น" ....
ปราโมทย์ ศรีอุทัย เพราะฉะนั้น ตามความหมาย "ตรงๆ" ดังที่อธิบายมานี้ ลองพิจารณาดูซิครับว่า คำว่า "พวกเขา" ซึ่งเป็นนามพหูพจน์ และคำว่า "เขา" ซึ่งเป็นนามเอกพจน์ที่ผมใส่เครื่องหมายคำถามไว้ข้างหลังทุกคำควรจะเป็นใคร ? ...
เป็นมุนาฟิกทั้งหมด ? หรือควรจะเป็นท่านนบีย์ด้วย ? ...
ผมขอมอบให้ท่านให้คำตอบด้วยตัวของพวกท่านเองครับ ...
ปราโมทย์ ศรีอุทัย (5). สำหรับความเข้าใจของมุฟัซซิรีนส่วนใหญ่ที่อธิบายว่า สรรพนามทั้ง 4 ตำแหน่งนั้นหมายถึงมุนาฟิกทั้งสิ้น ก็ดูจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงดังที่เห็น จึงต้องอาศัยการ "ตะอ์วีล" เข้ามาช่วยโดยอธิบายว่า อัลลอฮ์ใช้สรรพนามเป็นเอกพจน์ (คนเดียว) ใน 2 ตำแหน่ง แต่ความหมายของมันเป็นพหูพจน์ (หลายคน) คือ "พวกมุนาฟิก" ซึ่งกฎเกณฑ์ภาษาอาหรับก็อนุญาตให้ทำได้ในกรณีดังกล่าวนี้ ...
ในทัศนะของมุฟัซซิรีนส่วนใหญ่จึงได้ความหมาย (หลังจากอธิบายเพิ่มเติมแล้ว) ว่า ... อัลลอฮ์ทรงเปรียบเทียบสภาพของพวกมุนาฟิกว่า ตอนแรกพวกเขายอมรับอิสลามอยู่บ้าง แต่ต่อมาพวกเขาเกิดความสงสัยและแคลงใจ จึงปฎิเสธการศรัทธาเดิมของพวกเขาเสียเพราะไม่เข้าใจคุณค่าและทางนำแห่งอิสลาม แสงสว่างแห่งอีหม่านในหัวใจพวกเขาจึงดับวูบลง และหัวใจของพวกเขาก็กลับคืนสู่ความมืดเช่นเดิม
Srun Srunlaiman อาจารย์คับ ที่บังคนนั้นเอามาอ้าง แล้วตัดต่อคือของอิบนูกาษีร นะคับ .................เขาไม่ได้อ้าง สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ..................
ปราโมทย์ ศรีอุทัย ผมไม่สนใจและไม่รับผิดชอบต่อข้ออ้างหรือการบิดเบือนใดๆของนักวิชาการท่านใด แต่ผมอธิบายโองการนี้ไปตามความเป็นจริงในมุมมองของผมครับ
สรุปแล้ว เท่าที่ผมอธิบายมายืดยาวนี้ มิใช่เพื่อยืนยันทัศนะที่เห็นต่างกับทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ว่าจะผิดหรือถูก เพราะผมก็บอกมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ผมเห็นด้วยกับทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ ...
แต่ผมต้องการชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เข้าใจว่า "ผู้จุดไฟ" ในโองการนี้คือท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ด้วยเหตุผลดังที่ผมอธิบายมาในข้อที่ (3) และข้อที่ (4) (เปิดย้อนกลับไปอ่านดูอีกทีก็ได้ครับ) ...
เราจะถือว่า เขามีความผิดฉกรรจ์, และเสียอะกีดะฮ์จนถึงขั้นตกมุรฺตัด, เป็นกาเฟรฺ และตกนรก เชียวหรือครับ ??? ...
Srun Srunlaiman ชัดเจนคับญาซากัลเลาะ
Srun Srunlaiman ผมหมดข้อสงสัยคับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น