อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ทัศนะของนักวิชาการบางท่านของมัษฮับทั้งสี่เกี่ยวกับ“การทำบุญเนื่องจากการตาย”




ทัศนะของนักวิชาการบางท่านของมัษฮับทั้งสี่เกี่ยวกับ“การทำบุญเนื่องจากการตาย” ดังต่อไปนี้ …


(1).  มัษฮับหะนะฟีย์

1.  ท่านอัล-กุรฏุบีย์  (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 671)  ได้กล่าวในหนังสือ  “อัต-ตัซกิเราะฮ์”  หน้า  102  ว่า …
وَمِنْهُ الطَّعَامُ الَّذِىْ يَصْنَعُهُ أَهْلُ الْمَيِّتِ الْيَوْمَ فِىْ يِوْمِ السَّابِعِ،  فَيَجْتَمِعُ لَهُ النَّاسُ،  يُرِيْدُ بِذَلِكَ الْقُرْبَةَ لِلْمَيِّتِ وَالتَّرَحُّمَ لَهُ،  وَهَذَا مُحْدَثٌ لَمْ يَكُنْ فِيْمَا تَقَدَّمَ،  وَلاَ هُوَ مِمَّا يَحْمَدُهُ الْعُلَمَاءُ،  قَالُوْا وَلَيْسَ يَنْبَغِىْ لِلْمُسْلِمِيْنَ أَنْ يَقْتَدُوْا بِأَهْلِ الْكُفْرِ  وَيَنْهَى كُلُّ إِنْسَانٍ أَهْلَهُ عَنِ الْحُضُوْرِ لِمِثْلِ هَذَا ..
وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ :  هُوَ مِنْ فِعْلِ الْجَاهِلِيَّةِ !  قِيْلَ لَهُ :  أَلَيْسَ قَدْ قَالَ النَّبِىُّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  ” إِصْنَعُوْا ِلآلِ جَعْفَرٍ طَعَامًا ؟   فَقَالَ  :  لَمْ يَكُوْنُوْا هُمُ اتَّخَذُوْا !   إِنَّمَا اتُّخِذَ لَهُمْ”   فَهَذَا كُلُّهُ وَاجِبٌ عَلَى الرَّجُلِ أَنْ يَمْنَعَ أَهْلَهُ مِنْهُ  وَلاَ يُرَخِّصَ لَهُمْ،   فَمَنْ أَبَاحَ ذَلِكَ ِلأََهْلِهِ فَقَدْ عَصَى اللَّـهَ عَزَّ وَجَلَّ،  وَأَعَانَهُمْ عَلَى اْلإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ  …….
“และส่วนหนึ่งจากพฤติกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์(พวกอนารยชนยุคก่อนอิสลาม) ก็คือ เรื่องอาหารซึ่งลูกเมียผู้ตายในสมัยปัจจุบัน ได้ปรุงขึ้นมาในวันที่ 7 (หรือวันที่ 3,  วันที่ 10,  วันที่ 40,  หรือครบ 100 วันแห่งการตาย)  ..  แล้วผู้คนก็มาชุมนุมกินอาหารนั้นโดยมีจุดประสงค์เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายและแสดงความเมตตาต่อผู้ตาย   นี่คือ อุตริกรรม (บิดอะฮ์) ที่ไม่เคยปรากฏในยุคที่ผ่านมา และก็มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่นักวิชาการยกย่องสรรเสริญแต่อย่างใด,   พวกเขา (นักวิชาการ) กล่าวว่า  ไม่สมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมเราจะไปเลียนแบบพวกกาฟิรฺ   และสมควรที่มนุษย์ทุกคนจะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการไปร่วมในงานประเภทนี้ …
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัลกล่าวว่า ..  นี่คือ พฤติกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์!  มีผู้ท้วงติงท่านว่า ..  ก็ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวไว้มิใช่หรือว่าให้พวกท่านทำอาหารไปให้ครอบครัวของญะอฺฟัรฺ ..   ท่านอิหม่ามอะห์มัดตอบว่า ..  (คำสั่งนั้น) ไม่ใช่ให้พวกเขา (ครอบครัวผู้ตาย) ทำอาหาร(เลี้ยงพวกเรา)  แต่ให้ (พวกเรา) ทำอาหารไปเลี้ยงพวกเขาต่างหาก, ..  ทั้งหมดนี้ คือสิ่งวาญิบสำหรับผู้ชายจะต้องห้ามปรามลูกเมียของเขาจากการกระทำมัน   และหากผู้ใดผ่อนผันเรื่องนี้แก่ลูกเมียของเขา  แน่นอน, เขาคือผู้ทรยศต่อพระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่,   ทั้งยังเป็นการสนับสนุนลูกเมียให้ทำบาปและการเป็นศัตรูกัน ….”
คำพูดของท่านอัล- กุรฺฏุบีย์ ที่ว่า ..   “นี่คือ อุตริกรรม (บิดอะฮ์) ที่ไม่เคยปรากฏในยุคที่ผ่านมา” ..  ถือเป็นการปฏิเสธหลักฐานทั้งมวลของผู้ที่พยายามจะอ้างว่า  เคยมีการกินเลี้ยงบ้านผู้ตายมาแล้ว ในยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และในยุคของบรรดาเศาะหาบะฮ์ ร.ฎ. …
2.  ท่านอิบนุล ฮุมาม  ได้กล่าวในหนังสือ  “ชัรฺหุ้ล ฮิดายะฮ์”  ว่า ..
وَيُكْرَهُ اتِّخَاذُ الضِّيَافَةِ مِنْ أَهْلِ الْمَيِّتِ،   ِلأَنَّهُ مَشْرُوْعٌ فِى السُّرُوْرِ لاَ فِى الشُّرُوْرِ وَهِىَ بِدْعَةٌ مُسْتَقْبَحَةٌ….
“เป็นเรื่องน่ารังเกียจที่จะให้ครอบครัวผู้ตายเป็นฝ่ายเลี้ยงอาหาร !   เพราะการเลี้ยงอาหารนั้น เป็นบทบัญญัติในกรณีมีความสุข (เช่นตอนแต่งงาน,   ตอนมีบุตร,  เป็นต้น)  มิใช่เป็นบทบัญญัติในยามทุกข์ (เช่นตอนพ่อแม่หรือลูกเมียตาย  เป็นต้น) …. มันจึงเป็นเรื่องบิดอะฮ์ที่น่าเกลียด ……..”
(จากหนังสือ  “กัชฟุช ชุบฮาต”  ของท่านมะห์มูดหะซัน รอเบี๊ยะอฺ  หน้า 192).



(2).  มัษฮับมาลิกีย์

1.  ท่านอิหม่ามอบูบักรฺ อัฏ-ฏ็อรฺฏุชีย์  (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 530)  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  “อัล-หะวาดิษ วัล-บิดะอฺ”  หน้า  170  ว่า …
فَأَمَّا إِذَا أَصْلَحَ أَهْلُ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَدَعَوُاالنَّاسَ إِلَيْهِ  فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ عَنِ الْقُدَمَاءِ شَىْءٌ،   وَعِنْدِىْ أَنَّهُ بِدْعَةٌ وَمَكْرُوْهَةٌ …..
“อนึ่ง  การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้น และเชิญชวนให้คนมากินอาหารนั้น  เรื่องนี้ ไม่ปรากฏมีรายงานมาจากประชาชนยุคก่อนๆแต่อย่างใด,   และในทัศนะของฉัน มันเป็นเรื่องบิดอะฮ์ และเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ” …



2.  ในหนังสือ  “มัตนุ คอลีล” ของนักวิชาการมัษฮับมาลิกีย์ มีกล่าวเอาไว้ว่า …
وَأَمَّا اْلإجْتِمَاعُ عَلَى طَعَامِ بَيْتِ الْمَيِّتِ  فَبِدْعَةٌ مَكْرُوْهَةٌ إِنْ لَمْ يَكُنْ فِى الْوَرَثَةِ صَغِيْرٌ،   وَإِلاَّ فَهُوَ حَرَامٌ  …..
“อนึ่ง  การไปชุมนุมกินอาหารกันที่บ้านคนตาย  ถือเป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ หากว่าในทายาทผู้ตายไม่มีเด็กเล็ก (ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ), …   แต่ถ้า (ผู้ตาย) มี (ทายาทที่ยังเล็กอยู่)   ก็ถือว่า (การไปชุมนุมกินอาหารที่บ้านผู้ตาย) เป็นเรื่องต้องห้าม (หะรอม)”
(จากหนังสือ  “อัล-มันฮัลฯ”  อันเป็นหนังสืออธิบายสุนันของท่านอบูดาวูด  เล่มที่ 4   ส่วนที่ 8  หน้า  272) …






(3).  มัษฮับชาฟิอีย์


1.  ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.  676)  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  “อัล-มัจญมั๊วะอฺ”   เล่มที่  5  หน้า  320  ว่า …
قَالَ صَاحِبُ الشَّامِلِ وَغَيْرُهُ  :  وَأَمَّا إِصْلاَحُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَجَمْعُ النَّاسِ عَلَيْهِ  فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ شَىْءٌ  وَهُوَ بِدْعَةٌ غَيْرُ مُسْتَحَبَّةٍ …..
“ท่านเจ้าของหนังสือ  “อัช-ชามิล”  (มีชื่อว่า อบูนัศรฺ, มะห์มูด บิน อัล-ฟัฎล์ อัล-อิศบะฮานีย์,   มีชื่อรองว่า  อิบนุ ศ็อบบาค   เป็นชาวเมืองอิศฟาฮาน,  สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 512) และนักวิชาการท่านอื่นๆกล่าวว่า …  อนึ่ง  การที่ครอบครัวผู้ตายได้จัดปรุงอาหารขึ้น และเชิญชวนผู้คนให้มาร่วมรับประทานกัน  พฤติกรรมนี้ ไม่เคยปรากฏมีรายงานหลักฐานมาแต่ประการใด,   ดังนั้น มันจึงเป็นบิดอะฮ์ที่ไม่ชอบตามหลักการศาสนา” ..


2.  ท่านเช็ค อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์  (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974)  ได้กล่าวในหนังสือ  “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์”  ว่า ….
وَمَا اعْتِيْدَ مِنْ جَعْلِ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِيَدْعُواالنَّاسَ إِلَيْهِ  بِدْعَةٌ مَكْرُوْهَةٌ كَإِجَابَتِهِمْ لِذَلِكَ
“สิ่งซึ่งปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว .. อันได้แก่การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้นมา เพื่อเชิญให้ผู้คนมาร่วมรับประทานนั้น  มันคือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ ..  เช่นเดียวกับการตอบรับคำเชิญชวนไปร่วมในงานเลี้ยงนี้ (ก็เป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจเช่นเดียวกัน) …
(จากหนังสือ  “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน”   เล่มที่  2  หน้า  146)


3.  ท่านอะห์มัด บิน ซัยนีย์ ดะห์ลาน  อดีตมุฟตีย์ของมัษฮับชาฟิอีย์แห่งนครมักกะฮ์  ได้กล่าวตอบเมื่อมีผู้ถามปัญหาเรื่องการเลี้ยงอาหารบ้านผู้ตายว่า …
نَعَمْ،  مَايَفْعَلُهُ النَّاسُ مِنَ اْلإِجْتِمَاعِ عِنْدَ أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصُنْعِ الطَّعَامِ مِنَ الْبِدَعِ الْمُنْكَرَةِ الَّتِىْ يُثَابُ عَلَى مَنْعِهَا وَالِى اْلأَمْرِ …..
“ใช่,  สิ่งซึ่งประชาชนกำลังกระทำกัน  อันได้แก่การไปชุมนุมกัน ณ ครอบครัวผู้ตาย  และมีการปรุงอาหาร (เพื่อเลี้ยงดูกัน)  ถือว่า เป็นหนึ่งจากบิดอะฮ์ต้องห้าม .. ซึ่งผู้นำที่ต่อต้านเรื่องนี้ จะได้รับผลบุญตอบแทน ………”
(จากหนังสือ  “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน”   เล่มที่  2  หน้า  145)
ท่านเช็คอะห์มัด ซัยนีย์ ดะห์ลาน  ยังได้กล่าวในการตอบคำถามนี้อีกตอนหนึ่งว่า
وَلاَ شَكَّ أَنَّ مَنْعَ النَّاسِ مِنْ هَذِهِ الْبِدْعَةِ الْمُنْكَرَةِ فِيْهِ إِحْيَاءٌ لِلسُّنَّةِ وَإِمَاتَةٌ لِلْبِدْعَةِ، وَفَتْحٌ لِكَثِيْرٍ مِنْ أَبْوَابِ الْخَيْرِ وَغَلْقٌ لِكَثِيْرٍ مِنْ أَبْوَابِ الشَّرِّ،  فَإِنَّ النَّاسَ  يَتَكَلَّفُوْنَ كَثِيْرًا يُؤَدِّىْ إِلَى أَنْ يَكُوْنَ ذَلِكَ الصُّنْعُ مُحَرَّمًا ….
“และไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยว่า   การห้ามปรามประชาชนจาก (การกระทำ) สิ่งบิดอะฮ์ต้องห้ามอย่างนี้  คือการฟื้นฟูซุนนะฮ์และเป็นการทำลายบิดอะฮ์,   และยังเป็นการเปิดประตูแห่งความดีอย่างมากมาย และเป็นการปิดประตูแห่งความชั่วอย่างมากมาย,เพราะว่าประชาชนต่างก็ทุ่มเท(ในเรื่องนี้) กันอย่างหนัก  จนการกระทำดังกล่าวอาจนำไปสู่การปฏิบัติที่ต้องห้ามได้” …
(จากหนังสือ  “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน”   เล่มที่  2  หน้า  146)


(4).  มัษฮับหัมบะลีย์


1.  มีรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการกินเลี้ยงที่บ้านผู้ตายจากท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัลว่า ….
قَالَ أَحْمَدُ  :  هُوَ مِنْ فِعْلِ الْجَاهِلِيَّةِ،   وَأَنْكَرَهُ شَدِيْدًا …
ท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า  :  “มัน (การให้บ้านผู้ตายเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารแขก) เป็นพฤติการณ์ของพวกญาฮิลียะฮ์ ! ” ..   และท่านจะแอนตี้มันอย่างรุนแรง …
(จากหนังสือ  “อัล-มันฮัล อัล-อัษบุลเมารูด ฯ”   เล่มที่  4  ส่วนที่  8  หน้า  273)


2.  ท่านอิบนุ กุดามะฮ์  ได้กล่าวในหนังสือ  “อัล-มุฆนีย์”   เล่มที่  2  หน้า  413 ว่า …
فَأَمَّا صُنْعُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِلنَّاسِ فَمَكْرُوْهٌ،  ِلأَنَّ فِيْهِ زِيَادَةً عَلَى مُصِيْبَتِهِمْ وَشُغْلاً أِلَى شُغْلِهِمْ وَتَشَبُّهًا بِصُنْعِ أَهْلِ الْجَاهِلِيَّةِ،  وَيُرْوَى أَنَّ جَرِيْرًا وَفَدَ عَلَى عُمَرَ فَقَالَ  :  هَلْ يُنَاحُ عَلَى مَيِّتِكُمْ ؟ قَالَ : لاَ،   قَالَ  :  وَهَلْ يَجْتَمِعُوْنَ عِنْدَ أَهْلِ الْمَيِّتِ وَبَجْعَلُوْنَ الطَّعَامَ ؟  قَالَ  :  نَعَمْ،   قَالَ  :  ذَلِكَ النَّوْحُ  ……
“อนึ่ง  การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้นมาให้ประชาชน(รับประทานกัน) นั้น  ถือว่า  เป็นเรื่องน่ารังเกียจ,    เนื่องจากมันเป็นการซ้ำเติมเคราะห์กรรมของพวกเขามากยิ่งขึ้น  ซ้ำยังเป็นการเพิ่มภาระพวกเขาซึ่งหนักอยู่แล้วให้หนักเข้าไปอีก   และยังเป็นการลอกเลียนการกระทำของพวกญาฮิลียะฮ์อีกด้วย,    มีรายงานมาว่า  ท่านญะรีรฺ (บิน อับดุลลอฮ์ อัล-บะญะลีย์) ร.ฎ.  ได้มาหาท่านอุมัรฺ (อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ.) แล้วท่านอุมัรฺถามว่า ..  เคยมีการนิยาหะฮ์ (คร่ำครวญอย่างหนัก) ให้แก่ผู้ตายของพวกท่านบ้างไหม ? ท่านญะรีรฺก็ตอบว่า  ไม่เคย, ..   ท่านอุมัรฺก็ถามต่อไปอีกว่า ..  แล้วเคยมีการไปชุมนุมกันที่บ้าน/ครอบครัวผู้ตาย  และมีการปรุงอาหารเลี้ยงกันไหม ?   ท่านญะรีรฺตอบว่า   เคยครับ, ท่านอุมัรฺก็บอกว่า …  นั่นแหละคือการนิยาหะฮ์ (อันเป็นเรื่องต้องห้าม) ละ” …


ทัศนะของมัษฮับทั้งสี่ การกินบุญบ้านคนตาย

หมายเหตุ
คำว่า  مَكْرُوْهٌ (น่ารังเกียจ) .. ที่นักวิชาการแทบทุกท่าน ใช้เป็นสำนวนกล่าวควบคู่กับคำว่า  “บิดอะฮ์”  ที่ผ่านมานั้น  โปรดเข้าใจด้วยว่า ความหมายของมันมิใช่มีหมายถึงสิ่ง “มักโระฮ์” อันเป็นศัพท์ที่เข้าใจกันโดยทั่วๆไปว่า  เป็นสิ่งที่  “ถ้าไม่ทำก็ได้บุญ  แต่ถ้าทำก็ไม่บาป” …
ทว่า ความหมายของมันก็คือ  เป็น “บิดอะฮ์ที่ต้องห้าม”  หรือหะรอม นั่นเอง …

มีกล่าวในหนังสือ  “กัชฟุช ชุบฮาต”   หน้า  193  ว่า  …
ثُمَّ إِنَّ الظَّاهِرَ أَنَّ الْكَرَاهَةَ تَحْرِيْمِيَّةٌ،  إِذِ اْلأَصْلُ فِىْ هَذَاالْبَابِ خَبَرُ جَرِيْرٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ،  وَالنِّيَاحَةُ حَرَامٌ،  وَالْمَعْدُوْدُ مِنَ الْحَرَامِ حَرَامٌ،  وَأَيْضًا إِذَا اُطْلِقَ الْكَرَاهَةُ  يُرَادُ مِنْهَا التَّحْرِيْمِيَّةُ
“ประการต่อมา   โดยรูปการณ์แล้ว คำว่า  مَكْرُوْهٌ (น่ารังเกียจ) ..  จากคำกล่าวของนักวิชาการข้างต้นนั้น หมายถึง “เป็นเรื่องหะรอม” (ต้องห้าม),    ทั้งนี้ เพราะพื้นฐานของเรื่องนี้ (คือเรื่องที่ว่า การไปชุมนุมกินเลี้ยงกันที่บ้านผู้ตาย เป็นเรื่อง   مَكْرُوْهٌ นั้น)  ได้แก่หะดีษของท่านญะรีรฺ ร.ฎ. (ที่กล่าวว่า ..  พวกเรา (เศาะหาบะฮ์) นับว่า การไปร่วมชุมนุมกันที่ครอบครัว/บ้านผู้ตายและมีการปรุงอาหารเลี้ยงกันนั้น  เป็นส่วนหนึ่งของนิยาหะฮ์) ..   และการนิยาหะฮ์นั้น เป็นเรื่องหะรอม,   ดังนั้น สิ่งที่ “ถูกนับว่า” เป็นส่วนหนึ่งนิยาหะฮ์ ก็ต้องหะรอมเช่นเดียวกัน,..   และอีกอย่างหนึ่งก็คือคำว่า  مَكْرُوْهٌ นี้  เมื่อถูกกล่าวโดยปราศจากข้อแม้ใดๆ  (ตามหลักการแล้วถือว่า)  ความหมายของมันก็คือ หะรอม (ต้องห้าม)” ….

สรุปแล้ว การที่บ้านคนตายทำอาหารเลี้ยงชาวบ้านโดยเข้าใจว่าเป็นการส่ง  “บุญ”  ไปให้คนตายนั้น  ตามคำกล่าวของนักวิชาการทั้ง  4  มัษฮับถือเป็นเรื่องหะรอม

วัลลอฮูอาลัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น