หากในเมืองที่เราอาศัยอยู่นั้น มีมัสยิดที่ใช้สำหรับการละหมาดญุมะอะฮฺในวันศุกร์ ก็ให้เราทำการละหมาดร่วมกันในมัสยิดนั้น และไม่เป็นที่อนุญาตในการที่คุณจะทำการเรียกร้องให้ผู้อื่นมาทำการละหมาดญุ มะอะฮฺภายนอกมัสยิดอีก เว้นเสียแต่ว่าในเมืองนั้นไม่มีการละหมาดญุมะอะฮฺ เราก็ทำการจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺขึ้นได้ และไม่เป็นการอนุญาตให้ทำการละหมาดดุฮฺริทดแทนการละหมาดญุมะอะฮฺ
เพราะ
“การจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺนั้น มีความจำเป็นสำหรับบรรดามุสลิมที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือในหมู่บ้านนั้น ๆ ซึ่งจะมีเงื่อนไขของการจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺที่ถูกต้องอยู่ โดยตามกฎของชารีอะฮฺ นั้น ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขของผู้ที่จะทำการละหมาดญุมะอะฮฺที่แน่นอน ซึ่งจำนวนตัวเลขที่ถือว่าเพียงพอและใช้ได้นั้น คือมีผู้ทำการละหมาดญุมะอะฮฺตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และจากความคิดเห็นของบรรดาผู้รู้ส่วนใหญ่ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ไม่เป็นที่อนุญาตให้คนหนึ่งคนใดทำการละหมาดดุฮฺริทดแทนการละหมาดญุมะอะฮฺ แม้ว่าในการละหมาดญุมะอะฮฺนั้นจะมีจำนวนผู้เข้าร่วมละหมาดน้อยกว่า 40 คนก็ตาม”
(จากฟัต วาของ al-Lajnah al-Daa’imah, หมายเลข 1794 (8/178))
และจากคณะกรรมการฟัตวาหมายเลข 957
ได้กล่าวว่า เรายังไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนที่แน่นอนของผู้ที่จะต้องทำการจัดตั้งการ ละหมาดญุมะอะฮฺ เพราะไม่มีบันทึกเกี่ยวตัวเลขที่แน่นอนเอาไว้ ซึ่งบรรดานักวิชาการก็ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับเรื่องของจำนวน ตัวเลขนี้อยู่ แต่ท่ามกลางความคิดของบรรดานักวิชาการเหล่านี้ก็ได้เห็นว่า จำนวนผู้ที่จะทำการจัดตั้งการละหมาดญุมะอะฮฺนั้น คืออาจจะเป็นชายจำนวน 3 คนที่เป็นชาวท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งเป็นรายงานที่มาจากท่าน อิหม่ามอะฮฺหมัด และเป็นรายงานที่ได้รับการเห็นชอบด้วยจากท่าน al-Awzaa’I และ Shaykh Taqiy al-Deen Ibn Taymiyah เนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสเอาไว้ดัง อายะฮฺอัลกุรอ่าน ซูเราะฮฺที่ 62 : 9 ซึ่งมีความหมายว่า
“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงเรียกร้อง (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้” (62 : 9)
ซึ่งจากลักษณะของคำแล้ว หมายถึงเป็นคำพหูพจน์ ซึ่งตีความหมายได้ว่าจำนวนอย่างต่ำของผู้ที่จะต้องไปทำการละหมาดในวันศุกร์ คือจำนวน 3 คน (8/210)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น