อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

อุลามาอ์มัซฮับชาฟีอีย์ ยืนยันอิหม่ามชาฟีอีย์ไม่เคยให้กล่าวคำเหนียต


อิหม่ามอัลมาวัรดีย์กล่าวว่า

قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ الزُّبَيْرِيُّ - مِنْ أَصْحَابِنَا - : لَا يُجْزِئُهُ حَتَّى يَتَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ تَعَلُّقًا بِأَنَّ الشَّافِعِيَّ قَالَ فِي كِتَابِ " الْمَنَاسِكِ " : وَلَا يَلْزَمُهُ إِذَا أَحْرَمَ بِقَلْبِهِ أَنْ يَذْكُرَهُ بِلِسَانِهِ وَلَيْسَ كَالصَّلَاةِ الَّتِي لَا تَصِحُّ إِلَّا بِالنُّطْقِ فَتَأَوَّلَ ذَلِكَ عَلَى وُجُوبِ النُّطْقِ فِي النِّيَّةِ

อบูอับดุลลอฮ อัซซุบัยรีย์ จากสะหายของเรา กล่าวว่า “ มัน(การเนียต)จะใช้ไม่ได้ จนกว่า เขาจะกล่าวด้วยวาจาของเขา โดยอ้างว่า ชาฟิอีกล่าวในหนังสือ อัลมะนาสิกว่า “และเมื่อเขาเจตนาเอียะรอม ด้วยใจของเขาแล้ว ก็ไม่จำเป็นแก่เขาว่าจะต้องกล่าวมันด้วยวาจาของเขา โดยที่ไม่เหมือนกับละหมาด ซึ่ง มันจะใช้ไม่ได้ นอกจากต้องด้วยการกล่าวเป็นคำพูด ดังนั้น ดังกล่าวนั้น หมายถึงจำเป็นจะต้องกล่าวด้วยวาจาในการเนียต 
– ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204

แล้วอิหม่ามอัลมาวัรดี ก็กล่าวแย้ง ข้ออ้างของอัซซุบัยดีย์ว่า

وَهَذَا فَاسِدٌ ، وَإِنَّمَا أَرَادَ وُجُوبَ النُّطْقِ بِالتَّكْبِيرِ

และนี้คือ เป็นคำพูดที่ผิดพลาด ความจริง เขา(อิหม่ามชาฟิอี) หมายถึง การกล่าวตักบีร ด้วยวาจา 
-ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204

อิหม่ามนะวาวีย์ ก็ได้ชี้แจงไว้เช่นกัน วาเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาด
ท่านกล่าวว่า

قَالَ أَصْحَابُنَا : غَلِطَ هَذَا الْقَائِلُ ، وَلَيْسَ مُرَادُ الشَّافِعِيِّ بِالنُّطْقِ فِي الصَّلَاةِ هَذَا ، بَلْ مُرَادُهُ التَّكْبِيرُ وَلَوْ تَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ وَلَمْ يَنْوِ بِقَلْبِهِ لَمْ تَنْعَقِدْ صَلَاتُهُ بِالْإِجْمَاعِ فِيهِ

บรรดาสหายของเรากล่าวว่า ผู้พูดคนนี้(คนที่อ้างคำพูดชาฟิอี)นั้นผิดพลาด ความต้องการของอิหม่ามชาฟิอี ไม่ได้หมายถึงกล่าว(คำเนียต)เป็นคำพูดในละหมาด ในกรณีนี้ แต่ทว่า เขา(อิหม่ามชาฟิอี)หมายถึงการกล่าวตักบีร และหากแม้กล่าวคำเนียตด้วยวาจา ของเขา และไม่ได้เนียตด้วยใจของเขา การละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ ด้วยมติเอกฉันท์ของนักปราชญ์ในมัน
 – อัลมัจญมัวะ เล่ม 3 หน้า 241

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น