อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

การซีนา,ผ้าไหม,สิ่งมึนเมาและเสียงดนตรีอิสลามห้าม


 หลักฐานหะดิษบทหนึ่ง ซึ่งท่านบุคอรีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) เป็นผู้บันทึกรายงาน หะดิษบทนี้ ท่านนบีมุหัมมัด ได้กล่าวถึง จะมีกลุ่มชนหนึ่งของประชาชาติของท่าน จะมองสิ่งต้องห้ามต่อไปนี้ เรื่องต่อไปนี้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขา พวกเขาทำมันเป็นปกติเหมือนดั่งไม่มีบทบัญญัติศาสนาห้าม คือ

1. การทำซีนา (ผิดประเวณี)

2. ผู้ชายสวมผ้าไหม

3. การดื่มสิ่งมึนเมา และ

4. และในเรื่องเครื่องดนตรี (เสียง และอุปกรณ์ของมัน)

 ดังท่านรสูลุลลอฮฺ ศ้อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมกล่าวว่า

« لَيَكُونَنَّ مِنْ أُمَّتِى أَقْوَامٌ يَسْتَحِلُّونَ الْحِرَ وَالْحَرِيرَ وَالْخَمْرَ وَالْمَعَازِفَ »

“แน่น่อนจะปรากฏกลุ่มชนหนึ่งจากประชาชาติของฉัน พวกเขาจะทำให้เรื่องซินา, ผ้าไหม, สิ่งมึนเมา และเครื่องดนตรีเป็นที่อนุมัติ (หะลาล)” (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์)


ทั้งสี่ประการนี้ มีหลักฐานที่ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ดังนี้

1) กรณี การทำซินา

ได้มีบัญญัติศาสนาห้ามไว้อย่างชัดเจน ทั้งอัลกุรอานและหะดิษ

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَلَا تَقْرَبُوا الزِّنَا إِنَّهُ كَانَ فَاحِشَةً وَسَاءَ سَبِيلًا 

“และสูเจ้าทั้งหลายอย่าได้เข้าใกล้การกระทำซินา เพราะแท้จริงมันเป็นการกระทำที่โสมมและเลวร้ายยิ่ง” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ 17: 32)


รายงานจากท่านอบีอุรอยเราะห์ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่า : ท่านรอซูล กล่าวว่า :

         " ผู้ที่ทำซินา ในขณะที่ขาทำซินาเขามิได้อยู่ในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) ผู้ที่ดื่มสุรา ในขณะที่เขาดื่มสุรา เขามิได้อยู่ในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) ผู้ที่ลักขโมย ขณะที่ลักขโมยเขามิได้อยู่ในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) และผู้ที่ปล้นสะดม ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายมองดูเขาขณะที่เขาทำการปล้นสะดม มิได้อยู่ในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธา(มุอฺมิน)
(บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

อิสลามห้ามการกระทำซินา และถือว่าเป็นบาปใหญ่ การซินาเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ มากมายในสังคม ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างสงบสุขของมนุษย์ อิสลามสั่งให้ระแวดระวังตนและหลีกห่างจากสาเหตุต่างๆ ที่อาจจะนำไปสู่การกระทำผิดซินา อิสลามสนับสนุนให้ตอบสนองต่ออารมณ์ทางเพศด้วยวิธีที่ถูกต้องนั่นคือการแต่งงาน และการแพร่กระจายของซินาถือเป็นความหายนะที่น่ากลัว และเป็นสัญญาณหนึ่งของวันสิ้นโลก

2) กรณีผ้าไหม

อิสลามห้ามเฉพาะผู้ชายที่จะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำมาจากผ้าไหม แต่มิได้ห้ามสำหรับสตรี

 ท่านรสูลุลลอฮฺ ผศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

(( لا تلبسو الحرير ، فإن من لبسه في الدنيا لم يلبسه في الآخرة ))

ความว่า: “พวกท่านอย่าสวมใส่ผ้าไหม แท้จริงผู้ใดสวมใส่มันในโลกนี้ เขาจะไม่ได้สวมใส่มันในโลกหน้า”" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรียื และมุสลิม)


 ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

(( إنما يلبس الحرير من لا خلاق له ))

ความว่า: “คนอับโชคเท่านั้นที่สวมใส่ผ้าไหม”" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรียื และมุสลิม)

รายงานจากท่านฮุไซฟะฮ์ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม) เล่าว่า

(( نهانا رسول الله صلى الله عليه وسلم أن نشرب في آنية الذهب والفضة ، وأن نأكل فيهما ، وعن لبس الحرير والديباج وأن نجلس عليه ))

ความว่า: “ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามเราดื่มในภาชนะที่ทำมาจากทองคำ และภาชนะที่ทำมาจากเงิน และรับประทานในภาชนะที่ทำมาจากทั้งสอง (เงินและทอง) และห้ามจากการสวมผ้าไหมแท้และผ้าไหมหยกทอง และห้ามที่จะนั่งบน (เสื่อ พรม) ที่ทำมาจากไหม”" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์)


رأيت رسول الله صلى الله عليه وسلم أخذ حريرا فجعله في يمينه وذهبا فجعله في شماله ثم قال  إن ه
ذين حرام على ذكور أمتي ، حلا لإناثهم 

ความว่า:

  “"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจับ (ถือ) ผ้าไหมมือขวา และทองคำในมือซ้าย แล้วกล่าวว่า “ทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับประชาชาติของฉันที่เป็นผู้ชาย และเป็นที่อนุมัติสำหรับสตรี”"


3) กรณีสิ่งมึนเมา

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَن يُوقِعَ بَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّكُمْ عَن ذِكْرِ اللَّهِ وَعَنِ الصَّلَاةِ فَهَلْ أَنتُم مُّنتَهُونَ ( 91 ) อัล-มาอิดะฮฺ - Ayaa 91

"ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาด แล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่" (อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 91)


عن عائشة رضي الله عنها قالت: سئل رسول الله ﷺ عن البِتْعِ -وهو شـراب العسـل- فقال رسول الله ﷺ: «كُلُّ شَرَابٍ أَسْكَرَ فَهُوَ حَرَامٌ». متفق عليه

     รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ  เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา กล่าวว่า  ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  ถูกถามถึงเรื่องอัลบิตอิ – เครื่องดื่มจากน้ำผึ้ง -  ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า
 “ทุกสิ่งที่ดื่มแล้วมึนเมา  สิ่งนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม)” 
(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 5586  สำนวนหะดีษเป็นของท่าน  และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 200

4)กรณีเสียงดนตรี

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

  وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْتَرِي لَهْوَ الْحَدِيثِ لِيُضِلَّ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ بِغَيْرِ عِلْمٍ 

“และจากมวลมนุษย์มีผู้ที่ซื้อคำพูดที่ไร้สาระ เพื่อเขาจักได้หลงไปจากทางของอัลลอฮฺโดยปราศจากความรู้”
 (อัลกุรอาน สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮิที่ 6)

     ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส   กล่าวว่า “อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องเพลง และอะไรที่คล้ายคลึงกัน”

     ท่านอั้ลวาฮิดีย์ ได้กล่าวไว้ในหนัวสือตัฟซีรของท่านว่า “ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการอรรถาธิบายอัลกุรอานส่วนใหญ่ได้ให้ความหมายคำว่า “คำพูดที่ไร้สาระ” (لَهْوَ الْحَدِيثِ) หมายถึง เสียงเพลง “

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

أَفَمِنْ هَٰذَا الْحَدِيثِ تَعْجَبُونَ ( 59 ) อัน-นัจญ์มฺ - Ayaa 59

พวกเจ้ายังคงแปลกใจต่อคำกล่าวนี้อีกหรือ?

وَتَضْحَكُونَ وَلَا تَبْكُونَ ( 60 ) อัน-นัจญ์มฺ - Ayaa 60

และพวกเจ้ายังคงหัวเราะ และยังไม่ร้องไห้!

وَأَنتُمْ سَامِدُونَ ( 61 ) อัน-นัจญ์มฺ - Ayaa 61

และพวกเจ้ายังคงหลงระเริงลืมตัว!

فَاسْجُدُوا لِلَّهِ وَاعْبُدُوا ۩ ( 62 ) อัน-นัจญ์มฺ - Ayaa 62

ดังนั้นพวกเจ้าจงสุญูดต่ออัลลอฮ.เถิดและจงเคารพภักดีต่อพระองค์เถิด
(อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัน-นัจญม์  53:59-62)


وَاسْتَفْزِزْ مَنِ اسْتَطَعْتَ مِنْهُم بِصَوْتِكَ وَأَجْلِبْ عَلَيْهِم بِخَيْلِكَ وَرَجِلِكَ وَشَارِكْهُمْ فِي الْأَمْوَالِ وَالْأَوْلَادِ وَعِدْهُمْ وَمَا يَعِدُهُمُ الشَّيْطَانُ إِلَّا غُرُورًا ( 64 ) อัล-อิสรออ์ - Ayaa 64

”และเจ้าจงยั่วยวนผู้ที่เจ้าสามารถทำให้เขาหลงในหมู่พวกเขาด้วยเสียงของเจ้า และชักชวนพวกเขาให้เห็นพ้องด้วยด้วยม้าของเจ้าและด้วยเท้าของเจ้า และจงร่วมกับพวกเขาในทรัพย์สินและลูกหลาน และจงสัญญาพวกเขา”และชัยฏอนมิได้ให้สัญญาใดๆ แก่พวกเขา เว้นแต่เป็นการหลอกลวงเท่านั้น"
(อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัล-อิสรออฺ 17:64)

         
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ประชาชาชนจากอุมมะฮฺของฉันจะดื่มสุรา และเรียกมันด้วยชื่ออื่น ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่แท้จริงของมัน การรื่นเริงจะทำเพื่อิ่งเหล่านั้น โดยการเล่นดนตรี และการร้องเพลงของนักร้องผู้หญิง อัลลอฮฺตะอาลา จะแยกแผ่นดินภายใต้พวกเขาและเปลี่ยนให้คนอื่นๆ กลายเป็นลิงและหมู" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอิบนุมาญะฮฺ)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"แท้จริงอัลลอฮฺตะอาลา ทรงห้ามสุรา การพนัน และอัล-กูบะฮฺ และของมึนเมาทุกชนิดนั้นต้องห้าม"
ท่านซุฟยานกล่าวว่า "ฉันถามผู้รายงาน คือ ท่านอาลี บิน บะดีมะฮฺ ว่า "อัลกูบะฮฺคืออะไร?" เขาตอบว่า "มันคือ กลอง" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"แท้จริงแล้ว ฉันไม่ได้ห้ามการร้องไห้ แต่ฉันห้ามอยู่ 2 ประเภท ซึ่งเป็นเสียงบ้าๆบอๆ และเสียงเสียงที่ไม่รู้จักอายในสิ่งที่เป็นบาป เสียงแรก คือ เสียง(ร้องเพลง) ประกอบดนตรีที่รื่นเริง(ละฮฺ) และเครื่องดนตรี(เครื่องลม) ของชัยฏอน ส่วนอีกเสียงหนึ่ง คือ เสียงคร่ำครวญอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ บางอย่างซึ่งทำพร้อมกับตบหน้า และฉีกเสื้อผ้า แต่เสียงนี้(เสียงร้องไห้ของฉัน) นั้นเกิดมาจากความเมตตาสงสาร และใครก้ตามที่ไม่แสดงความเมตตาสงสารก้จะไม่รับความสงสารเช่นกัน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลฮากิม และคนอื่นๆ)


รายงานจากท่านอนัส บิน มาลิก เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"เสียง 2 เสียงที่ถุกสาปแช่ง คือ เสียงของเครื่องดนตรี (ลม) (มิซมาร เป็นฟลุทชนิดหนึ่ง) ที่ใช้เล่นเนื่องในเวลาที่มีความสนุกสนาน และดีใจ และเสียงร้องโอดครวญร่ำไห้ที่เกิดขึ้นเวลาที่มีความทุกข์ยากลำบาก" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบู บักร์ อัช-ชาฟีอี)

ข้อยกเว้นข้อห้ามเรื่องเสียงดนตรี

ได้แก่
1. ญิฮาดและกิจที่เกี่ยวกับญิฮาด เป็นเพลงรบที่ปลุกเร้าถึงความเป็นวีรบุรุษ ความกล้าหาญและจูงใจ

2.การเฉลิมฉลองในวันอีดิ้ลฟิตรและอีดิ้ลอัฎฮา ซึ่งเป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของอิสลาม การร้องเพลงทีบริสุทธิ์และการตีกลองดุฟประกอบจังหวะ

3.งานเลี้ยงงานฉลองแต่งงาน อนุญาตให้ผู้หญิงและเด็กสาวร้องเพลงและตีกลองดุฟ เป็นเพลงบริสุทธิฺและเนื้อเพลงจะต้องไม่บรรยายเกี่ยวกับความรักและการกระทำที่ผิดศิลธรรมต่างๆ

4งการต้อนรบบุคคลสำคัญ กระทำเวลาที่มีแขกสำคัญ ญาติพี่น้อง มาเยี่ยมเยียน หรือเวลาที่นักรบมุสลิม (มุญาฮิดีน) กลับจากสงคราม หรือเมื่อคนที่เป็นที่รักซึ่งจากกันไปนานกลับคืนมา ซึ่งเป็นบทกวีที่บริสุทธิ์ และบทเพลงสามารถนำมาขับร้องประกอบกับกลองดุฟ(กลองหน้าเดียว)ได้


والله أعلم بالصواب







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น